ประโยชน์ของกระทะที่มากกว่าผัดและทอด คือ ....
เอาไว้คั่ว กับ ต้ม ... ... ...
ก่อนอื่น ผมจะขอเกริ่นถึงลุงเหลือ กับสุดยอดสิ่งประดิษฐ์ของลุง นั่นก็คือ จานดาวเทียมที่ทำมาจากกระทะ!!?? ...


จากการที่ลุงเหลือ ใช้กระทะ ประดิษฐ์เป็นจานรับสัญญาณดาวเทียมให้กับโรงเรียนต่างๆ เพื่อใช้รับสัญญาณเพื่อการศึกษา ด้วยความคิดอันสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด และความเสียสละที่ทำประโยชน์ให้กับส่วนรวมโดยไม่หวังผลตอบแทน ทำให้ลุงเหลือเป็นที่รู้จัก และมีรายการโทรทัศน์นำเรื่องราวของดาวเทียมกระทะเหล็กฝีมือลุงเหลือไป ออกรายการ
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ยังได้ขอพระราชทานปริญญาครุศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ แก่ลุงเหลือ ในฐานะเป็นผู้มีมานะ บากบั่น แสวงหาความรู้ คู่คุณธรรม นำปัญญาสู่ชุมชนและสังคม

สำหรับท่านที่สนใจเรื่องราวของลุงเหลือ สามารถเข้าไปอ่านได้ที่บล็อกของคุณ Am: Pimpon ครับ ในentry : ลุงเหลือ กับ จานดาวเทียมกระทะเหล็ก ลองเข้าไปอ่านดูนะครับ ได้ข้อคิดอะไรดีๆนะเออ
... ... ...
เอาล่ะ ... ทีนี้ เรามาไขปริศนากันครับ ,,, ทำไมกระทะซึ่งเป็นอุปกรณ์การทำกับข้าว ถึงกลายมาเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญในการสร้างจานรับสัญญาณดาวเทียมของลุงเหลือ ได้?
คำตอบก็คือ ... เพราะเส้นโค้งของกระทะ มีลักษณะคล้ายรูปพาราโบลา(Parabola) ...
หลายคนอาจจะถามหาพาราเซตามอนเมื่อต้องพูดถึงพาราโบลา ถ้างั้น เราไปทำความรู้จักกับมันซักหน่อยดีไหมจ๊ะ
พาราโบลา เป็นภาคตัดกรวยชนิด หนึ่ง ซึ่งมีนิยามว่า เซตของจุดบนเส้นโค้งซึ่งมีระยะห่างจากจุดคงที่จุดหนึ่งและเส้นตรงเส้นหนึ่ง ด้วยระยะทางที่เท่ากัน เราเรียกจุดคงที่จุดนั้นว่า "จุดโฟกัส" และเ้ส้นตรงเส้นนั้นว่า "เส้นไดเร็กตริกซ์"
พูดง่ายๆ เป็นภาษาคนหน่อยก็คือ ทุกๆจุดที่อยู่บนกราฟพาราโบลา จะห่างจากจุดโฟกัสและเส้นไดเร็กตริกซ์ ด้วยระยะห่างที่เท่ากันเสมอ ดังภาพต่อไปนี้

จากภาพ P1 ,P2 ,P3 เป็นจุดบนพาราโบลา ,จุด F เป็นจุดโฟกัสของพาราโบลา และ เส้นตรง L เป็นเส้นไดเร็กตริกซ์ของพาราโบลา
* ถ้าเราวัดระยะจากจุด P1 ไปยังจุด F จะต้องเท่ากันกับระยะจากจุด P1 ไปยังจุด Q1 ซึ่งเป็นจุดบนเส้นไดเร็กตริกซ์
* ถ้าเราวัดระยะจากจุด P2 ไปยังจุด F จะต้องเท่ากันกับระยะจากจุด P2 ไปยังจุด Q2 ซึ่งเป็นจุดบนเส้นไดเร็กตริกซ์
* ถ้าเราวัดระยะจากจุด P3 ไปยังจุด F จะต้องเท่ากันกับระยะจากจุด P3 ไปยังจุด Q3 ซึ่งเป็นจุดบนเส้นไดเร็กตริกซ์
เห็นรึยังครับว่า จุดบน พาราโบลา จะห่างจากจุดโฟกัส เท่ากับที่ห่างจากเส้นไดเร็กตริกซ์
... ... ...
คุณสมบัติอย่างหล่อ ของพาราโบลา ที่ทำให้มันกลายเป็นพระเอก ก็คือ ถ้าอะไรก็ตาม ที่เดินทางเป็นเส้นตรง มาชนส่วนเว้าของพาราโบลา สิ่งนั้น จะกระเด็นไปที่จุดโฟกัสเสมอ!!!

