CBOX เสรีชน

19 มีนาคม, 2552

บทความ: แม่เจ้าโว้ยยังไม่ทันอภิปรายเสร็จ ชเลียโพลก็เปิดปุ๊บติดปั้บจริงๆ

โดย สายลมรัก
ที่มา เว็บบอร์ดประชาไท
19 มีนาคม 2552

เอ แบคโพลสำรวจความเห็นประชาชนศึกอภิปรายไม่ ไว้วางใจ ไม่กระเทือน"อภิสิทธิ์-ประชาธิปัตย์" กว่าร้อยละ 70 ศรัทธาไม่ลดลง ระบุข้อมูลของ"เฉลิม"ไม่น่าเชื่อถือ ต้องการให้"เพื่อไทย"เป็นฝ่ายค้านต่อ

ดร. นพ ดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2552 ถึงผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real-Time Survey)” ภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงเรื่อง ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ(1,135 ตัวอย่าง) ในวันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม 2552 ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ พบว่าประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่คือร้อยละ 76.7 ระบุไม่ได้ติดตามรับชม/ไม่ได้ติดตามรับฟังการถ่ายทอดสดการถ่ายทอดสดการ อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในช่วงเช้าที่ผ่านมา

ขณะที่ร้อยละ 17.0 ระบุติดตามบ้าง และร้อยละ 6.3 ระบุติดตามตลอด

เมื่อ สอบถามถึงการติดตามรับชมรับฟังการอภิปรายจำแนกตามรายบุคคลนั้นพบ ว่า ร้อยละ 74.7 ระบุได้ติดตามรับชม/รับฟังการอภิปรายของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.พรรคเพื่อไทย ขณะที่ร้อยละ 25.3 ระบุไม่ได้ติดตาม

สำหรับการอภิปรายของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีนั้นพบว่า ร้อยละ 69.0 ระบุได้ติดตาม ในขณะที่ร้อยละ 31.0 ระบุไม่ได้ติดตาม

สำหรับ ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำมาอภิปรายนั้น พบว่า ร้อยละ 34.4 ระบุข้อมูลในการอภิปรายของ ร.ต.อ.เฉลิม มีความน่าเชื่อถือ ร้อยละ 19.4 ระบุเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง และร้อยละ 46.2 ระบุไม่น่าเชื่อถือ

สำหรับ ข้อมูลในการอภิปรายของ นายอภิสิทธิ์ พบว่าร้อยละ 62.0 ระบุน่าเชื่อถือ ร้อยละ 17.5 ระบุเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง และร้อยละ 20.5 ระบุไม่น่าเชื่อถือ

ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความนิยมศรัทธาที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ ภายหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจโดย ร.ต.อ. เฉลิม นั้น พบว่า ร้อยละ 27.6 ระบุนิยมศรัทธาลดน้อยลง ในขณะที่ร้อยละ 72.4 ระบุไม่ลดน้อยลง

เมื่อ สอบถามถึงความนิยมศรัทธาที่มีต่อนายอภิสิทธิ์ ภายหลังการอภิปรายฯ นั้น พบว่า ร้อยละ 29.4 ระบุนิยมศรัทธาลดน้อยลง ในขณะที่ร้อยละ 70.6 ระบุไม่ลดน้อยลง

นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อพรรคเพื่อไทยกรณีควรเป็นฝ่ายค้านต่อไป หรือควรกลับมาเป็นรัฐบาลนั้น พบว่า ร้อยละ 73.1 ระบุพรรคเพื่อไทยควรเป็นฝ่ายค้านต่อไปก่อน ในขณะที่ร้อยละ 26.9 ระบุควรให้พรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาล

สำหรับความพึงพอใจต่อการ ทำหน้าที่ประธานสภาฯ นั้นพบว่า ร้อยละ 19.4 ระบุพอใจมาก-มากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 48.3ระบุพอใจค่อนข้างมาก ร้อยละ 24.1 ระบุค่อนข้างน้อย และร้อยละ 8.2 ระบุน้อย-น้อยที่สุด

เมื่อสอบถามถึงบรรยากาศในการ อภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงเช้าวันที่ 19 มีนาคม ผ่านมานั้น พบว่า ร้อยละ 17.0 ระบุพอใจมาก-มากที่สุด ร้อยละ 53.0 ระบุพอใจค่อนข้างมาก ร้อยละ 23.9 ระบุค่อนข้างน้อย และร้อยละ 6.1 ระบุน้อย-น้อยที่สุด ตามลำดับ

