CBOX เสรีชน

01 มิถุนายน, 2552

พลิกโฉมวิธีการสื่อสารด้วย Google Wave บังเิอิน Google ไม่โง่ ซุ่มทำอยู่เหมือนกัน เล่นเอา bing ของ MS กลายเป็นตัวตลกไปเลย ฮ่าๆๆ สมน้ำหน้า

เป็นการเปิดตัวครั้งใหญ่ในงาน Google I/O เมื่อวันก่อน ขนาดว่ากลบข่าว Bing ของไมโครซอฟท์สนิท



ผมพยายามหาวิธีอธิบาย Google Wave ซึ่งพบว่ายากมาก กูเกิลเรียกมันว่า
“a new tool for communication and collaboration on the web”
และสำนักข่าวหลายแห่งเรียกมันว่า “Google Wave คือสิ่งที่อีเมลควรจะเป็น
ถ้าหากมันถูกคิดขึ้นใหม่ในตอนนี้” หลังจากดูวิดีโอของ Google Wave จนจบ
ผมเรียกมันว่า “Facebook แบบเรียลไทม์”



วิธีที่ดีที่สุดคือดูวิดีโอเปิดตัว Google Wave ความยาว 1 ชม. 20 นาทีครับ (ดูสัก 30 นาทีแรกก็พอเห็นภาพแล้ว)





สำหรับคนที่ไม่ต้องการดูวิดีโอ ก็ลองดูภาพประกอบเสียก่อนจะได้นึกภาพออกตรงกัน



Google Wave



อย่างที่เห็นว่า Wave จะมีหน้าตาคล้ายกับ Outlook
และโปรแกรมอีเมลทั่วไปในท้องตลาด
มันคือโปรแกรม-บริการสำหรับสื่อสารและทำงานร่วมกัน (collaboration)
อาจจะนำไปเทียบกับพวก Lotus Notes หรือ IBM Workplace ก็พอได้



จุดต่างของ Google Wave มีดังนี้



  • การสื่อสารทุกอย่างเป็นแบบเรียลไทม์ ถึงขนาดว่าเรามองเห็นว่าเพื่อนพิมพ์ตัวอักษรอะไรอยู่ในขณะนั้น (ควรดูวิดีโอประกอบ)
  • การสื่อสารแบบเรียลไทม์ ทำให้ไม่ต้องแบ่งแยกระหว่างอีเมลกับ IM อีกต่อไป หัวข้อสนทนาประเด็นหนึ่งๆ จะถูกเรียกว่า “wave”
  • wave เป็นสื่อแบบมัลติมีเดียสมบูรณ์แบบ มันเป็น rich document
    ในระดับเดียวกับ Google Docs สามารถใส่ได้ทั้งภาพ เสียง วิดีโอ Maps ฯลฯ
  • เนื่องจากเราสามารถแก้ไข wave แบบเรียลไทม์ได้พร้อมกับเพื่อนๆ
    มันจึงทำหน้าที่เป็น collaboration tool ได้ กรณีเทียบเคียงคือ Wiki
    ที่แก้ไขได้พร้อมกัน หรือ แบ่งตั้งชื่อภาพจำนวนมากในอัลบั้ม
  • และเนื่องจากมันเป็น collaboration tool ที่สามารถแก้ไขพร้อมกันได้
    มันจึงมีความสามารถด้าน revision control เช่นเดียวกับ SVN หรือ git
    (กูเกิลทำให้มันดูหรูขึ้นโดยใส่ timeline แบบโปรแกรมมัลติมีเดียลงไป
    สามารถกด playback เวอร์ชันได้)
  • ระบบเพื่อนของ Google Wave จะคล้ายๆ กับ social network คือ เพิ่มเพื่อนเป็นรายคนลงใน Wave ได้ แยกลำดับชั้นความลับได้
  • เราสามารถนำ Wave ไปฝังลงในเว็บเพจปกติได้ การแก้ไข (หรือคอมเมนต์)
    ที่เกิดขึ้นจะแสดงให้เห็นทั้งสองฝั่ง ไม่ว่าจะดูผ่านหน้าเว็บที่ฝัง Wave
    เอาไว้ หรือดูจากหน้า Wave เอง (เช่น คอมเมนต์ที่เว็บ จะไปโผล่ที่ Wave
    ทันที)


