CBOX เสรีชน
17 พฤษภาคม, 2552
แฉยุบพรรค “มีใบสั่ง”
เมื่อ
เวลา 09.30 น.วันที่ 13 พ.ค. ที่รัฐสภา
มีการประชุมอนุคณะกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความสมานฉันท์ทางการเมือง
ของสังคมไทย
ซึ่งอยู่ในคณะกรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญ ที่มีนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว. นนทบุรี เป็นประธาน
โดยที่ประชุมได้ใช้เวลา 5 นาที เลือกนายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา เป็นประธาน
นายภาวิช ทองโรจน์ นายกสภาเภสัชกรรม ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย เป็นรองประธาน
นางผุสดี ตามไท ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเลขานุการ
จากนั้นที่ประชุมได้มีมติร่วมกันว่าจะใช้เวลาในการวางกรอบการทำงาน 2
สัปดาห์
ผู้
สื่อข่าวรายงาน ว่า การอภิปรายมีความตึงเครียดช่วงหนึ่งเมื่อนายศักดิ์
เตชาชาญ อดีตตุลาการศาลรัฐธรมนูญ
หนึ่งในเสียงข้างมากที่ตัดสินคดีซุกหุ้นของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิของพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า
ประเด็นที่ยังไม่ได้พูดกันคือใบสั่ง ตนเคยเป็นศาลรัฐธรรมนูญ
ตอนมีคำสั่งยุบพรรค ขอกราบเรียนเบื้องหลัง
ได้ถามเพื่อนฝูงทุกคนแล้วเห็นว่าไม่ควรยุบพรรค ควรแก้ลงโทษหัวหน้าพรรค
เลขาธิการและผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่พอจะเขียนคำวินิจฉัย
ปรากฏว่ามีใบสั่ง ซึ่งไม่ทราบว่าจริงหรือไม่จริง แต่ว่ามีใบสั่งมา
มันสร้างความสับสนให้ผู้พิพากษาทั้งหมดที่เคยเห็นด้วยกับตน
คำวินิจฉัยจึงออกมาน่าเกลียดมาก ร่วมทั้งเรื่องโมฆะการเลือกตั้ง
และองค์กรอิสระต่างก็เป็นใบสั่งและผลก็ออกมาอย่างที่เขาคาดการณ์ทุก
เรื่อง100%
“ซึ่ง
ผมไม่ยอมทำตามใบสั่งจึงไม่เจริญถึงทุกวันนี้
หลายคนที่ทำตามใบสั่งก็เจริญรุ่งเรืองเป็นใหญ่เป็นโตในขณะนี้
ดังนั้นเราต้องหาวิธีพิสูจน์ว่าใบสั่งมีจริงหรือไม่
ถ้ามีต่อไปนี้ต้องเลิกเด็ดขาด” นายศักดิ์ กล่าว
ทำ
ให้นายประสงค์ศักดิ์ บุญเดช อดีตผู้ว่าฯ ผู้ทรงคุณวุฒิจากส.ว. โต้ขึ้นว่า
อยากถามว่ามีหลักฐานหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้
พิจารณาจากคำพิพากษาที่มีความละเอียดมาก
แต่ละคนที่นั่งตรงนั้นเป็นผู้มีเกียรติ มีความรู้ มีฐานะทางสังคม
ใครจะออกใบสั่งได้ อย่างเก่งออกได้ 1-2 คน
แต่ส่วนใหญ่ออกพร้อมกันทั้งคณะเป็นเรื่องยาก ทั้งนี้
นายศักดิ์ไม่ได้ตอบโต้หรือลุกขี้นชี้แจงอะไร
รวมถึงอนุกรรมการในห้องประชุมก็ไม่มีใครติดใจซักถามใดๆ
ผู้
สื่อข่าวรายงานว่า
ส่วนเนื้อหาในการอภิปรายส่วนใหญ่ยังเป็นการโจมตีกันไปมาอย่างดุเดือด
ระหว่างส.ส.พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ นายศุภชัย ศรีหล้า
ส.ส.อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ปัญหาเกิดจากการบริหารของ
พ.ต.ท.ทักษิณ อาทิ การแทรกแซงองค์กรอิสระ ส.ว.