อนึ่ง ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.8 เป็นหญิง ร้อยละ 45.2 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 7.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 25.0 อายุระหว่าง 20 – 29 ปี ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 30 – 39 ปี ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 40 – 49 ปี และ ร้อยละ 21.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่างร้อยละ 74.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 23.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 30.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ตัวอย่างร้อยละ 27.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 13.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.9 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 5.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 4.6 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 22.0 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 20.9 ระบุมีรายได้ 5,001 – 10,000 บาท ร้อยละ 13.6 ระบุมีรายได้ 10,001–15,000 บาท ร้อยละ 11.1 ระบุมีรายได้ 15,001–20,000 บาท ร้อยละ 14.8 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน และร้อยละ 17.6 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน

น่าจะเปลี่ยนไปเป็นฮิตาชิโพลเนอะ

ทันใจมาร์คมั่ก ๆ

การตรวจสอบอุปกรณ์ Remote

การตรวจสอบอุปกรณ์ Remote Control แบบง่าย ๆ
อุปกรณ์ Remote Control ของเครื่องรับโทรทัศน์ทั่วไป เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานในการสั่งให้เครื่องรับโทรทัศน์ปิดหรือเปิดเครื่อง เปลี่ยนช่องรายการโทรทัศน์ปรับความดังของเสียงหรือปรับค่าคุณภาพของภาพ เกี่ยวกับความชัดเจน สี และแสงสว่าง การทํางานของเครื่อง Remote Control คือตัวเครื่องจะมีปุ่มสั่งงาน และ มี LED : Light Emitting Diode ซึ่งสร้างแสง Infrared เป็นแสงที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (ความถี่ของแสง Infrared ต่ำกว่าความถี่ของแสงที่มองเห็น)



เครื่อง Remote Control ที่ใช้งานทุกวันนี้มีโอกาสเสียใช้งานไม่ได้ จากสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ
1. เครื่องจมน้ำ จากความเพลอนําเสื้อผ้าที่มี Remote Control ใส่เครื่องซักผ้าโดยไมได้ตรวจสอบก่อน จากสาเหตุนี้เครื่องเสียซ่อมไม่ได้ อย่าทิ้งเก็บทําอะไหล่ได้
2. ลืมเปลี่ยนถ่านแบตเตอรี่ น้ำกรดในถ่านกัดลายเส้นทองแดงบนแผ่นปริ้นท์ขาด อาจใช้ลวดสายไฟต่อได้บางจุด แต่ถ้ากรดกัดตัว IC ก็ซ่อมไม่ได้
3. ทําตกกับพื้น เครื่องเสียไม่ทํางาน พบบ่อยมาก สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องจากตัวอุปกรณ์แร่ความถี่วิทยุ (Crystal) แตกหัก ซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนซ่อมได้ส่วนมาก Crystal ที่ใช้งาความถี่ 455 KHz
การ ซ่อมอุปกรณ์ เครื่อง Remote Control ปกติหากซื้อใหม่มาเปลี่ยน ถ้าเป็นเครื่อปลอม หมายถึงรูปร่างเหมือนกันแต่จะไม่มียี่ห้อหรือตราอักษรแสดงบริษัทผู้ผลิต รุ่น ที่ชัดเจนราคาประมาณ 50-100 บาท แต่ถ้าเป็นแบบแท้รูปร่างก็จะเหมือนของจริงทุกอย่าง ราคตั้งแต่ 100-200 บาท และของแท้ราคาตั้งแต่ 200-500 บาท จะเห็นได้ว่าถ้าจะจ้างซ่อมก็จะไม่คุ้มค่าซ่อม จะต้องซ่อมเอง และวิสัยช่างเทคนิคที่มีจิตวิญญาณที่เป็นช่างก็อดไม่ได้ที่จะต้องลื้อ อุปกรณ์พยายามที่จะซ่อมเอง ซึ่งการตรวจซ่อมก็ต้องพยายามหาจุดเสียก่อน
มีวิธีตรวจสอบหลายวิธี ดังนี้ คือ
1. ตรวจวัดการทํางานของเครื่องว่าส่งแสง Infrared ได้หรือไม่ก็โดยการนํามิเตอร์มาวัดที่ขา LEDจะพบว่าโวลท์ที่ตกคล่อม LED จะเปลี่ยนค่าเล็กน้อยเมื่อกดปุ่มที่ Remote ปุ่มใดก็ได้ แต่อย่าลืมใส่ถ่านด้วยนะครับ



