ครม.หว่านงบกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 1.15 แสนล้านบาท ดึงเงินจากทั้งงบฉุกเฉินและเงินคงคลัง ผ่าน 17 โครงการ ที่ล้วนแต่เป็นเรื่องประชานิยม ทั้งเรียนฟรี 15 ปี ช่วยค่าครองชีพบุคลากรภาครัฐ เบี้ยยังชีพคนชรา เงินกู้ช่วยเหลือธุรกิจท่องเที่ยว เพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานฯลฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม มีมติผ่านงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2552 งบประมาณ 115,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
โดยมีทั้งหมดรวม 17 โครงการ ประกอบด้วย
1.โครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี งบประมาณ 19,000 ล้านบาท
2.การช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลาการภาครัฐ งบประมาณ 18,828.50 ล้านบาท
3.โครงการเศรษฐกิจพอเพียงยกระดับชุมชน 15,200 ล้านบาท
4.โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือนเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน รวมโครงการประปาท้องถิ่น 24,445 ล้านบาท ใช้งบประมาณทั้งหมด 13,854 ล้านบาท
5.จัดเบื้ยยังชีพคนชรา 9,000 ล้านบาท
6.โครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมใน ชุมชน 6,900 ล้านบาท
7.จัดค่าตอบแทนพิเศษให้อสม. 3,000 ล้านบาท
8.โครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกร (ชลประทาน) 2,000 ล้านบาท
9.โครงการแหล่งน้ำขนาดเล็ก (กรมทรัพยากรน้ำ) 760 ล้านบาท
10.โครงการถนนไร้ฝุ่นลาดยางในหมู่บ้าน 1,500 ล้านบาท
11.โครงการด้านพาณิชย์เพื่อช่วยเหลือประชาชน 1,000 ล้านบาท
12.สนับสนุนด้านการท่องเที่ยว 999.20 ล้านบาท
13. โครงการเงินกู้ผ่อนปรนเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการทีเกี่ยวข้องกับธุรกิจการ ท่องเที่ยวและบริหาร 500 ล้านบาท
14.โครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหาร 500 ล้านบาท
15.โครงการฟื้นฟูความเชื่อมั่น เสริมสร้าง ภาพลักษณ์ โดกกระทรวงการต่างประเทศเป็นแม่งาน วงเงิน 570 ล้านบาท
16.โครงการปรับปรุงสถานีอนามัย 2,609 แห่ง วงเงิน 1,095.80 ล้านบาท
17.โครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจชั้นประทวน 532 หน่วย วงเงิน 1,808.80 ล้านบาท
รวมงบประมาณทั้ง 17 โครงการใช้งบประมาณทั้งสิ้น 96,516.50 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐทั้งหมดสำนักงบประมาณได้ ประเมินว่าคาดว่าจะใช้งบ 117,216 ล้านบาท โดยมีงบประมาณเพิ่มเติมจากงบฉุกเฉินกว่า 1,700 ล้านบาท และงบคงคลังกว่า 19,000 ล้านบาท
ข ย า ย ค ว า ม
รายละเอียดประกอบการจัดทำงานงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 มีโครงการ/รายการที่สำคัญ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท งบประมาณเพิ่มเติม
1.โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคคลากรภาครัฐ
18,970.4
2.โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน
11,409.2
3.โครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกร
2,000.0
4.โครงการก่อสร้างภายในหมู่บ้าน เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
1,500.0
5.โครงการด้านพาณิชย์เพื่อช่วยเหลือประชาชน
1,000.0
6.โครงการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว
1,000.0
7.โครงการแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อการจัดการน้ำ
760.0
8.โครงการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
500.0
9.โครงการฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเสริมสร้างภาพลักษณ์
325.0
10.โครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี
19,000.0
11.โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน
15,200.0
12.โครงการสร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ
9,000.0
13.โครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน
6,900.0
14.โครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)เชิงรุก
3,000.0
15.โครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจชั้นประทวน
1,808.0
16.โครงการปรับปรุงสถานีอนามัย
1,095.8
17.เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
2,391.0
18.รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง
19,139.5
รวมทั้งสิ้น 115,000.0 ล้านบาท
CBOX เสรีชน
14 มกราคม, 2552
หยุดคุกคามประชาชน!
รัฐบาลประชาธิปัตย์ ในเวลานี้กำลังเดินเข้าไปสู่การเผชิญหน้ากับกลุ่มคนรักประชาธิปไตย
เพราะ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า รู้สึกหนักใจปัญหาวิทยุชุมชน ที่มีการปลุกระดมคนออกมาเคลื่อนไหวขณะนี้ แต่การเข้าไปดูแลนั้นติดปัญหา เพราะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) แต่ยังไม่มีความชัดเจน นอกจากนี้ พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งรัฐบาลไม่มีอำนาจจัดการ ดังนั้น การป้องกันเบื้องต้นจึงทำได้เพียงอาศัยกฎหมายด้านความมั่นคง และขณะนี้ตำรวจคงดำเนินการตรวจสอบอยู่แล้ว โดยเฉพาะบางคลื่นที่ปลุกระดมคนให้โค่นล้มรัฐบาล ทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า สำหรับคลื่นวิทยุชุมชนที่ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ติดตามการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งอาจเข้าข่ายมีความผิดด้านความมั่นคง ได้แก่ คลื่นคนรักอุดร และสถานีวิทยุของเครือข่ายกลุ่มคนรักเชียงใหม่ โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมีการออกอากาศให้ประชาชน จ.เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง ออกมาต่อต้าน นายชวน หลีกภัย อดีตนายกฯ
นี่คือ วิสัยทัศน์อันเลวร้ายของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ดูแลกำกับสื่อมวลชน และชวนให้คิดไปได้ว่า
นี่คือแผนการของรัฐบาล ปชป. ที่ต้องการทำลายพลังของประชาชนผู้รักประชาธิปไตย
การปิดหู ปิดตา ปิดปากประชาชน โดยเฉพาะฝั่งที่ตัวเองมองว่าเป็นศัตรู โดยใช้กลไกรัฐที่ตนควบคุมมาเป็นเครืองมือทำลายล้าง สมควรแล้วหรือ?
สุภาษิตโบราณกล่าวว่า ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิดไม่มิด ยิ่งปิดยิ่งทำให้เกิดความอยากรู้โดยเฉพาะโลกในยุคปัจจุบันที่เป็นการไหล เวียนของข้อมูลข่าวสารนั้น คงเป็นเรื่องที่ทำยากมาก
เพราะอย่าลืมว่า การตื่นตัวของประชาชน ในการรับรู้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและขยายตัวไปทั่ว
การปิดกั้นไม่ใช่ทางออกของปัญหา
ควรจะตระหนักไว้ด้วยว่า ประชาชน ไม่ได้กินหญ้า เพราะฉะนั้นเขามีสิทธิเลือกที่จะเชื่อ หรือรับรู้ข้อมูลข่าวสารใดๆ ที่เกิดขึ้นได้โดยอัตวินิจฉัยแห่งตน
หากรัฐบาลต้องการที่จะสร้างการยอมรับต่อประชาชน อย่างที่พร่ำบอกว่าขอโอกาสให้พิสูจน์ตัวเองนั้น
ต้องไม่ใช้ท่าทีและปฏิบัติต่อประชาชนฝั่งประชาธิปไตย ว่าเป็นศัตรูทางการเมืองที่พวกตนต้องสลายและทำลาย
แต่ต้องเคารพความคิด การแสดงออกที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งถือเป็นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และเป็นพัฒนาการทางประชาธิปไตยที่แท้จริง
การปิดกั้นหนทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ของ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย เข้าข่ายคุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนใช่หรือไม่?
อย่าลืมว่า การจัดตั้งวิทยุชุมชนของประชาชน แม้จะมีการให้ข้อมูลที่คัดค้านรัฐบาล แต่ก็เป็นสิทธิ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญมิใช่หรือ?
มีประเทศที่เป็นประชาธิปไตยประเทศไหนบ้าง ที่บอกประชาชนของตัวเองว่าต้องคิด ทำ และมีความเห็นเหมือนกับรัฐบาล
ห้ามไม่ให้ประชาชนคิดต่าง และมีความพยายามที่จะใช้กฎหมายความมั่นคง ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีไว้เพื่อใช้จัดการกับปัญหา ระดับใหญ่ของประเทศ และเต็มไปด้วยจุดอ่อน มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง มาใช้จัดการกับคนเฉพาะกลุ่ม เพื่อปิดปากเสียงที่เห็นต่างไปจากพวกตน
หรือว่า รัฐบาลไร้น้ำยาที่จะให้ข้อมูลข่าวสารอีกด้านที่ตนเห็นว่าดีกว่า ต่อประชาชน
หรือว่า เกรงและกลัว สิ่งที่คนกลุ่มหนึ่งกล่าวโจมตีรัฐบาล เพราะเป็นเรื่องจริงที่หาข้อเท็จจริงมาโต้แย้งไม่ได้
แทนที่จะตั้งหน้าตั้งตาทำงาน สร้างผลงานให้เป็นที่ปรากฏเพื่อล้างคะแนน “ติดลบ” ที่ประชาชนตราหน้าไว้
กลับทำตัวเป็นหน่วยไล่ล่าสังหารประชาชน คุกคามสื่อของประชาชน ไปเสียนี่
และเมื่อเทียบกรณี วิทยุชุมชน หรือแม้กระทั่งการปาไข่ของคนเสื้อแดง กับ การใส่ร้ายป้ายสีผ่านเอเอสทีวี การยึดสถานที่ราชการ และปิดสนามบินสุวรรณภูมิของพันธมิตรฯ
เรื่องไหนที่ทำความเสียหายให้แก่ประเทศชาติมากกว่ากัน?
ถ้าไปถามเด็กๆ ให้เปรียบเทียบความรุนแรงและความเลวร้ายของปัญหา ยังตอบได้เลยว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงในปัจจุบันยังเบาหวิวนักเมื่อเทียบกับการ กระทำของพันธมิตรฯ
ไหนๆ ก็จะพยายามจะงัด “ก.ม.ความมั่นคง” มาจัดการกับคนเสื้อแดงเสียเต็มประดา
ลองเอา ก.ม.ความมั่นคง ฉบับเดียวกัน จัดการกับกลุ่มพันธมิตรฯ เสียก่อน
กล้าพอไหม?
เพราะ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า รู้สึกหนักใจปัญหาวิทยุชุมชน ที่มีการปลุกระดมคนออกมาเคลื่อนไหวขณะนี้ แต่การเข้าไปดูแลนั้นติดปัญหา เพราะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) แต่ยังไม่มีความชัดเจน นอกจากนี้ พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งรัฐบาลไม่มีอำนาจจัดการ ดังนั้น การป้องกันเบื้องต้นจึงทำได้เพียงอาศัยกฎหมายด้านความมั่นคง และขณะนี้ตำรวจคงดำเนินการตรวจสอบอยู่แล้ว โดยเฉพาะบางคลื่นที่ปลุกระดมคนให้โค่นล้มรัฐบาล ทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า สำหรับคลื่นวิทยุชุมชนที่ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ติดตามการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งอาจเข้าข่ายมีความผิดด้านความมั่นคง ได้แก่ คลื่นคนรักอุดร และสถานีวิทยุของเครือข่ายกลุ่มคนรักเชียงใหม่ โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมีการออกอากาศให้ประชาชน จ.เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง ออกมาต่อต้าน นายชวน หลีกภัย อดีตนายกฯ
นี่คือ วิสัยทัศน์อันเลวร้ายของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ดูแลกำกับสื่อมวลชน และชวนให้คิดไปได้ว่า
นี่คือแผนการของรัฐบาล ปชป. ที่ต้องการทำลายพลังของประชาชนผู้รักประชาธิปไตย
การปิดหู ปิดตา ปิดปากประชาชน โดยเฉพาะฝั่งที่ตัวเองมองว่าเป็นศัตรู โดยใช้กลไกรัฐที่ตนควบคุมมาเป็นเครืองมือทำลายล้าง สมควรแล้วหรือ?
สุภาษิตโบราณกล่าวว่า ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิดไม่มิด ยิ่งปิดยิ่งทำให้เกิดความอยากรู้โดยเฉพาะโลกในยุคปัจจุบันที่เป็นการไหล เวียนของข้อมูลข่าวสารนั้น คงเป็นเรื่องที่ทำยากมาก
เพราะอย่าลืมว่า การตื่นตัวของประชาชน ในการรับรู้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและขยายตัวไปทั่ว
การปิดกั้นไม่ใช่ทางออกของปัญหา
ควรจะตระหนักไว้ด้วยว่า ประชาชน ไม่ได้กินหญ้า เพราะฉะนั้นเขามีสิทธิเลือกที่จะเชื่อ หรือรับรู้ข้อมูลข่าวสารใดๆ ที่เกิดขึ้นได้โดยอัตวินิจฉัยแห่งตน
หากรัฐบาลต้องการที่จะสร้างการยอมรับต่อประชาชน อย่างที่พร่ำบอกว่าขอโอกาสให้พิสูจน์ตัวเองนั้น
ต้องไม่ใช้ท่าทีและปฏิบัติต่อประชาชนฝั่งประชาธิปไตย ว่าเป็นศัตรูทางการเมืองที่พวกตนต้องสลายและทำลาย
แต่ต้องเคารพความคิด การแสดงออกที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งถือเป็นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และเป็นพัฒนาการทางประชาธิปไตยที่แท้จริง
การปิดกั้นหนทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ของ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย เข้าข่ายคุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนใช่หรือไม่?
อย่าลืมว่า การจัดตั้งวิทยุชุมชนของประชาชน แม้จะมีการให้ข้อมูลที่คัดค้านรัฐบาล แต่ก็เป็นสิทธิ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญมิใช่หรือ?
มีประเทศที่เป็นประชาธิปไตยประเทศไหนบ้าง ที่บอกประชาชนของตัวเองว่าต้องคิด ทำ และมีความเห็นเหมือนกับรัฐบาล
ห้ามไม่ให้ประชาชนคิดต่าง และมีความพยายามที่จะใช้กฎหมายความมั่นคง ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีไว้เพื่อใช้จัดการกับปัญหา ระดับใหญ่ของประเทศ และเต็มไปด้วยจุดอ่อน มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง มาใช้จัดการกับคนเฉพาะกลุ่ม เพื่อปิดปากเสียงที่เห็นต่างไปจากพวกตน
หรือว่า รัฐบาลไร้น้ำยาที่จะให้ข้อมูลข่าวสารอีกด้านที่ตนเห็นว่าดีกว่า ต่อประชาชน
หรือว่า เกรงและกลัว สิ่งที่คนกลุ่มหนึ่งกล่าวโจมตีรัฐบาล เพราะเป็นเรื่องจริงที่หาข้อเท็จจริงมาโต้แย้งไม่ได้
แทนที่จะตั้งหน้าตั้งตาทำงาน สร้างผลงานให้เป็นที่ปรากฏเพื่อล้างคะแนน “ติดลบ” ที่ประชาชนตราหน้าไว้
กลับทำตัวเป็นหน่วยไล่ล่าสังหารประชาชน คุกคามสื่อของประชาชน ไปเสียนี่
และเมื่อเทียบกรณี วิทยุชุมชน หรือแม้กระทั่งการปาไข่ของคนเสื้อแดง กับ การใส่ร้ายป้ายสีผ่านเอเอสทีวี การยึดสถานที่ราชการ และปิดสนามบินสุวรรณภูมิของพันธมิตรฯ
เรื่องไหนที่ทำความเสียหายให้แก่ประเทศชาติมากกว่ากัน?
ถ้าไปถามเด็กๆ ให้เปรียบเทียบความรุนแรงและความเลวร้ายของปัญหา ยังตอบได้เลยว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงในปัจจุบันยังเบาหวิวนักเมื่อเทียบกับการ กระทำของพันธมิตรฯ
ไหนๆ ก็จะพยายามจะงัด “ก.ม.ความมั่นคง” มาจัดการกับคนเสื้อแดงเสียเต็มประดา
ลองเอา ก.ม.ความมั่นคง ฉบับเดียวกัน จัดการกับกลุ่มพันธมิตรฯ เสียก่อน
กล้าพอไหม?
ข้อเสนอต่อการต่อสู้คนเสื้อแดง ปี 2552
บ.ก.ลายจุด webmaster@nocoup.org หรือ สมบัติ บุญงามอนงค์ เสนอข้อเสนอต่อ “คนเสื้อแดง” เพื่อเป็นแนวทางในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ที่น่าสนใจ ดังนี้
1...สีแดง = ชูธงประชาธิปไตย
ต้องทำให้คนคิดถึงสีแดง แล้วคิดถึงประชาธิปไตย ไม่ใช่คิดถึงกลุ่มคนรักทักษิณ ดังนั้น เนื้อหาที่นำเสนอต้องเข้มข้น ผูกติดกับประชาธิปไตยเป็นเรื่องแรกๆ และต้องอยู่ในทุกพื้นที่ของสีแดง
2...จัดวางบทบาททักษิณเป็นแนวร่วมให้เสื้อแดงต่อสู้ไป โดยไม่ต้องพะวงกับทักษิณมากนัก เขาดูแลตัวเองได้ การที่ทักษิณจะร่วมต่อสู้ ขอให้จัดวางทักษิณอยู่ในฐานะของแนวร่วม เฉกเช่นแนวร่วมเสื้อแดงอีกหลายๆ คน
3...ผู้นำการต่อสู้คือ วีระ ต้องยกคุณวีระขึ้นอย่างโดดเด่นที่สุด ด้วยเหตุผลเรื่องวุฒภาวะ หัวใจการต่อสู้ และได้พิสูจน์หลายครั้งแล้วว่า เขามีความรับผิดชอบเพียงพอ ต่อภารกิจและชีวิตของมวลชน
4...สถาบันคนเสื้อแดง = องค์กรนำ ให้จัดวางแกนนำกลุ่มต่างๆ เข้าไปเป็นสมาชิกในองค์กรนำแห่งใหม่ ซึ่งเข้าใจว่า อีกหน่อยจะใช้ชื่อ สถาบันคนเสื้อแดง แทน นปช.