ร่วมทั้งการใช้อำนาจเพื่อองค์กรของตัวเอง
ยกตัวอย่างเช่นการประกาศว่าจะพัฒนาจังหวัดที่เลือกพรรคไทยรักไทย
ซึ่งเรื่องนี้เป็นเหตุผลมาสู่ความขัดแย้งสู่ปัจจุบัน ขณะ
ที่นายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย โต้ว่า
ปัญหาคือการรัฐประหารปี2549 ทำให้เกิดรัฐธรรมนูญ 50
ที่ทำให้เกิดตุลาการภิวัฒน์ และตามมาด้วย เรื่อง 2 มาตรฐาน
โดยมีการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเป็นหลัก
ที่นำมาซึ่งการยุบพรรคและตัดสิทธิ์ทางการเมือง
ทำให้มวลชนที่สนันสนุนคนกลุ่มนี้เกิดความไม่พอใจ
ดังนั้นการแก้รัฐธรรมนูญหากแก้เรื่องพวกนี้จะสามารถแก้ปัญหาได้
“การ
ผ่อนคลายความขัดแย้งระยะสั้นเร่งด่วน คือ
การแก้ไขให้ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 220
คน ที่ไม่ได้รับจากรัฐธรรมนูญ 50 ซึ่งจะต้องออกกฎหมายช่วยเหลือ
และไม่สามารถทำประชามติตัดสิน เพราะกรรมการบริหาร220
ถูกพิพากษาให้มีความผิด จึงต้องแก้ไขด้วยการออกกฎหมาย
จึงอยากให้ที่ประชุมเห็นด้วยหรือไม่” นายประเกียรติ กล่าว
ผู้
สื่อข่าวรายงานว่า คณะอนุกรรมการฯได้จัดวางแผนการทำงานไว้เป็น 3
แผนประกอบด้วย ระยะสั้น จะระดมข้อเสนอจากองค์กรภาคประชาสังคม อาทิ
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
เครือข่ายสานเสวนา ของสถาบันพระปกเกล้า สถาบันสันติวิธีศึกษา
สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาคณาจารย์
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต.
รวมทั้งได้เชิญแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
และกลุ่มเสื้อแดง มาให้ข้อมูลถึงเป้าหมายความต้องการของคนทั้งสองกลุ่ม
ทั้ง
นี้ หากการดำเนินการเห็นผลใน 45
วันจะทำให้ผ่อนคลายและลดระดับความขัดแย้งนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองและแก้ไข
รัฐธรรมนูญ เพื่อให้สังคมไทยได้มองเห็นและตระหนัก
ในชาติบ้านเมืองมากกว่าตนและพรรคพวกกลุ่ม
ทำให้เกิดกระแสที่อยู่ในระดับเป็นเทรนด์ของสังคม
เกิดกลไกการขับเคลื่อนและสนับสนุนการทำงานในข้อเสนอนี้ เช่นภาคีสื่อมวลชน
สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เครือข่ายประชาชนในขนบท
หลังจากนั้นรัฐบาลอาจจะยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ได้
นาย
ตวง กล่าวหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้อภิปรายกันได้สรุป 8
ข้อที่จะนำสังคมกลับคืนสู่ความสมานฉันท์ คือ
1.ทุกฝ่ายควรจะยอมรับก่อนว่ารัฐธรรมนูญทั้งปี 40 และปี 50
ต่างมีจุดแข็งและจุดอ่อน โดยปี 40 มีจุดแข็งที่ทำให้รัฐบาลเข้มแข็ง
แต่จุดอ่อนคือความเข้มแข็งทำให้กลไกตรวจสอบไม่ทำงาน ขณะที่ปี 50
มีจุดอ่อนทำให้รัฐบาลอ่อนแอ
แต่จุดแข็งอยู่ที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น
2.จุดที่เป็นปัญหาสำคัญในการเมืองคือบุคคลทางการเมือง
ดังนั้นข้อเสนอที่จะผ่อนคลายความขัดแย้งเบื้องต้นคือควรจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ม.237 ไม่ให้มีการยุบพรรคและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 5 ปี
เพราะจะไปกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนที่สนับสนุนพรรคต้องออกมาต่อสู้
โดยหากเกิดการทุจริตการเลือกตั้งให้ลงโทษเฉพาะผู้กระทำผิดหรือกรรมการ
แต่ไม่ควรยุบพรรค
3.