Google Wave Logo


Wave คืออะไร



  • Wave คือเว็บ ทั้งหมดที่เห็นเป็น HTML ทำงานผ่านเบราว์เซอร์
  • แต่นั่นเป็น HTML5 ที่เรียกใช้ฟีเจอร์หลายอย่างที่ยังไม่มีในสเปกมาตรฐานกลาง (เบราว์เซอร์ทุกตัวสนับสนุนแล้วยกเว้น IE)
  • การสื่อสารแบบเรียลไทม์ของมันต้องใช้โปรโทคอลพิเศษที่กูเกิลคิดขึ้นมาใหม่ เรียกว่า Google Wave Federation Protocol
  • Google Wave สร้างด้วย Google Web Toolkit (GWT) ทั้งหมด
  • ซอร์สโค้ดของ Wave นั้นโอเพนซอร์ส


นอกจากนี้ยังมีลูกเล่นอื่นๆ ที่ทำให้ Wave น่าสนใจ



  • ระบบสะกดคำตามบริบท (เช่น พิมพ์ว่า Icland is an icland มันจะแก้เป็น
    Iceland is an island ให้อัตโนมัติ)
    วิธีการทำงานของมันจะทำผ่านเซิร์ฟเวอร์ที่มีคลังข้อมูลการเขียนสำหรับ
    วิเคราะห์บริบทให้เรา)
  • การสื่อสารใน Wave ไม่จำกัดเฉพาะเอกสารหรือข้อความเท่านั้น
    เราสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกับเพื่อนใน Wave ได้ เช่น Google Gadget
    หรือ เล่นเกม โดยเขียนส่วนขยายเพิ่มเข้าไปผ่าน Google Wave API
  • เพื่อนๆ ใน Wave ของเราเป็นได้ทั้งมนุษย์จริงๆ และบ็อต ตัวอย่างของบ็อตก็คือ บ็อตตรวจการสะกดคำนั่นเอง


ที่มาที่ไปของ Wave



  • Wave เดิมมีโค้ดเนมว่า Walkabout พัฒนาขึ้นในกูเกิลออสเตรเลีย
  • ทีมพัฒนาคือทีมที่เคยทำ Google Maps เดิม ซึ่งเป็นบริษัท Where 2 Tech ที่กูเกิลเคยซื้อมาเมื่อนานมาแล้ว
  • ทีมพัฒนามี 5 คน ซุ่มทำกันมาเงียบๆ กว่า 4 ปีแล้ว
  • อ่านตำนานการสร้าง Wave ได้จาก Official Google Blog


Wave จะเปิดให้คนทั่วไปใช้งานภายในสิ้นปีนี้ ตอนนี้ผู้ร่วมงาน Google
I/O สามารถใช้งาน Wave ได้แล้ว (เป็น sandbox) ส่วนคนธรรมดาอย่างเราๆ
ก็ติดตามข่าวสารผ่าน Wave Developer Blog กันไปก่อน



เว็บข่าวจำนวนมากพูดถึง Google Wave ผมคัดมาบางส่วน





ใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้วยังไม่ได้ดูวิดีโอ แนะนำให้คิดใหม่อีกรอบ


รีวิว Bing เสิร์ชเอนจิ้นใหม่จากไมโครซอฟท์

มาแล้ว Bing เสิร์ชเอนจิ้นใหม่จากไมโครซอฟท์ ไม่ต้องรอถึงวันที่ 3 มิ.ย. (ข่าวเก่า)
โดยเมื่อเข้าเว็บไซต์ www.live.com (รวมถึงการค้นหาผ่านทาง Search Bar บน
Internet Explorer 7 ขึ้นไป และ Windows Live Toolbar)
จะถูกโยนไปยังเว็บไซต์ www.bing.com โดยอัตโนมัติ