วิธีการตรวจสอบแบบนี้เป็นการตรวจเช็คว่าเครื่องทํางานหรือไม่ และตรวจสอบอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เห็นได้ง่าย เช่น ทรานซิสเตอร์ LED อาจจะมี Diode และ Resistors สําหรับบางรุ่น IC ตรวจวัดได้ยากมากและแร่ความถี่ (Crystal) ตรวจวัดไม่ได้ส่วนมากจะแตกหักภายใน วิธีการก็ทดลองนําตัวใหม่มาเปลี่ยนส่วนมากถ้าทําตกลงพื้นก็พบว่า Crystal เสียเปลี่ยนแล้วใช้งานได้
2. ตรวจสอบอุปกรณ์ Remote Control ด้วยเครื่องรับวิทยุ ระบบ AM ซึ่งเครื่องรัวิทยุนี้จะใช้ความถี่ของ IF : Intermediate Frequency คือ 455 KHz เมื่อนํอุปกรณ์ Remote Control ที่ใช้ความถี่ในการส่งสัญญาณความถี่เดียวกัน 455 KHz ไปใกล้เครื่องรับวิทยุ AM ที่เปิดเครื่องแต่ไม่ตรงกับสถานีวิทยุใด ๆ เมื่อกดปุ่ม Remote Control จะพบว่ามีเสียงแค๊ก (เหมือนเสียงกดปุ่มเครื่องส่งวิทยุมือถือ) แสดงว่าเครื่องทํางานปกติ



3. วิธีสุดท้ายเป็นสุดยอดของการตรวจสอบ Remote Control อย่างง่าย ๆ คือ เครื่อง Remote Control ของเครื่องรับโทรทัศน์ของผมเสีย และผมพบกับช่างเทคนิคของสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ คือ นายรพีพงษ์ เป๊กทอง นายช่างไฟฟ้าสื่อสาร 5 หรือเพื่อน ๆ เรียกว่าคุณเป๊ก บอกว่าใช้โทรศัพท์มือถือที่มีกล้องถ่ายรูปสามารถตรวจสอบการทํางานของ Remote ได้



เพราะกล้องถ่ายรูปของโทรศัพท์มือถือสามารถมองเห็นแสง Infrared ได้ และแจ้งว่าอนุญาตให้นําไปเขียนเป็นบทความได้ ผมจึงขอขอบคุณด้วยที่ให้ความอนุเคราะห์ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและตรวจสอบได้ทุกรุ่น ทุกแบบ ของอุปกรณ์ Remote Control ทุกชนิด การใช้งานสะดวกข้อเสนอแนะไม่ควรทดสอบในที่ที่มีแสงสว่างมาก ๆ ควรทดสอบในที่ร่ม เมื่อกดปุ่ม Remoteแล้วมองดูภาพจากกล้องถ่ายรูปในโทรศัพท์มือถือจะเห็นรูปของ Remote มีแสงเมื่อกดปุ่ม
..........................................

วีระศักดิ์ เชิงเชาว์
ส่วน เทคโนโลยี สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

พลังงานไฮโดรเจนจะช่วยโลก

ผู้เขียนโดย
ดร.ธรรมนูญ ศรีทะวงศ์
วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


บทที่ 1 - พลังงานไฮโดรเจน
ประเทศ ไทยได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จากเดิมระบบเศรษฐกิจต้องพึ่งพาผลผลิตจากภาคการเกษตรเป็นหลัก แต่ปัจจุบันผลผลิตส่วนใหญ่มาจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจากการขยายตัวในส่วนของภาคอุตสาหกรรมและการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศ ได้ส่งผลให้ประเทศต้องพึ่งพาน้ำมันปิโตรเลียมมากขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่ง พลังงานซึ่งนับวันราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น นอกจากภาคอุตสาหกรรมแล้ว ความต้องการด้านพลังงานในภาคเศรษฐกิจ สังคมรวมถึงการใช้งานในชีวิตประจำวันก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ดังนั้นประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องหาแหล่งพลังงานในประเทศให้มากขึ้น รวมทั้งเร่งรัดนโยบายการประหยัดพลังงานควบคู่กันไปด้วย
พลังงานไฮโดรเจน (Hydrogen, H2) ซึ่งถือได้ว่าเป็นพลังงานเชื้อเพลิงสำหรับการเผาไหม้ที่มีประสิทธิภาพสูง, สะอาด, และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้รับการคาดหมายและยอมรับว่าจะเป็นแหล่งของพลังงานเชื้อเพลิงที่สำคัญอย่าง มากในอนาคต ในปัจจุบันนี้กระบวนการเปลี่ยนรูปสารไฮโครคาร์บอนด้วยไอน้ำ (Steam reforming of hydrocarbons) เป็นกระบวนการที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการผลิตพลังงานไฮโดรเจน แต่ปัญหาหลักที่สำคัญมากของกระบวนการนี้คือ การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมากซึ่งเป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อน หรือปรากฏการณ์เรือนกระจก นอกจากนี้แล้วยังประสบปัญหาการขาดแคลนแหล่งของไฮโดรคาร์บอนที่นำมาใช้ใน กระบวนการอีกด้วย ดังนั้นกระบวนการอื่นซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ที่ปลอดภัย และสามารถผลิตพลังงานไฮโดรเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรได้มีการพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับความต้องการพลังงานไฮโดรเจนในอนาคต



