CBOX เสรีชน

12 สิงหาคม, 2552

พระราชินีให้ศิลปินพันธมิตรเข้าเฝ้าฯ ถวายพระสาทิสลักษณ์วันแม่ ตรัสชื่นชมตี๋ชิงชัย"เก่งมาก"


“ตี๋ ชิงชัย” วาดพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ ด้วยมือซ้าย

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา เวบผู้จัดการASTV
12 สิงหาคม 2552

เวบไซต์ผู้จัดการASTVนำเสนอข่าวเรื่อง พระราชินีตรัสชื่นชม"ตี๋ชิงชัย"วาดพระสาทิสลักษณ์"เก่งมาก" โดยรายละเอียดข่าวมีว่า

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชวโรกาสให้ นายชิงชัย อุดมเจริญกิจ หรือ ตี๋ ชิงชัย ศิลปินผู้สูญเสียมือขวาจากเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 พร้อมภรรยาเข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบรมสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ที่นายชิงชัยวาดด้วยมือซ้าย ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชปฏิสันถารว่า “เก่งมาก”


พระ บรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผลงานการวาดด้วยมือซ้ายของนายชิงชัย อุดมเจริญกิจ ศิลปินผู้สูญเสียมือขวาจากเหตุการณ์ 7 ตุลาฯ เลือด

“ตี๋ ชิงชัย” เป็นหนึ่งในศิลปินนักสู้ที่เข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยเพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญและขับไล่รัฐบาลนอมินีระบอบ ทักษิณเมื่อปี 2551 ในเหตุการณ์ที่ตำรวจใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมบริเวณหน้ารัฐสภาและลานพระ บรมรูปทรงม้า เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมนั้น “ตี๋ ชิงชัย” ถูกระเบิดแก๊สน้ำตาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจนมือข้างขวาที่เคยใช้วาดรูป ขาดกระจุยและกล่องเสียงถูกทำลาย แต่มีตำรวจบางคนและสื่อมวลชนบางฉบับ ได้กล่าวหาใส่ร้ายนายชิงชัยว่ากำระเบิดมาเอง ทั้งที่ในความเป็นจริงสิ่งที่เขากำอยู่ในมือคือพวงกุญแจหนัง

“ตี๋ ชิงชัย” จึงต้องพึ่งกระบวนการยุติธรรมด้วยการฟ้องร้องดำเนินคดีกับนายตำรวจและสื่อ ที่บิดเบือนข้อเท็จจริงในข้อหาหมิ่นประมาท จนนายตำรวจคนดังกล่าวและสื่อมวลชนฉบับนั้นยอมขอโทษ และซึ่งด้วยความใจกว้างของ “ตี๋ ชิงชัย” เขาจึงยอมถอนฟ้องในเวลาต่อมา และใช้เวลาไปกับการฝึกฝนการวาดภาพด้วยมือซ้าย ซึ่งในที่สุดก็ได้ผลงานที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้การวาดด้วยมือขวาแต่อย่างใด จนได้รับพระราชทานพระราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายผลงานดังกล่าว


นักวิชาการดังตั้งกระทู้แสดงว่า ท่านยังทรง "เป็นห่วงพันธมิตรทุกคน" ใช่ไหมครับ

ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ แสดงความคิดเห็นในบอร์ดประชาไท หัวข้อกระทู้เรื่อง ข่าวนี้ แสดงว่า ท่านยังทรง "เป็นห่วงพันธมิตรทุกคน" ใช่ไหมครับ ผมอ่านข่าวนี้ ด้วยความแปลกใจเล็กน้อย เพราะไม่เห็นข่าวในลักษณะนี้มาระยะหนึ่งแล้ว

ผม ขอย้ำก่อน ว่า โดยส่วนตัว ผมเห็นใจและเสียใจแทนคุณ "ตี๋" ที่พิการนะครับ ไม่ว่าในแง่การเมือง ผมจะเห็นว่า เป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่คุณตี๋เข้าร่วมการเคลื่อนไหวของพันธมิตร เช่นเดียวกับกรณี "น้องโบว์" เสียชีวิต ผมไม่ชอบเห็นการตาย การบาดเจ็บ พิการ ไม่ว่าฝ่ายไหน ซี่งผมแยกออกจากความไม่เห็นด้วยต่อการเมืองของพวกเขา

แต่ ผมก็ยังแปลกใจที่ สมเด็จฯทรงโปรดเกล้าฯให้ คุณตี๋ และภรรรยา เข้าเฝ้าฯถวายภาพ ในครั้งนี้ เพราะอะไรที่เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจนั้น คงยากจะเรียกว่า เป็นเรืองที่ไม่มีนัยยะในเชิงทางสังคมหรือการเมืองเลย เพราะท่านคงไม่สามารถโปรดเกล้าฯให้ ทุกคนที่บาดเจ็บพิการ เข้าเฝ้าได้ พูดอีกอย่างคือ นี่คงต้องเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นเฉพาะกรณีพิเศษ

ผมก็เลยแปลกใจน่ะครับ


ส่วนประโยคที่ "เป็นห่วงพันธมิตรทุกคน" ที่ตั้งเป็นชื่อกระทู้ คงพอจำได้ว่า เอามาจากคำบอกเล่า คุณจินดา พ่อ"น้องโบว์" ทีว่า สมเด็จฯทรงมีรับสั่งกับครอบครัวน้องโบว์อย่างไรบ้าง ในวันที่ 13 ตุลาคม ปีกลาย

ทั้งนี้ข่าวในวันดังกล่าวเวบไซต์ผู้จัดการนำเสนอข่าวเรื่อง สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงชม “น้องโบว์” เป็นเด็กดี ช่วยชาติ ช่วยรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ มีรายละเอียดตอนหนึ่งในข่าวว่า

นาย จินดา ระดับปัญญาวุฒิ บิดา นางสาวอังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือ น้องโบว์ เปิดเผยว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับสั่งและชม ว่า ลูกสาวเป็นเด็กดี ช่วยชาติ ช่วยรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งตนได้กราบทูลฯกลับไปว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงที่ทั้งสองพระองค์เสด็จฯ มา นอกจากนี้ท่านยังตรัสอีกว่า "เป็นห่วงพันธมิตรทุกคน ไว้จะฝากดอกไม้ไปเยี่ยมพันธมิตร"