ลองดูรูปตัวอย่างที่ผมจับภาพหน้าจอมาแล้วกัน



Bing หน้าประเทศไทย: จะเห็นได้ว่าเปิดบริการเฉพาะการค้นหาข้อมูลและรูปภาพเท่านั้น และที่โลโก้นะครับว่าระบุเป็นรุ่น Beta อยู่



Bing - Thailand Homepage



ผลลัพธ์การค้นหาจาก Bing หน้าประเทศไทย: ไม่มีการแบ่งกลุ่มผลลัพธ์จากการค้นหา (สังเกตได้จากไม่มีแท๊ปด้านซ้ายมือ)



Search Result from Bing (Thailand)



Bing หน้าประเทศสหรัฐอเมริกา:
สังเกตว่าเมื่อเอาเคอร์เซอร์ไปวางบางตำแหน่งบนภาพหน้าจอจะมีข้อความขึ้นมา
จากที่ผมดูพบว่าข้อความนั้นจะเกี่ยวข้องกับภาพเบื้องหลัง (background)
ที่แสดงอยู่ในขณะนั้น หากคลิกลิงก์ลงไปก็จะไปเจอกับข้อมูลที่ Bing
ไปค้นหามาแสดง นอกจากนั้นที่โลโก้ระบุว่าเป็นรุ่น Preview



Bing United State Homepage



ผลลัพธ์การค้นหาจาก Bing หน้าประเทศสหรัฐอเมริกา: มีฟังก์ชั่นครบตามที่
Steve Ballmer โชว์ในงาน D: All Things Digital Conference
(คำค้นที่ใช้คือ 'microsoft')



Search Result from Bing (US)



พอผมคลิกลิงก์ 'Maps' ด้านบน
แทนที่จะค้นหาและแสดงผลตำแหน่งที่ตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ (ตัวอย่างเช่น
สำนักงานใหญ่ หรือที่ที่ตรงกับ Best Match Search)
กลับไม่ได้ค้นหาตำแหน่งบนแผนที่แต่อย่างไร
(แต่ที่ลองในเว็บประเทศญี่ปุ่นกลับค้นหาให้เลยนะ)



Map Search Result from Bing (US)



ผลลัพธ์การค้นหารูปภาพจาก Bing หน้าประเทศสหรัฐอเมริกา:
สังเกตว่าผมค้นหาโดยใช้คำค้นว่า 'Microsoft Products' แต่ทำไมภาพ Apple
iPhone ขึ้นเป็นผลลัพธ์ด้วยซะงั้น



Images Search Result from Bing (US)



ที่นี่ทดลองเปลี่ยนเป็นค้นหาบุคคลโดยใช้คำค้นว่า 'bill gates' ดู แล้วระบุเงื่อนไขว่าเฉพาะใบหน้า ผลลัพธ์เป็นดังนี้



People Images Search Result from Bing (US)



ผลลัพธ์การค้นหาสินค้าและบริการจาก Bing หน้าประเทศสหรัฐอเมริกา



Shopping Search Result from Bing (US)



Bing หน้าสหราชอาณาจักร: หน้าตาเหมือนเว็บหน้าประเทศไทย



ผลลัพธ์การค้นหาจาก Bing หน้าสหราชอาณาจักร: ผลลัพธ์เหมือนเว็บหน้าประเทศไทย ไม่มีแท๊ปด้านซ้ายมือ



ผลลัพธ์การค้นหาสินค้าและบริการจาก Bing หน้าสหราชอาณาจักร: ลิงก์จะเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ Ciao! ซึ่งไมโครซอฟท์เพึ่งซื้อบริษัทดังกล่าวมาได้หมาดๆ (ผมว่าต่อไปไมโครซอฟท์คงรวมเป็นธีมเดียวกับ Bing นะ)



Shopping Search Result from Bing (UK)



