ประชาไท
มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 6 ก.พ.52 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน กลุ่มวิชาการสื่อสารทางการเมือง คณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดสัมมนา “รัฐบาลกับการปฏิรูปสื่อไทย” โดยมีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในการสัมมนาว่า แนวทางการปฏิรูปสื่อรัฐของรัฐบาลชุดนี้ จะเริ่มที่กรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) ที่กำหนดแนวทางไว้ 2 ระยะ คือ ระยะสั้น ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะเปลี่ยนโลโก้สถานีวิทยุโทรทัศน์เอ็นบีที
ส่วนระยะยาวในช่วง 7-8 เดือนข้างหน้า เป็นการเปลี่ยนเนื้อหารายการช่อง 11 โดยกำหนดสัดส่วน 50% จะ เปิดพื้นที่สาธารณะให้กับผู้ผลิตคุณภาพและภาคประชาชน ที่ต้องการแสดงความคิดเห็นสร้างสรรค์สังคม แต่จะไม่ใช่ “ทีวีสาธารณะ” เหมือนทีวีไทย สำหรับสัดส่วนอีก 50% จะเป็นพื้นที่ประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดี ระหว่างภาครัฐ และประชาชน
นายสาทิตย์ กล่าวด้วยว่า ช่วง 8 ปีที่ผ่านมา กรมประชาสัมพันธ์ อ่อนแอมากในเรื่องกำลังคน ส่วนช่อง 11 เรียกว่าอยู่ในฐานะติดลบจากการดำเนินงาน เพราะไม่มีรายได้จากการขายโฆษณาเอง ขณะที่หน่วยงานรัฐมักขอใช้พื้นที่ฟรี โดยมีบุคลากรกว่า 100 คนที่บริษัทเอกชนร่วมผลิตดูแล และจ่ายเงินเดือนให้
“วันนี้ช่อง 11 ไม่สามารถผลิตรายการเองได้ทั้งหมด ถือเป็นโจทย์ใหญ่ในการปฏิรูปสื่อรัฐ” นายสาทิตย์กล่าว พร้อมเสริมว่าอย่าง ไรก็ตาม การให้ช่อง 11 เป็นสื่อนำเสนอเนื้อหาสาธารณะ และประชาสัมพันธ์ภาครัฐ เป็นเรื่องที่มีความยากลำบาก ในการหารายได้เลี้ยงตัวเอง ดังนั้น แนวทางที่รัฐจะต้องดำเนินการ คือ ให้งบประมาณสนับสนุน ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการศึกษาว่าหากช่อง 11 จะต้องปฏิรูปตามแนวคิดของรัฐบาล จะต้องใช้งบประมาณสนับสนุนเป็นจำนวนเท่าไร ซึ่งอาจจะนำเสนอของบประมาณเพิ่มเติมให้ช่อง 11 ในการจัดทำงบประมาณปี 2553
นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่า ในสัปดาห์หน้า รัฐบาลจะแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปสื่อภาครัฐ ทำหน้าที่ศึกษาโครงสร้างการปฏิรูปสื่อรัฐใน 3 ประเด็น คือ 1.ศึกษาโครงสร้างกรมประชาสัมพันธ์ว่า ควรจะเป็นแบบใดและการนำสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11) และสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย ออกมาจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน ที่ปลอดจากการแทรกแซงของรัฐ 2.ศึกษา โครงสร้างการบริหารคลื่นความถี่ของ อสมท.ในอนาคต และแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่ของหน่วยงานต่างๆ หลังประกาศใช้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับแก้ไขปี 2543 และ 3.ทำให้เกิดคณะกรรมการจัดสรรคลื่นความถี่ กสทช.ว่าจะดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ของหน่วยงานต่างๆ อย่างไร
“คณะกรรมการชุดนี้ จะมีคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ และผม เป็นที่ปรึกษา และมีคณะกรรมการอีกกว่า 10 คน จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์, นักวิชาชีพสื่อ, องค์กรภาคประชาชน ฯลฯ โดยมีบุคคลทาบทามแล้ว เช่น ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ จากทีดีอาร์ไอ, นายภัทระ คำพิทักษ์, ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ, ดร.พิรงรอง รามสูตร รณะนันท์, ดร.วิลาสินี พิพิธกุล, นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์” นายสาทิตย์ กล่าว
มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 6 ก.พ.52 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน กลุ่มวิชาการสื่อสารทางการเมือง คณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดสัมมนา “รัฐบาลกับการปฏิรูปสื่อไทย” โดยมีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในการสัมมนาว่า แนวทางการปฏิรูปสื่อรัฐของรัฐบาลชุดนี้ จะเริ่มที่กรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) ที่กำหนดแนวทางไว้ 2 ระยะ คือ ระยะสั้น ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะเปลี่ยนโลโก้สถานีวิทยุโทรทัศน์เอ็นบีที
ส่วนระยะยาวในช่วง 7-8 เดือนข้างหน้า เป็นการเปลี่ยนเนื้อหารายการช่อง 11 โดยกำหนดสัดส่วน 50% จะ เปิดพื้นที่สาธารณะให้กับผู้ผลิตคุณภาพและภาคประชาชน ที่ต้องการแสดงความคิดเห็นสร้างสรรค์สังคม แต่จะไม่ใช่ “ทีวีสาธารณะ” เหมือนทีวีไทย สำหรับสัดส่วนอีก 50% จะเป็นพื้นที่ประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดี ระหว่างภาครัฐ และประชาชน
นายสาทิตย์ กล่าวด้วยว่า ช่วง 8 ปีที่ผ่านมา กรมประชาสัมพันธ์ อ่อนแอมากในเรื่องกำลังคน ส่วนช่อง 11 เรียกว่าอยู่ในฐานะติดลบจากการดำเนินงาน เพราะไม่มีรายได้จากการขายโฆษณาเอง ขณะที่หน่วยงานรัฐมักขอใช้พื้นที่ฟรี โดยมีบุคลากรกว่า 100 คนที่บริษัทเอกชนร่วมผลิตดูแล และจ่ายเงินเดือนให้
“วันนี้ช่อง 11 ไม่สามารถผลิตรายการเองได้ทั้งหมด ถือเป็นโจทย์ใหญ่ในการปฏิรูปสื่อรัฐ” นายสาทิตย์กล่าว พร้อมเสริมว่าอย่าง ไรก็ตาม การให้ช่อง 11 เป็นสื่อนำเสนอเนื้อหาสาธารณะ และประชาสัมพันธ์ภาครัฐ เป็นเรื่องที่มีความยากลำบาก ในการหารายได้เลี้ยงตัวเอง ดังนั้น แนวทางที่รัฐจะต้องดำเนินการ คือ ให้งบประมาณสนับสนุน ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการศึกษาว่าหากช่อง 11 จะต้องปฏิรูปตามแนวคิดของรัฐบาล จะต้องใช้งบประมาณสนับสนุนเป็นจำนวนเท่าไร ซึ่งอาจจะนำเสนอของบประมาณเพิ่มเติมให้ช่อง 11 ในการจัดทำงบประมาณปี 2553
นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่า ในสัปดาห์หน้า รัฐบาลจะแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปสื่อภาครัฐ ทำหน้าที่ศึกษาโครงสร้างการปฏิรูปสื่อรัฐใน 3 ประเด็น คือ 1.ศึกษาโครงสร้างกรมประชาสัมพันธ์ว่า ควรจะเป็นแบบใดและการนำสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11) และสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย ออกมาจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน ที่ปลอดจากการแทรกแซงของรัฐ 2.ศึกษา โครงสร้างการบริหารคลื่นความถี่ของ อสมท.ในอนาคต และแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่ของหน่วยงานต่างๆ หลังประกาศใช้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับแก้ไขปี 2543 และ 3.ทำให้เกิดคณะกรรมการจัดสรรคลื่นความถี่ กสทช.ว่าจะดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ของหน่วยงานต่างๆ อย่างไร
“คณะกรรมการชุดนี้ จะมีคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ และผม เป็นที่ปรึกษา และมีคณะกรรมการอีกกว่า 10 คน จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์, นักวิชาชีพสื่อ, องค์กรภาคประชาชน ฯลฯ โดยมีบุคคลทาบทามแล้ว เช่น ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ จากทีดีอาร์ไอ, นายภัทระ คำพิทักษ์, ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ, ดร.พิรงรอง รามสูตร รณะนันท์, ดร.วิลาสินี พิพิธกุล, นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์” นายสาทิตย์ กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น