ตอบข้อสงสัยที่ว่าทำไมกษัตริย์ของสเปญจึงทรงต่อต้านการรัฐประหาร

พระบารมีปกเกล้า-กษัตริย์ ฆวน คาร์ลอส แห่งราชอาณาจักรสเปญ ทรงแถลงทางโทรทัศน์ไม่สนับสนุนการก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 และทรงเรียกร้องให้กองทัพ และประชาชนร่วมมือกันปกป้องประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ

โดย Pegasus
11 สิงหาคม 2552

Thai E-news

รัฐ ธรรมนูญสเปญในส่วนของพระมหากษัตริย์นั้นกำหนดไว้ว่า ก่อนขึ้นครองราชย์พระองค์จะต้องเสด็จไปกล่าวคำสัตย์ ปฏิญญานต่อหน้ารัฐสภาว่า พระองค์จะเคารพต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง สร้างหลักประกันว่าสิ่งเหล่านี้ต้องเกิด ดังนั้นคำถามที่ว่าทำไมกษัตริย์สเปญทรงต่อต้านการรัฐประหาร ก็เพราะว่าพระองค์ทรงให้คำสัตย์ไว้กับรัฐสภาแล้วว่า พระองค์จะเคารพต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งนัยก็คือการปกป้อง และรักษาระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง เนื่องจากการยึดอำนาจก็จะเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ และสถาปนาระบอบเผด็จการขึ้นแทน



ในข้อ เขียนของผู้ใช้นามปากกาว่า socialism ได้ยกประเด็นที่กษัตริย์ ฆวน คาร์ลอส ของสเปญทรงแสดงพระองค์ไม่สนับสนุนการยึดอำนาจของฝ่ายทหาร ทำให้การรัฐประหารครั้งนั้นล้มเหลว และทำให้ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้นรุ่งเรืองในประเทศ สเปญนับแต่นั้นมา ในความคิดคำนึงของ socialism ดูเหมือนจะมีความรู้สึกว่าในประเทศอื่นๆที่มีระบอบการปกครองคล้ายคลึงกัน นั้น พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยพระองค์อื่นจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจใน ลักษณะเดียวกันได้หรือไม่

ก่อนอื่นขอนำข้อเขียนของ socialism เฉพาะที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กษัตริย์ ฆวน คาร์ลอส ทรงยุติการยึดอำนาจด้วยพระองค์เองดังนี้

ฯลฯ
การ ก่อการร้ายของกลุ่ม ETA ที่เรียกร้องเอกราชแก่แคว้นบาสก์ วิกฤตเศรษฐกิจ การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับแคว้นปกครองตนเอง ตลอดจนกรณีเหล่าขุนศึกสมัยฟรังโก้ไม่เต็มใจปรับตัวตามนโยบายเปลี่ยนผ่านสู่ ประชาธิปไตย ปัจจัยเหล่านี้เป็นชนวนให้ทหารกลุ่มหนึ่งที่ยังภักดีต่อระบอบฟรังโก้คิดก่อ การรัฐประหาร วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๑๙๘๑

ในขณะที่ Leopoldo Calvo Sotelo นายกรัฐมนตรีคนใหม่กำลังแถลงนโยบายต่อสภาโดยมีการถ่ายทอดสดออกทางโทรทัศน์ กองกำลังทหารราว ๒๐๐ นายนำโดยพันโท Antonio Tejero ได้เข้ายึดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมเอาปืนยิงขึ้นฟ้าและสั่งให้ผู้ที่อยู่ในสภาหมอบลงกับพื้น

ความ ตั้งใจเดิม คณะผู้ก่อการรัฐประหาร ซึ่งมีพลเอก Alfonso Armada อดีตเลขานุการของฆวน คาร์ลอส เป็นมันสมอง และพันโท Antonio Tejero เป็นฝ่ายคุมกำลัง ต้องการยึดอำนาจและจัดตั้ง “รัฐบาลเฉพาะกิจเพื่อความสมานฉันท์” เพื่อจัดการปัญหาก่อการร้ายของกลุ่ม ETA โดยเชิญชวนนักการเมืองระดับแกนนำทั้งฝ่ายซ้ายและขวาเป็นรัฐมนตรี

แต่ พันโท Antonio Tejero รับไม่ได้กับโผรายชื่อที่มีฝ่ายซ้ายรับตำแหน่งรัฐมนตรีสำคัญหลายคน ในระหว่างการเจรจาต่อรอง พันโท Antonio Tejero ก็ตัดสินใจเข้ายึดอำนาจทันที จากนั้นไม่นาน พลโท Jaime Milans del Bosch แม่ทัพภาคที่ ๓ ก็นำกองกำลังออกมาบนท้องถนนในเมืองบาเลนเซียและประกาศกฎอัยการศึก

ราว สามทุ่ม โฆษกคณะรัฐประหารแถลงว่ากำลังจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวภายใต้การสนับสนุนของ กษัตริย์ ตี ๑ ของวันถัดไป การแทรกแซงทางการเมืองครั้งสำคัญของกษัตริย์ในประวัติศาสตร์สเปนก็เกิดขึ้น เมื่อฆวน คาร์ลอส ตัดสินใจแถลงผ่านโทรทัศน์และวิทยุ ไม่สนับสนุนการรัฐประหารครั้งนี้และเรียกร้องให้กองทัพและประชาชนร่วมมือกัน ปกป้องประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ ๑๙๗๘

พระองค์ยืนยันว่าทหารมีหน้าที่ ป้องกันรัฐบาลที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมายตามระบอบประชาธิปไตยอย่างไม่มี เงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น เมื่อขาดแรงสนับสนุนจากฆวน คาร์ลอส รัฐประหารก็ไม่สำเร็จ บรรดาผู้เข้าร่วมกลายเป็นกบฏโดนลงโทษจำคุก โดยเฉพาะแกนนำอย่างพลเอก Alfonso Armada และพันโท Antonio Tejero ศาลตัดสินให้จำคุก ๓๐ ปี
ฯลฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 30, 2008, 09:55:13 AM โดย Socialism »