โป๊ะเชะเลยครับ!!! นั่นก็เพราะว่า คลื่นสัญญาณเดินทางเป็นเส้นตรง ถ้าเมื่อไหร่ ที่มันเดินทางมาตกกระทบกระทะ ซึ่งมีส่วนโค้งเว้าคล้ายกับพาราโบลา ก็จะทำให้คลื่นสัญญาณที่ถูกส่งมาไปรวมกันอยู่ที่จุดๆหนึ่ง(จุดโฟกัสของกระทะ ) ทีนี้ ถ้าเอาตัวรับสัญญาณไปติดตั้งตรงจุดนั้น เราก็จะได้ จานดาวเทียมกระทะเหล็กสุดเท่ มารับสัญญาณกันแบบไม่ต้องง้อของแพง
ลุงเหลือ สุดยอดกระทะแห่งพาราโบลารับสัญญาณดาวเทียม \(*w*)/
... ... ...
หมายเห็ด : เอ็นถี่นี้ ผมอธิบายในแง่ของคณิตแสดดด สำหรับมุมมองของเทคนิค และอิเล็กทรอนิกซ์ รวมทั้งโทรคมนาคมผมขอละไว้ในฐานที่ไม่เข้าใจ ถ้าหากท่านที่มีความสันทัดในเรื่องที่ผมไม่ได้อธิบาย จะเอาไปแตกประเด็นในเรื่องดังกล่าว ก็เยี่ยมเลยครับ
ผมกำลังคิดว่า ถ้าเราใช้กระทะรับแสงที่ส่งมามากพอ เราอาจจะปล่อยพลังคลื่นเต้าสะท้านฟ้าได้แบบ ซุนโงกุน ก็ได้เนาะ (*..*") { หลักการมาทั้งเอ็นถี่ ขอไร้สาระหน่อยนึงฮี่ )

เอาไว้คั่ว กับ ต้ม ... ... ...
ก่อนอื่น ผมจะขอเกริ่นถึงลุงเหลือ กับสุดยอดสิ่งประดิษฐ์ของลุง นั่นก็คือ จานดาวเทียมที่ทำมาจากกระทะ!!?? ...


จากการที่ลุงเหลือ ใช้กระทะ ประดิษฐ์เป็นจานรับสัญญาณดาวเทียมให้กับโรงเรียนต่างๆ เพื่อใช้รับสัญญาณเพื่อการศึกษา ด้วยความคิดอันสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด และความเสียสละที่ทำประโยชน์ให้กับส่วนรวมโดยไม่หวังผลตอบแทน ทำให้ลุงเหลือเป็นที่รู้จัก และมีรายการโทรทัศน์นำเรื่องราวของดาวเทียมกระทะเหล็กฝีมือลุงเหลือไป ออกรายการ
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ยังได้ขอพระราชทานปริญญาครุศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ แก่ลุงเหลือ ในฐานะเป็นผู้มีมานะ บากบั่น แสวงหาความรู้ คู่คุณธรรม นำปัญญาสู่ชุมชนและสังคม