5...หยุดแย่งชิงการนำ พื้นที่สนามหลวงมีปัญหาบ่อยครั้ง หลายครั้งที่มีเวทีขึ้นพร้อมๆ กัน จากกลุ่มหลายๆ กลุ่ม ซึ่งจริงๆ แล้ว เป็นสมาชิกในแนวร่วมนั้นแหละ คนที่เป็นแกนนำของแต่ละกลุ่ม ต้องยกระดับการเป็นนักต่อสู้ เพื่อไม่ให้มีภาพการแย่งการนำอีกต่อไป ประเภทมี 3 เวที ในสนามหลวงนี่ต้องเลิก
6......หยุดใช้คำหยาบ และ เรื่องส่วนตัวเกินเลย หยุดคำหยาบ และอย่านำเอา ความแตกต่างทางเพศมาเป็นเรื่องล้อเลียน หากใครเขาว่าเสื้อแดงเป็นม็อบรากหญ้า ก็ต้องแสดงให้เขาเห็นว่า รากหญ้าก็มีวุฒิภาวะทางสังคม ศิลปะในการพูดผสมกับการทำการบ้าน ทำงานข้อมูล หยิบจับแง่คิดคมๆ มาแบ่งปัน เป็นภารกิจของนักพูดบนเวที
7......การชุมนุมอย่างเปิดเผย ความจริงแล้วเห็นไม่มากนัก แต่ยังมีบางคน ปิดหน้าปิดตา เหมือนกับการ์ด พธม. ไม่รู้จะปิดไปทำไม มันดูไม่ดี
8...ป้ายยกจากผู้ชุมนุม อันนี้ถือเป็นสีสันที่ดี การที่ผู้ชุมนุมจากที่ต่างๆ นำป้ายยก เขียนข้อความที่ต้องการสื่อสาร ถือว่าเป็นสีสัน และขยายผลทำให้ Message ถูกส่งตรงจากผู้เข้าร่วมการชุมนุม ซึ่งไม่มีโอกาสพูดบนเวที ตรงนี้ต้องส่งเสริมกันให้มากๆ
9...ขยายฐานมวลชนเสื้อแดง ให้เชื่อมโยงคนที่เป็นเสื้อแดงไว้ด้วยกัน เกาะกันให้ได้ อาจเป็นกลุ่มเล็กๆ 3-5 คน จะมีประโยชน์มากกว่า ปล่อยให้สีแดงอยู่กันเป็นปัจเจกคนเดียว เพราะจะได้มีการแบ่งปันข่าวสาร ถกเถียงพูดคุย และคิดอ่านในการทำกิจกรรม
10...อย่าผลักสีขาว เป็นสีเหลือง เวลา เจอพวกสีขาว หรือ พวกกลางๆ อย่าไปด่าเขาเสียๆ หายๆ หรือไปป้ายเขาว่า เป็นพวกนิยมเหลือง หรือ พวกพันธมิตรฯ แม้แต่เหลืองอ่อนๆ ก็ต้องพยายามไม่ผลักให้เขาเป็นฝ่ายตรงข้าม แต่ต้องพยายามให้ข้อมูลแบบไม่ยัดเยียด ไม่เร่งรีบ หรือคาดหวังมากนัก ค่อยๆ ชวนคุยให้เกิดประกายความคิดว่า ประชาธิปไตยดีกว่าสิ่งที่ พธม. เสนออย่างไร
11...อย่าคิดเปลี่ยนสีเหลืองเป็นสีแดง เป็นเรื่องไม่มีประโยชน์ที่จะทำเช่นนั้น เพราะในทางกลับกัน เหลืองคนไหนก็เปลี่ยนแดงเป็นเหลืองไม่ได้เช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่เสื้อแดง ควรมีท่าทีกับสีเหลืองคือ การเคารพในตัวตนเสื้อเหลือง
สิ่งเดียวที่ทำให้เสื้อเหลืองเปลี่ยนได้ คือ ตัวของเขาเอง ให้เวลาเป็นข้อพิสูจน์และจงเชื่อมั่นว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล ที่สำคัญ เสื้อเหลืองที่คุณพยายามไปเปลี่ยนเขา (ซึ่งยากที่จะสำเร็จ) อาจเป็นคนในครอบครัว เพื่อนสนิท เพื่อนที่ทำงาน เพื่อนบ้านที่คนเคยคบหากันมาก่อน อย่าให้ความคิดเรื่องการเมือง ทำลายโครงสร้างความสัมพันธ์ที่คุณเคยมีกับเขา โดยเฉพาะคนที่มีผลต่อชีวิตคุณมากๆ เช่น คนในครอบครัว จงเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่กับความหลากหลาย และ แตกต่าง แบบสุดๆ
12...ทีวีสีแดง และ วิทยุชุมชน จงเชื่อมโยงตนเอง เข้ากับเครือข่ายการสื่อสารของฝ่ายเสื้อแดง ใครพอมีกำลังก็ติดจานดาวเทียม และแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้าน ใช้โทรศัพท์ที่สามารถรับฟังวิทยุได้ เมื่อมีเวลา ก็รับฟังทางวิทยุชุมชน และโทรศัพท์ เขียนข้อความไปแสดงความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สื่อสีแดง เป็นช่องทาง 2 ทาง และมีแง่มุมของคนเล็กคนน้อย อยู่ในพื้นที่สื่อเหล่านั้น หมดยุคข้อมูลจากบนลงล่างแล้ว
13...นักรบไซเบอร์ นอกจากช่วยกันนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาทำซ้ำแล้ว จะต้องยกระดับ ในแง่การเปลี่ยนข้อมูล ให้มีแง่มุมในเชิงหลักการ คือ ต้องชี้ให้ชัดว่า ข้อมูลนั้น อยู่บนพื้นฐานทางหลักการอะไร โดยจะต้องเชื่อมโยงทั้งในประเด็นทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ไม่ใช่แค่หยิบจับข่าวการเมืองที่ผ่านปากนักการเมืองมาคุยกันเท่านั้น นอกจากนั้น จะต้องขยายฐานไปยังเว็บอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นเว็บการเมือง สอดแทรกแง่มุมข่าวสารให้กว้างขวาง (ขยายฐานการรับรู้ และการทำงานการเมืองในโลกไซเบอร์)
14...เปลี่ยนมวลชน เป็นผู้ปฏิบัติงาน สำหรับคนที่ไปร่วมเวทีการชุมนุมมาระดับหนึ่งแล้ว จะต้องหาที่ยืนใหม่ ที่มีความสำคัญมากขึ้น กล่าวคือ ต้องมองว่า ตนเองสามารถมีส่วนร่วมในการขยายผลได้อย่างไร โดยเริ่มจากการสมัครเป็นสมาชิกสถาบันเสื้อแดงในพื้นที่ของตนเอง และเสนอตัวเป็นแกนนำหรือผู้ปฏิบัติงานในการขยายฐานสมาชิก หรือช่วยยกระดับการศึกษา ความเข้าใจทางการเมืองให้กับสมาชิกในพื้นที่ใกล้บ้าน ที่คุณเป็นสมาชิกอยู่
15...จงมุ่งมั่นที่จะชนะ แต่อย่าเร่งรีบที่จะชนะ รักษาความมุ่งมั่นในการต่อสู้ และต้องปรับความคิดในการที่จะชนะในระยะเวลาสั้นๆ เพราะจะทำให้การต่อสู้พลาดพลั้งได้ง่าย คิดยาวไปเลยเป็น 10 ปี
16...จัดการศึกษาให้นักการเมือง หากพรรคเพื่อไทย จะเป็นผู้แทนของคนเสื้อแดง พวกเขาต้องปรากฏตัว และออกมารับฟังความคิดเห็นของประชาชนเสื้อแดง และต้องร่วมต่อสู้ ไม่ใช่หดหัว Play Safe ปล่อยให้เสื้อแดงต่อสู้กับแกนนำบางคนเท่านั้น
ต้องมีการปรึกษาหารือ ระหว่างประชาชนกับนักการเมือง ในการวิเคราะห์ปัญหาบ้านเมืองที่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องทางการเมือง แต่ต้องไปถึงเรื่องนโยบาย และสถานการณ์ทางสังคม
ถ้านักการเมือง ยังคงทำตัวเป็นคนที่มีอาชีพเป็นนักการเมือง แต่ไม่ได้เป็นผู้แทน(จิตวิญญาณ)ประชาชน ก็อย่าไปเลือก และถ้านักการเมืองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอาแต่เล่นเกมอำนาจและผลประโยชน์ ขอให้คนเสื้อแดงตัดใจ ให้บทเรียนกับนักการเมืองเหล่านี้
พรรคการเมืองต้องจัดเวที เปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นประชาชนอย่างต่อเนื่อง เน้นการไปนั่งฟัง อย่าไปเน้นการสั่งสอน หรือ โฆษณาหาเสียงกับชาวบ้าน แล้วนำสิ่งที่ชาวบ้านเสนอปัญหาและแนวทางมาพิจารณา ในการออกแบบนโยบายพรรค ทำให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชนให้ได้ เลิกเสียที พรรคการเมืองของนายทุน หรือ พรรคของนักการเมือง
17...ศึกษา ค้นคว้า แลกเปลี่ยน อย่ามัวแต่ตอบกระทู้ด่ากันไปด่ากันมา แต่หาเวลาไปค้นใน wiki ทั้งข้อมูลประวัติศาสตร์ หรือ ข้อมูลต่างๆ ตามเว็บไซต์ หรือ หยิบจับหนังสือดีๆ มาอ่าน หรือเข้าร่วมการประชุมเสวนาทางวิชาการ หรือ จะฟังจาก Clip ที่มีคนเอามาเผยแพร่ก็ได้ จากนั้นนำข้อมูลและแง่มุม มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน
18...เสนอตัว เป็นอาสาสมัคร ดูว่าตนเองมีต้นทุนอะไรบ้าง สามารถช่วยเหลือผู้อื่น หรือ การต่อสู้ในด้านใด เช่น ถ่ายภาพ ออกแบบกราฟฟิค จัดฝึกอบรม งานเขียน กระจายสื่อ ฯลฯ แล้วเชื่อมโยงตนเองเข้าไป กับการเคลื่อนไหวและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
19...บริหารเวลา การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แบ่งปัน และบริหารชีวิตในด้านอื่นๆ ให้ดี อย่าให้เกิดผลกระทบในระดับวิกฤติ ไม่ใช่เคลื่อนไหวจนบ้านแตก ถูกไล่ออกจากงาน หรือ เรียนหนังสือไม่จบ จงหลอมรวมภารกิจเพื่อประชาธิปไตย เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต ยกเว้นแกนนำ หรือผู้มีความพร้อมบางคนเท่านั้น อย่าลืมว่า การต่อสู้นั้นยาวนาน ชีวิตต้องดำรงอยู่ หากเกิดปัญหาในมิติอื่นๆ ของชีวิต ย่อมส่งผลต่อการต่อสู้ด้วยเช่นกัน
20...จงต่อสู้ด้วยจิตใจที่เบิกบาน ขอนำคำของคุณหมอเหวง โตจิราการ มาแบ่งปัน แม้ว่าเราจะต้องต่อสู้อย่างเข้มข้น เกิดอารมณ์เครียด ท้อถอย หรือ โกรธแค้น แต่ต้องขจัดสิ่งเหล่านั้นออกไป จงต่อสู้ด้วยจิตใจที่เบิกบาน ยกระดับจิตวิญญาณให้สูงขึ้น ไม่ตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์การต่อสู้ ที่ทำลายจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ให้กลายเป็นสัตว์ร้าย
คิดเห็นเป็นประการใด โปรดพิจารณา!
1...สีแดง = ชูธงประชาธิปไตย
ต้องทำให้คนคิดถึงสีแดง แล้วคิดถึงประชาธิปไตย ไม่ใช่คิดถึงกลุ่มคนรักทักษิณ ดังนั้น เนื้อหาที่นำเสนอต้องเข้มข้น ผูกติดกับประชาธิปไตยเป็นเรื่องแรกๆ และต้องอยู่ในทุกพื้นที่ของสีแดง
2...จัดวางบทบาททักษิณเป็นแนวร่วมให้เสื้อแดงต่อสู้ไป โดยไม่ต้องพะวงกับทักษิณมากนัก เขาดูแลตัวเองได้ การที่ทักษิณจะร่วมต่อสู้ ขอให้จัดวางทักษิณอยู่ในฐานะของแนวร่วม เฉกเช่นแนวร่วมเสื้อแดงอีกหลายๆ คน
3...ผู้นำการต่อสู้คือ วีระ ต้องยกคุณวีระขึ้นอย่างโดดเด่นที่สุด ด้วยเหตุผลเรื่องวุฒภาวะ หัวใจการต่อสู้ และได้พิสูจน์หลายครั้งแล้วว่า เขามีความรับผิดชอบเพียงพอ ต่อภารกิจและชีวิตของมวลชน
4...สถาบันคนเสื้อแดง = องค์กรนำ ให้จัดวางแกนนำกลุ่มต่างๆ เข้าไปเป็นสมาชิกในองค์กรนำแห่งใหม่ ซึ่งเข้าใจว่า อีกหน่อยจะใช้ชื่อ สถาบันคนเสื้อแดง แทน นปช.
5...หยุดแย่งชิงการนำ พื้นที่สนามหลวงมีปัญหาบ่อยครั้ง หลายครั้งที่มีเวทีขึ้นพร้อมๆ กัน จากกลุ่มหลายๆ กลุ่ม ซึ่งจริงๆ แล้ว เป็นสมาชิกในแนวร่วมนั้นแหละ คนที่เป็นแกนนำของแต่ละกลุ่ม ต้องยกระดับการเป็นนักต่อสู้ เพื่อไม่ให้มีภาพการแย่งการนำอีกต่อไป ประเภทมี 3 เวที ในสนามหลวงนี่ต้องเลิก
6......หยุดใช้คำหยาบ และ เรื่องส่วนตัวเกินเลย หยุดคำหยาบ และอย่านำเอา ความแตกต่างทางเพศมาเป็นเรื่องล้อเลียน หากใครเขาว่าเสื้อแดงเป็นม็อบรากหญ้า ก็ต้องแสดงให้เขาเห็นว่า รากหญ้าก็มีวุฒิภาวะทางสังคม ศิลปะในการพูดผสมกับการทำการบ้าน ทำงานข้อมูล หยิบจับแง่คิดคมๆ มาแบ่งปัน เป็นภารกิจของนักพูดบนเวที
7......การชุมนุมอย่างเปิดเผย ความจริงแล้วเห็นไม่มากนัก แต่ยังมีบางคน ปิดหน้าปิดตา เหมือนกับการ์ด พธม. ไม่รู้จะปิดไปทำไม มันดูไม่ดี
8...ป้ายยกจากผู้ชุมนุม อันนี้ถือเป็นสีสันที่ดี การที่ผู้ชุมนุมจากที่ต่างๆ นำป้ายยก เขียนข้อความที่ต้องการสื่อสาร ถือว่าเป็นสีสัน และขยายผลทำให้ Message ถูกส่งตรงจากผู้เข้าร่วมการชุมนุม ซึ่งไม่มีโอกาสพูดบนเวที ตรงนี้ต้องส่งเสริมกันให้มากๆ
9...ขยายฐานมวลชนเสื้อแดง ให้เชื่อมโยงคนที่เป็นเสื้อแดงไว้ด้วยกัน เกาะกันให้ได้ อาจเป็นกลุ่มเล็กๆ 3-5 คน จะมีประโยชน์มากกว่า ปล่อยให้สีแดงอยู่กันเป็นปัจเจกคนเดียว เพราะจะได้มีการแบ่งปันข่าวสาร ถกเถียงพูดคุย และคิดอ่านในการทำกิจกรรม
10...อย่าผลักสีขาว เป็นสีเหลือง เวลา เจอพวกสีขาว หรือ พวกกลางๆ อย่าไปด่าเขาเสียๆ หายๆ หรือไปป้ายเขาว่า เป็นพวกนิยมเหลือง หรือ พวกพันธมิตรฯ แม้แต่เหลืองอ่อนๆ ก็ต้องพยายามไม่ผลักให้เขาเป็นฝ่ายตรงข้าม แต่ต้องพยายามให้ข้อมูลแบบไม่ยัดเยียด ไม่เร่งรีบ หรือคาดหวังมากนัก ค่อยๆ ชวนคุยให้เกิดประกายความคิดว่า ประชาธิปไตยดีกว่าสิ่งที่ พธม. เสนออย่างไร
11...อย่าคิดเปลี่ยนสีเหลืองเป็นสีแดง เป็นเรื่องไม่มีประโยชน์ที่จะทำเช่นนั้น เพราะในทางกลับกัน เหลืองคนไหนก็เปลี่ยนแดงเป็นเหลืองไม่ได้เช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่เสื้อแดง ควรมีท่าทีกับสีเหลืองคือ การเคารพในตัวตนเสื้อเหลือง
สิ่งเดียวที่ทำให้เสื้อเหลืองเปลี่ยนได้ คือ ตัวของเขาเอง ให้เวลาเป็นข้อพิสูจน์และจงเชื่อมั่นว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล ที่สำคัญ เสื้อเหลืองที่คุณพยายามไปเปลี่ยนเขา (ซึ่งยากที่จะสำเร็จ) อาจเป็นคนในครอบครัว เพื่อนสนิท เพื่อนที่ทำงาน เพื่อนบ้านที่คนเคยคบหากันมาก่อน อย่าให้ความคิดเรื่องการเมือง ทำลายโครงสร้างความสัมพันธ์ที่คุณเคยมีกับเขา โดยเฉพาะคนที่มีผลต่อชีวิตคุณมากๆ เช่น คนในครอบครัว จงเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่กับความหลากหลาย และ แตกต่าง แบบสุดๆ
12...ทีวีสีแดง และ วิทยุชุมชน จงเชื่อมโยงตนเอง เข้ากับเครือข่ายการสื่อสารของฝ่ายเสื้อแดง ใครพอมีกำลังก็ติดจานดาวเทียม และแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้าน ใช้โทรศัพท์ที่สามารถรับฟังวิทยุได้ เมื่อมีเวลา ก็รับฟังทางวิทยุชุมชน และโทรศัพท์ เขียนข้อความไปแสดงความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สื่อสีแดง เป็นช่องทาง 2 ทาง และมีแง่มุมของคนเล็กคนน้อย อยู่ในพื้นที่สื่อเหล่านั้น หมดยุคข้อมูลจากบนลงล่างแล้ว
13...นักรบไซเบอร์ นอกจากช่วยกันนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาทำซ้ำแล้ว จะต้องยกระดับ ในแง่การเปลี่ยนข้อมูล ให้มีแง่มุมในเชิงหลักการ คือ ต้องชี้ให้ชัดว่า ข้อมูลนั้น อยู่บนพื้นฐานทางหลักการอะไร โดยจะต้องเชื่อมโยงทั้งในประเด็นทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ไม่ใช่แค่หยิบจับข่าวการเมืองที่ผ่านปากนักการเมืองมาคุยกันเท่านั้น นอกจากนั้น จะต้องขยายฐานไปยังเว็บอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นเว็บการเมือง สอดแทรกแง่มุมข่าวสารให้กว้างขวาง (ขยายฐานการรับรู้ และการทำงานการเมืองในโลกไซเบอร์)
14...เปลี่ยนมวลชน เป็นผู้ปฏิบัติงาน สำหรับคนที่ไปร่วมเวทีการชุมนุมมาระดับหนึ่งแล้ว จะต้องหาที่ยืนใหม่ ที่มีความสำคัญมากขึ้น กล่าวคือ ต้องมองว่า ตนเองสามารถมีส่วนร่วมในการขยายผลได้อย่างไร โดยเริ่มจากการสมัครเป็นสมาชิกสถาบันเสื้อแดงในพื้นที่ของตนเอง และเสนอตัวเป็นแกนนำหรือผู้ปฏิบัติงานในการขยายฐานสมาชิก หรือช่วยยกระดับการศึกษา ความเข้าใจทางการเมืองให้กับสมาชิกในพื้นที่ใกล้บ้าน ที่คุณเป็นสมาชิกอยู่
15...จงมุ่งมั่นที่จะชนะ แต่อย่าเร่งรีบที่จะชนะ รักษาความมุ่งมั่นในการต่อสู้ และต้องปรับความคิดในการที่จะชนะในระยะเวลาสั้นๆ เพราะจะทำให้การต่อสู้พลาดพลั้งได้ง่าย คิดยาวไปเลยเป็น 10 ปี
16...จัดการศึกษาให้นักการเมือง หากพรรคเพื่อไทย จะเป็นผู้แทนของคนเสื้อแดง พวกเขาต้องปรากฏตัว และออกมารับฟังความคิดเห็นของประชาชนเสื้อแดง และต้องร่วมต่อสู้ ไม่ใช่หดหัว Play Safe ปล่อยให้เสื้อแดงต่อสู้กับแกนนำบางคนเท่านั้น
ต้องมีการปรึกษาหารือ ระหว่างประชาชนกับนักการเมือง ในการวิเคราะห์ปัญหาบ้านเมืองที่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องทางการเมือง แต่ต้องไปถึงเรื่องนโยบาย และสถานการณ์ทางสังคม
ถ้านักการเมือง ยังคงทำตัวเป็นคนที่มีอาชีพเป็นนักการเมือง แต่ไม่ได้เป็นผู้แทน(จิตวิญญาณ)ประชาชน ก็อย่าไปเลือก และถ้านักการเมืองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอาแต่เล่นเกมอำนาจและผลประโยชน์ ขอให้คนเสื้อแดงตัดใจ ให้บทเรียนกับนักการเมืองเหล่านี้
พรรคการเมืองต้องจัดเวที เปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นประชาชนอย่างต่อเนื่อง เน้นการไปนั่งฟัง อย่าไปเน้นการสั่งสอน หรือ โฆษณาหาเสียงกับชาวบ้าน แล้วนำสิ่งที่ชาวบ้านเสนอปัญหาและแนวทางมาพิจารณา ในการออกแบบนโยบายพรรค ทำให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชนให้ได้ เลิกเสียที พรรคการเมืองของนายทุน หรือ พรรคของนักการเมือง
17...ศึกษา ค้นคว้า แลกเปลี่ยน อย่ามัวแต่ตอบกระทู้ด่ากันไปด่ากันมา แต่หาเวลาไปค้นใน wiki ทั้งข้อมูลประวัติศาสตร์ หรือ ข้อมูลต่างๆ ตามเว็บไซต์ หรือ หยิบจับหนังสือดีๆ มาอ่าน หรือเข้าร่วมการประชุมเสวนาทางวิชาการ หรือ จะฟังจาก Clip ที่มีคนเอามาเผยแพร่ก็ได้ จากนั้นนำข้อมูลและแง่มุม มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน
18...เสนอตัว เป็นอาสาสมัคร ดูว่าตนเองมีต้นทุนอะไรบ้าง สามารถช่วยเหลือผู้อื่น หรือ การต่อสู้ในด้านใด เช่น ถ่ายภาพ ออกแบบกราฟฟิค จัดฝึกอบรม งานเขียน กระจายสื่อ ฯลฯ แล้วเชื่อมโยงตนเองเข้าไป กับการเคลื่อนไหวและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
19...บริหารเวลา การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แบ่งปัน และบริหารชีวิตในด้านอื่นๆ ให้ดี อย่าให้เกิดผลกระทบในระดับวิกฤติ ไม่ใช่เคลื่อนไหวจนบ้านแตก ถูกไล่ออกจากงาน หรือ เรียนหนังสือไม่จบ จงหลอมรวมภารกิจเพื่อประชาธิปไตย เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต ยกเว้นแกนนำ หรือผู้มีความพร้อมบางคนเท่านั้น อย่าลืมว่า การต่อสู้นั้นยาวนาน ชีวิตต้องดำรงอยู่ หากเกิดปัญหาในมิติอื่นๆ ของชีวิต ย่อมส่งผลต่อการต่อสู้ด้วยเช่นกัน
20...จงต่อสู้ด้วยจิตใจที่เบิกบาน ขอนำคำของคุณหมอเหวง โตจิราการ มาแบ่งปัน แม้ว่าเราจะต้องต่อสู้อย่างเข้มข้น เกิดอารมณ์เครียด ท้อถอย หรือ โกรธแค้น แต่ต้องขจัดสิ่งเหล่านั้นออกไป จงต่อสู้ด้วยจิตใจที่เบิกบาน ยกระดับจิตวิญญาณให้สูงขึ้น ไม่ตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์การต่อสู้ ที่ทำลายจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ให้กลายเป็นสัตว์ร้าย
คิดเห็นเป็นประการใด โปรดพิจารณา!