ประเทศสเปญ เป็นประเทศที่อยู่ในระบอบการปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารมานาน ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาเมื่อเห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นวิถีชีวิตที่จำเป็นสำหรับการทำมาหา กินและการทำธุรกิจสมัยใหม่ของประชากรภายในประเทศแล้ว การทำให้ผ่านพ้นระบอบเผด็จการจึงกลายเป็นความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สเปญก็ไม่มีข้อยกเว้น

เมื่อ กษัตริย์ฆวน คาร์ลอส ทรงเห็นว่าการกลับไปสู่การใช้อำนาจเผด็จการอีก จะทำให้ประเทศล้มละลาย พระองค์จึงต้องแสดงให้เห็นว่าไม่ทรงสนับสนุนวิถีทางเช่นนี้เป็นธรรมดา อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญของสเปญและประเทศในยุโรปอีกหลายประเทศได้มีการ บัญญัติในประเด็นสำคัญที่ทำให้พระมหากษัตริย์ต้องทรงปฏิบัติพระองค์เช่นไร สำหรับการรักษาและจรรโลงระบอบประชาธิปไตย

ซึ่งประเด็นนี้น่าจะเป็น เหตุผลสำคัญที่ทำให้กษัตริย์ฆวน คาร์ลอส ทรงออกมาต่อต้านการยึดอำนาจในครั้งนั้นและทำให้ความพยายามยึดอำนาจเปลี่ยน แปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยไปเป็นระบอบเผด็จการไม่อาจเกิดขึ้นได้อีก ต่อไปในสเปญ โดยเหตุผลดังกล่าวมีบัญญัติไว้ดังที่คัดเลือกมาจากรัฐธรรมนูญของสเปญแล้วโดย จะขอแสดงภาษาอังกฤษไว้เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันก่อนจากนั้นจะอธิบายความใน ภายหลัง ดังนี้

Spain - Constitution
Title II The Crown
Article 56 [Head of State]


(1) The King is the Head of State, the symbol of its unity and permanence. He arbitrates and moderates the regular functioning of the institutions, assumes the highest representation of the Spanish State in international relations, especially with the nations of its historical community, and exercises the functions expressly attributed to him by the Constitution and the laws.

(2) His title is that of "King of Spain" and he may use the others which belong to the Crown.

(3) The person of the King is inviolable and is not subject to responsibility. His acts shall always be in the manner established in Article 64 and shall lack validity without that countersignature, except as provided for by Article 65 (2).

Article 61 [Oath]

(1) The King, on being proclaimed before the Parliament, will swear to faithfully carry out his functions, to obey the Constitution and the laws and ensure that they are obeyed, and to respect the rights of citizens and the Autonomous Communities.

(2) The Prince heir, when coming of age, and the Regent or Regents when they assume their functions, will swear the same oath as well as that of loyalty to the King.
Article 62 [Competences]

It is incumbent upon the King:

a) to approve and promulgate laws;
b) to convoke and dissolve the Parliament and to call elections under the terms provided for in the Constitution;
c) to convoke a referendum in the cases provided for in the Constitution;
d) to propose the candidate for the President of the Government and to appoint him, or when required, to terminate his functions under the terms provided in the Constitution;
e) to appoint and dismiss the members of the Government at the proposal of its President;
f) to issue the decrees approved in the Council of Ministers, confer civilian and military positions, and award honors and distinctions in accordance with the law;
g) to be informed of the affairs of state and for this purpose preside over the sessions of the Council of Ministers when he
deems it appropriate at the request of the President of the Government;
h) to exercise supreme command of the Armed Forces;
i) to exercise the right of clemency pursuant to a law, which cannot authorize general pardons;
j) to be the High Patron of the Royal Academies.

Article 64 [Countersignature]

(1) The actions of the King shall be countersigned by the President of the Government and, when appropriate, by the competent ministers. The nomination and appointment of the President of the Government and the dissolution provided for in Article 93 shall be countersigned by the President of the House of Representatives.

(2) The persons who countersign the acts of the King shall be responsible for them.


กฎหมายรัฐธรรมนูญสเปญที่เลือกมานี้ จะปรากฎในรัฐธรรมนูญของประเทศในยุโรปที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุขทั้งสิ้น มีผิดแผกแตกต่างกันก็เพียงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ เพียงแต่ว่าสิ่งนี้อาจเป็นสิ่งใหม่สำหรับคนไทย เพราะไม่เคยได้ยินมาก่อน

ก็ เนื่องจากรัฐธรรมนูญของไทยทุกครั้งมาจะร่างโดยนักกฎหมายคนเดิมๆหรือกลุ่ม เดิมๆที่ไม่ได้เป็นการร่างขึ้นจากความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง แม้แต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ ก็ตามที

โดยเฉพาะในหมวดสำคัญได้แต่ เรื่องของระบอบการปกครองทั้งที่เกี่ยวกับอำนาจของประชาชนและสถาบันพระมหา กษัตริย์ แต่เนื่องจากเรื่องนี้อยู่นอกเหนือขอบเขตของบทความนี้จึงเพียงแต่นำมาพูดถึง ให้ระลึกได้เท่านั้น

เฉพาะในส่วนของพระมหากษัตริย์สเปญนั้น ก่อนขึ้นครองราชย์พระองค์จะต้องเสด็จไปกล่าวคำสัตย์ ปฏิญญานต่อหน้ารัฐสภาว่า พระองค์จะเคารพต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง สร้างหลักประกันว่าสิ่งเหล่านี้ต้องเกิด รวมถึงการเคารพต่อสิทธิของพลเมืองและชุมชนที่เป็นอิสระในการปกครองตนเอง

และ แม้ว่ากษัตริย์ของสเปญจะมีการระบุไว้ชัดเจนว่าทรงเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่า นั้นแต่ก็ทรงได้รับมอบหมายพระราชกรณียกิจหลายประการเหมือนประเทศอื่นๆที่ เป็นระบบ constitutional monarchy ไม่ถึงขนาดเป็นสัญลักษณ์อย่างแท้จริงเท่านั้นแบบของอังกฤษและญี่ปุ่นที่จะไป ในทาง limited monarchy มากกว่า

ประเด็นสำคัญต่อมาคือ ทุกการกระทำของพระองค์จะต้องมีนายกรัฐมนตรี(หัวหน้าฝ่ายบริหาร) หรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องลงนามร่วมด้วยและรับผิดชอบแทนพระองค์ในกิจกรรม นั้นๆ การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีหรือการยุบสภาต้องมีลายมือชื่อของประธานรัฐสภากำกับ ด้วยเสมอ

