CBOX เสรีชน

08 กุมภาพันธ์, 2552

Gliese 581 c ดาวเคราะห์ใหม่นอกระบบสุริยะ เผยมีลักษณะหลายอย่างคล้ายคลึงกับโลก

นักดาราศาสตร์เฮ! พบซูเปอร์เอิร์ท ร่องรอยบ่งชี้อาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัย

นักดาราศาสตร์เนื้อเต้น เป็นครั้งแรกที่พบ 'ซูเปอร์เอิร์ท' ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจักรวาลที่มีอุณหภูมิและลักษณะหลายอย่างคล้ายคลึง กับโลก แต่มีขนาดใหญ่กว่า และน่าเชื่อได้ว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

ดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ถูกค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.6 เมตรของหอสังเกตการณ์ยุโรปตอนใต้ (European Southern Observatory) ในลาซิญญา ชิลี ที่มีอุปกรณ์พิเศษในการแยกแสงเพื่อตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงของความยาวคลื่น ซึ่งอาจเปิดเผยถึงการมีอยู่ของโลกอื่นๆ

สิ่งที่พบคือ ดาวเคราะห์ดังกล่าวโคจรรอบดาวฤกษ์ Gliese 581 ซึ่งเป็นดาวแคระแดงขนาดพอๆ กับดาวเนปจูน แต่เล็กกว่า ให้แสงสว่างน้อยกว่า และเย็นกว่าดวงอาทิตย์ และอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่ง แต่ดาวเคราะห์ดวงใหม่อาจไม่หมุนรอบตัวเอง อยู่ห่างออกไป 20.5 ล้านปีแสง (120 ล้านล้านไมล์) ถือเป็นดาว 1 ใน 100 ดวงที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด มีแรงโน้มถ่วงสูงกว่าโลก 1.6 เท่า

สเตฟาน ยูดรี จากหอสังเกตการณ์เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ และเป็นผู้เขียนหลักของเอกสารรายงานการค้นพบนี้ ระบุว่าดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่ขณะนี้ถูกเรียกว่า 581 c หนักกว่าโลก 5 เท่า และมีรัศมีใหญ่กว่าโลก 1.5 เท่าเท่านั้น จากแบบจำลองทำให้คาดได้ว่า พื้นผิวของดาวเคราะห์ดวงใหม่อาจเป็นก้อนหินเหมือนโลกของเรา หรือปกคลุมด้วยมหาสมุทร

ไมเคิล เมเยอร์ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเจนีวา ซึ่งเป็น 1 ใน 11 นักวิจัยยุโรปในทีมที่ค้นพบดาวดวงนี้ บอกว่านี่เป็นก้าวย่างสำคัญในการค้นหาสิ่งมีชีวิตในจักรวาล แต่ยอมรับว่ายังมีอีกหลายคำถามที่ต้องค้นหาคำตอบ

เมเยอร์เสริมว่า ตามทฤษฎี 581 c มีชั้นบรรยากาศ แต่ยังไม่รู้ชัดว่าเป็นแบบใด ซึ่งหากหนาเกินไปก็จะทำให้ดาวเคราะห์ดวงนี้มีอุณหภูมิสูงเกินไป กระนั้น ทีมนักวิจัยเชื่อว่า อุณหภูมิเฉลี่ยน่าจะอยู่ระหว่าง 0-40 องศาเซลเซียส หมายความว่าอาจมีน้ำ และสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

ซาเวียร์ เดลฟอสซี สมาชิกทีมจากมหาวิทยาลัยเกรอน็อบ ฝรั่งเศส เชื่อว่าดาวเคราะห์ดวงใหม่อาจเป็นเป้าหมายสำคัญมากสำหรับการสำรวจอวกาศใน อนาคตเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก

ดาวเคราะห์ดวงนี้ซึ่งอยู่นอกระบบสุริยะ (exoplanet) เป็นดาวเคราะห์ดวงเล็กที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา โคจรรอบดาวฤกษ์แม่โดยใช้เวลาเพียง 13 วัน และอยู่ใกล้หมู่ดาวฤกษ์แม่มากกว่าที่โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ 14 เท่า

การค้นพบล่าสุดนี้สร้างความตื่นเต้นอย่างมากในหมู่นักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากในบรรดาดาวเคราะห์ที่ค้นพบนอกระบบสุริยะจักรวาลทั้งหมด 220 ดวง ส่วนใหญ่มีอุณหภูมิไม่ร้อนเกินไปก็เย็นเกินไป หรือไม่ก็เป็นดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์เหมือนดาวพฤหัส ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้