ลือหึ่ง!!ลิ่วล้อพันธมารขอส่วนบุญ 'สำราญ-ยะใส'จ่อฮุบ อสมท.-ทีโอที
บุญคุณต้องทดแทน ข่าวสะพัด 'มาร์ค' ไฟเขียว ตั้งแกนนำพันธมารกุมบังเหียน อสมท.-ทีโอที "สำราญ-ยะใส" จ่อรับโบนัส "เพื่อไทย" จวกยับ!!ให้คิดถึงประโยชน์ปชช. สับเละไม่เหมาะสม โฆษกปชป.เสียงอ่อย! รับหากตั้งจริงมีผลต่อภาพลักษณ์
ภายหลังที่มีกระแสข่าวว่ามีกระบวนการต่างตอบแทนระหว่างพรรคประ ชาธิปัตย์และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกรณี เตรียมแต่งตั้ง นายสำราญ รอดเพชร แกนนำรุ่นที่ 2 เข้ามาเป็น ผอ.อสมท. แทนนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ที่ถูกปลดไปก่อนหน้านี้ และเคยเป็นคนในเครือผู้จัดการ โดยนายสำราญได้เปิดเผยกับคนใกล้ชิดว่า นายอภิสิทธิ์ไฟเขียวเรียบร้อยแล้ว
ส่วนกระแสข่าวกรณีที่จะแต่งตั้งนายสุริยะใส กตะศิลา เป็นประธานบอร์ดทีโอทีนั้น ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก โดยนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตน คิดว่ารัฐบาลคงทำเพื่อทดแทนบุญคุณให้กับกลุ่มพันธมิตรฯซึ่งดูแล้วทั้งคู่ไม่ มีความเหมาะสมกับตำแหน่งดังกล่าว ตนจึงอยากให้พรรคประชาธิปปัตย์คำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นหลัก มากกว่าเป็นบุญคุณที่ต้องทดแทน
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าทางรัฐบาลจะมีการแต่งตั้งนายสุริยะใส กตะศิลา และนายสำราญ รอดเพชร แกนนำพันธมิตร เป็นประธานบอร์ดทีโอที และ ผอ.อสมท. นั้นหากรัฐบาลกระทำการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวจริง วันนี้คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากแล้ว เพราะความจริงจะฟ้องประชาชนเอง ว่าเป็นการปั่นกระแสตัวเองให้ดูดี การตั้งบุคคลที่มีคดีความ และทำลายประเทศชาติ นั้นเปรียบเสมือนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีกำลังกระทืบจิตใจของคนไทยและพี่น้องที่กำลังประกอบกิจการทั้ง ชาวไทยและชาวต่างชาติ และหากจะเปรียบประเทศไทบยุคนี้ต้องเรียกว่า 2552 ยุคผู้ก่อการร้ายครองเมือง
ด้าน นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า เรื่องนี้แล้วแต่มติของพรรค ซึ่งอยู่ที่การตัดสินใจของกรรมการบริหารพรรค แต่หากมีการแต่งตั้งแกนนำพันธมิตรฯ เข้าทำหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวจริง ก็ต้องยอมรับว่าภาพลักษณ์ก็จะออกมาไม่ดี ซึ่งการแต่งตั้งใครเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญ จำเป็นต้องดูที่คุณสมบัติของคนที่จะเข้ามาทำงาน ไม่ควรนำคนที่มีคดีติดตัวเข้ามา เพราะประชาชนไม่เห็นด้วยและจะยิ่งมองภาพของรัฐบาลไปในแง่ลบมากขึ้น รวมถึงอาจทำให้เกิดปัญหาความวุ่นวายตามมา อย่างไรก็ตามตนมองว่าพรรคคงจะไม่เลือกคนที่มีคดีติดตัวมานั่งทำงานแน่นอน
ภายหลังที่มีกระแสข่าวว่ามีกระบวนการต่างตอบแทนระหว่างพรรคประ ชาธิปัตย์และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกรณี เตรียมแต่งตั้ง นายสำราญ รอดเพชร แกนนำรุ่นที่ 2 เข้ามาเป็น ผอ.อสมท. แทนนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ที่ถูกปลดไปก่อนหน้านี้ และเคยเป็นคนในเครือผู้จัดการ โดยนายสำราญได้เปิดเผยกับคนใกล้ชิดว่า นายอภิสิทธิ์ไฟเขียวเรียบร้อยแล้ว
ส่วนกระแสข่าวกรณีที่จะแต่งตั้งนายสุริยะใส กตะศิลา เป็นประธานบอร์ดทีโอทีนั้น ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก โดยนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตน คิดว่ารัฐบาลคงทำเพื่อทดแทนบุญคุณให้กับกลุ่มพันธมิตรฯซึ่งดูแล้วทั้งคู่ไม่ มีความเหมาะสมกับตำแหน่งดังกล่าว ตนจึงอยากให้พรรคประชาธิปปัตย์คำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นหลัก มากกว่าเป็นบุญคุณที่ต้องทดแทน
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าทางรัฐบาลจะมีการแต่งตั้งนายสุริยะใส กตะศิลา และนายสำราญ รอดเพชร แกนนำพันธมิตร เป็นประธานบอร์ดทีโอที และ ผอ.อสมท. นั้นหากรัฐบาลกระทำการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวจริง วันนี้คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากแล้ว เพราะความจริงจะฟ้องประชาชนเอง ว่าเป็นการปั่นกระแสตัวเองให้ดูดี การตั้งบุคคลที่มีคดีความ และทำลายประเทศชาติ นั้นเปรียบเสมือนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีกำลังกระทืบจิตใจของคนไทยและพี่น้องที่กำลังประกอบกิจการทั้ง ชาวไทยและชาวต่างชาติ และหากจะเปรียบประเทศไทบยุคนี้ต้องเรียกว่า 2552 ยุคผู้ก่อการร้ายครองเมือง
ด้าน นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า เรื่องนี้แล้วแต่มติของพรรค ซึ่งอยู่ที่การตัดสินใจของกรรมการบริหารพรรค แต่หากมีการแต่งตั้งแกนนำพันธมิตรฯ เข้าทำหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวจริง ก็ต้องยอมรับว่าภาพลักษณ์ก็จะออกมาไม่ดี ซึ่งการแต่งตั้งใครเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญ จำเป็นต้องดูที่คุณสมบัติของคนที่จะเข้ามาทำงาน ไม่ควรนำคนที่มีคดีติดตัวเข้ามา เพราะประชาชนไม่เห็นด้วยและจะยิ่งมองภาพของรัฐบาลไปในแง่ลบมากขึ้น รวมถึงอาจทำให้เกิดปัญหาความวุ่นวายตามมา อย่างไรก็ตามตนมองว่าพรรคคงจะไม่เลือกคนที่มีคดีติดตัวมานั่งทำงานแน่นอน
เตือน‘สาทิตย์’ปิดวิทยุชุมชนส่อขัดรธน.
“อภิสิทธิ์-สาทิตย์” แบะท่าเดินหน้าแทรกแซงสื่อของรัฐ ยอมรับมีแนวคิดจะรื้อเอ็นบีทีใหม่ให้ตอบสนองการแจงผลงานของรัฐบาลมากขึ้น ขณะเดียวกันเร่งหาช่องกฎหมายใช้จัดการวิทยุชุมชน แสลง “สีแดง” จ่อเปลี่ยนโลโก NBT อ้างมั่วแบบเก่าเหมือนฝักใฝ่ขั้วการเมือง ด้านนักวิชาการติงระวังขัด รธน. ที่ปิดกั้นสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือการแสดงออก ขณะที่ คปส. ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ค้านใช้กฎหมายมั่นคงเล่นงานสื่อ พร้อมขอให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมหากมีการร่างกฎหมายเกี่ยวกับวิทยุชุมชน
จากกรณีที่รัฐบาลมีแนวคิดในการปิดเว็บไซต์และวิทยุชุมชน ด้วยข้ออ้างเรื่องความมั่นคงและจะมีการนำเอากฎหมายฮิตเลอร์ เข้ามาเป็นเครื่องมือนั้น ส่งผลให้นักวิชาการต่างลงความเห็นว่ารัฐพยายามใช้อำนาจที่จะเข้ามาแทรกแซง สื่อ และสถานการณ์ดังกล่าวเริ่มมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ดูแลสื่อออกมาแสดงท่าทีอย่างชัดเจน
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสื่อมวลชน ตอบโต้ข้อกล่าวหาปิดวิทยุชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ว่าตนทราบดีว่าอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลวิทยุชุมชนของรัฐบาลมีมากน้อยแค่ ไหน และที่ผ่านก็ยังไม่เคยมีคำสั่งให้ปิดเลย
“สภาพของสังคมขณะนี้เป็นสภาพอนาธิปไตยที่มีปัญหากันอยู่ ทั้งนี้กฎหมายประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์เป็นอำนาจของ กทช.ดูแลร่วมกับอนุกรรมการ เท่าที่ทราบขณะนี้อนุกรรมการเองก็มีปัญหามากเพราะมีการทำผิดกฎหมายหลายส่วน ซึ่งได้ประสานไปยัง กทช. เพื่อดูว่ามีหลักเกณฑ์ดำเนินการอย่างไร และกำลังให้กฤษฎีกาดูข้อกฎหมายว่า หน่วยงานที่สามารถดำเนินการตามกฎหมายต่างๆ ได้นั้นสามารถดำเนินการได้เช่นไร”
ทั้งนี้ เพราะในปัจจุบันมีวิทยุชุมชนทั้งหมดกว่า 5,000 แห่ง ซึ่งมีไม่กี่แห่งเท่านั้นที่เป็นปัญหา ได้มีการตักเตือนไปบ้างแล้วแต่ยังไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไข คงต้องรอดูว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะไปดำเนินการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นผล อย่างไร เพราะหากปล่อยไปสภาพเช่นจะกระทบต่อสังคมโดยรวมและคนที่ทำดีอยู่แล้วด้วย
เมื่อถามว่า กฎหมายที่ระบุสามารถนำไปใช้ดำเนินการปิดวิทยุชุมชนนั้นๆ ได้หรือไม่ นายสาทิตย์ กล่าวว่า พรบ.วิทยุ คมนาคมซึ่งคนทำวิทยุชุมชนต้องของอนุญาต กทช.นั้นสามารถดำเนินการตรวจยึดเครื่องได้เลย
นอกจากนี้ยังเปิดเผยด้วยว่า รัฐบาลชุดนี้มีนโยบายปรับปรุงกลไกสื่อของรัฐให้ตอบสนองการสร้างสมดุลของข่าว สาร โดยในส่วนของกรมประชาสัมพันธ์ได้ให้นโยบายไปแล้ว ทางผู้บริหารจะเสนอแผนกลับมาและมีความชัดเจนในเดือนกุมภาพันธ์นี้
ขณะที่สถานีโทรทัศน์วิทยุแห่งประเทศไทย หรือเอ็นบีที ได้ปรับในแง่ของการเสนอข่าวสารในสัดส่วน 40% ต้องมีความสมดุล ไม่เป็นเครื่องมือทางการเมือง สำหรับโลโก้ของเอ็นบีที ต้องเปลี่ยนใหม่ เพราะที่ผ่านมาโลโก้สะท้อนความเป็น ฝักฝ่ายทางการเมือง แต่จะปรับอย่างไร ขอใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง แต่ต้องทำให้ช่อง 11 สะท้อนความเป็นสื่อสาธารณะของประชาชนอีกช่องหนึ่ง โดยระยะยาวจะปรับสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ให้ดำเนินการในรูปแบบขององค์การ มหาชน เพื่อให้เป็นสื่อสาธารณะที่ปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง
นายสาทิตย์ กล่าวว่า สำหรับ อสมท. อำนาจ รมต. มีหน้าที่เพียงกำกับดูแลและให้นโยบายผ่านคณะกรรมการ ซึ่งจะเน้น 3 เรื่องหลัก คือ ความโปร่งใสในการบริหารงาน ประสิทธิภาพในการทำงาน กำกับดูแลการทำงานของบอร์ด โดยเฉพาะกระบวนการสรรหากรรมการผู้อำนวยการใหญ่คนใหม่
ทั้งนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อทั้งหมด ทั้งแก้กฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และออกกฎหมายที่มาดูแลสื่อใหม่ เช่น โทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิลทีวี และวิทยุชุมชน
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนนหึ่งในการบรรยายเรื่องนโยบายและการผลักดันปฏิรูปสื่อของรัฐบาล อภิสิทธิ์1 ว่า ปัจจุบันสื่อมีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชน และเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งซึ่งต้องทำงานบนหลักประชาธิปไตย มีสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งสะท้อนข้อมูลความเห็นและมุมมองต่างๆ อย่างเป็นกลาง
ทั้งนี้ ตนมีแนวคิดปฏิรูปรูปแบบสถานีโทรทัศน์ NBT ให้กลับมาเป็นสถานีสาธารณะ เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้รัฐบาลชี้แจงการทำงาน โดยยืนยันจะไม่มีการหาผลประโยชน์ทางการเมือง อีกทั้งจะมีการจัดสรรเวลาให้กับฝ่ายค้านด้วย
พร้อมกันนี้ยังตอบคำถามถึงแนวทางจัดสรรสื่อของส่วนราชการ ว่า ต้องพิจารณาอย่างตรงไปตรงมา และดูกันตามความเป็นจริงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยต้องดูว่ารัฐมีคลื่นที่ใช้เพื่อความมั่นคงอยู่ในมือมากน้อยเพียงใด สอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่ ซึ่งตนแน่ใจว่าไม่สอดคล้อง ดังนั้น ควรดึงกลับมาพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยหน่วยงานเดิมจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ขณะที่การดูแลวิทยุชุมชนนั้น ต้องทำให้เป็นไปตามเจตนารมย์เดิม คือเป็นสื่อของชุมชน อีกทางเลือกหนึ่ง หากประชาชนไม่สามารถเข้าถึงสื่อกระแสหลักได้
ทางด้าน รศ.อรุณีประภา หอมเศรษฐี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการสรรหา กสช. ได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องดังกล่าวว่าการที่จะใช้กฎหมายเข้ามากำกับดูแลใน ส่วนของวิทยุชุมชนที่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องขององค์กรที่จะดูแล หรือกฎหมายนั้น ตนมองว่าการจะมาอ้างเรื่องการเกิดปัญหาของการดำเนินของทั้งวิทยุชุมชนหรือ เว็บไซต์โดยใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง
ตนมองว่าประเด็นดังกล่าว จะเลือกใช้กฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งคงจะทำได้ยาก เนื่องจากว่า พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวก็จะดูแลในส่วนของความมั่นคงเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมในเรื่องอื่นๆ ด้วย เพราะจะต้องคำนึงว่าเมื่อไม่มีกฎหมายรองรับ หรือไม่มีหน่วยงานที่ชัดเจนเข้ามาดูแล การประกอบการก็อาจะไปคาบเกี่ยวในส่วนของคลื่นเอกชนที่เคยมีปัญหากันมาก่อน หน้านี้ ในส่วนของการแทรกคลื่น
ในส่วนนี้เราก็อาจจะพิจารณาในเรื่องของ พ.ร.บ.คลื่นความถี่เข้ามาจัดสรรคลื่น เพื่อไม่ได้คลื่นของวิทยุชุมชนไปทับซ่อนคลื่นของเอกชนที่ได้มีการเปิดทำการ มาก่อนหน้านี้ เพื่อไม่ให้สร้างความเสียหายกับคลื่นของเอกชน
นอกจากนี้รศ.อรุณีประภา กล่าวต่อไปอีกว่า นอกจากนี้เราต้องดูในส่วนของรัฐธรรมนูญด้วย ที่ได้ร่างไว้ในเรื่องของสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือการแสดงออกใน สิทธิของตนเองเพื่อนำมาประกอบในการพิจารณาต่างๆ
“การจะมาอ้างกฎหมาย พ.ร.บ.ฉบับใดฉบับหนึ่งนั้นคงทำไม่ได้ เพราะว่ามีหลายส่วนที่เราต้องพิจารณา พ.ร.บ.ฉบับอื่น หรือกฎหมายข้ออื่นๆด้วย เพราะไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะไม่มีความเป็นกลางในการพิจารณาสั่งปิดวิทยุชุมชน ก็เป็นได้”
ทั้งนี้ รศ.อรุณีประภาได้ให้ความชัดเจน ในเรื่องของกฎหมายลูกเกี่ยวกับวิทยุชุมชน ว่าในปัจจุบันมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพียงแต่ว่าตอนนี้เรายังไม่มีหน่วยงานหรือองคืกรที่จะเข้ามาดูมาดูแลกฎหมาย ลูกตรงนั้นเพื่อพัฒนาให้ทุกภาคส่วนมีกลไกในการทำงานหรือระเบียบในการดำเนิน งานกิจการอย่างเท่าเทียมกัน
“ทุกวันนี้ที่ยังไม่มีองค์กร กสช.เข้ามาดูแลกำกับในส่วนของวิทยุชุมชนทำให้เป็นปัยหาอย่างมากในปัจจุบัน เมื่อเป็นอย่างนี้ก็เป็นความพยายามที่ทางภาครัฐจะเข้ามาแทรแซง หรือต้องการกำกับดูแล มันเป็นเรื่องปกติมากสำหรับเรื่องดังกล่าว หากเรามีหน่วยงาน มีกฎหมายให้ปฏิบัติและยึดหลักตามกฎหมาย รัฐก็ไม่สามารถที่จะเข้ามาแทรกแซงในองค์กรดังกล่าวได้”
รศ.อรุณีประภาได้กล่าวไว้ในตอนท้ายว่า ตอนนี้ถ้ามีการเร่งพิจารณการสรรหาคณะกรรมการ กสช.ปัญหาดังกล่าวก็น่าจะมีความขัดแย้งน้อยลง แต่ว่าก็อาจจะยังมีปัญหาอยู่บ้าง แต่ตนเชื่อว่าตอนนี้หากใครก็ตามที่ได้รับการสรรหาเข้ามา ขอให้มีความชัดเจน และมีความเป็นกลาง เรื่องปัญหาความพยายามในการแทรกแซงน่าจะหมดไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 13 มกราคม ที่ผ่านมา ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) พร้อมด้วยเครือข่ายพลเมืองเน็ต และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT) เดินทางมายื่นหนังสือต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอความชัดเจนกรณีที่รัฐบาลเตรียมจะใช้ข้ออ้างเรื่องหมื่นสถาบันและความ มั่นคงเข้ามาจัดการอินเตอร์เน็ตและวิทยุชุมชน ถึงขนาดจะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง 2551 ว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร รวมถึงคัดค้านการประกาศสงครามกับวิทยุชุมชนและอินเตอร์เน็ต หรือวอร์รูม โดยจะใช้งบ 80 ล้านบาท เพื่อจัดการ เพราะเป็นการละเมิดนโยบายด้านสื่อของรัฐบาลและสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของ ประชาชน
นายอภิสิทธิ์ ได้ออกมารับหนังสือพร้อมชี้แจงว่า รัฐบาลจะพยายามสร้างความสมดุลระหว่างเรื่องของสิทธิเสรีภาพและความมั่นคงใน การเข้าไปจัดการเรื่องดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม น.ส.สุภิญญา กล่าวว่าหากจะมีการผลักดันร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิทยุชุมชน ก็ขอให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม และอยากให้นายกฯ เดินทางไปรับฟังข้อเสนอแนะจากภาคประชาชนเช่นเดียวกับที่ไปรับฟังข้อเสนอแนะ จากภาคธุรกิจด้วย
จากกรณีที่รัฐบาลมีแนวคิดในการปิดเว็บไซต์และวิทยุชุมชน ด้วยข้ออ้างเรื่องความมั่นคงและจะมีการนำเอากฎหมายฮิตเลอร์ เข้ามาเป็นเครื่องมือนั้น ส่งผลให้นักวิชาการต่างลงความเห็นว่ารัฐพยายามใช้อำนาจที่จะเข้ามาแทรกแซง สื่อ และสถานการณ์ดังกล่าวเริ่มมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ดูแลสื่อออกมาแสดงท่าทีอย่างชัดเจน
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสื่อมวลชน ตอบโต้ข้อกล่าวหาปิดวิทยุชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ว่าตนทราบดีว่าอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลวิทยุชุมชนของรัฐบาลมีมากน้อยแค่ ไหน และที่ผ่านก็ยังไม่เคยมีคำสั่งให้ปิดเลย
“สภาพของสังคมขณะนี้เป็นสภาพอนาธิปไตยที่มีปัญหากันอยู่ ทั้งนี้กฎหมายประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์เป็นอำนาจของ กทช.ดูแลร่วมกับอนุกรรมการ เท่าที่ทราบขณะนี้อนุกรรมการเองก็มีปัญหามากเพราะมีการทำผิดกฎหมายหลายส่วน ซึ่งได้ประสานไปยัง กทช. เพื่อดูว่ามีหลักเกณฑ์ดำเนินการอย่างไร และกำลังให้กฤษฎีกาดูข้อกฎหมายว่า หน่วยงานที่สามารถดำเนินการตามกฎหมายต่างๆ ได้นั้นสามารถดำเนินการได้เช่นไร”
ทั้งนี้ เพราะในปัจจุบันมีวิทยุชุมชนทั้งหมดกว่า 5,000 แห่ง ซึ่งมีไม่กี่แห่งเท่านั้นที่เป็นปัญหา ได้มีการตักเตือนไปบ้างแล้วแต่ยังไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไข คงต้องรอดูว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะไปดำเนินการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นผล อย่างไร เพราะหากปล่อยไปสภาพเช่นจะกระทบต่อสังคมโดยรวมและคนที่ทำดีอยู่แล้วด้วย