ต้องเข้าใจก่อนว่า การลงรายมือชื่อร่วมในทุกพระราชกรณียกิจไม่ว่าจะทรงงานใดๆก็ตาม ก็เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงพ้นจากการว่าร้ายและการกล่าวโทษ โดยนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือประธานรัฐสภาจะเป็นผู้รับผิดชอบแทน ในขณะเดียวกันถ้าพระมหากษัตริย์ทรงงานหลุดออกไปจากวิถีทางของประชาธิปไตย หรือนโยบายของรัฐบาลที่เป็นเสียงข้างมาก นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีก็จะไม่ลงชื่อร่วมทำให้การนั้นๆเป็นโมฆะไม่มีผล อะไร เป็นหลักประกันว่าสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และจะทรงงานตามความต้องการของประชาชน เนื่องจากนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจะถูกตรวจสอบโดยฝ่ายค้านใน รัฐสภา และอาจถูกลงโทษทางการเมืองได้หากดำเนินการไม่ถูกต้อง การทักท้วงจากฝ่ายการเมืองต่อพระมหากษัตริย์ในเรื่องที่ความเห็นไม่ตรงกัน จึงเกิดขึ้นได้และเป็นทางออกที่จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ได้ยืนนานตาม ความเห็นของคนยุโรป

ดังนั้นคำถามที่ว่าทำไมกษัตริย์สเปญทรง ต่อต้านการรัฐประหาร ก็เพราะว่าพระองค์ทรงให้คำสัตย์ไว้กับรัฐสภาแล้วว่าพระองค์จะเคารพต่อรัฐ ธรรมนูญ ซึ่งนัยก็คือการปกป้อง และรักษาระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง เนื่องจากการยึดอำนาจก็จะเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ และสถาปนาระบอบเผด็จการขึ้นแทน

ส่วนคำถามต่อไปคือพระมหา กษัตริย์ในประเทศอื่นๆจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างเดียวกันได้หรือไม่ คำตอบก็คงจะเป็นที่ว่ารัฐธรรมนูญของประเทศนั้นๆ มีความคล้ายคลึง หรือแตกต่างจากรัฐธรรมนูญของประเทศในยุโรปที่มีการปกครองระบอบเดียวกันมาก น้อยเพียงใด

ถ้ารัฐธรรมนูญได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราช กรณียกิจต้องปกป้องรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์พระองค์ใดก็คงจะทรงงานเช่นเดียวกับกษัตริย์ ฆวน คาร์ลอส เพราะปกติพระมหากษัตริย์ตรัสแล้วไม่เคยคืนคำ เป็นราชประเพณีของทุกๆประเทศเช่นเดียวกัน ดังนั้น socialism ผู้เขียนบทความข้างต้นก็ควรไปศึกษารัฐธรรมนูญของประเทศนั้นๆว่าได้มีการ กำหนดให้พระมหากษัตริย์ก่อนขึ้นครองราชต้องให้คำสัตย์ ปฏิญานที่จะเคารพต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อหน้าประชาชนได้แก่ รัฐสภาไว้ในลักษณะเดียวกันหรือไม่ เป็นต้น

รัฐธรรมนูญของสเปญยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกหลายประการ โดยเฉพาะสเปญเป็นประเทศที่อาจถือได้ว่ามีระบอบการปกครองแบบเผด็จการมายาวนาน สมควรที่จะได้ทำความเข้าใจกับเรื่องของการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ลงในประเทศนี้

นอกเหนือจากพระมหากรุณาธิคุณของกษัตริย์ ฆวน คาร์ลอสที่ได้ทรงแสดงพระองค์เป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เข้มแข็ง และเป็นแบบอย่างสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขไว้อย่างดียิ่ง

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นหาที่สุดมิได้
00000000
อ่านบทความเกี่ยวข้อง:
-บทบาทและพระราชอำนาจของกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย
-เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญสวีเดนและญี่ปุ่น จากหลักสากลว่าด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

จับตาอภิสิทธิ์ .. จะตายแบบ active หรือ passive euthanasia !!!


โดย คุณ เรืองยศ จันทรคีรี
ที่มา เวบไซต์ โลกวันนี้
ภาพโดย Ingrid jousta
11 สิงหาคม 2552

Euthanasia หมายถึงการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ที่ไม่มีหนทางพ้นไปจากความตายได้ โดยการช่วยเหลือของผู้อื่น หรืออาจเรียกเป็นการุณยฆาต (Mercy Killing) คือ เป็นรายการที่ผู้ป่วยยินยอมให้ผู้อื่นฆ่าโดยความเมตตา...

ผมคิดถึง เรื่องนี้ขึ้นมา เมื่อมองไปยังรูปภาพของนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พิจารณาสถานการณ์รวมๆ ผมยังมองไม่เห็นทางรอดของรัฐบาลชุดนี้ แม้จะพร่ำบ่นเช้า-ค่ำว่า รู้สึกพึงพอใจต่อผลงานของตัวเองก็ตาม ...

ผม ว่าในตอนนี้ น่าจะมีบางฝ่ายเริ่มคิดบ้างเหมือนกันว่า อย่าได้ไปขับไล่รัฐบาลชุดนี้เลย ปล่อยท่านเอาไว้เถอะ เพราะไงๆเ ฉาคาต้น ไร้ปัญญาจะอยู่อย่างมีผลงาน หรือไปแก้ไขปัญหาอะไรใดๆ ให้ประชาชนและชาติบ้านเมืองได้?

ฟัง ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ท่านให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง จะทรุดตัวหนักกว่าครึ่งปีแรก และแถมครึ่งปีแรกของ 2553 ยังจะหนักหน่วงกว่าครึ่งปีหลังของ 2552 นี้อีก ...เพราะพิจารณาโดยภาพรวม ก็ยังไม่เห็นสัญญาณว่าเ ศรษฐกิจจะฟื้นตัว ... แล้วเศรษฐกิจไทยในยุคเด็กๆ ดู ยังไม่ดิ่งถึงพื้นด้วยซ้ำไป?

ลองคนระดับ “ดร.โกร่ง” พูดออกมาอย่างนี้ ใครๆ รับฟังแล้วก็ชักหนาวหัวใจสั่นยะเยือกทั้งนั้นครับ?