รูปที่ 1 คุณสมบัติของก๊าซไฮโดรเจน

(ที่มา: http://www.enaa.or.jp/WE-NET/suiso/suiso1_e.html)

ก๊าซ ไฮโดรเจนถือได้ว่าเป็นเชื้อเพลิงอนาคต ทั้งนี้เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อเกิดการเผาไหม้กับก๊าซ ออกซิเจน โดยจะมีเพียงไอน้ำเป็นผลพลอยได้ ซึ่งแตกต่างจากเชื้อเพลิงอื่นๆที่ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นผลพลอยได้ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas) ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำให้โลกร้อนขึ้น (Global warming) นอกจากนี้ยังสามารถนำก๊าซไฮโดรเจนไปผลิตกระแสไฟฟ้าโดยป้อนเข้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell) ซึ่งขณะนี้นักวิจัยทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมากในการพัฒนาเซลล์เชื้อ เพลิงมาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เนื่องจากประสิทธิ ภาพของเซลล์เชื้อเพลิงมีค่าสูงกว่าอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าแบบอื่นๆมาก ดังนั้นพลังงานไฮโดรเจนจึงเป็นอีกทาง เลือกหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ทดแทนพลังงานดั้งเดิมได้

เนื่องจากคุณประโยชน์ในด้านต่างๆโดยสรุปดังนี้
1. แหล่งพลังงานดั้งเดิมก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งก๊าซชนิดนี้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกโดยเฉพาะก๊าซ คาร์บอนมอนออกไซด์ ซึ่งเกิดจากการสันดาป (Combustion) ของสารประกอบอินทรีย์ เช่น น้ำมัน แต่พลังงานไฮโดรเจนเป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นจึงไม่ส่งผลให้เกิดภาวะเรือนกระจก
2. การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงดั้งเดิม ไม่ว่าจะมาจากยานพาหนะหรือแหล่งอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก่อให้ เกิดกลุ่มควันและฝุ่นละออง แต่พลังงานไฮโดรเจนไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศเหล่านี้
3. พลังงานไฮโดรเจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานที่ต้องใช้พลังงานดั้งเดิมได้ เช่น ใช้เป็นเชื้อ เพลิงสำหรับครัวเรือน เครื่องยนต์สันดาปภายใน เครื่องกังหัน และเครื่องไอพ่น
4. ค่าพลังงานเชื้อเพลิงที่ได้จากไฮโดรเจนจะมากกว่าค่าพลังงานเชื้อเพลิงไฮโดร คาร์บอน และเชื้อ เพลิงจากแอลกอฮอร์ เช่น เมทานอลและเอทานอลถึง 2.5 และ 5 เท่า ตามลำดับ
5. ก๊าซไฮโดรเจนสามารถนำไปใช้กับเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell) ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาและคาดว่าจะนำมาใช้อย่างกว้างขวางในอนาคต



รูปที่ 2 การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (แสดงในรูปของคาร์บอน) จากยานพาหนะที่ใช้การสันดาปภายในด้วยน้ำมันเบนซีนเปรียบเทียบกับยานพาหนะที่ ใช้เซลล์เชื้อเพลิงเป็นแหล่งของพลังงาน
(ที่มา: Bak T, Nowotny J, Rekas M, Sorrell C C, Int. J. Hydrogen Energy, 27 (2002) 991)