เมื่อถามว่า กฎหมายที่ระบุสามารถนำไปใช้ดำเนินการปิดวิทยุชุมชนนั้นๆ ได้หรือไม่ นายสาทิตย์ กล่าวว่า พรบ.วิทยุ คมนาคมซึ่งคนทำวิทยุชุมชนต้องของอนุญาต กทช.นั้นสามารถดำเนินการตรวจยึดเครื่องได้เลย
นอกจากนี้ยังเปิดเผยด้วยว่า รัฐบาลชุดนี้มีนโยบายปรับปรุงกลไกสื่อของรัฐให้ตอบสนองการสร้างสมดุลของข่าว สาร โดยในส่วนของกรมประชาสัมพันธ์ได้ให้นโยบายไปแล้ว ทางผู้บริหารจะเสนอแผนกลับมาและมีความชัดเจนในเดือนกุมภาพันธ์นี้
ขณะที่สถานีโทรทัศน์วิทยุแห่งประเทศไทย หรือเอ็นบีที ได้ปรับในแง่ของการเสนอข่าวสารในสัดส่วน 40% ต้องมีความสมดุล ไม่เป็นเครื่องมือทางการเมือง สำหรับโลโก้ของเอ็นบีที ต้องเปลี่ยนใหม่ เพราะที่ผ่านมาโลโก้สะท้อนความเป็น ฝักฝ่ายทางการเมือง แต่จะปรับอย่างไร ขอใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง แต่ต้องทำให้ช่อง 11 สะท้อนความเป็นสื่อสาธารณะของประชาชนอีกช่องหนึ่ง โดยระยะยาวจะปรับสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ให้ดำเนินการในรูปแบบขององค์การ มหาชน เพื่อให้เป็นสื่อสาธารณะที่ปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง
นายสาทิตย์ กล่าวว่า สำหรับ อสมท. อำนาจ รมต. มีหน้าที่เพียงกำกับดูแลและให้นโยบายผ่านคณะกรรมการ ซึ่งจะเน้น 3 เรื่องหลัก คือ ความโปร่งใสในการบริหารงาน ประสิทธิภาพในการทำงาน กำกับดูแลการทำงานของบอร์ด โดยเฉพาะกระบวนการสรรหากรรมการผู้อำนวยการใหญ่คนใหม่
ทั้งนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อทั้งหมด ทั้งแก้กฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และออกกฎหมายที่มาดูแลสื่อใหม่ เช่น โทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิลทีวี และวิทยุชุมชน
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนนหึ่งในการบรรยายเรื่องนโยบายและการผลักดันปฏิรูปสื่อของรัฐบาล อภิสิทธิ์1 ว่า ปัจจุบันสื่อมีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชน และเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งซึ่งต้องทำงานบนหลักประชาธิปไตย มีสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งสะท้อนข้อมูลความเห็นและมุมมองต่างๆ อย่างเป็นกลาง
ทั้งนี้ ตนมีแนวคิดปฏิรูปรูปแบบสถานีโทรทัศน์ NBT ให้กลับมาเป็นสถานีสาธารณะ เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้รัฐบาลชี้แจงการทำงาน โดยยืนยันจะไม่มีการหาผลประโยชน์ทางการเมือง อีกทั้งจะมีการจัดสรรเวลาให้กับฝ่ายค้านด้วย
พร้อมกันนี้ยังตอบคำถามถึงแนวทางจัดสรรสื่อของส่วนราชการ ว่า ต้องพิจารณาอย่างตรงไปตรงมา และดูกันตามความเป็นจริงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยต้องดูว่ารัฐมีคลื่นที่ใช้เพื่อความมั่นคงอยู่ในมือมากน้อยเพียงใด สอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่ ซึ่งตนแน่ใจว่าไม่สอดคล้อง ดังนั้น ควรดึงกลับมาพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยหน่วยงานเดิมจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ขณะที่การดูแลวิทยุชุมชนนั้น ต้องทำให้เป็นไปตามเจตนารมย์เดิม คือเป็นสื่อของชุมชน อีกทางเลือกหนึ่ง หากประชาชนไม่สามารถเข้าถึงสื่อกระแสหลักได้
ทางด้าน รศ.อรุณีประภา หอมเศรษฐี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการสรรหา กสช. ได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องดังกล่าวว่าการที่จะใช้กฎหมายเข้ามากำกับดูแลใน ส่วนของวิทยุชุมชนที่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องขององค์กรที่จะดูแล หรือกฎหมายนั้น ตนมองว่าการจะมาอ้างเรื่องการเกิดปัญหาของการดำเนินของทั้งวิทยุชุมชนหรือ เว็บไซต์โดยใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง
ตนมองว่าประเด็นดังกล่าว จะเลือกใช้กฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งคงจะทำได้ยาก เนื่องจากว่า พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวก็จะดูแลในส่วนของความมั่นคงเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมในเรื่องอื่นๆ ด้วย เพราะจะต้องคำนึงว่าเมื่อไม่มีกฎหมายรองรับ หรือไม่มีหน่วยงานที่ชัดเจนเข้ามาดูแล การประกอบการก็อาจะไปคาบเกี่ยวในส่วนของคลื่นเอกชนที่เคยมีปัญหากันมาก่อน หน้านี้ ในส่วนของการแทรกคลื่น
ในส่วนนี้เราก็อาจจะพิจารณาในเรื่องของ พ.ร.บ.คลื่นความถี่เข้ามาจัดสรรคลื่น เพื่อไม่ได้คลื่นของวิทยุชุมชนไปทับซ่อนคลื่นของเอกชนที่ได้มีการเปิดทำการ มาก่อนหน้านี้ เพื่อไม่ให้สร้างความเสียหายกับคลื่นของเอกชน
นอกจากนี้รศ.อรุณีประภา กล่าวต่อไปอีกว่า นอกจากนี้เราต้องดูในส่วนของรัฐธรรมนูญด้วย ที่ได้ร่างไว้ในเรื่องของสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือการแสดงออกใน สิทธิของตนเองเพื่อนำมาประกอบในการพิจารณาต่างๆ
“การจะมาอ้างกฎหมาย พ.ร.บ.ฉบับใดฉบับหนึ่งนั้นคงทำไม่ได้ เพราะว่ามีหลายส่วนที่เราต้องพิจารณา พ.ร.บ.ฉบับอื่น หรือกฎหมายข้ออื่นๆด้วย เพราะไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะไม่มีความเป็นกลางในการพิจารณาสั่งปิดวิทยุชุมชน ก็เป็นได้”
ทั้งนี้ รศ.อรุณีประภาได้ให้ความชัดเจน ในเรื่องของกฎหมายลูกเกี่ยวกับวิทยุชุมชน ว่าในปัจจุบันมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพียงแต่ว่าตอนนี้เรายังไม่มีหน่วยงานหรือองคืกรที่จะเข้ามาดูมาดูแลกฎหมาย ลูกตรงนั้นเพื่อพัฒนาให้ทุกภาคส่วนมีกลไกในการทำงานหรือระเบียบในการดำเนิน งานกิจการอย่างเท่าเทียมกัน
“ทุกวันนี้ที่ยังไม่มีองค์กร กสช.เข้ามาดูแลกำกับในส่วนของวิทยุชุมชนทำให้เป็นปัยหาอย่างมากในปัจจุบัน เมื่อเป็นอย่างนี้ก็เป็นความพยายามที่ทางภาครัฐจะเข้ามาแทรแซง หรือต้องการกำกับดูแล มันเป็นเรื่องปกติมากสำหรับเรื่องดังกล่าว หากเรามีหน่วยงาน มีกฎหมายให้ปฏิบัติและยึดหลักตามกฎหมาย รัฐก็ไม่สามารถที่จะเข้ามาแทรกแซงในองค์กรดังกล่าวได้”
รศ.อรุณีประภาได้กล่าวไว้ในตอนท้ายว่า ตอนนี้ถ้ามีการเร่งพิจารณการสรรหาคณะกรรมการ กสช.ปัญหาดังกล่าวก็น่าจะมีความขัดแย้งน้อยลง แต่ว่าก็อาจจะยังมีปัญหาอยู่บ้าง แต่ตนเชื่อว่าตอนนี้หากใครก็ตามที่ได้รับการสรรหาเข้ามา ขอให้มีความชัดเจน และมีความเป็นกลาง เรื่องปัญหาความพยายามในการแทรกแซงน่าจะหมดไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 13 มกราคม ที่ผ่านมา ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) พร้อมด้วยเครือข่ายพลเมืองเน็ต และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT) เดินทางมายื่นหนังสือต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอความชัดเจนกรณีที่รัฐบาลเตรียมจะใช้ข้ออ้างเรื่องหมื่นสถาบันและความ มั่นคงเข้ามาจัดการอินเตอร์เน็ตและวิทยุชุมชน ถึงขนาดจะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง 2551 ว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร รวมถึงคัดค้านการประกาศสงครามกับวิทยุชุมชนและอินเตอร์เน็ต หรือวอร์รูม โดยจะใช้งบ 80 ล้านบาท เพื่อจัดการ เพราะเป็นการละเมิดนโยบายด้านสื่อของรัฐบาลและสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของ ประชาชน
นายอภิสิทธิ์ ได้ออกมารับหนังสือพร้อมชี้แจงว่า รัฐบาลจะพยายามสร้างความสมดุลระหว่างเรื่องของสิทธิเสรีภาพและความมั่นคงใน การเข้าไปจัดการเรื่องดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม น.ส.สุภิญญา กล่าวว่าหากจะมีการผลักดันร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิทยุชุมชน ก็ขอให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม และอยากให้นายกฯ เดินทางไปรับฟังข้อเสนอแนะจากภาคประชาชนเช่นเดียวกับที่ไปรับฟังข้อเสนอแนะ จากภาคธุรกิจด้วย
อันธพาล: ก่อกวนไม่เลือกที่
คอลัมน์ : ขอดเกล็ดการเมือง ประชาทรรศน์
สังคมประชาธิปไตย เป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันของผู้คนที่มีความคิดเห็นที่เหมือนกัน และมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน คนสองจำพวกดังกล่าวสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้ ไม่ขยายวงแห่งความขัดแย้งไปสู่การรบราฆ่าฟันกัน แต่พวกเขาสามารถอยู่ด้วยกันได้ เพราะสังคมประชาธิปไตยมีกฎกติกาที่พวกเขาจะต้องเคารพ นั่นก็คือ กฎหมายของบ้านเมือง
ประชาธิปไตย เขาถือว่า อำนาจเป็นของประชาชน ประชาชนจะใช้อำนาจนั้นเอง หรือว่าจะมอบให้ผู้ใดไปใช้อำนาจแทนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับกติกาของบ้านเมืองกำหนดไว้เป็นประการใด
เมื่อกฎกติกาประชาธิปไตยใช้ “การเลือกตั้ง” เป็นวิธีการเลือกสรรบุคคลเข้าไปทำหน้าที่แทนประชาชน นั่นย่อมต้องมีการแข่งขันกันในคราวเลือกตั้ง
เมื่อทุกคน ทุกพรรคการเมือง เข้าร่วมการแข่งขันแล้ว ผลการเลือกตั้งออกมาเป็นประการใดทุกฝ่ายจะต้องยอมรับ
คนที่ชนะก็เข้าไปทำหน้าที่ คนที่ได้คะแนนน้อยกว่าก็ถือว่าเป็นผู้แพ้ เมื่อรวมคะแนนเสียงทั้งหมด ใครได้มากกว่า คนนั้น ฝ่ายนั้น ก็เข้าไปทำหน้าที่บริหาร ควบคุมเสียงข้างมากในสภาเอาไว้ อีกฝ่ายที่ได้คะแนนน้อยกว่าถือเป็นเสียงข้างน้อย มีไว้คอยควบคุมฝ่ายเสียงข้างมาก
กติกาประชาธิปไตยมีไว้ให้ทุกคนเคารพ ไม่ใช่มีไว้ให้คนละเมิดกฎหมาย มีไว้ให้ปฏิบัติตาม ไม่ใช่มีไว้เพื่อละเมิด เพื่อดื้อแพ่ง
เมื่อเป็นรัฐบาล มีตำแหน่งแห่งหนในคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เมื่อเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ประเทศประชาธิปไตยจะต้องให้ความเคารพ ไม่ละลาบละล้วง ทำอะไรเป็นการดูหมิ่น ดูแคลน เหยียดหยาม นั่นคือการไม่เคารพประชาชน ไม่เคารพการเลือกตั้ง ไม่เคารพทุกอย่างที่ก่อให้เกิดตำแหน่งเหล่านี้ขึ้นมา
นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เดินทางไปทำภารกิจที่ จ.นครศรีธรรมราช มีกลุ่มคนที่เรียกว่า พันธมิตรฯ มาต่อต้าน จนไม่สามารถทำการทำงานได้
เหตุการณ์นี้สร้างความสะเทือนใจแก่ผู้คนทั่วประเทศ ว่าเกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นได้อย่างไร
นายชัย ชิดชอบ เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มาจากสภาผู้แทนราษฎรเลือกตั้ง จึงดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรได้
ถ้าไม่ชอบ นายชัย ชิดชอบ เป็นการส่วนตัว ก็ไม่มีความชอบธรรมที่จะขับไล่ เพราะตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นตำแหน่งที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นตำแหน่งอันทรงเกียรติ
คนใต้เองก็เคยดำรงตำแหน่งนี้อย่างน้อย 2 คน คือ นายชวน หลีกภัย เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อคราว 2 คนนี้ดำรงตำแหน่ง ท่านจะไปไหนมาไหนทำหน้าที่ของท่านทั่วประเทศไทย ไม่มีใครหน้าไหนออกมาขับไล่ เพราะ คนไทยเขาทราบดีว่าตำแหน่งนี้มีเกียรติ จะเป็นใครก็ตาม เมื่อมาดำรงตำแหน่งนี้แล้วต้องให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
ไม่เข้าใจว่าขณะนี้บ้านเมืองเราเป็นอะไรไปแล้ว ความก้าวร้าวเกะกะระราน แผ่ซ่านไปทั่วแผ่นดินไทย การกระทำของคนเพียงไม่กี่คนทำให้คนไทยมองไปยัง “นครศรีธรรมราช” มองไปยังภาคใต้ ด้วยความรู้สึกหดหู่ รู้สึกสมเพชเวทนากับการกระทำที่แสดงถึง “ความเป็นอันธพาล” ก่อกวนไม่เลือกที่ แสดงถึงภูมิปัญญาที่ต่ำทรามของพวกเขา ผมไม่อยากเห็นพี่น้องคนไทยไม่ว่าภาคไหนจังหวัดไหน มีพฤติกรรมเช่นนี้ มันอับอายเขา
ถ้ามีคนคิดว่า ถ้าภาคใต้ทำได้ หากนักการเมืองภาคใต้ไม่ว่าผู้ใดขึ้นไปทำงานภาคอีสาน ทางเหนือบ้าง แล้วเจอการต่อต้านเช่นนี้ ท่านจะมีความรู้สึกอย่างไร ไม่ใช่ว่าความรู้สึกนี้จะไม่เกิดขึ้น อาจจะเกิดขึ้นเป็นการตอบแทนก็ได้
สงครามแบ่งพรรคเป็นเรื่องธรรมดา แต่สงครามแบ่งภาคมันไม่ใช่เรื่องธรรมดา
จึงขอเรียกร้องให้คนใต้ที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำที่เป็นอันธพาลของพันธมิตรฯ ออกมาปฏิเสธว่า นั่นไม่ใช่การกระทำของคนใต้ทั้งหมด
และอยากขอถาม ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ภาคใต้ทุกคนว่า ท่านเห็นด้วยกับการกระทำของพวกอันธพาลพันธมิตรฯ หรือไม่
หรือว่าท่านจะนิ่งเสีย ไม่เดือดร้อนอะไร
หากไม่ตอบคำถามนี้ พรรคประชาธิปัตย์จะต้องรับกรรม เพราะภาคนี้เป็นของพวกท่าน ท่านสามารถควบคุมได้
ท่านจะไม่รู้เลยหรือว่าใครเป็นคนทำ
หรือว่าท่านไม่กล้าพูด เพราะเรื่องมันจุกอยู่ในคอท่าน
ไม่กล้าพูด ไม่ว่าอะไร แต่อย่าอยู่เบื้องหลังเสียเองล่ะ...
สังคมประชาธิปไตย เป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันของผู้คนที่มีความคิดเห็นที่เหมือนกัน และมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน คนสองจำพวกดังกล่าวสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้ ไม่ขยายวงแห่งความขัดแย้งไปสู่การรบราฆ่าฟันกัน แต่พวกเขาสามารถอยู่ด้วยกันได้ เพราะสังคมประชาธิปไตยมีกฎกติกาที่พวกเขาจะต้องเคารพ นั่นก็คือ กฎหมายของบ้านเมือง
ประชาธิปไตย เขาถือว่า อำนาจเป็นของประชาชน ประชาชนจะใช้อำนาจนั้นเอง หรือว่าจะมอบให้ผู้ใดไปใช้อำนาจแทนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับกติกาของบ้านเมืองกำหนดไว้เป็นประการใด
เมื่อกฎกติกาประชาธิปไตยใช้ “การเลือกตั้ง” เป็นวิธีการเลือกสรรบุคคลเข้าไปทำหน้าที่แทนประชาชน นั่นย่อมต้องมีการแข่งขันกันในคราวเลือกตั้ง
เมื่อทุกคน ทุกพรรคการเมือง เข้าร่วมการแข่งขันแล้ว ผลการเลือกตั้งออกมาเป็นประการใดทุกฝ่ายจะต้องยอมรับ
คนที่ชนะก็เข้าไปทำหน้าที่ คนที่ได้คะแนนน้อยกว่าก็ถือว่าเป็นผู้แพ้ เมื่อรวมคะแนนเสียงทั้งหมด ใครได้มากกว่า คนนั้น ฝ่ายนั้น ก็เข้าไปทำหน้าที่บริหาร ควบคุมเสียงข้างมากในสภาเอาไว้ อีกฝ่ายที่ได้คะแนนน้อยกว่าถือเป็นเสียงข้างน้อย มีไว้คอยควบคุมฝ่ายเสียงข้างมาก
กติกาประชาธิปไตยมีไว้ให้ทุกคนเคารพ ไม่ใช่มีไว้ให้คนละเมิดกฎหมาย มีไว้ให้ปฏิบัติตาม ไม่ใช่มีไว้เพื่อละเมิด เพื่อดื้อแพ่ง
เมื่อเป็นรัฐบาล มีตำแหน่งแห่งหนในคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เมื่อเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ประเทศประชาธิปไตยจะต้องให้ความเคารพ ไม่ละลาบละล้วง ทำอะไรเป็นการดูหมิ่น ดูแคลน เหยียดหยาม นั่นคือการไม่เคารพประชาชน ไม่เคารพการเลือกตั้ง ไม่เคารพทุกอย่างที่ก่อให้เกิดตำแหน่งเหล่านี้ขึ้นมา
นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เดินทางไปทำภารกิจที่ จ.นครศรีธรรมราช มีกลุ่มคนที่เรียกว่า พันธมิตรฯ มาต่อต้าน จนไม่สามารถทำการทำงานได้
เหตุการณ์นี้สร้างความสะเทือนใจแก่ผู้คนทั่วประเทศ ว่าเกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นได้อย่างไร
นายชัย ชิดชอบ เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มาจากสภาผู้แทนราษฎรเลือกตั้ง จึงดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรได้
ถ้าไม่ชอบ นายชัย ชิดชอบ เป็นการส่วนตัว ก็ไม่มีความชอบธรรมที่จะขับไล่ เพราะตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นตำแหน่งที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นตำแหน่งอันทรงเกียรติ
คนใต้เองก็เคยดำรงตำแหน่งนี้อย่างน้อย 2 คน คือ นายชวน หลีกภัย เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อคราว 2 คนนี้ดำรงตำแหน่ง ท่านจะไปไหนมาไหนทำหน้าที่ของท่านทั่วประเทศไทย ไม่มีใครหน้าไหนออกมาขับไล่ เพราะ คนไทยเขาทราบดีว่าตำแหน่งนี้มีเกียรติ จะเป็นใครก็ตาม เมื่อมาดำรงตำแหน่งนี้แล้วต้องให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
ไม่เข้าใจว่าขณะนี้บ้านเมืองเราเป็นอะไรไปแล้ว ความก้าวร้าวเกะกะระราน แผ่ซ่านไปทั่วแผ่นดินไทย การกระทำของคนเพียงไม่กี่คนทำให้คนไทยมองไปยัง “นครศรีธรรมราช” มองไปยังภาคใต้ ด้วยความรู้สึกหดหู่ รู้สึกสมเพชเวทนากับการกระทำที่แสดงถึง “ความเป็นอันธพาล” ก่อกวนไม่เลือกที่ แสดงถึงภูมิปัญญาที่ต่ำทรามของพวกเขา ผมไม่อยากเห็นพี่น้องคนไทยไม่ว่าภาคไหนจังหวัดไหน มีพฤติกรรมเช่นนี้ มันอับอายเขา
ถ้ามีคนคิดว่า ถ้าภาคใต้ทำได้ หากนักการเมืองภาคใต้ไม่ว่าผู้ใดขึ้นไปทำงานภาคอีสาน ทางเหนือบ้าง แล้วเจอการต่อต้านเช่นนี้ ท่านจะมีความรู้สึกอย่างไร ไม่ใช่ว่าความรู้สึกนี้จะไม่เกิดขึ้น อาจจะเกิดขึ้นเป็นการตอบแทนก็ได้
สงครามแบ่งพรรคเป็นเรื่องธรรมดา แต่สงครามแบ่งภาคมันไม่ใช่เรื่องธรรมดา
จึงขอเรียกร้องให้คนใต้ที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำที่เป็นอันธพาลของพันธมิตรฯ ออกมาปฏิเสธว่า นั่นไม่ใช่การกระทำของคนใต้ทั้งหมด
และอยากขอถาม ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ภาคใต้ทุกคนว่า ท่านเห็นด้วยกับการกระทำของพวกอันธพาลพันธมิตรฯ หรือไม่
หรือว่าท่านจะนิ่งเสีย ไม่เดือดร้อนอะไร
หากไม่ตอบคำถามนี้ พรรคประชาธิปัตย์จะต้องรับกรรม เพราะภาคนี้เป็นของพวกท่าน ท่านสามารถควบคุมได้
ท่านจะไม่รู้เลยหรือว่าใครเป็นคนทำ
หรือว่าท่านไม่กล้าพูด เพราะเรื่องมันจุกอยู่ในคอท่าน
ไม่กล้าพูด ไม่ว่าอะไร แต่อย่าอยู่เบื้องหลังเสียเองล่ะ...