การ ส่งออกก็ติดลบมาเรื่อยๆ ติดคามาต่อเนื่องร่วม 9 เดือนเข้าไปแล้ว ทั้งเชื่อว่า ครบปี เห็นจะติดลบเข้าไปอีก ยิ่งเป็นตัวเลขของการนำเข้า มันลดต่ำเสียยิ่งกว่าตัวเลขส่งออก ...ครับ ... เป็นสิ่งสะท้อนชัดเจน ถึงสภาวะของการตกต่ำในการผลิตที่หนักหน่วงรุนแรงยิ่งนัก ซ้ำสินค้าส่งออกภาคการเกษตรก็ ลดลงเรื่อยๆ ด้านภาคการลงทุน แทบจะไม่มี ส่วนการท่องเที่ยวซึ่งถูกกระทบหนักจากภาวะเศรษฐกิจโลก รวมทั้งปัญหาการเมืองในประเทศไทย แถมถูกบดบี้ด้วยเรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ นี่เป็นผลกระทบสำคัญในบัญชีเดินสะพัด ...หนักทั้งนั้น!

ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ สวนทางกับความจริงชุดเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่เหวี่ยงแถลงไปอีกข้าง ...

เมื่อ ต้นเดือนสิงหาคม นายกรัฐมนตรียังบอกว่า งานวิจัยอย่างน้อย 3 ชิ้น ยืนยันความจริงว่า ในครึ่งปีหลัง 2552 เศรษฐกิจไทยจะกระเตื้องขึ้น?

ครับ... ลองรับฟังดู แต่ส่วนตัวนั้น ผมมีคำถามกึ่งโน้มไปข้างไม่เชื่อ เหมือนอย่างตัวเลขของคนว่างงาน ซึ่งรัฐบาลประเมินเอาไว้ที่ 800,000 คน แต่ยังเห็นคุณศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) มองตัวเลขแตกต่างไปลิบลับ เห็นว่า ถ้าหากใช้วิธีการประเมินตามมาตรฐานสากล ตัวเลขคนว่างงานอาจเป็น 6 ล้านคน!

ปัญหา เศรษฐกิจ ยังมีมุมถกได้อีกแยะนัก ล้วนเห็นต่างไปจากรัฐบาล ผมคิดว่า รัฐบาลของคุณอภิสิทธิ์กำลังเดินทางมาถึงจุดโค้ง ที่ท้ารบกับความเป็นและตายเข้าแล้ว

เรื่องเศรษฐกิจ มันเป็นของจริงทางปฏิบัติ คงมิอาจใช้สงครามข่าว หรือวาทกรรมเข้ามากลบได้ มักแตกต่างไปจากความขัดแย้งเรื่องแง่มุมกฎหมาย หรือการเมือง ตรงนั้นความชำนาญการ หรือสไตล์การเมืองแบบโต้วาที ช่วยได้ ... ปัญหาในเชิงนามธรรมนั้น ย่อมพลิกลิ้น แถกไถหาเหตุผลไปได้ง่ายๆ

แต่ ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องคือรูปธรรมของจริงทางปฏิบัติ เหมือนอย่างเศรษฐกิจที่กำลังเข้าสู่สภาวะเงินฝืด ระบบการเงินเข้าสู่กับดักสภาพคล่อง คือมีสภาพคล่องในระบบ แต่ไม่มีใครใช้ หรือใช้ไม่ได้? ...

ผมไม่เชื่อว่า ของจริงภาคปฏิบัติอย่างนี้ จะทำให้รัฐบาลอยู่รอดได้ อาจไม่จำเป็นออกแรงไล่มากนัก สำหรับรัฐบาลศักยภาพแบบนี้ ต่อให้เป็นชนิดอย่างหนา ก็อยู่ไม่ได้แน่นอน ... เอาให้ถึงเวลานั้น ประชาธิปัตย์มีสิทธิเหี่ยวเฉาคาต้น ตายซากจริงๆ จนไม่มีสิทธิฟื้น

บางทีพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีสิทธิเรื่อง Right to life หรือ The Right to die อาจต้องตั้งคำถามกับตัวเองได้แล้วว่า ควรเลือกรักษาพรรคเอาไว้ หรือจะยอมสิ้นสภาพตายตามไปกับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ...

เชื่อว่านี่เป็นการบ้านใหญ่ คนในประชาธิปัตย์เอง ก็ชักจะถกกันหนักแล้ว ไม่มีใครไม่กลัวหรอกครับ มัจจุราชกวักมือโบกไหวๆอ ยู่เบื้องหน้า?

คุณอภิสิทธิ์และรัฐบาลชุดนี้ ยังไงก็ตายเด็ดๆ เพียงแต่จะเป็นแบบ Active Euthanasia คือมีคนลงมือฉีดยาให้ตาย หรือจะเป็นแบบ Passive Euthanasia ไม่ได้ฉีดยาให้ตาย ปล่อยให้ตายไปเอง โดยไม่ใช้เครื่องมือทางการแพทย์ ...

คุณอภิสิทธิ์จะเลือกแบบไหนก็เชิญตามสบายเถอะครับ?

หรือจะพ่วงเอาพรรคตายตามก็ยังได้... เชิญ? ถึงจุดนั้นแล้ว อาจต้องร้องโวยวายกันว่า ช่วยไล่หน่อยเถอะ ฉันอยากไปเต็มทีแล้วโว้ย!!