สำหรับท่านที่สนใจเรื่องราวของลุงเหลือ สามารถเข้าไปอ่านได้ที่บล็อกของคุณ Am: Pimpon ครับ ในentry : ลุงเหลือ กับ จานดาวเทียมกระทะเหล็ก ลองเข้าไปอ่านดูนะครับ ได้ข้อคิดอะไรดีๆนะเออ
... ... ...
เอาล่ะ ... ทีนี้ เรามาไขปริศนากันครับ ,,, ทำไมกระทะซึ่งเป็นอุปกรณ์การทำกับข้าว ถึงกลายมาเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญในการสร้างจานรับสัญญาณดาวเทียมของลุงเหลือ ได้?
คำตอบก็คือ ... เพราะเส้นโค้งของกระทะ มีลักษณะคล้ายรูปพาราโบลา(Parabola) ...
หลายคนอาจจะถามหาพาราเซตามอนเมื่อต้องพูดถึงพาราโบลา ถ้างั้น เราไปทำความรู้จักกับมันซักหน่อยดีไหมจ๊ะ
พาราโบลา เป็นภาคตัดกรวยชนิด หนึ่ง ซึ่งมีนิยามว่า เซตของจุดบนเส้นโค้งซึ่งมีระยะห่างจากจุดคงที่จุดหนึ่งและเส้นตรงเส้นหนึ่ง ด้วยระยะทางที่เท่ากัน เราเรียกจุดคงที่จุดนั้นว่า "จุดโฟกัส" และเ้ส้นตรงเส้นนั้นว่า "เส้นไดเร็กตริกซ์"
พูดง่ายๆ เป็นภาษาคนหน่อยก็คือ ทุกๆจุดที่อยู่บนกราฟพาราโบลา จะห่างจากจุดโฟกัสและเส้นไดเร็กตริกซ์ ด้วยระยะห่างที่เท่ากันเสมอ ดังภาพต่อไปนี้

จากภาพ P1 ,P2 ,P3 เป็นจุดบนพาราโบลา ,จุด F เป็นจุดโฟกัสของพาราโบลา และ เส้นตรง L เป็นเส้นไดเร็กตริกซ์ของพาราโบลา
* ถ้าเราวัดระยะจากจุด P1 ไปยังจุด F จะต้องเท่ากันกับระยะจากจุด P1 ไปยังจุด Q1 ซึ่งเป็นจุดบนเส้นไดเร็กตริกซ์
* ถ้าเราวัดระยะจากจุด P2 ไปยังจุด F จะต้องเท่ากันกับระยะจากจุด P2 ไปยังจุด Q2 ซึ่งเป็นจุดบนเส้นไดเร็กตริกซ์
* ถ้าเราวัดระยะจากจุด P3 ไปยังจุด F จะต้องเท่ากันกับระยะจากจุด P3 ไปยังจุด Q3 ซึ่งเป็นจุดบนเส้นไดเร็กตริกซ์
เห็นรึยังครับว่า จุดบน พาราโบลา จะห่างจากจุดโฟกัส เท่ากับที่ห่างจากเส้นไดเร็กตริกซ์
... ... ...
คุณสมบัติอย่างหล่อ ของพาราโบลา ที่ทำให้มันกลายเป็นพระเอก ก็คือ ถ้าอะไรก็ตาม ที่เดินทางเป็นเส้นตรง มาชนส่วนเว้าของพาราโบลา สิ่งนั้น จะกระเด็นไปที่จุดโฟกัสเสมอ!!!

โป๊ะเชะเลยครับ!!! นั่นก็เพราะว่า คลื่นสัญญาณเดินทางเป็นเส้นตรง ถ้าเมื่อไหร่ ที่มันเดินทางมาตกกระทบกระทะ ซึ่งมีส่วนโค้งเว้าคล้ายกับพาราโบลา ก็จะทำให้คลื่นสัญญาณที่ถูกส่งมาไปรวมกันอยู่ที่จุดๆหนึ่ง(จุดโฟกัสของกระทะ ) ทีนี้ ถ้าเอาตัวรับสัญญาณไปติดตั้งตรงจุดนั้น เราก็จะได้ จานดาวเทียมกระทะเหล็กสุดเท่ มารับสัญญาณกันแบบไม่ต้องง้อของแพง
ลุงเหลือ สุดยอดกระทะแห่งพาราโบลารับสัญญาณดาวเทียม \(*w*)/
... ... ...
หมายเห็ด : เอ็นถี่นี้ ผมอธิบายในแง่ของคณิตแสดดด สำหรับมุมมองของเทคนิค และอิเล็กทรอนิกซ์ รวมทั้งโทรคมนาคมผมขอละไว้ในฐานที่ไม่เข้าใจ ถ้าหากท่านที่มีความสันทัดในเรื่องที่ผมไม่ได้อธิบาย จะเอาไปแตกประเด็นในเรื่องดังกล่าว ก็เยี่ยมเลยครับ
ผมกำลังคิดว่า ถ้าเราใช้กระทะรับแสงที่ส่งมามากพอ เราอาจจะปล่อยพลังคลื่นเต้าสะท้านฟ้าได้แบบ ซุนโงกุน ก็ได้เนาะ (*..*") { หลักการมาทั้งเอ็นถี่ ขอไร้สาระหน่อยนึงฮี่ )

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น