ป้ายกำกับ:
ประชาชน,
พันธมิตร,
มฌิมาธิปไตย,
รัฐประหาร,
สนธิ ลิ้มทองกุล
จับขั้วการเมืองใหม่!!เปิดตัว‘ภูมิใจไทย’ชูนโยบาย‘ประชานิยม สังคมเป็นสุข’ส.ส.แห่พรึ่บ
จับขั้วการเมืองใหม่ เปิดตัว ‘พรรคภูมิใจไทย’ ชูนโยบาย ‘ประชานิยม สังคมเป็นสุข’ ขณะที่ ‘บุญจง’ โต้เผือกร้อน!เหตุผสานขั้วการเมือง ยันไม่มีเงื่อนไขส่ง ‘เนวิน’ นั่งเก้าอี้นายกฯ เผยสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ทรท.แห่พรึ่บ!! ย้ำตัวเลข ส.ส.เกิน 30 ที่นั่ง มั่นใจ ส.ส.ไร้สังกัด-เพื่อไทยแห่เข้ามุ้งอีกเพียบ ชี้พรรคไม่ปิดกั้นคนนอก
เมื่อเวลา 10.30 น. พรรคภูมิใจไทย ได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวและแถลงนโยบายที่โรงแรมสยามซิตี้ โดยมีแกนนำ อาทิ นายชวรัตน์ ชาญวีระกุล , นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ , นายโสภณ ซารัมภ์ , นายศุภชัย ใจสมุทร และนางพรทิวา นาคาสัย
นอกจากนี้ ยังมีอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เข้าร่วมงานอย่างคึกคัก อาทิ นายเนวิน ชิดชอบ , นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ , นายสมศักดิ์ เทพสุทิน , นายสรอรรถ กลิ่นประทุม , นายสุชาติ ตันเจริญ นายทรงศักดิ์ ทองศรี นายอนุชา นาคาศัย และนายอนุทิน ชาญวีรกูล นอกจากนี้ยังมีบรรดา ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน เปิดตัวเป็นสมาชิกพรรค ทั้งนี้ โลโก้พรรค เป็นรูป แผนที่ประเทศไทย อยู่ตรงกลางหัวใจ 2 สีแดงและน้ำเงิน พร้อมกันนี้ได้เปิดตัวนโยบายพรรค 7 ข้อ โดยให้ความสำคัญกับการเคารพเทิดทูนและยึดมั่นสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์,ต่อต้านการปกครองที่ไม่ใช่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการดำเนินงานทางการเมืองในลักษณะประชานิยม ภายใต้สโลแกน "ประชานิยมสังคมเป็นสุข" โดยนางพรทิวา กล่าว่า สำหรับการจัดสรรตำแหน่งภายในพรรคนั้น พรรคฯจะมีการประชุมเลือกผู้บริการพรรคใหม่อีกครั้งภายในเดือนหน้า
สำหรับ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน ที่ย้ายมาอยู่พรรคภูมิใจไทย ได้แก่ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย, นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย, นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม, นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ รมช.คมนาคม และนายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข
ขณะที่ นายบุญจงกล่าวภายหลังการแถลงข่าวเสร็จสิ้น ว่า พรรคภูมิใจไทยเป็นพรรคที่ได้ดำเนินการจดทะเบียนถูกต้องจากคณะกรรมการการ เลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเหตุผลที่ย้านมาสังกัดพรรคนี้เนื่องจากเกิดจากการรวมตัวของเพื่อน ส.ส. มีการประชุมหารือ และเห็นตรงกันในเรื่องแนวคิด นโยบาย ที่บอกว่า “ประชานิยม สังคมมีสุข” จึงได้ร่วมกันตั้งพรรคขึ้น
ทั้งนี้ นายบุญจง ยังกล่าวถึงกระแสข่าวที่ว่ากลุ่มเพื่นอเนวินตัดสินใจเข้าสังกัดพรรคภูมิใจ ไทย เพราะต้องการปูทางให้นายเนวิน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในอีก 2 ปีข้างหน้านั้น เรื่องนี้นายเนวินเป็นผู้มีประสบการณ์ เป็นบุคคลที่เป็นที่เคารพนับถือ และมีความห่วงประเทศ สามารถให้คำแนะนำในทุกด้านทุกเรื่อง ยืนยันไม่มีเรื่องการปูทางอย่างที่เป็นข่าว และระบุพร้อมเปิดรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน และไม่จำกัดว่าจะเป็นผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองหรือไม่ จะไม่ปิดกั้นความเห็นบุคคลใด
รมช.มหาดไทย กล่าวต่อว่า เวลานี้พรรคภูมิใจไทยมีจำนวน ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน 23 คน รวม ส.ส.จากพรรคอื่นอีก 7 คน เป็น 30 คน และมี ส.ส.ที่ยังไม่สังกัดพรรคการเมือง ที่เตรียมจะเข้ามาสังกัดพรรคเพิ่มอีก โดยยืนยันทางพรรคฯจะไม่ปิดกั้น
อย่างไรก็ตาม นายบุญจง กล่าวอีกด้วยว่า การรวมกันตั้งพรรคครั้งนี้ เป็นการรวมกันเพื่อทำการเมืองให้มีความมั่นคง จำนวน ส.ส.ที่เพิ่ม จะไม่เป็นประเด็นต่อรองตำแหน่ง แต่จะต่อรองในเรื่องนโยบายประชานิยม ผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็ว
ด้านนายเนวิน ชิดชอบ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ซึ่งได้เดินทางมาร่วมเปิดตัว ส.ส. พรรคภูมิใจไทย โดยปฏิเสธกระแสข่าวปูทางให้ตนเป็นนายกรัฐมนตรี ยืนยันส่วนตัวไม่อยากเป็นนายกฯ ทั้งนี้หลังครบกำหนดถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ตนคงยังไม่เล่นการเมืองและอาจเว้นวรรคอีก 5 ปี
เมื่อเวลา 10.30 น. พรรคภูมิใจไทย ได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวและแถลงนโยบายที่โรงแรมสยามซิตี้ โดยมีแกนนำ อาทิ นายชวรัตน์ ชาญวีระกุล , นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ , นายโสภณ ซารัมภ์ , นายศุภชัย ใจสมุทร และนางพรทิวา นาคาสัย
นอกจากนี้ ยังมีอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เข้าร่วมงานอย่างคึกคัก อาทิ นายเนวิน ชิดชอบ , นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ , นายสมศักดิ์ เทพสุทิน , นายสรอรรถ กลิ่นประทุม , นายสุชาติ ตันเจริญ นายทรงศักดิ์ ทองศรี นายอนุชา นาคาศัย และนายอนุทิน ชาญวีรกูล นอกจากนี้ยังมีบรรดา ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน เปิดตัวเป็นสมาชิกพรรค ทั้งนี้ โลโก้พรรค เป็นรูป แผนที่ประเทศไทย อยู่ตรงกลางหัวใจ 2 สีแดงและน้ำเงิน พร้อมกันนี้ได้เปิดตัวนโยบายพรรค 7 ข้อ โดยให้ความสำคัญกับการเคารพเทิดทูนและยึดมั่นสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์,ต่อต้านการปกครองที่ไม่ใช่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการดำเนินงานทางการเมืองในลักษณะประชานิยม ภายใต้สโลแกน "ประชานิยมสังคมเป็นสุข" โดยนางพรทิวา กล่าว่า สำหรับการจัดสรรตำแหน่งภายในพรรคนั้น พรรคฯจะมีการประชุมเลือกผู้บริการพรรคใหม่อีกครั้งภายในเดือนหน้า
สำหรับ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน ที่ย้ายมาอยู่พรรคภูมิใจไทย ได้แก่ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย, นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย, นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม, นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ รมช.คมนาคม และนายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข
ขณะที่ นายบุญจงกล่าวภายหลังการแถลงข่าวเสร็จสิ้น ว่า พรรคภูมิใจไทยเป็นพรรคที่ได้ดำเนินการจดทะเบียนถูกต้องจากคณะกรรมการการ เลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเหตุผลที่ย้านมาสังกัดพรรคนี้เนื่องจากเกิดจากการรวมตัวของเพื่อน ส.ส. มีการประชุมหารือ และเห็นตรงกันในเรื่องแนวคิด นโยบาย ที่บอกว่า “ประชานิยม สังคมมีสุข” จึงได้ร่วมกันตั้งพรรคขึ้น
ทั้งนี้ นายบุญจง ยังกล่าวถึงกระแสข่าวที่ว่ากลุ่มเพื่นอเนวินตัดสินใจเข้าสังกัดพรรคภูมิใจ ไทย เพราะต้องการปูทางให้นายเนวิน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในอีก 2 ปีข้างหน้านั้น เรื่องนี้นายเนวินเป็นผู้มีประสบการณ์ เป็นบุคคลที่เป็นที่เคารพนับถือ และมีความห่วงประเทศ สามารถให้คำแนะนำในทุกด้านทุกเรื่อง ยืนยันไม่มีเรื่องการปูทางอย่างที่เป็นข่าว และระบุพร้อมเปิดรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน และไม่จำกัดว่าจะเป็นผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองหรือไม่ จะไม่ปิดกั้นความเห็นบุคคลใด
รมช.มหาดไทย กล่าวต่อว่า เวลานี้พรรคภูมิใจไทยมีจำนวน ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน 23 คน รวม ส.ส.จากพรรคอื่นอีก 7 คน เป็น 30 คน และมี ส.ส.ที่ยังไม่สังกัดพรรคการเมือง ที่เตรียมจะเข้ามาสังกัดพรรคเพิ่มอีก โดยยืนยันทางพรรคฯจะไม่ปิดกั้น
อย่างไรก็ตาม นายบุญจง กล่าวอีกด้วยว่า การรวมกันตั้งพรรคครั้งนี้ เป็นการรวมกันเพื่อทำการเมืองให้มีความมั่นคง จำนวน ส.ส.ที่เพิ่ม จะไม่เป็นประเด็นต่อรองตำแหน่ง แต่จะต่อรองในเรื่องนโยบายประชานิยม ผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็ว
ด้านนายเนวิน ชิดชอบ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ซึ่งได้เดินทางมาร่วมเปิดตัว ส.ส. พรรคภูมิใจไทย โดยปฏิเสธกระแสข่าวปูทางให้ตนเป็นนายกรัฐมนตรี ยืนยันส่วนตัวไม่อยากเป็นนายกฯ ทั้งนี้หลังครบกำหนดถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ตนคงยังไม่เล่นการเมืองและอาจเว้นวรรคอีก 5 ปี
ชงปลดล็อกบ้านเลขที่111/109หวังดึงตัวจริงแก้ปัญหาชาติ
" เสธ.หนั่น" ยันไม่ขอเพิ่มโควต้ารัฐมนตรี หลังคว้าที่นั่งส.ส.เพิ่ม ทำรัฐบาลพ้นวิกฤตเสียงปริ่มน้ำ ชี้ เร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ยังไม่คิด นิรโทษกรรมกรรมการบริหารพรรคถูกยุบ 'บุญจง' ชง นิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์ เพื่อไทยรับลูก ระบุ คนมีความสามารถเหลือน้อย
พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันไม่ขอโควต้ารัฐมนตรีเพิ่ม ในส่วนของพรรคชาติไทยพัฒนา และไม่ได้มีการเสนอรายชื่อเพื่อปรับคณะรัฐมนตรี แม้หลังเลือกตั้งซ่อม ทางพรรคสามารถกวาดที่นั่งมาได้ถึง 10 ที่นั่ง จาก 13 ที่นั่ง ส่งผลให้การทำงานของรัฐบาลมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ทางพรรคพอใจกับโควตาเดิมที่ พรรคประชาธิปัตย์ จัดสรรให้คือ 4 ที่นั่ง และตนได้พูดคุยกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เรื่องดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้การปรับ คณะรัฐมนตรีนั้น ขึ้นอยู่กับเวลาที่เหมาะสม และการทำงานของรัฐบาล
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า นายสมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ระบุว่าควรจะมีการขอนิรโทษกรรมผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหาร พรรคไทยรักไทย จำนวน111 คนที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 และ อีก 109 คนจากการตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน ชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 รวมเป็น 220 คน นั้น พล.ต.สนั่น กล่าวว่า เรื่องนี้รัฐบาลยังไม่ได้มีการหารือกัน ตอนนี้ขอแก้ปัญหาเศรษฐกิจก่อน ส่วนใครจะเสนออะไรมาก็เป็นความคิดของแต่ละคน
'บุญจง'ชงนิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์
ด้าน นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงการนิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิ ว่า สิ่งสำคัญคือ บุคคลที่ถูกเพิกถอนสิทธิ มีประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ เป็นบุคลากรที่มีคุณค่าทางการเมืองที่ต้องรักษาไว้ แต่เวลานี้ เห็นว่าการออกกฎหมายยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน แต่สิ่งที่เร่งด่วนกว่า คือ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องประชาชน และการสร้างความเชื่อมั่นจากนานาชาติ อย่างไรก็ตาม หากจะมีการแก้กฎหมายเกิดขึ้นจริง ก็จะต้องหารือกับทุกพรรคหารเมือง และต้องฟังเสียงสะท้อนของประชาชนจากทุกองค์กรด้วย
พท.รับลูกนิรโทษกรรมชี้คนมีความสามารถเหลือน้อย
นอกจากนี้นายกมล บันไดเพชร กรรมการบริหารพรรค ยังกล่าวว่าเห็นด้วยกับกรณีที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ออกมาระบุว่าต้องการให้มีการนิรโทษกรรมบรรดากรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัด สิทธิ์ไปเพื่อบ้านเมืองจะได้สงบ อย่าเอาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถไปดองไว้ เพราะทุกวันนี้คนที่มีความรู้ความสามารถและเก่งจริงๆ ก็เหลือน้อย การที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนไว้นั้นเป็นการทำลายระบอบการเมือง ทำลายประเทศชาติ เพราะสถาบันการเมืองต้องมีส่วนเข้ามาบริหารประเทศ และหากจะนำคนนอกเข้ามาเขาคงไม่มีความรับผิดชอบเท่ากับนักการเมือง และที่สำคัญพรรคก็จะคุมคนนอกไม่ได้
'มาร์ค'ปิดปากออกกม.นิรโทษกรรม!
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปฎิเสธที่ตอบคำถามกรณีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ระบุว่าควรจะมีการขอนิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกจำนวน 220 คน โดยระบุว่า ตนได้ตอบคำถามมาเยอะแล้ว
พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันไม่ขอโควต้ารัฐมนตรีเพิ่ม ในส่วนของพรรคชาติไทยพัฒนา และไม่ได้มีการเสนอรายชื่อเพื่อปรับคณะรัฐมนตรี แม้หลังเลือกตั้งซ่อม ทางพรรคสามารถกวาดที่นั่งมาได้ถึง 10 ที่นั่ง จาก 13 ที่นั่ง ส่งผลให้การทำงานของรัฐบาลมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ทางพรรคพอใจกับโควตาเดิมที่ พรรคประชาธิปัตย์ จัดสรรให้คือ 4 ที่นั่ง และตนได้พูดคุยกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เรื่องดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้การปรับ คณะรัฐมนตรีนั้น ขึ้นอยู่กับเวลาที่เหมาะสม และการทำงานของรัฐบาล
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า นายสมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ระบุว่าควรจะมีการขอนิรโทษกรรมผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหาร พรรคไทยรักไทย จำนวน111 คนที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 และ อีก 109 คนจากการตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน ชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 รวมเป็น 220 คน นั้น พล.ต.สนั่น กล่าวว่า เรื่องนี้รัฐบาลยังไม่ได้มีการหารือกัน ตอนนี้ขอแก้ปัญหาเศรษฐกิจก่อน ส่วนใครจะเสนออะไรมาก็เป็นความคิดของแต่ละคน
'บุญจง'ชงนิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์
ด้าน นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงการนิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิ ว่า สิ่งสำคัญคือ บุคคลที่ถูกเพิกถอนสิทธิ มีประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ เป็นบุคลากรที่มีคุณค่าทางการเมืองที่ต้องรักษาไว้ แต่เวลานี้ เห็นว่าการออกกฎหมายยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน แต่สิ่งที่เร่งด่วนกว่า คือ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องประชาชน และการสร้างความเชื่อมั่นจากนานาชาติ อย่างไรก็ตาม หากจะมีการแก้กฎหมายเกิดขึ้นจริง ก็จะต้องหารือกับทุกพรรคหารเมือง และต้องฟังเสียงสะท้อนของประชาชนจากทุกองค์กรด้วย
พท.รับลูกนิรโทษกรรมชี้คนมีความสามารถเหลือน้อย
นอกจากนี้นายกมล บันไดเพชร กรรมการบริหารพรรค ยังกล่าวว่าเห็นด้วยกับกรณีที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ออกมาระบุว่าต้องการให้มีการนิรโทษกรรมบรรดากรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัด สิทธิ์ไปเพื่อบ้านเมืองจะได้สงบ อย่าเอาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถไปดองไว้ เพราะทุกวันนี้คนที่มีความรู้ความสามารถและเก่งจริงๆ ก็เหลือน้อย การที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนไว้นั้นเป็นการทำลายระบอบการเมือง ทำลายประเทศชาติ เพราะสถาบันการเมืองต้องมีส่วนเข้ามาบริหารประเทศ และหากจะนำคนนอกเข้ามาเขาคงไม่มีความรับผิดชอบเท่ากับนักการเมือง และที่สำคัญพรรคก็จะคุมคนนอกไม่ได้
'มาร์ค'ปิดปากออกกม.นิรโทษกรรม!
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ปฎิเสธที่ตอบคำถามกรณีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ระบุว่าควรจะมีการขอนิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกจำนวน 220 คน โดยระบุว่า ตนได้ตอบคำถามมาเยอะแล้ว
คลังลุยกระตุ้นเศรษฐกิจ จี้รัฐวิสาหกิจเร่งใช้งบ8แสนล้านกนง.รับลูกสั่งลดดอก0.75%
กนง.รับลูกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีมติลดดอกเบี้ย "ขุนคลังกรณ์"ส่งซิกรัฐวิสาหกิจ-หน่วยงานรัฐ เร่งเบิกจ่ายงบ 8 แสนล้าน หวังฟื้นศรัทธาภาคการลงทุน-บริโภค ชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยยังไม่เหมาะลดดอกเบี้ย แต่ยืนยันในระยะยาวมีความจำเป็นต้องลด
วันนี้ (14 ม.ค.) ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.75% จาก 2.75% เหลือ 2.00% เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ขณะนี้เศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวมากและแรงกว่าที่คาด การใช้นโยบายต่างๆ ต้องช่วยกันทุกด้าน โดยนโยบายการคลังน่าจะเป็นตัวหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะเงินเข้าถึงมือประชาชนได้โดยตรง ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้ว ขณะที่มาตรการการเงินเป็นตัวเสริม เพื่อให้ต้นทุนทางการเงินลดลง โดยจะทำให้การส่งผ่านนโยบายการคลังมีประสิทธิภาพขึ้น
"ขณะนี้มีสัญญาณว่าอัตราการขยายตัวจะลดลงต่ำกว่าการประมาณการครั้งล่าสุดที่ 0.5-2.5% จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวรุนแรง และกระทบต่อการส่งออก แต่การมีนโยบายการคลังที่ชัดเจน จากการตั้งงบประมาณกลางปีที่ 1.15 แสนล้านบาท ซึ่งได้รวมส่วนของงบประมาณที่ชดเชยการขาดดุลการคลังทั้งหมดไว้ 1.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้กระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง 1.1 แสนล้านบาท และน่าจะเบิกจ่ายได้ 100% ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2552 ยังอยู่ที่ 94% น่าจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจได้ในไตรมาส 2 ปีนี้ และแม้ว่า ไตรมาส 4 ปี 2551 จะติดลบ แต่โอกาสที่จะพลิกฟื้นในไตรมาสแรกปีนี้มีสูง ดังนั้น จึงไม่มีโอกาสที่จะเห็นเศรษฐกิจปี 2552 ติดลบ" น.ส.ดวงมณี กล่าว
น.ส.ดวงมณี กล่าวว่า สำหรับแนวนโยบายเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อ ยังอยู่ในกรอบการประมาณการของ กนง.คือ 0-3.5% ต่อปี ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปจะต่ำกว่าเงินเฟ้อพื้นฐาน แต่จะไม่เกิดภาวะเงินฝืดทางเทคนิคที่มาจากเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่องกัน ดังนั้น นโยบายการเงินจึงสามารถผ่อนคลายต่อเนื่องได้ เพื่อช่วยเศรษฐกิจในหลายๆทาง เพราะหากต้นทุนเงินถูกลง จะกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยได้ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์เองจะสามารถปรับลดอกเบี้ยลงได้ แต่ต้องใช้เวลาในการปรับตัว
"ขณะนี้เรามีดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2% ยังสามารถดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายได้ต่อเนื่อง หากเห็นว่ามีความจำเป็น เพราะดอกเบี้ยนโยบายของไทยเคยลงไปต่ำสุดที่ 1.25% เมื่อปี 2546 แต่การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังจะมีผลโดยตรงมากกว่า ขณะที่นโยบายการเงินต้องผ่านกลไกในการส่งผ่าน คือ ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งต้องใช้เวลาในการพิจารณาว่าจะลดดอกเบี้ยหรือไม่ ซึ่งปกติจะใช้เวลา 2-6 ไตรมาส แต่ขณะนี้น่าจะเร็วขึ้น เพราะปัจจัยต่างๆ เกิดขึ้นเร็วมาก"น.ส.ดวงมณีกล่าว
ด้าน นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า ในการประชุม ครม.เศรษฐกิจ กระทรวงการคลังได้เสนอให้เร่งรัดการใช้งบลงทุนของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และบริษัทลูกรัฐวิสาหกิจ ที่มีวงเงินค้างอยู่ประมาณ 5 แสนล้านบาท รวมถึงเร่งรัดการใช้งบลงทุนของหน่วยงานรัฐในปี 2552 ที่มีอยู่ 3 แสนล้านบาท ให้เกิดการลงทุนได้ตามแผนงานที่เสนอไว้จริง เพื่อให้หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจเป็นตัวนำในการกระตุ้นและฟื้นฟูความเชื่อ มั่นในภาคการบริโภคและการลงทุนของประชาชนและนักลงทุน
"เมื่อรวมกับมาตรการของรัฐบาลที่ออกมาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยใช้งบกลางปีประมาณแสนล้านบาท น่าจะช่วยชดเชยการจับจ่ายใช้สอยในภาคเอกชนที่ลดลงได้ และน่าจะทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมา รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการแข่งขันและระบบเศรษฐกิจมากกว่า ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2552 จะขยายตัวมากกว่า 2% หรือน้อยกว่า 2% ก็ได้ เพราะทั้งหมดขึ้นอยู่กับสูตรในการคำนวณ และรอบการหมุนของเม็ดเงิน" นายกรณ์ กล่าว
นอกจากนี้ นายกรณ์ กล่าวถึงการใช้มาตรการด้านภาษีว่า จะสรุปเรื่องและนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม.ในสัปดาห์หน้า ซึ่งได้หารือร่วมกับนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง และนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลังแล้ว เห็นว่ามาตรการภาษีเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดมาก ดังนั้น ควรจะเสนอให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี รับทราบก่อนนำเข้า ครม.