ดูมันทำ!แมงสาบเลขากรณ์ถ่อยใส่Facebookแม้ว

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
12 สิงหาคม 2552

คนประ ชาธิปัตย์ เลขานุการส่วนตัวของนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีคลัง ซึ่งเคยมีวีรกรรมยัดไส้ส่งข้อความSMSเข้าไปรบกวนชาวบ้านทั่วประเทศช่วงที่ นายอภิสิทธิ์ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกฯหมาดๆ จนนำมาสู่การออกกฎหมายห้ามส่งSMSขยะมารบกวนชาวบ้าน ได้สร้างวีรกรรมใหม่อีกครั้งด้วยการโพสต์ภาพตัดต่อนำรองเท้าตบหน้าอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ในสื่อเฟสบุ๊ค คาดหมั่นไส้แม้วที่ได้รับการโหวตขึ้นเป็นอันดับ1ของไทยและเอเชียแซงหน้าลูก พี่มาร์ค


ผู้เล่นในเฟสบุ๊คแจ้งข่าวว่า ในfacebookของคุณทักษิณมีคนๆ นึงท่าทางจะไม่ชอบ หรือพูดง่ายๆ ว่าเกลียดคุณทักษิณโพสภาพไม่เหมาะสมลงไป เดี๋ยวดูภาพประกอบกันนะ


แล้วมีคนไปขุดคุ้ยมาอีกว่า คนที่โพสคือ Joey Tulyanond หรือ โจอี้ (http://www.facebook.com/tulyanond)หรือ นาย จิรายุ ตุลยานนท์ เลขานุการส่วนตัว นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง


พอ โจอี้โพสภาพไปแล้ว ก็มีคนมา comment ถึงความไม่เหมาะสม แต่แล้วโจอี้, เลขานุการส่วนตัวของรัฐมนตรีกรณ์ฯ ก็กลับตอบโต้ไปว่า "You may not like what I say, but you should defend with your life my right to say it. That is the essense of democracy my friend..."


นี่คือมาตรฐาน การกระทำของคนที่มีคุณธรรมจริยธรรมตามแบบแผนของพรรคประชาธิปัตย์ และคือพฤติกรรมของบุคคลที่ใกล้ชิดรัฐมนตรี พฤติกรรมแบบนี้คงไม่แปลกถ้านายโจอี้เป็นไม่มีการศึกษา หรือเป็นกุ๊ย แต่นี่โจอี้เป็นคนการศึกษาดี และที่สำคัญ คือเป็นถึง "เลขานุการส่วนตัวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกรณ์ฯ" สงสารประเทศชาติที่คนใกล้ชิดรัฐมนตรีมีพฤติกรรมเช่นนี้


ป.ล. โจอี้คนนี้คือเจ้าของไอเดียที่ส่ง SMS เข้ามือถือในช่วงที่นายอภิสิทธิ์ได้เป็นนายกใหม่ๆ ( อ่านลิ้งค์ข่าวเกี่ยวข้อง คลิ้ก)

ข้อมูลของโจอี้ ในface book

เพศ:ชายวันเกิด:25 กรกฎาคม 1976
บ้านเกิด:Bangkok, Thailand
มุมมองด้านการเมือง:Democrat Party (Thailand)
ศาสนา:Religion is the opiate of the masses

ข้อมูลส่วนบุคคล
รายการทีวีโปรด:West Wing, Heroes, Roots, 60 Minutes
หนังสือโปรด:The Lexus and the Olive Tree, Free to Choose, Humanure Handbook


การศึกษาและการทำงาน

บัณฑิตวิทยาลัย:Johns Hopkins - SAIS '02 MA, SE Asia Studies
มหาวิทยาลัย:Chulalongkorn University '99 Pol Sci
โรงเรียนมัธยม:Ruamrudee International School '95

นายจ้าง:Democrat Party (Thailand)


เพราะเก่งจึงเฮง กับชีวิตต้องสู้ของสส.การุณ โหสกุล

สมยศ พฤกษาเกษมสุข

 

ชื่อ “ การุณ โหสกุล “ เป็นที่รู้จักมักคุ้นกับประชาชนทุกเพศทุกวัยในเขตดอนเมืองเป็นอย่างดีในฐานะ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.)หลายสมัย แต่ที่ทำให้เป็นรู้จักกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนกลายเป็นเอกลักษณ์กล่าวขานไปทุกหย่อมหญ้าทั่วผืนแผ่นดินไทยเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2551  ในฐานะที่เขาดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน  โดยได้ก่อเหตุภายในรัฐสภาด้วยการเหวี่ยงเท้าเข้าไปตรงเป้าหมายสำคัญของนาย สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและสส.พรรคประชาธิปัตย์ จนกลายเป็นคดีความฟ้องร้องต่อกันอย่างครึกโครม

 

เหตุการณ์นี้มีผู้คนมากมายที่แซ่ซ้อง สรรเสริญเขา เพราะในยามนั้นแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ชุมนุมปิดถนน ยึดทำเนียบรัฐบาลเพื่อโค่นล้มรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช  จนทำให้ประชาชนคนไทยเกิดความรู้สึกเหมือนถูกจับเป็นตัวประกันเพื่อสนองความ ต้องการที่ไร้เหตุผลของกลุ่มโจรพันธมิตรฯจึงแสดงออกซึ่งความยินดีต่อการ กระทำของนายการุณ โหสกุลในครั้งนั้น  แต่สำหรับฝ่ายตรงกันข้าม  ย่อมที่จะต้องประณามก่นด่าและกระทำทุกวิถีทางเพื่อทำลายชื่อเสียง ภาพพจน์ของนายการุณ โหสกุลให้ป่นปี้ย่อยยับเป็นผุยผง

 

การกระทำของนายการุณ โหสกุล แม้ว่าเป็นที่น่าพอใจของผู้คนจำนวนมาก และไม่ใช่คดีร้ายแรง หรือเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บเลือดตกยางออก เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ตามปกติวิสัยอันเกิดจากอารมณ์ขุ่นมัวของผู้คนใน สังคมที่ไม่อาจอดทน อดกลั้นต่อการกระทำเยี่ยงมหาโจรของกลุ่มพันธมิตรฯเพราะก่อเหตุวุ่นวายขึ้นมา อย่างไม่รู้จักจบสิ้นสักที    การุณ โหสกุล เป็นหนึ่งในกลุ่มคนในสังคมไทยที่สะสมความรู้สึกขุ่นมัวแบบนี้ จึงต้องแสดงออกมาตอบโต้อย่างเปิดเผย  แต่แน่นอนว่าการกระทำดังกล่าวถือว่าไม่เหมาะสมด้วยฐานะของการเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร แต่ทว่าฝ่ายตรงกันข้าม ได้โหมกระหน่ำ โจมตีนายการุณ โหสกุล แบบสาดเสียเทเสีย จนทำให้จริงกลายเป็นเท็จและเท็จกลายเป็นจริง

 