นักการเมืองควรจะลดความร้อนแรงในการวิวาทะทางการเมืองเพื่อลดอุณหภูมิความ
ขัดแย้งในสังคม 4.สื่อมวลชนทั้งภาครัฐและเอกชน
ต้องตระหนักถึงบทบาทที่จะมีส่วนช่วยในการลดบรรยากาศความขัดแย้ง
5.รัฐบาลต้องลดเงื่อนไขความขัดแย้ง
ไม่ควรจะให้องค์กรที่ใช้กำลังอย่างกองทัพไปชี้แจงงานของรัฐบาลหรือแจกซีดี
การสลายการชุมนุมเพราะจะทำให้ประชาชนเกิดความหวาดระแวงลุกขึ้นมาตอบโต้
แต่ควรจะใช้ข้าราชการฝ่ายปกครองอย่างกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่แทน
6.
ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตยในระยะยาว
7.ทำให้ระบบนิติรัฐเข้มแข็ง เพื่อไม่ให้เกิดกระบวนการยุติธรรมแบบ 2
มาตรฐาน และ
8.สร้างวัฒนธรรมความรับผิดชอบหรือการแสดงสปิริตทางการเมืองในหมู่นักการ
เมืองในกรณีที่ถูกจับได้ว่ากระทำความผิด
ไม่ใช่ดันทุรังอยู่ในตำแหน่งจนการต่อต้านลุกลามบานปลาย
เวลา 09.30 น.วันที่ 13 พ.ค. ที่รัฐสภา
มีการประชุมอนุคณะกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความสมานฉันท์ทางการเมือง
ของสังคมไทย
ซึ่งอยู่ในคณะกรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญ ที่มีนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว. นนทบุรี เป็นประธาน
โดยที่ประชุมได้ใช้เวลา 5 นาที เลือกนายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา เป็นประธาน
นายภาวิช ทองโรจน์ นายกสภาเภสัชกรรม ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย เป็นรองประธาน
นางผุสดี ตามไท ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเลขานุการ
จากนั้นที่ประชุมได้มีมติร่วมกันว่าจะใช้เวลาในการวางกรอบการทำงาน 2
สัปดาห์
ผู้
สื่อข่าวรายงาน ว่า การอภิปรายมีความตึงเครียดช่วงหนึ่งเมื่อนายศักดิ์
เตชาชาญ อดีตตุลาการศาลรัฐธรมนูญ
หนึ่งในเสียงข้างมากที่ตัดสินคดีซุกหุ้นของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิของพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า
ประเด็นที่ยังไม่ได้พูดกันคือใบสั่ง ตนเคยเป็นศาลรัฐธรรมนูญ
ตอนมีคำสั่งยุบพรรค ขอกราบเรียนเบื้องหลัง
ได้ถามเพื่อนฝูงทุกคนแล้วเห็นว่าไม่ควรยุบพรรค ควรแก้ลงโทษหัวหน้าพรรค
เลขาธิการและผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่พอจะเขียนคำวินิจฉัย
ปรากฏว่ามีใบสั่ง ซึ่งไม่ทราบว่าจริงหรือไม่จริง แต่ว่ามีใบสั่งมา
มันสร้างความสับสนให้ผู้พิพากษาทั้งหมดที่เคยเห็นด้วยกับตน
คำวินิจฉัยจึงออกมาน่าเกลียดมาก ร่วมทั้งเรื่องโมฆะการเลือกตั้ง
และองค์กรอิสระต่างก็เป็นใบสั่งและผลก็ออกมาอย่างที่เขาคาดการณ์ทุก
เรื่อง100%
“ซึ่ง