"ผมเห็นว่าภาษีในบ้านเรายังสูงเกินไป ในระยะยาวควรจะต้องปรับปรุงและแก้ไข เพื่อจะได้สามารถดึงการลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาได้มากขึ้น เพียงแต่ขณะนี้ยังไม่เห็นจังหวะที่เหมาะสมในการปรับลดอัตราภาษี” รมว.คลัง กล่าว
วันนี้ (14 ม.ค.) ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.75% จาก 2.75% เหลือ 2.00% เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ขณะนี้เศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวมากและแรงกว่าที่คาด การใช้นโยบายต่างๆ ต้องช่วยกันทุกด้าน โดยนโยบายการคลังน่าจะเป็นตัวหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะเงินเข้าถึงมือประชาชนได้โดยตรง ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้ว ขณะที่มาตรการการเงินเป็นตัวเสริม เพื่อให้ต้นทุนทางการเงินลดลง โดยจะทำให้การส่งผ่านนโยบายการคลังมีประสิทธิภาพขึ้น
"ขณะนี้มีสัญญาณว่าอัตราการขยายตัวจะลดลงต่ำกว่าการประมาณการครั้งล่าสุดที่ 0.5-2.5% จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวรุนแรง และกระทบต่อการส่งออก แต่การมีนโยบายการคลังที่ชัดเจน จากการตั้งงบประมาณกลางปีที่ 1.15 แสนล้านบาท ซึ่งได้รวมส่วนของงบประมาณที่ชดเชยการขาดดุลการคลังทั้งหมดไว้ 1.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้กระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง 1.1 แสนล้านบาท และน่าจะเบิกจ่ายได้ 100% ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2552 ยังอยู่ที่ 94% น่าจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจได้ในไตรมาส 2 ปีนี้ และแม้ว่า ไตรมาส 4 ปี 2551 จะติดลบ แต่โอกาสที่จะพลิกฟื้นในไตรมาสแรกปีนี้มีสูง ดังนั้น จึงไม่มีโอกาสที่จะเห็นเศรษฐกิจปี 2552 ติดลบ" น.ส.ดวงมณี กล่าว
น.ส.ดวงมณี กล่าวว่า สำหรับแนวนโยบายเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อ ยังอยู่ในกรอบการประมาณการของ กนง.คือ 0-3.5% ต่อปี ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปจะต่ำกว่าเงินเฟ้อพื้นฐาน แต่จะไม่เกิดภาวะเงินฝืดทางเทคนิคที่มาจากเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่องกัน ดังนั้น นโยบายการเงินจึงสามารถผ่อนคลายต่อเนื่องได้ เพื่อช่วยเศรษฐกิจในหลายๆทาง เพราะหากต้นทุนเงินถูกลง จะกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยได้ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์เองจะสามารถปรับลดอกเบี้ยลงได้ แต่ต้องใช้เวลาในการปรับตัว
"ขณะนี้เรามีดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2% ยังสามารถดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายได้ต่อเนื่อง หากเห็นว่ามีความจำเป็น เพราะดอกเบี้ยนโยบายของไทยเคยลงไปต่ำสุดที่ 1.25% เมื่อปี 2546 แต่การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังจะมีผลโดยตรงมากกว่า ขณะที่นโยบายการเงินต้องผ่านกลไกในการส่งผ่าน คือ ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งต้องใช้เวลาในการพิจารณาว่าจะลดดอกเบี้ยหรือไม่ ซึ่งปกติจะใช้เวลา 2-6 ไตรมาส แต่ขณะนี้น่าจะเร็วขึ้น เพราะปัจจัยต่างๆ เกิดขึ้นเร็วมาก"น.ส.ดวงมณีกล่าว
ด้าน นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า ในการประชุม ครม.เศรษฐกิจ กระทรวงการคลังได้เสนอให้เร่งรัดการใช้งบลงทุนของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และบริษัทลูกรัฐวิสาหกิจ ที่มีวงเงินค้างอยู่ประมาณ 5 แสนล้านบาท รวมถึงเร่งรัดการใช้งบลงทุนของหน่วยงานรัฐในปี 2552 ที่มีอยู่ 3 แสนล้านบาท ให้เกิดการลงทุนได้ตามแผนงานที่เสนอไว้จริง เพื่อให้หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจเป็นตัวนำในการกระตุ้นและฟื้นฟูความเชื่อ มั่นในภาคการบริโภคและการลงทุนของประชาชนและนักลงทุน
"เมื่อรวมกับมาตรการของรัฐบาลที่ออกมาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยใช้งบกลางปีประมาณแสนล้านบาท น่าจะช่วยชดเชยการจับจ่ายใช้สอยในภาคเอกชนที่ลดลงได้ และน่าจะทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมา รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการแข่งขันและระบบเศรษฐกิจมากกว่า ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2552 จะขยายตัวมากกว่า 2% หรือน้อยกว่า 2% ก็ได้ เพราะทั้งหมดขึ้นอยู่กับสูตรในการคำนวณ และรอบการหมุนของเม็ดเงิน" นายกรณ์ กล่าว
นอกจากนี้ นายกรณ์ กล่าวถึงการใช้มาตรการด้านภาษีว่า จะสรุปเรื่องและนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม.ในสัปดาห์หน้า ซึ่งได้หารือร่วมกับนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง และนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลังแล้ว เห็นว่ามาตรการภาษีเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดมาก ดังนั้น ควรจะเสนอให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี รับทราบก่อนนำเข้า ครม.
"ผมเห็นว่าภาษีในบ้านเรายังสูงเกินไป ในระยะยาวควรจะต้องปรับปรุงและแก้ไข เพื่อจะได้สามารถดึงการลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาได้มากขึ้น เพียงแต่ขณะนี้ยังไม่เห็นจังหวะที่เหมาะสมในการปรับลดอัตราภาษี” รมว.คลัง กล่าว
'จงรัก' เรีกยถกเครียดยัน 28 วันสั่งล้างบางม็อบโกเต็กซ์
รอง ผบ.ตร. เรียกประชุมเครียด เตรียมสั่งซัดคดีม็อบมารยึดสุวรรณภูมิ เผยสั่งอัยการฟ้องกบฎบุกยึดทำเนียบแล้ว ยันไม่เกิน 4 สัปดาห์ออกหมายจับได้แน่ ย้ำไม่มีการเมืองเข้าแทรก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (14 ม.ค.) พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เรียกประชุมคณะพนักงานสอบสวน เพื่อติดตามความคืบหน้าคดีต่างๆ ที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบุกรุกทำเนียบรัฐบาล ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอาการศสุวรรณภูมิ
ทั้งนี้ในส่วนของการบุกรุกทำเนียบรัฐบาล พนักงานสอบสวนได้มีการแจ้งข้อหาแกนนำทั้ง 9 คน ฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้ปรากฏโดยมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล ซึ่งได้สรุปสำนวนและส่งฟ้องต่ออัยการแล้วตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ส่วนคดีการบุกยึดท่าอากาศยานทั้ง 2 แห่ง มีการสอบพยานบุคคลไปแล้วกว่า 300 ปาก คดีมีความคืบหน้าไปมากกว่าร้อยละ 70 แล้ว คาดว่าอีกประมาณ 3-4 สัปดาห์จะสามารถออกหมายจับผู้ที่เกี่ยวข้องได้
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยว่า กรณีดังกล่าวมีผู้เสียหายเพิ่มขึ้นอีก 2 หน่วยงาน คือ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ที่กำลังจะยื่นฟ้องกลุ่มพันธมิตรฯ โดยเรียกค่าเสียหาย 30 ล้านบาท และการบินไทย ที่กำลังจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย 18,000 ล้านบาท ซึ่งพนักงานสอบสวนจำเป็นจะต้องรอนำคำฟ้องเหล่านั้นมาประกอบสำนวนการสอบสวน เพื่อจะทราบถึงพฤติกรรมและค่าเสียหายทั้งหมดด้วย โดย พล.ต.อ.จงรัก ยืนยันว่า จะดำเนินคดีไปตามพยานหลักฐานกับผู้ชุมนุมทุกกลุ่ม โดยใช้มาตรฐานเดียวกัน และไม่มีการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทำงานของตำรวจอย่างแน่นอน
โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ
ตาม มติคณะรัฐมนตรี ที่ได้ลงมติให้จัดตั้งโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 นั้น ได้สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการแล้ว ดังนั้นจึงแจ้งปิดการรับจองพื้นที่แปลงปลูกป่า ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2550 เป็นต้นไป
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ ท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถอัญเชิญพระราชกระแส ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการที่ รล 009/11951 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2535 ให้หามาตรการหยุดยั้งการทำลายป่าและเร่งฟื้นฟูบำรุงต้นน้ำลำธาร โดยทรงโปรดเกล้าให้คำนึงถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำ ว่าเป็นปัญหาสำคัญใหญ่หลวงของชาติที่จะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด
รัฐบาลจึงได้จัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ขึ้น โดยน้อมเกล้าฯ อัญเชิญพระราชกระแสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถมาเป็นแนวทางในการดำเนินการ มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนาง เจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. เพื่อเพิ่มเนื้อที่ป่าไม้ของประเทศให้บรรลุตามนโยบายของรัฐบาล
3. เพื่อรณรงค์ให้คนในชาติทุกหมู่เหล่า ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น
4. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้คนในชาติมีความรักและความหวงแหนทรัพยากรป่าไม้
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ ท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถอัญเชิญพระราชกระแส ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการที่ รล 009/11951 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2535 ให้หามาตรการหยุดยั้งการทำลายป่าและเร่งฟื้นฟูบำรุงต้นน้ำลำธาร โดยทรงโปรดเกล้าให้คำนึงถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำ ว่าเป็นปัญหาสำคัญใหญ่หลวงของชาติที่จะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด
รัฐบาลจึงได้จัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ขึ้น โดยน้อมเกล้าฯ อัญเชิญพระราชกระแสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถมาเป็นแนวทางในการดำเนินการ มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนาง เจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. เพื่อเพิ่มเนื้อที่ป่าไม้ของประเทศให้บรรลุตามนโยบายของรัฐบาล
3. เพื่อรณรงค์ให้คนในชาติทุกหมู่เหล่า ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น
4. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้คนในชาติมีความรักและความหวงแหนทรัพยากรป่าไม้
คำถามต่อรัฐบาลบงการโดยทหาร
ใจ อึ๊งภากรณ์
องค์กรเลี้ยวซ้าย
1. รัฐบาลจะนำแกนนำพันธมิตรฯ มาขึ้นศาลกรณีการละเมิดกฎหมายและการสร้างความเสียหายในการยึดทำเนียบรัฐบาลและสนามบินนานา ชาติอย่างไร? จะมีการจับคุมการ์ดพันธมิตรที่พกและใช้อาวุธปืนในที่สาธารณะอย่างไร? จะมีการจับคุมพันธมิตรที่ขโมยปืนและเครื่องคอมพิวเตอร์จากทำเนียบรัฐบาล อย่างไร? และจะดำเนินการอะไรกับส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นแกนนำในการยึดสนามบิน?
2. รัฐบาลจะลงโทษผู้บัญชาการทหารที่ละเลยหน้าที่ในการปกป้องสนามบินอย่างไร? จะลงโทษผู้บัญชาการทหารที่ละเมิดรัฐธรรมนูญโดยการเข้ามาแทรกแซงการ เมืองอย่างไร? รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญทหารเพื่อนำประชาธิปไตยเต็มใบกลับมาหรือไม่? หรือรัฐบาลนี้เป็นเพียง “นอมมินี” ของทหารเผด็จการ?
3. ถ้ารัฐบาลไม่กระทำอะไรตามข้อหนึ่งและสอง รัฐบาลยังอ้างได้ไหมว่าปกป้องกฎหมายและนิติรัฐ?
4. รัฐบาลจะมีมาตรการอะไรในการปกป้องคนจนจากวิกฤตเศรษฐกิจ? มีมาตรการอะไรในการปกป้องค่าจ้างสวัสดิการ? มีมาตรการอะไรในการสร้างงาน? มีมาตรการอะไรในการปกป้องประชาชนจากการถูกเลิกจ้าง? จะมีการยกเลิกภาษีมูลค้าเพิ่มและเก็บภาษีเพิ่มจากคนรวยหรือไม่? หรือจะใช้นโยบายเก่าๆ ในรูปแบบ “วินัยทางการคลัง” และบอกให้คนจนกลับบ้านไปพึ่งครอบครัวและพอเพียง อย่างที่เคยเสนอในวิกฤตปี ๔๐?
5. รัฐบาลจะทำลายระบบรักษาพยาบาลถ้วนหน้า(บัตรทอง)โดยเริ่มเก็บค่ารักษาพยาบาล ใช่ไหม? หรือจะปรับปรุงคุณภาพของการรักษาพยาบาลฟรีอย่างถ้วนหน้า โดยเพิ่มงบประมาณรัฐและการเก็บภาษีจากคนรวย?
6. ในฐานะที่รัฐบาลไม่มีความชอบธรรมตามระบบประชาธิปไตย รัฐบาลจะยุบสภาเพื่อคืนอำนาจให้ประชาชนภายในหนึ่งปีหรือไม่?
7. รัฐบาลจะดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและก่ออาชญากรรมในกรณีตากใ
บ การหายไปของทนายสมชาย และสงครามปราบยาเสพติด ฯลฯ อย่างไร? หรือรัฐบาลไม่สนใจปกป้องสิทธิมนุษยชน?
8. รัฐบาลจะปกป้องและขยายสิทธิเสรีภาพของสื่อสาธารณะ โดยการเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มคนเสื้อแดงในสื่อ ให้เท่ากับกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลอย่างไร? หรือจะเพิ่มการควบคุมสื่อและการเซ็นเซอร์สื่อในลักษณะเผด็จการ?
9. รัฐบาลจะยกเลิกการคุมสื่อและการหารายได้อย่างคอร์รับชั่นของทหาร ผ่านการคุมสื่อและรัฐวิสาหกิจหรือไม่?
10. รัฐบาลจะยกเลิกกฎหมายหมิ่นเดชานุภาพและเปิดโอกาสให้ประชาชนตรวจสอบและวิจารณ์ศาลตามป
ระเพณีประชาธิปไตยสากลหรือไม่? หรือรัฐบาลจะเดินหน้าปกปิดสิทธิเสรีภาพมากขึ้น?
คำถามเหล่านี้ประชาชนชาวไทยจำนวนมาก และประชาคมโลกรวมถึงสื่อต่างประเทศกำลังรอฟังคำตอบ
องค์กรเลี้ยวซ้าย
1. รัฐบาลจะนำแกนนำพันธมิตรฯ มาขึ้นศาลกรณีการละเมิดกฎหมายและการสร้างความเสียหายในการยึดทำเนียบรัฐบาลและสนามบินนานา ชาติอย่างไร? จะมีการจับคุมการ์ดพันธมิตรที่พกและใช้อาวุธปืนในที่สาธารณะอย่างไร? จะมีการจับคุมพันธมิตรที่ขโมยปืนและเครื่องคอมพิวเตอร์จากทำเนียบรัฐบาล อย่างไร? และจะดำเนินการอะไรกับส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นแกนนำในการยึดสนามบิน?
2. รัฐบาลจะลงโทษผู้บัญชาการทหารที่ละเลยหน้าที่ในการปกป้องสนามบินอย่างไร? จะลงโทษผู้บัญชาการทหารที่ละเมิดรัฐธรรมนูญโดยการเข้ามาแทรกแซงการ เมืองอย่างไร? รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญทหารเพื่อนำประชาธิปไตยเต็มใบกลับมาหรือไม่? หรือรัฐบาลนี้เป็นเพียง “นอมมินี” ของทหารเผด็จการ?
3. ถ้ารัฐบาลไม่กระทำอะไรตามข้อหนึ่งและสอง รัฐบาลยังอ้างได้ไหมว่าปกป้องกฎหมายและนิติรัฐ?
4. รัฐบาลจะมีมาตรการอะไรในการปกป้องคนจนจากวิกฤตเศรษฐกิจ? มีมาตรการอะไรในการปกป้องค่าจ้างสวัสดิการ? มีมาตรการอะไรในการสร้างงาน? มีมาตรการอะไรในการปกป้องประชาชนจากการถูกเลิกจ้าง? จะมีการยกเลิกภาษีมูลค้าเพิ่มและเก็บภาษีเพิ่มจากคนรวยหรือไม่? หรือจะใช้นโยบายเก่าๆ ในรูปแบบ “วินัยทางการคลัง” และบอกให้คนจนกลับบ้านไปพึ่งครอบครัวและพอเพียง อย่างที่เคยเสนอในวิกฤตปี ๔๐?
5. รัฐบาลจะทำลายระบบรักษาพยาบาลถ้วนหน้า(บัตรทอง)โดยเริ่มเก็บค่ารักษาพยาบาล ใช่ไหม? หรือจะปรับปรุงคุณภาพของการรักษาพยาบาลฟรีอย่างถ้วนหน้า โดยเพิ่มงบประมาณรัฐและการเก็บภาษีจากคนรวย?
6. ในฐานะที่รัฐบาลไม่มีความชอบธรรมตามระบบประชาธิปไตย รัฐบาลจะยุบสภาเพื่อคืนอำนาจให้ประชาชนภายในหนึ่งปีหรือไม่?
7. รัฐบาลจะดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและก่ออาชญากรรมในกรณีตากใ
บ การหายไปของทนายสมชาย และสงครามปราบยาเสพติด ฯลฯ อย่างไร? หรือรัฐบาลไม่สนใจปกป้องสิทธิมนุษยชน?
8. รัฐบาลจะปกป้องและขยายสิทธิเสรีภาพของสื่อสาธารณะ โดยการเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มคนเสื้อแดงในสื่อ ให้เท่ากับกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลอย่างไร? หรือจะเพิ่มการควบคุมสื่อและการเซ็นเซอร์สื่อในลักษณะเผด็จการ?
9. รัฐบาลจะยกเลิกการคุมสื่อและการหารายได้อย่างคอร์รับชั่นของทหาร ผ่านการคุมสื่อและรัฐวิสาหกิจหรือไม่?
10. รัฐบาลจะยกเลิกกฎหมายหมิ่นเดชานุภาพและเปิดโอกาสให้ประชาชนตรวจสอบและวิจารณ์ศาลตามป
ระเพณีประชาธิปไตยสากลหรือไม่? หรือรัฐบาลจะเดินหน้าปกปิดสิทธิเสรีภาพมากขึ้น?