สื่อมวลชนจากค่ายผู้จัดการของสนธิ ลิ้มทองกุล โจมตีเขาอย่างรุนแรง ด้วยการใช้ถ้อยคำเรียก การุณ ว่า เป็น   สส.ถ่อย บ้าง เป็นนักเลงหัวไม้ บ้าง กระทั่งพยายามขุดคุ้ยหาเรื่องราวของเขาแบบจับแพะชนแกะ นำเสนอเรื่องราวของการุณในลักษณะเป็นเพียงข้อมูลด้านเดียวที่เต็มไปด้วยอคติ

 

เขาตัดสินใจเข้าสู่สนามการเมืองระดับ ชาติ ลงสมัครรับเลือกตั้งในปี 2548 แต่ต้องถูกพิษภัยเล่ห์กลสกปรกเล่นงานตัวเขาอย่างหนัก จนคู่ต่อสู้ของเขานางจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ จากพรรคชาติไทยได้รับการเลือกตั้งไปอย่างง่ายดาย เพราะการุณถูกเตะตัดขาไปเสียก่อน

 

การุณ  ถูกกระหน่ำ ถูกโจมตี อย่างหนักจากฝ่ายตรงข้าม เขาถูกบิดเบือนความจริงและถูกให้ร้ายป้ายสี จนไม่มีโอกาสที่จะพูดความจริงให้สังคมได้รับรู้แม้แต่เศษเสี้ยวหนึ่งของ เรื่องจริงทั้งหมด เป็นความเจ็บปวดบาดลึกอยู่ภายในใจของลูกผู้ชายที่ชื่อการุณ โหสกุล แต่เขาสะกดความรู้สึกเจ็บปวดได้เป็นอย่างดี ไม่ออกมาตอบโต้ เพียงเพื่อที่จะให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ความจริงให้ปรากฏ

 

“ผมยึดมั่นความจริง เพราะความจริง คือความจริง  ความดีคือความดีจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ ไม่วันใดก็วันหนึ่งความจริงย่อมปรากฏ ความดีย่อมชนะความชั่ว  ผมจะเอาชนะความเท็จด้วยความจริงและด้วยความดีเท่านั้นด้วยการรอคอยให้ถึง เวลานั้นเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ความจริงที่ใช้ได้เสมอ” การุณกล่าว

 

เวลาผ่านพ้นมาแล้ว ได้พิสูจน์ความจริงที่เป็นตัวตนของเขาอย่างถูกต้องชัดเจนแล้วว่าเขาคือ ผู้บริสุทธิ์ และด้วยความเก่ง เขาจึงเฮงได้จนถึงทุกวันนี้  เพราะด้วยความอดทน อดกลั้น เขาจึงยืนหยัดอยู่ได้อย่างทระนงองอาจบนถนนสายการเมือง วันนี้การุณ โหสกุลคือนักการเมืองหน้าใหม่ที่กำลังก้าวเดินสู่ความสำเร็จใกล้แค่เอื้อม มือถึง

 

 

จากรากหญ้าสู่รากไทร

การุณ โหสกุล เกิดวันที่ 4 ธันวาคม 2510 (ปัจจุบันอายุ 42 ปี) บิดาคือ นายสมพรรษา โหสกุล (เสียชีวิตแล้ว) มารดา นางสุบรรณ ถนัดทาง มีพี่ชาย 1 คน คือ นายสุริยา โหสกุล ซึ่งปัจจุบันเป็น ส.ก.เขตดอนเมือง มีพี่สาว 1 คน แต่งงานอยู่กับนางรัชดาวรรณ เกตุสะอาด (โหสกุล) อดีต ส.ก.เขตดอนเมืองแล้ว โดยมีบุตรด้วยกัน 2 คน  จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โรงเรียนเทคนิคธุรกิจบัณฑิต

การุณ โหสกุล  เติบโตและใช้ชีวิตอย่างโชกโชนในชุมชนเขตดอนเมืองที่ทำให้เขากล้าพูดด้วยความ ภาคภูมิใจว่าเขาคือคนท้องถิ่นพันธ์แท้ในฐานะที่เป็นลูกหลานของคนในชุมชน ดอนเมืองจนสามารถเดิน-เข้าออกตามตรอกตามซอยได้คล่องแคล่ว เขาจึงรู้เรื่องราวความเป็นไปและการเปลี่ยนแปลงของชุมชนดอนเมืองเป็นอย่างดี  แม้ว่าในบางช่วงขณะตัวเขาต้องออกห่างไปจากชุมชนแต่ทว่าเขามักจะไป-มาหมุน เวียนใช้ชีวิตอยู่กับชุมชนในเขตดอนเมืองอยู่เสมอ

การุณ ไม่ได้กำเนิดมาจากตระกูลร่ำรวยมากนัก เพราะความยากจนนี่เองทำให้การุณใช้ชีวิตต่อสู้ดิ้นรนทุกรูปแบบ อาชีพแรกเมื่อการุณอายุ 22 ปีที่เขากล้าประกาศให้สังคมรับรู้ก็คือ  มอเตอร์ไซด์รับจ้าง  ซึ่งมีรายได้ดำรงชีพน้อยมากจนแทบกระอักเลือด แต่ทว่าการุณนั้นมีความใฝ่ฝันแน่วแน่ เขาทำงานหนัก ไม่ย่อท้อ ตื่นแต่เช้าและทำงานขี่มอเตอร์ไซด์รับจ้างยาวนานชั่วโมง โดยใช้เงินอย่างประหยัด อดออม แต่ทว่า เขาไม่เคยหยุดนิ่งที่จะแสวงหาถึงความก้าวหน้าในชีวิต เขาเป็นเด็กหนุ่มไฟแรง ดังนั้นเขาจึงได้มีโอกาสไป ทำงานเป็นแมสเซนเจอร์ หรือพนักงานส่งเอกสารในบริษัทส่งออก-นำเข้าแห่งหนึ่ง  

การได้มีโอกาสมาเป็นพนักงานส่งเอกสารใน บริษัทนำเข้าและส่งออกสินค้าไปต่างประเทศเป็นเวลาถึง 3ปี ไม่ได้ทำให้ชีวิตของเขาหยุดนิ่งอยู่แค่การเป็นพนักงานส่งเอกสาร แต่เขาได้เรียนรู้การดำเนินธุรกิจส่งออก-นำเข้าอย่างลึกซึ้ง เขาใช้เวลาว่างอ่านเอกสาร พิมพ์ดีด และพูดคุยเก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำธุรกิจกับทุกคนในที่ทำงาน  จากการเป็นพนักงานส่งเอกสารของเขาทำให้เขาเรียนรู้วงจรธุรกิจและเครือข่าย ธุรกิจส่งออก-นำเข้าจนเชี่ยวชาญ เป็นเสมือนตำราเรียนที่ไม่มีในสถาบันการศึกษา