ผมไม่ยอมทำตามใบสั่งจึงไม่เจริญถึงทุกวันนี้
หลายคนที่ทำตามใบสั่งก็เจริญรุ่งเรืองเป็นใหญ่เป็นโตในขณะนี้
ดังนั้นเราต้องหาวิธีพิสูจน์ว่าใบสั่งมีจริงหรือไม่
ถ้ามีต่อไปนี้ต้องเลิกเด็ดขาด” นายศักดิ์ กล่าว
ทำ
ให้นายประสงค์ศักดิ์ บุญเดช อดีตผู้ว่าฯ ผู้ทรงคุณวุฒิจากส.ว. โต้ขึ้นว่า
อยากถามว่ามีหลักฐานหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้
พิจารณาจากคำพิพากษาที่มีความละเอียดมาก
แต่ละคนที่นั่งตรงนั้นเป็นผู้มีเกียรติ มีความรู้ มีฐานะทางสังคม
ใครจะออกใบสั่งได้ อย่างเก่งออกได้ 1-2 คน
แต่ส่วนใหญ่ออกพร้อมกันทั้งคณะเป็นเรื่องยาก ทั้งนี้
นายศักดิ์ไม่ได้ตอบโต้หรือลุกขี้นชี้แจงอะไร
รวมถึงอนุกรรมการในห้องประชุมก็ไม่มีใครติดใจซักถามใดๆ
ผู้
สื่อข่าวรายงานว่า
ส่วนเนื้อหาในการอภิปรายส่วนใหญ่ยังเป็นการโจมตีกันไปมาอย่างดุเดือด
ระหว่างส.ส.พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ นายศุภชัย ศรีหล้า
ส.ส.อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ปัญหาเกิดจากการบริหารของ
พ.ต.ท.ทักษิณ อาทิ การแทรกแซงองค์กรอิสระ ส.ว.
ร่วมทั้งการใช้อำนาจเพื่อองค์กรของตัวเอง
ยกตัวอย่างเช่นการประกาศว่าจะพัฒนาจังหวัดที่เลือกพรรคไทยรักไทย
ซึ่งเรื่องนี้เป็นเหตุผลมาสู่ความขัดแย้งสู่ปัจจุบัน ขณะ
ที่นายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย โต้ว่า
ปัญหาคือการรัฐประหารปี2549 ทำให้เกิดรัฐธรรมนูญ 50
ที่ทำให้เกิดตุลาการภิวัฒน์ และตามมาด้วย เรื่อง 2 มาตรฐาน
โดยมีการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเป็นหลัก
ที่นำมาซึ่งการยุบพรรคและตัดสิทธิ์ทางการเมือง
ทำให้มวลชนที่สนันสนุนคนกลุ่มนี้เกิดความไม่พอใจ
ดังนั้นการแก้รัฐธรรมนูญหากแก้เรื่องพวกนี้จะสามารถแก้ปัญหาได้
“การ
ผ่อนคลายความขัดแย้งระยะสั้นเร่งด่วน คือ
การแก้ไขให้ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 220
คน ที่ไม่ได้รับจากรัฐธรรมนูญ 50 ซึ่งจะต้องออกกฎหมายช่วยเหลือ
และไม่สามารถทำประชามติตัดสิน เพราะกรรมการบริหาร220
ถูกพิพากษาให้มีความผิด จึงต้องแก้ไขด้วยการออกกฎหมาย
จึงอยากให้ที่ประชุมเห็นด้วยหรือไม่” นายประเกียรติ กล่าว
ผู้
สื่อข่าวรายงานว่า คณะอนุกรรมการฯได้จัดวางแผนการทำงานไว้เป็น 3
แผนประกอบด้วย ระยะสั้น จะระดมข้อเสนอจากองค์กรภาคประชาสังคม อาทิ
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
เครือข่ายสานเสวนา ของสถาบันพระปกเกล้า สถาบันสันติวิธีศึกษา
สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาคณาจารย์
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต.