บทที่ 2 - แนวคิดเกี่ยวกับการแยกโมเลกุลน้ำเพื่อผลิตไฮโดรเจน
แนวความคิดของกระบวนการแยกโมเลกุลน้ำ (Water splitting reaction) เพื่อผลิตพลังงานไฮโดรเจน ได้ถูกพัฒนาขึ้นเนื่องมาจากความมั่นใจที่ว่า กระบวนการนี้สามารถเป็นแหล่งของพลังงานไฮโดรเจนที่ยั่งยืน (Sustainable energy) แหล่งของสารตั้งต้นที่นำมาใช้ในการผลิตพลังงานในกระบวนการนี้ซึ่งได้แก่ แหล่งน้ำ ก็เป็นแหล่งพลังงานที่สามารถหาได้อย่างไม่จำกัด นอกจากนี้พลังงานไฮโดรเจนที่ผลิตได้จากกระบวนการนี้ก็ไม่มีสารผลิตภัณฑ์อื่น ที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเจอปนอีกด้วย
แต่เนื่องจากปฏิกิริยานี้เป็น ปฏิกิริยาที่ดูดความร้อนสูงเพื่อใช้ในการผลิตไฮโดรเจน แหล่งของพลังงานความร้อนในอุดมคติที่สามารถจะนำมาใช้งานได้ต้องเป็นแหล่งที่ สามารถหาได้ในปริมาณมากเพียงพอและไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นแหล่งของพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (Renewable resource) มีความเหมาะสมเป็นอย่างมากสำหรับนำมาใช้งานในกระบวนแยกโมเลกุลน้ำนี้ นอกจากนี้การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการผลิตพลังงานไฮโดรเจนจากกระบวนการ แยกโมเลกุลน้ำ ยังเป็นวิธีการที่น่าสนใจเป็นอย่างมากในมุมมองของการเปลี่ยนพลังงานแสง อาทิตย์เป็นพลังงานเคมี



รูปที่ 3 แนวความคิดในการแยกโมเลกุลน้ำด้วยแสงอาทิตย์และสารกึ่งตัวนำเพื่อผลิตพลังงานไฮโดรเจน
(ที่มา: http://www2.slac.stanford.edu/tip/2003/mar21/hydrogen.htm )

นับ จากอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการพัฒนาระบบทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับการดูดซับพลังงานรังสีแม่เหล็ก ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์โดยสารเคมีที่เราเรียกกันว่าสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) ซึ่งทำให้เกิดการเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกิริยาที่สามารถแยกโมเลกุลน้ำขึ้นได้ กระบวนบวนการผลิตไฮโดรเจนด้วยวิธีดังกล่าวโดยใช้สารกึ่งตัวนำทั้งแบบโลหะ เดี่ยวและโลหะผสมเป็นตัวเร่งปฏิกิริยานี้ มีข้อดีหลายประการได้แก่ ประหยัดค่าใช้จ่าย, ทนทานต่อการเสื่อมสภาพ, ไม่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม, และสามารถดำเนินการได้อย่างปลอดภัย