เขาจึงมีความเชี่ยวชาญและความรู้เป็น พิเศษในแวดวงธุรกิจนำเข้าและส่งออก จนกระทั่งมีผู้คนเข้ามาลงทุนทำธุรกิจนี้มากยิ่งขึ้น เมื่อทีมงานของบริษัทส่งออก-นำเข้าแห่งนี้เกิดสภาพการแตกตัวทางธุรกิจ  เขาจึงมีโอกาสสำคัญของชีวิตที่จะก้าวกระโดดพลิกผันชีวิตตนเอง เขากลายเป็นหุ้นส่วนและเรี่ยวแรงสำคัญของทีมงานธุรกิจที่แยกตัวออกมา  เพราะเหตุที่การุณ รู้ทุกช่องทางของเครือข่ายธุรกิจนำเข้า-ส่งออกนั่นเอง ที่นี่ทำให้ การุณ  กลายเป็นคนร่ำรวยทันตาเห็นในจังหวะก้าวของชีวิต เมื่อช่องทางการส่งออกได้ขยายตัวไปสู่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกกำลังเฟื่อง ฟู

เขาไม่ใช่เป็นเพียงแค่นักธุรกิจที่ กำลังกลายเป็นคนร่ำรวย แต่ด้วยความเป็นคนใจกว้างและเอื้ออาทร เคยใช้ชีวิตที่ยากจนมาก่อน เขาจึงใช้เงินของเขาสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนอย่างต่อเนื่อง เขาจึงเป็นที่รักใคร่ของผู้คนในย่านดอนเมือง และกลายเป็นผู้ที่กว้างขวางและมีอิทธิพลคนหนึ่งในดอนเมือง จนกระทั่งเขาได้มารู้จักกับนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ ได้ชักชวนเขามาเดินบนถนนการเมืองในปี 2540

การุณ ประสพผลสำเร็จจากการได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตดอนเมือง ของพรรคชาติไทยมา ยาวนาน ซึ่งทางพรรคหวังว่าจะให้นายการุณเป็นตัวแทนของพรรคในการลงสมัครเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของพรรค ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งทางพรรคไม่มีตัวแทนมานาน แต่ทว่าในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 นายการุณกลับลาออกไปสมัครเข้าพรรคไทยรักไทยแทน ทำให้ทางพรรคชาติไทยต้องเปลี่ยนตัวผู้สมัครในเขตนี้กระทันหัน เป็น นางสาวจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ หรือน้องแบมแทน 

การตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม ของพรรคไทยรักไทยเป็นจุดเริ่มต้นที่การุณต้องเผชิญกับความสกปรกโสโครกทางการ เมือง เขาจึงถูกพิษภัยเล่กลการเมืองเล่นงานอย่างหนัก ในเรื่องวุฒิการศึกษา ดังนั้นการเลือกตั้งในปี 2548 การุณ จึงต้องหลีกทางให้กับจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แต่การุณไม่ได้ท้อถอยหรือยอมศิโรราบกับ ความสกปรกป่าเถื่อนของสนามการเลือกตั้ง เขายังคงใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตคลุกคลีอยู่กับชาวบ้าน พบปะอยู่กับพี่น้องประชาชนที่เป็นเสมือนผนังทองแดงกำแพงเหล็กของการุณ โหสกุล จนกระทั่งการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 การุณจึงได้รับความไว้วางใจให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

การุณ โหสกุล เปิดเผยว่า เขาประทับใจในนโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปราบปรามยาเสพติดและการปราบปรามผู้มีอิทธิพล ที่ทำให้คนไทยหลุดพ้นไปจากยาเสพติดและประชาชนมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข  เขาจึงเป็นคนหนึ่งที่ยืนยันว่า เขาชื่นชอบ  มอบความรัก ความศรัทธาต่อพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และตั้งใจแน่วแน่ที่จะร่วมกับประชาชนต่อสู้ให้ให้พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กลับมาประเทศไทยให้ได้

การุณ โหสกุล  ยึดมั่นในความอดทน มุมานะ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค จะเอาชนะได้ทุกสิ่ง เขายังเชื่อมั่นอีกว่า หากคนเราไม่เห็นแก่ตัวและแบ่งปันให้กับคนอื่นๆ   การรู้จักแบ่งปัน จะทำให้เราเป็นที่ยอมรับจากประชาชนและนี่คือปัจจัยสำคัญนำมาสู่ความสำเร็จใน ชีวิตนักการเมืองของเขา

การเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนและการเข้าถึง ประชาชน ทำให้ประชาชนยอมรับการุณ โหสกุลจนไม่มีใครอาจหาญจะเข้ามาเป็นคู่แข่งในสนามการเลือกตั้งทุกสนามไม่ว่า จะเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นหรือการเลือกตั้งในระดับชาติ

เวลาได้พิสูจน์ความจริงให้กับการุณ โหสกุล ข้อกล่าวหาทั้งหลายทั้งปวงที่มีต่อเขาทั้งในเรื่องหย่าร้างหรือทุบตีกับ ภรรยาเขาไม่ใช่ความจริง เรื่องนักเลงหัวไม้หรือเป็นอันธพาลเป็นเพียงข้อมูลด้านเดียวที่จ้องทำลายทาง การเมือง 

 เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีความ โดดเด่นเป็นอย่างมาก ได้ทำหน้าที่รับใช้ประชาชนและประเทศชาติอย่างจริงจัง   ด้วยผลงานรูปธรรมปรากฏอยู่ในเขตดอนเมือง บ้านเกิดของเขา  ทุกที่ทุกทางชื่อของเขาปรากฏอยู่ให้เห็นเป็นผลงาน  และด้วยผลงานประจักษ์ชัดเจนของการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการตรวจ สอบการทำงานรัฐบาล การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง  กระทั่งการทำหน้าที่สำคัญในระดับแนวหน้าของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยใน สังคมไทย