คำถามเหล่านี้ประชาชนชาวไทยจำนวนมาก และประชาคมโลกรวมถึงสื่อต่างประเทศกำลังรอฟังคำตอบ
เล็งกู้นอก-งัดมาตรภาษีอุ้มมนุษย์เงินเดือน
"อภิสิทธิ์"ประกาศเดินหน้าแก้ปัญหาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการแก้ ปัญหาทางการเมือง เล็งกู้เงินนอกเพิ่ม-งัดมาตราการภาษีอุ้มคนมีรายได้ประจำ
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวบรรยายเรื่อง "เศรษฐกิจกับการเมืองไทย" ให้ผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่น 23 ฟัง ว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งรัฐบาลจะเร่งดำเนินการแก้ไข
สำหรับการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลจะเร่งฟื้นฟูหามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ครอบคลุมทั้งด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การท่องเที่ยว และปัญหาการว่างงาน
ขณะที่ในส่วนของด้านการเมือง ต้องเร่งแก้ไขปัญหาความขัดแย้งให้ยุติโดยเร็ว โดยให้ทุกอย่างอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย และต้องไม่นำสถาบันมาเกี่ยวข้อง
"กระบวนการยุติธรรมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหา และเป็นหัวใจหลักในการสร้างความสมานฉันท์"
ดังนั้นต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และต้องดำเนินคดีความของทุกคนอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีการกลั่นแกล้ง ซึ่งหลักง่ายที่สุดคือการแบ่งแยกความผิด หากมีการทำร้ายร่างกาย ขว้างปาสิ่งของทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ จะต้องเร่งดำเนินการโดยทันที แต่หากทำความผิดที่เกี่ยวกับการเมือง ต้องตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง
นายอภิสิทธิ์ ยอมรับว่า การแก้ไขปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองทำได้ยาก ต้องอาศัยการสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนให้มากที่สุด
ทั้งนี้ รัฐบาลจะพยายามสรุปมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้ภายใน 13-14 ม.ค.นี้
โดยมาตรการส่วนหนึ่งจะมีการใช้มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้ประจำ รวมทั้งมีการลดรายจ่ายให้กับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งลูกจ้างภาคเอกชนอาจจะอยู่ในส่วนของเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ขณะที่ลูกจ้างภาครัฐอาจจะช่วยเหลือในส่วนของเงินเพิ่มค่าครองชีพ
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า รัฐบาลยังมีแนวทางการกู้เงินจากต่างประเทศเพิ่มเติม โดยจะเน้นการนำมาใช้เฉพาะโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้
ใครจะชื่นชมก็ช่างมัน สำหรับผมคิดว่า
ฉิบหายอีกแล้วละครับประเทศไทย เกิดมากู้จริงๆ พรรคนี้ แล้วนี่ใครจะมาใช้หนี้ให้เราวะเนี่ย
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวบรรยายเรื่อง "เศรษฐกิจกับการเมืองไทย" ให้ผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่น 23 ฟัง ว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งรัฐบาลจะเร่งดำเนินการแก้ไข
สำหรับการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลจะเร่งฟื้นฟูหามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ครอบคลุมทั้งด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การท่องเที่ยว และปัญหาการว่างงาน
ขณะที่ในส่วนของด้านการเมือง ต้องเร่งแก้ไขปัญหาความขัดแย้งให้ยุติโดยเร็ว โดยให้ทุกอย่างอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย และต้องไม่นำสถาบันมาเกี่ยวข้อง
"กระบวนการยุติธรรมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหา และเป็นหัวใจหลักในการสร้างความสมานฉันท์"
ดังนั้นต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และต้องดำเนินคดีความของทุกคนอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีการกลั่นแกล้ง ซึ่งหลักง่ายที่สุดคือการแบ่งแยกความผิด หากมีการทำร้ายร่างกาย ขว้างปาสิ่งของทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ จะต้องเร่งดำเนินการโดยทันที แต่หากทำความผิดที่เกี่ยวกับการเมือง ต้องตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง
นายอภิสิทธิ์ ยอมรับว่า การแก้ไขปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองทำได้ยาก ต้องอาศัยการสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนให้มากที่สุด
ทั้งนี้ รัฐบาลจะพยายามสรุปมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้ภายใน 13-14 ม.ค.นี้
โดยมาตรการส่วนหนึ่งจะมีการใช้มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้ประจำ รวมทั้งมีการลดรายจ่ายให้กับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งลูกจ้างภาคเอกชนอาจจะอยู่ในส่วนของเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ขณะที่ลูกจ้างภาครัฐอาจจะช่วยเหลือในส่วนของเงินเพิ่มค่าครองชีพ
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า รัฐบาลยังมีแนวทางการกู้เงินจากต่างประเทศเพิ่มเติม โดยจะเน้นการนำมาใช้เฉพาะโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้
ใครจะชื่นชมก็ช่างมัน สำหรับผมคิดว่า
ฉิบหายอีกแล้วละครับประเทศไทย เกิดมากู้จริงๆ พรรคนี้ แล้วนี่ใครจะมาใช้หนี้ให้เราวะเนี่ย
ป้ายกำกับ:
ต่างประเทศ,
ประชาธิปัตย์,
อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ,
IMF
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเป็นนายกไปจนครบแปดปี
ใครที่คิดว่าฝ่ายประชาธิปไตยจะกลับมาชนะได้อีกครั้ง คุณเป็นคนมองโลกในแง่ดี แต่ผมคิดว่าเป็นไปไม่ได้, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเป็นนายกไปจนครบแปดปี แบบ เปรม ติณสูลานนท์
ใครที่คิดว่าฝ่ายประชาธิปไตยจะกลับมาชนะได้อีกครั้ง คุณเป็นคนมองโลกในแง่ดี
แต่ผมคิดว่าเป็นไปไม่ได้
ตอนนี้ฝ่ายเผด็จการกุมอำนาจไว้ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเป็นนายกไปอีกจนครบแปดปี แบบ เปรม ติณสูลานนท์
(ถ้าไม่โดนยิงตายเสียก่อน ผมพูดจริงๆไม่ได้มุข)
ทำไมผมถึงคิดแบบนั้น
การช่วงชิงอำนาจ 3 ปีที่ผ่านมาบวกกับ 5 ปีที่ทักษิณบริหารประเทศ
ฝ่ายอำมาตย์เผด็จการรู้แล้วว่าต่อจากนี้ไป
จะให้อำนาจหลุดมือไปอีกไม่ได้เป็นอันขาด
การช่วงชิงอำนาจจากทักษิณเผด็จการทุ่มสรรพกำลังทุกส่วน
เทหมดหน้าตักเพื่อที่จะเอาอำนาจกลับคืน
ทำถึงขนาดเสด็จไปงานศพ !
แค่นี้ก็รู้แล้วว่าพวกเขาอยากได้อำนาจกลับคืนมากขนาดไหน
ลองคิดดูว่าช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ ขนาดเป็นรัฐบาลอยู่แท้ๆ
อำนาจหลายอย่างกลับถูกยึดไปก่อนที่จะถูกยึดอำนาจเสียอีก
มีการใช้อำนาจตุลาการเข้ามาแทรกแซง
ใช้อำนาจทหารเข้ามากดดันไม่ให้สมัครจัดรายการทีวี
แม้ไปจัดรายการที่เคเบิลทีวี ทหารยังสามารถสั่งให้ถอดรายการได้
หลังรัฐประหาร
ผ่านจนถึงการคลอดรัฐธรรมนวยฉบับหัวคูนปี 50
ฝ่ายเผด็จการคิดผิด
นึกว่าหลังเลือกตั้งจะสามารถกุมอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จ
ผ่านการเลือกตั้งเพื่อให้ภาพออกมาดูดี
ถึงขนาดทุ่มเทกำลัง ทั้งทหาร ตุลาการ กกต ช่วยเหลือพรรคประชาธิปัตย์
ให้ได้เป็นรัฐบาล
แต่ก็ฝ่ากระแสความต้องการที่แท้จริงของประชาชนไปไม่ได้
นี่คือการวางแผนอันผิดพลาดของเผด็จการ
ที่ประเมินเสียงประชาชนต่ำเกินไป
แต่ความผิดพลาดข้อนี้ก็เป็นบทเรียนที่มีค่าให้ฝ่ายเผด็จการ
ทำให้พวกเขารู้ว่าจะปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นอีกไม่ได้
เมื่อถึงรัฐบาลสมัครและรัฐบาลสมชาย
ฝ่ายเผด็จการจึงทุ่มเททุกสรรพกำลัง
ในการแย่งชิงอำนาจกลับคืนให้จงได้
ว่าที่จริงทุกอำนาจกก็อยู่ในมือเผด็จการหมดแล้ว
นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลมีอำนาจแค่เชิงสัญญลักษณ์เท่านั้น
ทุกฝ่ายไม่มีใครเชื่อฟัง
เพราะกลัวอำนาจฝ่ายเผด็จการที่มีสถาบันถือหางอยู่
จนเมื่อถึงจุดแตกหัก
ก็หน้าด้านใช้อำนาจตุลาการในองค์กรอิสระหักดิบเอาดื้อๆ
รวบรัดยุบพรรคอย่างรวดเร็ว
เท่าที่เล่ามานี้
กว่าเขาจะได้อำนาจคืนไปจากมือประชาชน
คิดดูว่ามันยากแค่ไหน
แล้วเขาจะคืนมาง่ายๆอย่างนั้นหรือ
ลองคิดดูขนาดฝ่ายประชาธิปไตยที่มาถูกต้องตามกฎหมาย
มีอำนาจอยู่ในมือแท้ๆ
ยังรักษาไว้ไม่ได้ ยังถูกช่วงชิงบังคับเอาไปได้
ถึงตอนนี้อำนาจอยู่ในมือพวกเขาครบถ้วน
รวมทั้งศาล ตุลาการ ทหาร ตำรวจ ก็เป็นของพวกเขาหมดสิ้น
แล้วเขาจะคืนให้เราง่ายๆนั้นหรือ
ผมขอบอกแบบไม่ปลอบใจกันเองว่าไม่มีทาง
ยิ่งถ้าว่ากันตามระเบียบเรียบร้อยแบบที่ฝ่ายประชาธิปไตย
ใช้เป็นแนวทางในการต่อสู้ตั้งแต่หลังรัฐประหาร 19 กันยา
ผมยิ่งมั่นใจว่าไม่มีทาง
นอกเสียจากว่า
ประชาชนที่ถูกลิดรอนอำนาจไปตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยา
จะรู้สึกอัดอั้นจนทนไม่ไหวระเบิดออกมาในจำนวนที่มากพอ
หรือมีใครที่ทนไม่ไหวมากๆ ตั้งขบวนการใต้ดิน
ลอบสังหารแบบการเมืองต่างประเทศ
นั่นแหละจึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งดูจากนิสัยคนไทยแล้วเป็นไปได้ยาก
เพราะฉนั้นผมจึงคิดว่า
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
จะเป็นตัวแทนเผด็จการศักดินาครองอำนาจยาวนานถึงแปดปี
ยุบสภาหรือหมดวาระเลือกตั้งใหม่
ก็ใช้วิธีไหนก็ได้ให้ชนะเลือกตั้งหรือมีเสียงในสภามากที่สุด
โดยไม่ต้องกลัวผิดกฎหมายหรือคุณธรรม
เพราะทุกอย่างเขาควบคุมได้อย่างเบ็ดเสร็จ
ทั้งหมดนี้ทำได้โดยไม่ต้องฟังเสียงประชาชน
ตราบใดที่ยังเอาใจและแบ่งปันผลประโยชน์ให้ทหาร สถาบันและพันธมิตรอย่างลงตัว
ก๊อปมาจากเวปแห่งหนิ่ง.................. หุหุ
ใครที่คิดว่าฝ่ายประชาธิปไตยจะกลับมาชนะได้อีกครั้ง คุณเป็นคนมองโลกในแง่ดี
แต่ผมคิดว่าเป็นไปไม่ได้
ตอนนี้ฝ่ายเผด็จการกุมอำนาจไว้ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเป็นนายกไปอีกจนครบแปดปี แบบ เปรม ติณสูลานนท์
(ถ้าไม่โดนยิงตายเสียก่อน ผมพูดจริงๆไม่ได้มุข)
ทำไมผมถึงคิดแบบนั้น
การช่วงชิงอำนาจ 3 ปีที่ผ่านมาบวกกับ 5 ปีที่ทักษิณบริหารประเทศ
ฝ่ายอำมาตย์เผด็จการรู้แล้วว่าต่อจากนี้ไป
จะให้อำนาจหลุดมือไปอีกไม่ได้เป็นอันขาด
การช่วงชิงอำนาจจากทักษิณเผด็จการทุ่มสรรพกำลังทุกส่วน
เทหมดหน้าตักเพื่อที่จะเอาอำนาจกลับคืน
ทำถึงขนาดเสด็จไปงานศพ !
แค่นี้ก็รู้แล้วว่าพวกเขาอยากได้อำนาจกลับคืนมากขนาดไหน
ลองคิดดูว่าช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ ขนาดเป็นรัฐบาลอยู่แท้ๆ
อำนาจหลายอย่างกลับถูกยึดไปก่อนที่จะถูกยึดอำนาจเสียอีก
มีการใช้อำนาจตุลาการเข้ามาแทรกแซง
ใช้อำนาจทหารเข้ามากดดันไม่ให้สมัครจัดรายการทีวี
แม้ไปจัดรายการที่เคเบิลทีวี ทหารยังสามารถสั่งให้ถอดรายการได้
หลังรัฐประหาร
ผ่านจนถึงการคลอดรัฐธรรมนวยฉบับหัวคูนปี 50
ฝ่ายเผด็จการคิดผิด
นึกว่าหลังเลือกตั้งจะสามารถกุมอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จ
ผ่านการเลือกตั้งเพื่อให้ภาพออกมาดูดี
ถึงขนาดทุ่มเทกำลัง ทั้งทหาร ตุลาการ กกต ช่วยเหลือพรรคประชาธิปัตย์
ให้ได้เป็นรัฐบาล
แต่ก็ฝ่ากระแสความต้องการที่แท้จริงของประชาชนไปไม่ได้
นี่คือการวางแผนอันผิดพลาดของเผด็จการ
ที่ประเมินเสียงประชาชนต่ำเกินไป
แต่ความผิดพลาดข้อนี้ก็เป็นบทเรียนที่มีค่าให้ฝ่ายเผด็จการ
ทำให้พวกเขารู้ว่าจะปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นอีกไม่ได้
เมื่อถึงรัฐบาลสมัครและรัฐบาลสมชาย
ฝ่ายเผด็จการจึงทุ่มเททุกสรรพกำลัง
ในการแย่งชิงอำนาจกลับคืนให้จงได้
ว่าที่จริงทุกอำนาจกก็อยู่ในมือเผด็จการหมดแล้ว
นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลมีอำนาจแค่เชิงสัญญลักษณ์เท่านั้น
ทุกฝ่ายไม่มีใครเชื่อฟัง
เพราะกลัวอำนาจฝ่ายเผด็จการที่มีสถาบันถือหางอยู่
จนเมื่อถึงจุดแตกหัก
ก็หน้าด้านใช้อำนาจตุลาการในองค์กรอิสระหักดิบเอาดื้อๆ
รวบรัดยุบพรรคอย่างรวดเร็ว
เท่าที่เล่ามานี้
กว่าเขาจะได้อำนาจคืนไปจากมือประชาชน
คิดดูว่ามันยากแค่ไหน
แล้วเขาจะคืนมาง่ายๆอย่างนั้นหรือ
ลองคิดดูขนาดฝ่ายประชาธิปไตยที่มาถูกต้องตามกฎหมาย
มีอำนาจอยู่ในมือแท้ๆ
ยังรักษาไว้ไม่ได้ ยังถูกช่วงชิงบังคับเอาไปได้
ถึงตอนนี้อำนาจอยู่ในมือพวกเขาครบถ้วน
รวมทั้งศาล ตุลาการ ทหาร ตำรวจ ก็เป็นของพวกเขาหมดสิ้น
แล้วเขาจะคืนให้เราง่ายๆนั้นหรือ
ผมขอบอกแบบไม่ปลอบใจกันเองว่าไม่มีทาง
ยิ่งถ้าว่ากันตามระเบียบเรียบร้อยแบบที่ฝ่ายประชาธิปไตย
ใช้เป็นแนวทางในการต่อสู้ตั้งแต่หลังรัฐประหาร 19 กันยา
ผมยิ่งมั่นใจว่าไม่มีทาง
นอกเสียจากว่า
ประชาชนที่ถูกลิดรอนอำนาจไปตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยา
จะรู้สึกอัดอั้นจนทนไม่ไหวระเบิดออกมาในจำนวนที่มากพอ
หรือมีใครที่ทนไม่ไหวมากๆ ตั้งขบวนการใต้ดิน
ลอบสังหารแบบการเมืองต่างประเทศ
นั่นแหละจึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งดูจากนิสัยคนไทยแล้วเป็นไปได้ยาก
เพราะฉนั้นผมจึงคิดว่า
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
จะเป็นตัวแทนเผด็จการศักดินาครองอำนาจยาวนานถึงแปดปี
ยุบสภาหรือหมดวาระเลือกตั้งใหม่
ก็ใช้วิธีไหนก็ได้ให้ชนะเลือกตั้งหรือมีเสียงในสภามากที่สุด
โดยไม่ต้องกลัวผิดกฎหมายหรือคุณธรรม
เพราะทุกอย่างเขาควบคุมได้อย่างเบ็ดเสร็จ
ทั้งหมดนี้ทำได้โดยไม่ต้องฟังเสียงประชาชน
ตราบใดที่ยังเอาใจและแบ่งปันผลประโยชน์ให้ทหาร สถาบันและพันธมิตรอย่างลงตัว
ก๊อปมาจากเวปแห่งหนิ่ง.................. หุหุ
ป้ายกำกับ:
ทักษิน ชินวัตร,
ประชาชน,
ประชาธิปไตย,
ประเทศไทย,
รัฐประหาร,
ศาล
แถลงข่าวโดย รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ กรณีคดีหมิ่นเดชานุภาพ
อย่างที่ทราบ กัน ผมได้รับหมายเรียกพบตำรวจที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ในวันอังคารที่ 20 มกราคม 2552 เวลา 10.00 น. คดีนี้มาจากหนังสือวิชาการภาษาอังกฤษของผมชื่อ “A Coup for the Rich” ซึ่งตีพิมพ์ในต้นปี ๒๕๕๐
มันเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่นักรัฐศาสตร์ใน ประเทศไทย จะต้องพยายามวิเคราะห์ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ในบรรยากาศที่มีเสรีภาพทาง วิชาการ แต่สถาบันกษัตริย์ได้ถูกนำมาอ้างในการต่อสู้ของกลุ่มการเมืองต่างๆ เช่น กรณี รัฐประหาร 19 กันยา และกรณีการปิดสนามบินโดยพันธมิตรฯเป็นต้น และข้อกล่าวหาเรื่องหมิ่นเดชานุภาพถูกใช้ในการโจมตีฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง มาอย่างต่
อเนื่อง
1. กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในประเทศไทยเป็นอุปสรรคในการทำงานของสถาบันกษัตริย์ในระบบประชาธิปไตย เนื่องจากมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและห้ามไม่ให้พลเมืองตรวจสอบ สถาบันกษัต
ริย์ด้วยความโปร่งใส พลเมืองไทยถูกชักชวนให้เชื่อว่าเราดำรงอยู่ในระบบกษัตริย์แบบโบราณ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างระบบศักดินา ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และระบบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข
2. การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในประเทศไทยเป็นการพยายามจำกัดการพูดคุยแลกเปลี่ยนด้วยปัญญา เป็นการพยายามที่จะห้ามการคิดเองเพื่อส่งเสิรมระบบท่องจำในหมู่ประชาชน ตัวอย่างที่ดีคือ กรณีเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเมื่อมีการเสนอแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากพระราชวัง มีความคาดหวังในสังคมว่าเราจะชื่นชมและยอมรับโดยไม่มีการตั้งคำถาม อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่ดีที่การล้างสมองแบบนี้ไม่ค่อยได้ผลนัก เพราะสังคมใดที่พูดคุยแลกเปลี่ยนกันในเรื่องในโยบายเศรษฐกิจและการเมืองไม่ ได้ ย่อมเป็นสังคมที่ด้อยพัฒนา
3. กองทัพมักจะอ้างว่าเป็นผู้ปกป้องสถาบันกษัตริย์ในระบบรัฐธรรมนูญ แต่ทหารไทยมีประวัติอันยาวนานในการทำลายรัฐธรรมนูญด้วยการทำรัฐประหาร บ่อยครั้งรัฐประหารดังกล่าวจะอ้างความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์ รัฐประหารหาร 19 กันยา เป็นตัวอย่างที่ดี เราควรเข้าใจว่าการกระทำดังกล่าวมิได้กระทำเพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ แต่เป็นการอ้างถึงสถาบันกษัตริย์เพื่ออ้างความชอบธรรมกับการปฏิบัติของทหาร ดังนั้นกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ถูกใช้โดยทหารและกลุ่มเผด็จการอื่นๆ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเขา การสร้างภาพว่าสถาบันกษัตริย์มีอำนาจล้นฟ้า ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย เป็นการพยายามสร้างความชอบธรรมกับตนเองโดยทหารและกลุ่มอื่นๆ
4. ระบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญภายประชาธิปไตยทั่วโลกมีเสถียรภาพ ในขณะที่ประชาชนมีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์อย่างเต็มที่ ดั้งนั้นเราจะต้องสรุปว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่ได้มีไว้เพื่อสร้างเสถียรภาพกับสถาบันกษัตริย์แต่มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ อื่น
5. ผู้ที่กล่าวหาผมว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กล่าวหาผมเพราะผมมีจุดยืนและอุดมการณ์ในการต่อต้านรัฐประหารและเผด็จการ นักเคลื่อนไหวอื่นหลายคนถูกข้อกล่าวหาเช่นเดียวกัน และเราไม่ควรจะลืมกรณีของพวกเขา เราจะต้องรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยและการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทั้งในสังคมไทยและเวทีสากล
หนังสือ A coup for the rich
ผม เขียนหนังสือเล่มนี้ หลังการทำรัฐประหาร 19 กันยา เพื่อเป็นการวิเคราะห์วิกฤติการเมืองไทยในเชิงวิชาการจากจุดยืนที่สนับสนุน ประชาธิปไ
ตย ในขณะที่ผมวิพากษ์วิจารณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลทักษิณมาตลอด ผมได้เสนอว่าการทำรัฐประหารขาดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง ผมเสนอว่ากลุ่มที่สนับสนุนรัฐประหารประกอบไปด้วย ทหาร พันธมิตรฯ นักธุรกิจบางส่วน นักเสรีนิยมสุดขั้ว และข้าราชการอนุรักษ์นิยม กลุ่มเหล่านี้มีจุดร่วมในการดูถูกคนจน เขาไม่ชื่นชมในระบบประชาธิปไตย เพราะเขามองว่าคนจนไม่ควรจะมีสิทธิเลือกตั้ง และเขาเกลียดชังพรรคการเมืองของทักษิณเพราะมีความสามารถในการชนะการเลือก ตั้งในขณะที
่เขาเองชนะการเลือกตั้งไม่ได้
อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญในหนังสือของผม เป็นการตั้งคำถามกับความเชื่อในสังคมไทยว่าวิกฤตินี้มาจากความขัดแย้งระหว่างสถาบันก
ษัตริย์ กับทักษิณ ประเด็นนี้อาจจะสร้างความโกรธแค้นในหมู่ทหาร คมช. เพราะเขาต้องการสร้างความชอบธรรมจากพระราชวังในการทำรัฐประหาร ในประเด็นนี้ผมพยายามที่จะกระตุ้นการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ โดยการตั้งคำถามว่าสถาบันกษัตริย์ในระบบประชาธิปไตยควรจะปกป้องรัฐธรรมนูญ และประชาธิ
ปไตยหรือไม่ ในบทที่สองของหนังสือ ผมพยายามวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสถาบันกษัตริย์ไทยตามประวัติศาสตร์ โดยเสนอว่าสถาบันกษัตริย์ในยุคนี้เป็นสถาบันสมัยใหม่ ไม่ใช่สถาบันศักดินา
ผม ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงข้อกล่าวหาว่าผมได้ก่ออาชญากรรมด้วยการเขียนหนังสือเล่ม นี้ และผมพร้อมที่จะสู้ข้อกล่าวหาคดีหมิ่นเดชานุภาพในทุกรูปแบบ เพื่อปกป้องเสรีภาพทางวิชาการและสิทธิเสรีภาพในระบบประชาธิปไตย
เนื่องจากข้อกล่าวหาในครั้งนี้มาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของ
รัฐ คำถามสำคัญคือ รัฐบาลใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้และคดีอื่นๆอีกหลายคดีอย่าง
ไร เพราะนายกรัฐมนตรีได้ประกาศว่าจะเข้มงวดมากขึ้นในคดีหมิ่นเดชานุภาพ
13 มกราคม 2552
มันเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่นักรัฐศาสตร์ใน ประเทศไทย จะต้องพยายามวิเคราะห์ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ในบรรยากาศที่มีเสรีภาพทาง วิชาการ แต่สถาบันกษัตริย์ได้ถูกนำมาอ้างในการต่อสู้ของกลุ่มการเมืองต่างๆ เช่น กรณี รัฐประหาร 19 กันยา และกรณีการปิดสนามบินโดยพันธมิตรฯเป็นต้น และข้อกล่าวหาเรื่องหมิ่นเดชานุภาพถูกใช้ในการโจมตีฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง มาอย่างต่
อเนื่อง
1. กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในประเทศไทยเป็นอุปสรรคในการทำงานของสถาบันกษัตริย์ในระบบประชาธิปไตย เนื่องจากมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและห้ามไม่ให้พลเมืองตรวจสอบ สถาบันกษัต
ริย์ด้วยความโปร่งใส พลเมืองไทยถูกชักชวนให้เชื่อว่าเราดำรงอยู่ในระบบกษัตริย์แบบโบราณ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างระบบศักดินา ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และระบบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข
2. การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในประเทศไทยเป็นการพยายามจำกัดการพูดคุยแลกเปลี่ยนด้วยปัญญา เป็นการพยายามที่จะห้ามการคิดเองเพื่อส่งเสิรมระบบท่องจำในหมู่ประชาชน ตัวอย่างที่ดีคือ กรณีเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเมื่อมีการเสนอแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากพระราชวัง มีความคาดหวังในสังคมว่าเราจะชื่นชมและยอมรับโดยไม่มีการตั้งคำถาม อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่ดีที่การล้างสมองแบบนี้ไม่ค่อยได้ผลนัก เพราะสังคมใดที่พูดคุยแลกเปลี่ยนกันในเรื่องในโยบายเศรษฐกิจและการเมืองไม่ ได้ ย่อมเป็นสังคมที่ด้อยพัฒนา
3. กองทัพมักจะอ้างว่าเป็นผู้ปกป้องสถาบันกษัตริย์ในระบบรัฐธรรมนูญ แต่ทหารไทยมีประวัติอันยาวนานในการทำลายรัฐธรรมนูญด้วยการทำรัฐประหาร บ่อยครั้งรัฐประหารดังกล่าวจะอ้างความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์ รัฐประหารหาร 19 กันยา เป็นตัวอย่างที่ดี เราควรเข้าใจว่าการกระทำดังกล่าวมิได้กระทำเพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ แต่เป็นการอ้างถึงสถาบันกษัตริย์เพื่ออ้างความชอบธรรมกับการปฏิบัติของทหาร ดังนั้นกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ถูกใช้โดยทหารและกลุ่มเผด็จการอื่นๆ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเขา การสร้างภาพว่าสถาบันกษัตริย์มีอำนาจล้นฟ้า ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย เป็นการพยายามสร้างความชอบธรรมกับตนเองโดยทหารและกลุ่มอื่นๆ
4. ระบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญภายประชาธิปไตยทั่วโลกมีเสถียรภาพ ในขณะที่ประชาชนมีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์อย่างเต็มที่ ดั้งนั้นเราจะต้องสรุปว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่ได้มีไว้เพื่อสร้างเสถียรภาพกับสถาบันกษัตริย์แต่มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ อื่น
5. ผู้ที่กล่าวหาผมว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กล่าวหาผมเพราะผมมีจุดยืนและอุดมการณ์ในการต่อต้านรัฐประหารและเผด็จการ นักเคลื่อนไหวอื่นหลายคนถูกข้อกล่าวหาเช่นเดียวกัน และเราไม่ควรจะลืมกรณีของพวกเขา เราจะต้องรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยและการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทั้งในสังคมไทยและเวทีสากล
หนังสือ A coup for the rich
ผม เขียนหนังสือเล่มนี้ หลังการทำรัฐประหาร 19 กันยา เพื่อเป็นการวิเคราะห์วิกฤติการเมืองไทยในเชิงวิชาการจากจุดยืนที่สนับสนุน ประชาธิปไ
ตย ในขณะที่ผมวิพากษ์วิจารณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลทักษิณมาตลอด ผมได้เสนอว่าการทำรัฐประหารขาดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง ผมเสนอว่ากลุ่มที่สนับสนุนรัฐประหารประกอบไปด้วย ทหาร พันธมิตรฯ นักธุรกิจบางส่วน นักเสรีนิยมสุดขั้ว และข้าราชการอนุรักษ์นิยม กลุ่มเหล่านี้มีจุดร่วมในการดูถูกคนจน เขาไม่ชื่นชมในระบบประชาธิปไตย เพราะเขามองว่าคนจนไม่ควรจะมีสิทธิเลือกตั้ง และเขาเกลียดชังพรรคการเมืองของทักษิณเพราะมีความสามารถในการชนะการเลือก ตั้งในขณะที
่เขาเองชนะการเลือกตั้งไม่ได้
อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญในหนังสือของผม เป็นการตั้งคำถามกับความเชื่อในสังคมไทยว่าวิกฤตินี้มาจากความขัดแย้งระหว่างสถาบันก
ษัตริย์ กับทักษิณ ประเด็นนี้อาจจะสร้างความโกรธแค้นในหมู่ทหาร คมช. เพราะเขาต้องการสร้างความชอบธรรมจากพระราชวังในการทำรัฐประหาร ในประเด็นนี้ผมพยายามที่จะกระตุ้นการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ โดยการตั้งคำถามว่าสถาบันกษัตริย์ในระบบประชาธิปไตยควรจะปกป้องรัฐธรรมนูญ และประชาธิ
ปไตยหรือไม่ ในบทที่สองของหนังสือ ผมพยายามวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสถาบันกษัตริย์ไทยตามประวัติศาสตร์ โดยเสนอว่าสถาบันกษัตริย์ในยุคนี้เป็นสถาบันสมัยใหม่ ไม่ใช่สถาบันศักดินา
ผม ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงข้อกล่าวหาว่าผมได้ก่ออาชญากรรมด้วยการเขียนหนังสือเล่ม นี้ และผมพร้อมที่จะสู้ข้อกล่าวหาคดีหมิ่นเดชานุภาพในทุกรูปแบบ เพื่อปกป้องเสรีภาพทางวิชาการและสิทธิเสรีภาพในระบบประชาธิปไตย
เนื่องจากข้อกล่าวหาในครั้งนี้มาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของ
รัฐ คำถามสำคัญคือ รัฐบาลใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้และคดีอื่นๆอีกหลายคดีอย่าง
ไร เพราะนายกรัฐมนตรีได้ประกาศว่าจะเข้มงวดมากขึ้นในคดีหมิ่นเดชานุภาพ
13 มกราคม 2552
ป้ายกำกับ:
112,
ใจ อึ้งภากร,
ทักษิน ชินวัตร,
ประชาชน,
ประชาธิปไตย,
หมิ่นประมาท,
หมิ่นพระบรม
เจ้สั่งมา.............
ศาลยกฟ้อง 'ประสาร' โดน 'ทักษิณ' ฟ้องหมิ่น [13 ม.ค. 52 - 17:15]
ผู้ สื่อข่าวรายงาน วันนี้ (13 ม.ค.) ว่า ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาในคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มอบอำนาจให้นายถารัด สมบัติบุญ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ในประเทศ หรือ สปทช. ในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2550 ถึงวันที่ 5 พ.ค. 2550 จำเลยได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในทำนองที่ปรึกษาบริษัทล็อบบี้ยิสต์ ที่รับงานพ.ต.ท.ทักษิณ ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เพื่อให้ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ขยับฐานะประเทศไทยไปอยู่ในบัญชีต้องจับตาเป็นพิเศษเรื่องของการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งถือเป็นการทำลายประเทศ
ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์จากพยานหลักฐานแล้วเห็นว่า จำเลยให้สัมภาษณ์ขณะดำรงตำแหน่ง ที่ขณะนั้นไทยกำลังถูกจับตามองจากสหรัฐฯ เรื่องสิทธิบัตรยาและลิขสิทธิ์ ดังนั้น จำเลยจึงแถลงข่าวไปตามอำนาจหน้าที่ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ แม้ถ้อยคำที่ใช้จะเป็นความเห็นส่วนตัวและรุนแรงไปบ้าง แต่ก็ไม่มีเจตนาใส่ร้ายหมิ่นประมาทโจทก์
นอกจากนั้น พยานโจทก์เองก็ไปเจือสมกับพยานจำเลยว่า ข้อความดังกล่าวไม่รู้สึกทำให้โจทก์เสียหาย ประกอบกับคดีนี้ โจทก์ไม่มาเบิกความ เพราะหลบหนีคดีอยู่ต่างประเทศ แม้มอบเอกสารให้ผู้แทนคดีมาเบิกความ แต่ก็ไม่ได้ลงลายมือในเอกสารคำคู่ความต่อศาล เพียงแต่เซ็นชื่อที่สถานทูตไทยในลอนดอนเท่านั้น พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอ จึงพิพากษายกฟ้อง
โพสต์โดย : 1111
เจ้สั่งมา.............
ผู้ สื่อข่าวรายงาน วันนี้ (13 ม.ค.) ว่า ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาในคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มอบอำนาจให้นายถารัด สมบัติบุญ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ในประเทศ หรือ สปทช. ในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2550 ถึงวันที่ 5 พ.ค. 2550 จำเลยได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในทำนองที่ปรึกษาบริษัทล็อบบี้ยิสต์ ที่รับงานพ.ต.ท.ทักษิณ ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เพื่อให้ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ขยับฐานะประเทศไทยไปอยู่ในบัญชีต้องจับตาเป็นพิเศษเรื่องของการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งถือเป็นการทำลายประเทศ
ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์จากพยานหลักฐานแล้วเห็นว่า จำเลยให้สัมภาษณ์ขณะดำรงตำแหน่ง ที่ขณะนั้นไทยกำลังถูกจับตามองจากสหรัฐฯ เรื่องสิทธิบัตรยาและลิขสิทธิ์ ดังนั้น จำเลยจึงแถลงข่าวไปตามอำนาจหน้าที่ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ แม้ถ้อยคำที่ใช้จะเป็นความเห็นส่วนตัวและรุนแรงไปบ้าง แต่ก็ไม่มีเจตนาใส่ร้ายหมิ่นประมาทโจทก์
นอกจากนั้น พยานโจทก์เองก็ไปเจือสมกับพยานจำเลยว่า ข้อความดังกล่าวไม่รู้สึกทำให้โจทก์เสียหาย ประกอบกับคดีนี้ โจทก์ไม่มาเบิกความ เพราะหลบหนีคดีอยู่ต่างประเทศ แม้มอบเอกสารให้ผู้แทนคดีมาเบิกความ แต่ก็ไม่ได้ลงลายมือในเอกสารคำคู่ความต่อศาล เพียงแต่เซ็นชื่อที่สถานทูตไทยในลอนดอนเท่านั้น พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอ จึงพิพากษายกฟ้อง
โพสต์โดย : 1111
เจ้สั่งมา.............
แผ่นดินนี้ของใคร
มีการกล่าวอ้างกันนักหนาว่าแผ่นดินนี้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง
จากความรู้สึกแผ่นดินนี้เป็นของประชาชนคนไทยทุกคน
บรรพบุรุษเสียเลือดเสียเนื้อปกป้องแผ่นดินมาในอดีต
ในปัจจุบันก็ทำหน้าที่พลเมืองดีของประเทศชาติด้วยการเสียภาษี
บ้านที่อยู่อาศัยยก็จากเงินที่ได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง
ทำไมจะต้องรู้คุณคนใดคนหนึ่งที่ชอบอ้างกันนักหนาว่าเป็นเจ้าของแผ่นดิน
แล้วคนคนนั้นที่ชอบอ้างกันนักหนาเคยทำหน้ที่พลเมืองที่ดีของประเทศหรือไม่
เคยเสียภาษีให้แผ่นดินหรือไม่ เคยปกป้องประเทศชาติอย่างแท้จริงหรือไม่
หรือเพียงปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้องโดยอาศัยการสร้างภาพเท่านั้น
แผ่นดินนี้เป็นของประชาชนคนไทยทุกคน มิใช่ของใครหรือตระกูลใดโดยเฉพาะเท่านั้น
จากความรู้สึกแผ่นดินนี้เป็นของประชาชนคนไทยทุกคน
บรรพบุรุษเสียเลือดเสียเนื้อปกป้องแผ่นดินมาในอดีต
ในปัจจุบันก็ทำหน้าที่พลเมืองดีของประเทศชาติด้วยการเสียภาษี
บ้านที่อยู่อาศัยยก็จากเงินที่ได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง
ทำไมจะต้องรู้คุณคนใดคนหนึ่งที่ชอบอ้างกันนักหนาว่าเป็นเจ้าของแผ่นดิน
แล้วคนคนนั้นที่ชอบอ้างกันนักหนาเคยทำหน้ที่พลเมืองที่ดีของประเทศหรือไม่
เคยเสียภาษีให้แผ่นดินหรือไม่ เคยปกป้องประเทศชาติอย่างแท้จริงหรือไม่
หรือเพียงปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้องโดยอาศัยการสร้างภาพเท่านั้น
แผ่นดินนี้เป็นของประชาชนคนไทยทุกคน มิใช่ของใครหรือตระกูลใดโดยเฉพาะเท่านั้น
หมิ่นประมาท
"หมิ่นประมาทในทางแพ่ง" กับ "หมิ่นประมาทในทางอาญา"
คำ ว่า "หมิ่นประมาท" ตามพจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง " ชื่อความผิดทางอาญาฐานใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง"
หมิ่นประมาทตามกฎหมาย แยกออกได้เป็น
"หมิ่นประมาทในทางแพ่ง" กับ "หมิ่นประมาทในทางอาญา"
หมิ่นประมาทในทางแพ่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 บัญญัติว่า
" ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ข้อความนั้นไม่จริงแต่หากควรจะรู้ได้
ผู้ ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความจริงไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้น มีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้น หาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน"
ส่วนความผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญา
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 บัญญัติว่า
" ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท"
การกล่าวถ้อยคำต่อผู้เสียหายโดยตรง ไม่เป็นการใส่ความต่อบุคคลที่สาม ไม่เป็นหมิ่นประมาท แต่อาจมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า
ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิดพิสูจน์ได้ว่า ข้อที่หาว่าหมิ่นประมาทนั้น เป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ห้ามมิให้พิสูจน์ ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
คู่ความหรือทนายความของคู่ความ ซึ่งแสดงความเห็นหรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาล เพื่อประโยชน์แก่คดีของตน ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
ความแตกต่างของหมิ่นประมาทในทางแพ่งกับหมิ่นประมาททางอาญาต่างกันตรงที่ "เจตนา"
กล่าวคือ หมิ่นประมาททางอาญา จะต้องกระทำโดยเจตนา การกระทำโดยไม่เจตนา หรือโดยประมาท ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญา
ส่วนในทางแพ่ง แม้ไม่มีเจตนาก็ถือว่าหมิ่นประมาท ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลิ่นเล่อ ก็ต้องรับผิดทางละเมิด
ความต่างอีกประการหนึ่ง คือ "ข้อความที่กล่าว"
ในกรณีหมิ่นประมาททางแพ่งนั้น การกล่าวหรือไขข่าวข้อความที่เป็นความจริง ไม่ถือเป็นละเมิด
ตรง ข้ามกับทางอาญา แม้จะเป็นข้อความที่เป็นจริง ก็อาจมีความผิดได้ เพราะกฎหมายห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
นอกจากนี้ ในประเด็นเรื่องความเสียหาย....
ความ ผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญา ผลของการใส่ความจะเป็นการเสียหายต่อชื่อเสียง ทำให้ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ส่วนความเสียหายอื่นๆ นอกจากที่กฎหมายกำหนด เช่น เสียหายต่อทางทำมาหาได้ การใส่ความนั้นก็ไม่เป็นการหมิ่นประมาทในทางอาญาแต่เป็นหมิ่นประมาททางแพ่ง
ส่วน หมิ่นประมาทในทางแพ่ง กำหนดความเสียหายไว้กว้างกว่าทางอาญา พราะนอกจากความเสียหายต่อชื่อเสียงแล้ว ยังรวมถึงความเสียหายต่อทางทำมาหาได้ เกียรติคุณ หรือทางเจริญอีกด้วย
เช่น นาง ก. แม่ค้าขายหมูปิ้งได้กล่าวกับลูกค้าที่มาซื้อของตนว่าอย่าไปซื้อไก่ปิ้งของ นาย ข. เด็ดขาดเพราะนาย ข. ใช้ไก่ที่ตายด้วยโรคมาปิ้งขาย เช่นนี้ก็เป็นหมิ่นประมาททางแพ่งได้เพราะเป็นการเสียหายต่อทางทำมาหาได้ของ นาย ข. เป็นต้น
หมิ่นประมาท ต่างกับ ดูหมิ่น คือ
หมิ่นประมาทเป็นการใส่ความโดยยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างต่อบุคคลที่สาม ทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดในพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกกล่าวถึง
ส่วน การดูหมิ่นเป็นการกระทำด้วยประการใดๆอันเป็นการเหยียดหยามบุคคลอื่น ซึ่งไม่ถึงกับให้ผู้อื่นนั้นได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณ
ในกรณีหมิ่นประมาททางแพ่งนั้น การกล่าวหรือไขข่าวข้อความที่เป็นความจริง ไม่ถือเป็นละเมิด
และไม่เป็นหมิ่นประมาททางแพ่ง
++++++++++++++++++++++
แอบสงสัยความหมายของคำว่า...หมิ่น...
ไปหามา....เพิ่มเติมจาก
http://www.dtl-law.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5359415&Ntype=7
คำ ว่า "หมิ่นประมาท" ตามพจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง " ชื่อความผิดทางอาญาฐานใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง"
หมิ่นประมาทตามกฎหมาย แยกออกได้เป็น
"หมิ่นประมาทในทางแพ่ง" กับ "หมิ่นประมาทในทางอาญา"
หมิ่นประมาทในทางแพ่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 บัญญัติว่า
" ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ข้อความนั้นไม่จริงแต่หากควรจะรู้ได้
ผู้ ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความจริงไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้น มีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้น หาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน"
ส่วนความผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญา
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 บัญญัติว่า
" ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท"
การกล่าวถ้อยคำต่อผู้เสียหายโดยตรง ไม่เป็นการใส่ความต่อบุคคลที่สาม ไม่เป็นหมิ่นประมาท แต่อาจมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า
ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิดพิสูจน์ได้ว่า ข้อที่หาว่าหมิ่นประมาทนั้น เป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ห้ามมิให้พิสูจน์ ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
คู่ความหรือทนายความของคู่ความ ซึ่งแสดงความเห็นหรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาล เพื่อประโยชน์แก่คดีของตน ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
ความแตกต่างของหมิ่นประมาทในทางแพ่งกับหมิ่นประมาททางอาญาต่างกันตรงที่ "เจตนา"
กล่าวคือ หมิ่นประมาททางอาญา จะต้องกระทำโดยเจตนา การกระทำโดยไม่เจตนา หรือโดยประมาท ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญา
ส่วนในทางแพ่ง แม้ไม่มีเจตนาก็ถือว่าหมิ่นประมาท ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลิ่นเล่อ ก็ต้องรับผิดทางละเมิด
ความต่างอีกประการหนึ่ง คือ "ข้อความที่กล่าว"
ในกรณีหมิ่นประมาททางแพ่งนั้น การกล่าวหรือไขข่าวข้อความที่เป็นความจริง ไม่ถือเป็นละเมิด
ตรง ข้ามกับทางอาญา แม้จะเป็นข้อความที่เป็นจริง ก็อาจมีความผิดได้ เพราะกฎหมายห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
นอกจากนี้ ในประเด็นเรื่องความเสียหาย....
ความ ผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญา ผลของการใส่ความจะเป็นการเสียหายต่อชื่อเสียง ทำให้ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ส่วนความเสียหายอื่นๆ นอกจากที่กฎหมายกำหนด เช่น เสียหายต่อทางทำมาหาได้ การใส่ความนั้นก็ไม่เป็นการหมิ่นประมาทในทางอาญาแต่เป็นหมิ่นประมาททางแพ่ง
ส่วน หมิ่นประมาทในทางแพ่ง กำหนดความเสียหายไว้กว้างกว่าทางอาญา พราะนอกจากความเสียหายต่อชื่อเสียงแล้ว ยังรวมถึงความเสียหายต่อทางทำมาหาได้ เกียรติคุณ หรือทางเจริญอีกด้วย
เช่น นาง ก. แม่ค้าขายหมูปิ้งได้กล่าวกับลูกค้าที่มาซื้อของตนว่าอย่าไปซื้อไก่ปิ้งของ นาย ข. เด็ดขาดเพราะนาย ข. ใช้ไก่ที่ตายด้วยโรคมาปิ้งขาย เช่นนี้ก็เป็นหมิ่นประมาททางแพ่งได้เพราะเป็นการเสียหายต่อทางทำมาหาได้ของ นาย ข. เป็นต้น
หมิ่นประมาท ต่างกับ ดูหมิ่น คือ
หมิ่นประมาทเป็นการใส่ความโดยยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างต่อบุคคลที่สาม ทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดในพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกกล่าวถึง
ส่วน การดูหมิ่นเป็นการกระทำด้วยประการใดๆอันเป็นการเหยียดหยามบุคคลอื่น ซึ่งไม่ถึงกับให้ผู้อื่นนั้นได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณ
ในกรณีหมิ่นประมาททางแพ่งนั้น การกล่าวหรือไขข่าวข้อความที่เป็นความจริง ไม่ถือเป็นละเมิด
และไม่เป็นหมิ่นประมาททางแพ่ง
++++++++++++++++++++++
แอบสงสัยความหมายของคำว่า...หมิ่น...
ไปหามา....เพิ่มเติมจาก
http://www.dtl-law.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5359415&Ntype=7
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)