บทที่ 3 - การเกิดปฏิกิริยาแยกโมเลกุลน้ำเพื่อผลิตไฮโดรเจน
ในกลุ่มของสารกึ่งตัวนำที่ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้แสงร่วม ไททาเนีย (TiO2) ได้รับความสนใจมากที่สุดในการนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการกำจัดสารพิษที่ส่ง ผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและในกระบวนการเร่งปฏิกิริยาที่ใช้แสงร่วมต่าง ๆ นับจากมีการริเริ่มคิดค้นการนำไททาเนียอิเล็คโทรด (TiO2 electrode) มาใช้ในกระบวนการเคมีไฟฟ้าที่เหนี่ยวนำด้วยแสง (Photoelectrochemical process) สำหรับการแยกโมเลกุลน้ำโดยกลุ่มนักวิจัยชาวญี่ปุ่นได้แก่ Fujishima และ Honda ในปี 1972 ทำให้จนถึงปัจจุบันนี้มีความสนใจอย่างต่อเนื่องในการนำไททาเนียมาใช้เป็นตัว เร่งปฏิกิริยาในปฏิกิริยาการแยกโมเลกุลน้ำเพื่อผลิตพลังงานไฮโดรเจนภายใน ระบบที่มีการฉายแสง
เมื่อไททาเนียทำการดูดซับโฟตอน (Photon) ที่มีพลังงานเท่ากับหรือมากกว่าค่าความแตกต่างระหว่างค่าพลังงานในระดับคอนดัคชันแบนด์ (Conduction band, CB) และวาเลนซ์แบนด์ (Valence band, VB) หรือเป็นที่รู้จักกันว่าพลังงานแบนด์แกป (Energy band gap) จะทำให้เกิดการกระตุ้นให้อิเลคตรอนในระดับชั้นพลังงานวาเลนซ์แบนด์เคลื่อน ที่ไปอยู่ในระดับชั้นพลังงานคอนดัคชันแบนด์ ทำให้เกิดคอนดัคชันแบนด์อิเลคตรอน (Conduction band electron, e-cb) และวาเลนซ์แบนด์โฮล (Valence band hole, h+vb) ขึ้น
แต่ อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้ว ไฮโดรเจนไม่สามารถถูกผลิตขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นผิวของไททาเนียที่ ยังไม่ได้รับการปรับแต่ง เนื่อง จากพลังงานแบนด์แกปของไททาเนียมีค่าสูงคือ 3.2 eV สำหรับไททาเนียชนิดอนาเทส (Anatase) และ 3.0 eV สำหรับไททาเนียชนิดรูไทล์ (Rutile) ทำให้เกิดการรวมตัวกลับของอิเลคตรอนและโฮลได้ง่าย การแก้ไขข้อจำกัดนี้อย่างมีประสิทธิภาพทำได้โดยการใช้สารที่เอื้อให้เกิดปฏิกิริยา (Sacrificial reagent) เช่น เมทานอล ซึ่งสารนี้จะเข้าร่วมในปฏิกิริยาโดยการกำจัดโฮลด้วยกระบวนการออกซิเดชันที่ วาเลนซ์แบนด์ ในขณะที่ปฏิกิริยาการเกิดไฮโดรเจนสามารถเกิดที่คอนดันชันแบนด์ด้วยกระบวนการ รีดัคชันของน้ำด้วยอิเลคตรอน
นอกจากนี้ การแก้ไขข้อจำกัดดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพอีกวิธีหนึ่งคือการใส่ตัวเร่ง ปฏิกิริยาร่วม ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะเป็นโลหะทรานซิชันเช่น นิกเกิล (Ni) แพลตินัม (Pt) เป็นต้น ลงไปบนพื้นผิวของตัวเร่งปฏิกิริยาหลักไททาเนีย โดยตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมเหล่านี้จะทำหน้าที่เร่งการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอน จากเวเลนซ์แบนด์หลังจากการดูดซับแสงและกระตุ้นด้วยแสงแล้วให้ไปสู่นอกระบบ ซึ่งก็คือการเกิดปฏิกิริยาการเกิดไฮโดรเจนที่คอนดัคชันแบนด์ได้เร็วขึ้น อย่างมาก
โดยสรุป กระบวนการการเกิดปฏิกิริยาแยกโมเลกุลน้ำเมื่อทำการแก้ไขข้อจำกัดต่างๆ สามารถแสดงได้ดังรูปที่ 4



รูปที่ 4 กระบวนการการเกิดปฏิกิริยาแยกโมเลกุลน้ำ


เอกสารอ้างอิง
1. Legrini O, Oliveros E, Braun A M, Chem. Rev. 93 (1993) 671.
2. Hoffmann M R, Martin S T, Choi W, Bahnemann D W, Chem. Rev. 95 (1995) 69.
3. Linsebigler A L, Lu G, Yates, Jr. J T, Chem. Rev. 95 (1995) 735.
4. Mills A, Hunte S L, J. Photochem. Photobiol. A: Chem. 108 (1997) 1.
5. Fujishima A, Honda K, Nature 238 (1972) 37.


ขอขอบคุณมา ณ.ที่นี้
เกี่ยวกับผู้เขียน
ดร.ธรรมนูญ ศรีทะวงศ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมเคมีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำเร็จการศึกษาปริญญาโทด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีจาก วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำเร็จการศึกษาปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์พลังงานจาก Kyoto University ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นอาจารย์และนักวิจัยของ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาและวิจัยด้าน Photocatalysis and Catalysis, Solar Energy Utilization, Sol-Gel Synthesis of Oxide Semiconductors, Nanoporous/Mesoporous Materials, Plasmas for Chemical Conversion, และ Biohydrogen Production

สามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ppc.chula.ac.th/thammanoon.html
แหล่งที่มาข้อมูล : วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com)