รวมทั้งได้เชิญแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
และกลุ่มเสื้อแดง มาให้ข้อมูลถึงเป้าหมายความต้องการของคนทั้งสองกลุ่ม
ทั้ง
นี้ หากการดำเนินการเห็นผลใน 45
วันจะทำให้ผ่อนคลายและลดระดับความขัดแย้งนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองและแก้ไข
รัฐธรรมนูญ เพื่อให้สังคมไทยได้มองเห็นและตระหนัก
ในชาติบ้านเมืองมากกว่าตนและพรรคพวกกลุ่ม
ทำให้เกิดกระแสที่อยู่ในระดับเป็นเทรนด์ของสังคม
เกิดกลไกการขับเคลื่อนและสนับสนุนการทำงานในข้อเสนอนี้ เช่นภาคีสื่อมวลชน
สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เครือข่ายประชาชนในขนบท
หลังจากนั้นรัฐบาลอาจจะยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ได้
นาย
ตวง กล่าวหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้อภิปรายกันได้สรุป 8
ข้อที่จะนำสังคมกลับคืนสู่ความสมานฉันท์ คือ
1.ทุกฝ่ายควรจะยอมรับก่อนว่ารัฐธรรมนูญทั้งปี 40 และปี 50
ต่างมีจุดแข็งและจุดอ่อน โดยปี 40 มีจุดแข็งที่ทำให้รัฐบาลเข้มแข็ง
แต่จุดอ่อนคือความเข้มแข็งทำให้กลไกตรวจสอบไม่ทำงาน ขณะที่ปี 50
มีจุดอ่อนทำให้รัฐบาลอ่อนแอ
แต่จุดแข็งอยู่ที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น
2.จุดที่เป็นปัญหาสำคัญในการเมืองคือบุคคลทางการเมือง
ดังนั้นข้อเสนอที่จะผ่อนคลายความขัดแย้งเบื้องต้นคือควรจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ม.237 ไม่ให้มีการยุบพรรคและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 5 ปี
เพราะจะไปกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนที่สนับสนุนพรรคต้องออกมาต่อสู้
โดยหากเกิดการทุจริตการเลือกตั้งให้ลงโทษเฉพาะผู้กระทำผิดหรือกรรมการ
แต่ไม่ควรยุบพรรค
3.
นักการเมืองควรจะลดความร้อนแรงในการวิวาทะทางการเมืองเพื่อลดอุณหภูมิความ
ขัดแย้งในสังคม 4.สื่อมวลชนทั้งภาครัฐและเอกชน
ต้องตระหนักถึงบทบาทที่จะมีส่วนช่วยในการลดบรรยากาศความขัดแย้ง
5.รัฐบาลต้องลดเงื่อนไขความขัดแย้ง
ไม่ควรจะให้องค์กรที่ใช้กำลังอย่างกองทัพไปชี้แจงงานของรัฐบาลหรือแจกซีดี
การสลายการชุมนุมเพราะจะทำให้ประชาชนเกิดความหวาดระแวงลุกขึ้นมาตอบโต้
แต่ควรจะใช้ข้าราชการฝ่ายปกครองอย่างกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่แทน
6.
ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตยในระยะยาว
7.ทำให้ระบบนิติรัฐเข้มแข็ง เพื่อไม่ให้เกิดกระบวนการยุติธรรมแบบ 2
มาตรฐาน และ
8.สร้างวัฒนธรรมความรับผิดชอบหรือการแสดงสปิริตทางการเมืองในหมู่นักการ
เมืองในกรณีที่ถูกจับได้ว่ากระทำความผิด
ไม่ใช่ดันทุรังอยู่ในตำแหน่งจนการต่อต้านลุกลามบานปลาย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)