Bing หน้าประเทศญี่ปุ่น: หน้าตาเหมือนเว็บหน้าประเทศไทย



ผลลัพธ์การค้นหาแผนที่จาก Bing หน้าประเทศญี่ปุ่น:
ผมลองค้นหาโดยใช้ชื่อมหาวิทยาลัย '東北大学' (Tohoku University)
ผลลัพธ์ที่ได้ยังค่อนข้างกระจาย ผมเดาว่าคงยังไม่ได้ใช้เทคโนโลยี Best
Match Search เหมือนกับการค้นหาจากเว็บประเทศสหรัฐอเมริกา



Map Search Result from Bing (JP)



และที่ผมลืมไปในตอนแรกคือการลองหาข้อมูล "..." ดู (ขอบคุณคุณ
BlackMiracle ด้วยครับที่โพสต์บอก) ก็เลยลองค้นหารูปภาพดู
แล้วพบกับผลลัพธ์แบบนี้



Testing Safe Search Feature



เนื่องจาก Bing ได้กำหนดค่า Safe Search ไว้เป็นค่าปริยาย
(default) ทำให้มีการกลั่นกรองเนื้อหาก่อนนำมาแสดงเป็นผลลัพธ์
(ถ้าเป็นเว็บประเทศไทยจะไม่ขึ้นผลลัพธ์จากการค้นหาข้อมูลด้วยครับ
แต่ในเว็บประเทศสหรัฐอเมริกาจะยังขึ้นผลลัพธ์การค้นหาข้อมูล
แต่การค้นหารูปแบบอื่นนอกจากการค้นหาข้อมูลจะแสดงผลลัพธ์ตามรูปข้างบน)



ดีครับ โลกของการท่องอินเตอร์เน็ตผ่านการค้นหาข้อมูลจะได้ปลอดภัยกับผู้ใช้งานมากขึ้น (แต่ไม่รู้ว่าป้องกันได้ทุกภาษาหรือเปล่านะครับ)



ป.ล. ผมเปิดจากญี่ปุ่นนะครับ ไม่แน่ใจหากเปิดเว็บ www.bing.com ในประเทศไทยแล้วนะเปิดได้หรือยังครับ



ที่มา: Bing


ไมโครซอฟท์เปิดเผยข้อจำกัดของ Windows 7 Starter

ไมโครซอฟท์เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมของ Windows 7 รุ่น Starter ซึ่งจะมาพร้อมกับเน็ตบุ๊กออกใหม่

* ตัดข้อจำกัดเดิมของ XP Starter และ Vista Starter ที่อนุญาตให้รันโปรแกรมพร้อมกันมากสุด 3 ตัวออกไป (ตรงตามข่าวเดิม ไมโครซอฟท์ตัดการจำกัดการรันแอพพลิเคชั่นได้เพียง 3 ตัวออกจาก Windows 7 Starter ของ nuntawat)

อย่างไรก็ตาม Windows 7 Starter มีข้อจำกัดดังต่อไปนี้

* ไม่มี Aero Glass ซึ่งรวมถึง Taskbar Preview และ Aero Peek
* เปลี่ยนวอลล์เปเปอร์ ขอบหน้าต่าง และชุดตกแต่งทั้งหมดไม่ได้ (ไม่มีความสามารถ Personalize)
* ไม่มี Fast User Switching
* ไม่สนับสนุนการต่อหลายจอ
* ไม่สนับสนุนการเล่น DVD
* ไม่มี Windows Media Center และ Remote Media Streaming
* ไม่มี XP Mode (XPM)

ไมโครซอฟท์พยายามวางตัวให้ Windows 7 Starter เป็นระบบปฏิบัติการแถมเท่านั้น และกระตุ้นให้เจ้าของเน็ตบุ๊กอัพเกรดไปใช้ Windows 7 รุ่นที่สูงขึ้น ซึ่งสามารถทำงานบนเน็ตบุ๊กได้ดีเช่นกัน

ที่มา - Windows 7 Blog