แต่ดาวเคราะห์ดวงใหม่อยู่ใน 'เขตแดนโกลดิล็อกส์' ที่มีอุณหภูมิเหมาะสมที่สิ่งมีชีวิตมีโอกาสอยู่รอด และโดยทฤษฎีแล้วน่าจะเต็มไปด้วยน้ำ

คริส แมกเคย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านชีวดาราศาสตร์จากองค์การนาซาของสหรัฐฯ ซึ่งไม่มีส่วนร่วมในทีมนี้ บอกว่านี่เป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ไม่ได้หมายความว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่บน 581 c แต่หมายความว่าดาวเคราะห์ดวงนี้คล้ายโลกในแง่ความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมี ชีวิตอาศัยอยู่

กระนั้น นักดาราศาสตร์หลายคนท้วงว่า ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่า 581 c มีน้ำอยู่หรือไม่

ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์สองกลุ่มๆ หนึ่งจากยุโรป และอีกกลุ่มจากสหรัฐฯ แข่งขันกันเพื่อให้ได้เป็นผู้ค้นพบดาวเคราะห์แบบเดียวกับ 581 c นอกระบบสุริยะจักรวาลรายแรก

ซาเวียร์ บอนฟิลส์ จากหอสังเกตการณ์ลิสบอน โปรตุเกส ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมที่ค้นพบ 581 c เผยว่า ทีมของยุโรปใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า HARPS หรืออุปกรณ์ตรวจวัดความเร็วเชิงรัศมีที่มีความแม่นยำสูงเพื่อการค้นหาดาว เคราะห์ โดยเน้นดาวเคราะห์ที่เหมือนดวงอาทิตย์ เพื่อหาดาวบริวารที่อยู่ห่างดาวแม่ในระยะที่เหมาะสม

อนึ่ง ไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่ทีมจากยุโรปจะพบ 581 c เมื่อต้นเดือน รายงานฉบับหนึ่งในวารสารแอสโทรไบโอโลจีกล่าวอ้างว่า ดาวแคระแดงเป็นตัวเลือกที่ดีในการค้นหาดาวฤกษ์ที่อาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

"ตอนนี้มีความเป็นไปได้ว่าเราอาจค้นพบเพิ่มอีกหลายดวง" บอนฟิลส์ทิ้งท้าย

**********

จะว่าไปแล้ว เรื่องค้นพบดาวดวงใหม่ก็เป็นพล๊อตยอดนิยมของเหล่านักเขียนนิยายแนวไซไฟมา นานนม ทั้งเรื่องสิ่งมีชีวิตนอกโลก กาแลกซี่ที่ไม่มีใครรู้จัก หลุมดำ การค้นหาโลกใหม่ การล่าอาณานิคมต่างดาว ฯลฯ

ใน เมื่อโลกที่เราอาศัยอยู่นี่ก็ประสบปัญหามากมายหลายแหล่ ทั้งวิกฤตโอโซน ปรากฏการณ์เรือนกระจก + ภัยพิบัติอีกนานัปการ ก็มาลองคิดกันว่าดาวดวงใหม่นี่จะมีชะตาอย่างไร ถ้า ...

1.มันสามารถเป็นโลกที่สองได้ หมายถึงสภาพแวดล้อมสามารถปรับให้มนุษย์อยู่อาศัยได้

2. นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างเทคโนโลยีซึ่งสามารถทำให้มนุษย์เดินทางได้เร็วขึ้น (มากๆ)
**หมายเหตุ** Gliese 581 c อยู่ห่างโลก20.5 ปีแสง
1 ปีแสง = 9,460,528,400,000 กิโลเมตร
ยานอวกาศมนุษย์ บินด้วยความเร็วประมาณ 16 กม/วินาที
1 ปีมี 31,536,000 วินาที x 16 กม/วินาที = 504,576,000 กม./ปี
นำระยะทาง 1 ปีแสงมาหารความเร็วยาน = 18,750ปี
แสดงว่า ระยะทาง 1 ปีแสง จะใช้ยานมนุษย์ บินเป็นเวลา 18,750 ปี
ถ้าระยะทาง 20.5 ปีแสง จะใช้เวลา 384,375 ปี

3. ในเมื่อดาวดวงนั้นใหญ่กว่าโลกขนาดนั้น แรงโน้มถ่วงก็น่าจะเพิ่มขึ้นด้วย
คิดจากสูตร F = gMm/r^2 จะได้ แรงโน้มถ่วงที่มากกว่าโลก 1.6 เท่า

อ้างอิง http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X5349995/X5349995.html

ไม่มีความคิดเห็น: