สถานการณ์ทางเศรษฐกิจวันนี้ พูดได้เต็มปากว่า ถ้าธุรกิจเล็กๆ อยู่ไม่ได้ ที่ใหญ่ๆ ก็อย่าหวังเลยครับ เพราะทุกอย่างต้องโยงใยประสานกัน เหมือนฟันเฟืองที่ต้องช่วยกันขับเคลื่อน ตราบใดที่คนในระดับรากหญ้า ยังไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้ อุตสาหกรรมใหญ่ๆ ก็ไม่มีสิทธิ์กระโดดไปไหนได้เหมือนกัน
ถ้าจะปล่อยโอกาสไป ด้วยการเปลี่ยน “วิกฤติ” ให้เป็น “โอกาส” ต้องหลุดมือไปก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เพราะโอกาสที่ประเทศของเราจะฟื้นตัว มีสูงกว่าหลายๆ ประเทศนัก
การท่องเที่ยว การส่งออก ยังเป็นความหวังที่อยู่ไม่ไกลนัก ถ้าเราสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้กระเตื้องขึ้นมาได้ เพราะเรามีปัจจัยที่สำคัญ จะมาเอื้ออำนวยผลักดัน ช่วยให้สามารถฟันฝ่าพลิกผันสถานการณ์ที่ย่ำแย่นี้ไปได้
หากเป็นไปตามที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คาดการณ์ว่าครึ่งปีแรกของปีนี้ ประเทศไทยจะดำดิ่งสู่ความเจ็บปวดอย่างหนักหนาสาหัส จะมีคนงานที่เคยมีเงินเดือนไว้กินใช้ต้องตกงาน ไร้เงินเดือนมากถึง 1.63 ล้านคน
ถ้าคิดแบบคร่าวๆ ว่าคนที่ตกงาน 1.63 ล้านคน เคยได้เงินเฉลี่ย 10,000 บาทต่อเดือน เม็ดเงินที่เคยหมุนเวียนสร้างอัตราการขยายตัวจะหายไปจากระบบเศรษฐกิจไทย จากการตกงานของคนเหล่านี้ 16,300 ล้านบาท และถ้าคิดว่าเงินจำนวนนี้ที่เคยรับมาจ่ายไปหมุนยังส่วนต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจได้สัก 3 รอบ เม็ดเงินที่หายไปจะทวีคูณเป็น 50,000 ล้านบาท
นี่ยังไม่นับเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจไทยในปี 2552 นี้ ที่จะหายไปจากยอดขายสินค้าส่งออกที่คาดว่าจะลดลงประมาณ 200,000 ล้านบาท และรายรับจากการท่องเที่ยวซึ่งคาดกันว่าจะลดลง 140,000 ล้านบาท
ดังนั้น ในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลนี้ระบุว่าจะเห็นเป็นรูปธรรมในสิ้นเดือน มกราคมนี้ ในความคาดหวังของนักวิชาการและภาคเอกชน คือนอกจากจะต้องมีเงินพร้อมที่จะกดปุ่มจ่ายทันที
ไม่ใช่มาแค่ทำพิธีเปิดแพรคลุมป้ายเท่านั้น
จะต้องมีความชัดเจนของโครงการ มีกำหนดเวลาของการขับเคลื่อน รวมทั้งการติดตามงานอย่างชัดเจน แม้จะเป็นมาตรการประคับประคอง เพื่อการเยียวยา ลดความเจ็บปวดและเสียหายให้ลดเหลือน้อยที่สุดเท่านั้นก็ตาม
ขณะเดียวกัน ก็ต้องเร่งสร้างงานเพิ่มเสริมรายได้ให้กับประชาชน ในลักษณะโครงการที่อนุมัติได้เร็ว เริ่มก่อสร้างและทำงานได้เร็วและกระจายเม็ดเงินไปอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจาะกลุ่มผู้เดือดร้อน
ซึ่งหากมองย้อนกลับไป โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบตรงๆ ชัดๆ ลงไปยังชนบทและภาคที่ได้รับความเดือดร้อน ประเทศไทยของเราก็ทำมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว ในหลายรัฐบาล
ต้องมาดูว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เคยทำกันมา อาจจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป แค่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ บรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า
ครั้งแรกสมัยนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จัดสรรงบกว่า 2,500 ล้านบาท ทำโครงการที่โด่งดังที่สุดโครงการหนึ่ง "เงินผัน" ว่าจ้างแรงงานในท้องถิ่น
ครั้งที่ 2 ยุค พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ โครงการสร้างงานในชนบท
ครั้งที่ 3 ยุค พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยโครงการสร้างงานภาคฤดูร้อน
ครั้งที่ 4 โครงการมิยาซาว่ายุค นายชวน หลีกภัย
ล่าสุดรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กองทุนหมู่บ้านและเอสเอ็มแอล
เชื่อว่า รัฐบาลนี้คงจะศึกษาข้อดี ข้อด้อย และจุดรั่วไหลของโครงการเหล่านี้เป็นอย่างดีแล้ว รวมทั้งได้ ขอคำแนะนำจากผู้รู้เรื่องดีที่ทั้งคนที่เคยทำและคนที่เคยติดตามตรวจสอบแล้ว นำมาปรับปรุงต่อยอดให้สามารถสร้างงาน วางรากฐานประเทศ และลดผลกระทบจากวิกฤติไปพร้อมๆ กัน
ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี
จึงไม่แปลกที่คนในภาคอุตสาหกรรม อย่าง นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ต้องการให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ใช้นโยบาย “ยาแรง” ในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะการนำเงินกระตุ้นระดับ “รากหญ้า” ให้ถึงชาวบ้านโดยเร็ว
เพื่อให้เกิดการจ้างงานในระดับท้องถิ่น
สำหรับเม็ดเงินที่ลงสู่รากหญ้านั้น รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขกฎระเบียบให้ง่ายต่อการเบิกจ่าย และต้องให้ท้องถิ่นนำเงินมาใช้ในการจ้างงานคล้ายกับงบมิยาซาว่าเดิม แต่รัฐต้องปรับปรุงประสิทธิ ภาพให้มากขึ้น แบ่งเป็นนำมาเป็นค่าจ้างชั่วคราวแก่นักศึกษาจบใหม่หรือผู้ที่ว่างงานให้กับ องค์กรระดับท้องถิ่น เช่น พนักงานการพัฒนาท้องถิ่น บัญชี การวิจัย การอบรมวิชาชีพแก่ชาวบ้าน เป็นต้น โดยอาจเป็นการจ้างงานระยะสั้น 6 เดือน-1 ปี เพราะเชื่อว่าในครึ่งปีหลังเศรษฐกิจโลกและบริษัทหลายแห่งสามารถวางแผนขยาย กิจการต่อไปได้
ขณะที่ส่วนหนึ่งก็ส่งเสริมท้องถิ่นให้ก่อสร้างโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน เช่น
สร้างถนน พัฒนาพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งจะช่วยผู้ประกอบการและแรงงานระดับล่าง หรือ โครง การจ้างงานบัณฑิตใหม่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้มาแล้ว
ส่วนภาคธุรกิจนั้น รัฐบาลต้องหามาตรการช่วยเหลือให้ได้ในช่วงของครึ่งปีแรกไม่ให้ บริษัทปิดกิจการหรือลดคนงานมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องขาดสภาพคล่องและยอดคำสั่งซื้อที่ลดลง
แต่หากประคองกิจการได้อีก 6 เดือน เชื่อว่าทุกอย่างจะเริ่มดีขึ้น
เช่นเดียวกับ นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ที่กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไทยรอการกระตุ้นจากงบกลาง 1 แสนล้านบาท หากเม็ดเงินลงสู่ระบบได้ในเดือนเมษายน 2552 จะส่งผลให้เกิดการบริโภคและผู้ประกอบการทั้งขนาดใหญ่และเอสเอ็มอีสามารถ จำหน่ายสินค้าได้ รวมทั้งทำให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานตามมา
การจะฟันฝ่าสถานการณ์ที่ย่ำแย่ในวันนี้ไปได้ คนไทยทุกคนต้องช่วยกันครับ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ
กลางปีนี้ ประเทศไทยซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางพระพุทธศาสนา จะมีงานใหญ่เฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสากลสำคัญของโลก จะมี 70 ประเทศมาร่วม ระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2552 จะพิสูจน์ถึงความสมานฉันท์ ถ้าคนไทยยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธองค์ บ้านเมืองมีสันติสุข ก็จะเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาประเทศได้เป็นอย่างดี เป็นการช่วยชาติบ้านเมืองอีกทางหนึ่ง
แต่ที่ยังป็นห่วงกันมาก นอกจากผลกระทบจากต่างประเทศแล้ว ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในปี 2552 คือ “การเมือง” จากการแตกแยก แบ่งสี แบ่งขั้ว ทั้งๆ ที่ทุกคนร้อง “เพลงชาติ” เพลงเดียวกัน ที่มีเนื้อร้องระบุไว้ชัดว่า “รักสามัคคี”
ถ้าความขัดแย้งยังมีอยู่ ย่อมส่งผลให้รัฐบาลไม่สามารทำอะไรได้อย่างเต็มที่ ไม่สามารถทำได้อย่างที่คิดไว้ โอกาสที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวมีสิทธิ์ติดลบก็มีมากขึ้นเช่นเดียวกัน เรื่องนี้ยังน่าเป็นห่วงครับ
ที่น่าห่วงพอๆ กัน คือ “ม็อบพันธมาร” ตัวการทำลายเศรษฐกิจ จนวันนี้ยังโงหัวไม่ขึ้นทำลายความน่าเชื่อถือและเกียรติภูมิของประเทศเสีย หายย่อยยับ กับรัฐบาล “ประชาธิปัตย์” ที่เข้ามาฟื้นฟูกอบกู้ ดูแล้วมันแยกกันไม่ออกครับ
การที่พรรคประชาธิปัตย์ ดึงเอา ส.ส. สอบตก ที่เป็นหัวหอกสำคัญของ “ม็อบพันธมาร” มานั่งเป็นที่ปรึกษา มามีตำแหน่งแห่งที่ในรัฐบาล ถือเป็นการตบหน้าคนไทยทั้งชาติฉาดใหญ่ เรื่องนี้ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ
ถ้าจะปล่อยโอกาสไป ด้วยการเปลี่ยน “วิกฤติ” ให้เป็น “โอกาส” ต้องหลุดมือไปก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เพราะโอกาสที่ประเทศของเราจะฟื้นตัว มีสูงกว่าหลายๆ ประเทศนัก
การท่องเที่ยว การส่งออก ยังเป็นความหวังที่อยู่ไม่ไกลนัก ถ้าเราสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้กระเตื้องขึ้นมาได้ เพราะเรามีปัจจัยที่สำคัญ จะมาเอื้ออำนวยผลักดัน ช่วยให้สามารถฟันฝ่าพลิกผันสถานการณ์ที่ย่ำแย่นี้ไปได้
หากเป็นไปตามที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คาดการณ์ว่าครึ่งปีแรกของปีนี้ ประเทศไทยจะดำดิ่งสู่ความเจ็บปวดอย่างหนักหนาสาหัส จะมีคนงานที่เคยมีเงินเดือนไว้กินใช้ต้องตกงาน ไร้เงินเดือนมากถึง 1.63 ล้านคน
ถ้าคิดแบบคร่าวๆ ว่าคนที่ตกงาน 1.63 ล้านคน เคยได้เงินเฉลี่ย 10,000 บาทต่อเดือน เม็ดเงินที่เคยหมุนเวียนสร้างอัตราการขยายตัวจะหายไปจากระบบเศรษฐกิจไทย จากการตกงานของคนเหล่านี้ 16,300 ล้านบาท และถ้าคิดว่าเงินจำนวนนี้ที่เคยรับมาจ่ายไปหมุนยังส่วนต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจได้สัก 3 รอบ เม็ดเงินที่หายไปจะทวีคูณเป็น 50,000 ล้านบาท
นี่ยังไม่นับเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจไทยในปี 2552 นี้ ที่จะหายไปจากยอดขายสินค้าส่งออกที่คาดว่าจะลดลงประมาณ 200,000 ล้านบาท และรายรับจากการท่องเที่ยวซึ่งคาดกันว่าจะลดลง 140,000 ล้านบาท
ดังนั้น ในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลนี้ระบุว่าจะเห็นเป็นรูปธรรมในสิ้นเดือน มกราคมนี้ ในความคาดหวังของนักวิชาการและภาคเอกชน คือนอกจากจะต้องมีเงินพร้อมที่จะกดปุ่มจ่ายทันที
ไม่ใช่มาแค่ทำพิธีเปิดแพรคลุมป้ายเท่านั้น
จะต้องมีความชัดเจนของโครงการ มีกำหนดเวลาของการขับเคลื่อน รวมทั้งการติดตามงานอย่างชัดเจน แม้จะเป็นมาตรการประคับประคอง เพื่อการเยียวยา ลดความเจ็บปวดและเสียหายให้ลดเหลือน้อยที่สุดเท่านั้นก็ตาม
ขณะเดียวกัน ก็ต้องเร่งสร้างงานเพิ่มเสริมรายได้ให้กับประชาชน ในลักษณะโครงการที่อนุมัติได้เร็ว เริ่มก่อสร้างและทำงานได้เร็วและกระจายเม็ดเงินไปอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจาะกลุ่มผู้เดือดร้อน
ซึ่งหากมองย้อนกลับไป โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบตรงๆ ชัดๆ ลงไปยังชนบทและภาคที่ได้รับความเดือดร้อน ประเทศไทยของเราก็ทำมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว ในหลายรัฐบาล
ต้องมาดูว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เคยทำกันมา อาจจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป แค่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ บรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า
ครั้งแรกสมัยนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จัดสรรงบกว่า 2,500 ล้านบาท ทำโครงการที่โด่งดังที่สุดโครงการหนึ่ง "เงินผัน" ว่าจ้างแรงงานในท้องถิ่น
ครั้งที่ 2 ยุค พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ โครงการสร้างงานในชนบท
ครั้งที่ 3 ยุค พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยโครงการสร้างงานภาคฤดูร้อน
ครั้งที่ 4 โครงการมิยาซาว่ายุค นายชวน หลีกภัย
ล่าสุดรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กองทุนหมู่บ้านและเอสเอ็มแอล
เชื่อว่า รัฐบาลนี้คงจะศึกษาข้อดี ข้อด้อย และจุดรั่วไหลของโครงการเหล่านี้เป็นอย่างดีแล้ว รวมทั้งได้ ขอคำแนะนำจากผู้รู้เรื่องดีที่ทั้งคนที่เคยทำและคนที่เคยติดตามตรวจสอบแล้ว นำมาปรับปรุงต่อยอดให้สามารถสร้างงาน วางรากฐานประเทศ และลดผลกระทบจากวิกฤติไปพร้อมๆ กัน
ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี
จึงไม่แปลกที่คนในภาคอุตสาหกรรม อย่าง นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ต้องการให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ใช้นโยบาย “ยาแรง” ในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะการนำเงินกระตุ้นระดับ “รากหญ้า” ให้ถึงชาวบ้านโดยเร็ว
เพื่อให้เกิดการจ้างงานในระดับท้องถิ่น
สำหรับเม็ดเงินที่ลงสู่รากหญ้านั้น รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขกฎระเบียบให้ง่ายต่อการเบิกจ่าย และต้องให้ท้องถิ่นนำเงินมาใช้ในการจ้างงานคล้ายกับงบมิยาซาว่าเดิม แต่รัฐต้องปรับปรุงประสิทธิ ภาพให้มากขึ้น แบ่งเป็นนำมาเป็นค่าจ้างชั่วคราวแก่นักศึกษาจบใหม่หรือผู้ที่ว่างงานให้กับ องค์กรระดับท้องถิ่น เช่น พนักงานการพัฒนาท้องถิ่น บัญชี การวิจัย การอบรมวิชาชีพแก่ชาวบ้าน เป็นต้น โดยอาจเป็นการจ้างงานระยะสั้น 6 เดือน-1 ปี เพราะเชื่อว่าในครึ่งปีหลังเศรษฐกิจโลกและบริษัทหลายแห่งสามารถวางแผนขยาย กิจการต่อไปได้
ขณะที่ส่วนหนึ่งก็ส่งเสริมท้องถิ่นให้ก่อสร้างโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน เช่น
สร้างถนน พัฒนาพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งจะช่วยผู้ประกอบการและแรงงานระดับล่าง หรือ โครง การจ้างงานบัณฑิตใหม่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้มาแล้ว
ส่วนภาคธุรกิจนั้น รัฐบาลต้องหามาตรการช่วยเหลือให้ได้ในช่วงของครึ่งปีแรกไม่ให้ บริษัทปิดกิจการหรือลดคนงานมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องขาดสภาพคล่องและยอดคำสั่งซื้อที่ลดลง
แต่หากประคองกิจการได้อีก 6 เดือน เชื่อว่าทุกอย่างจะเริ่มดีขึ้น
เช่นเดียวกับ นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ที่กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไทยรอการกระตุ้นจากงบกลาง 1 แสนล้านบาท หากเม็ดเงินลงสู่ระบบได้ในเดือนเมษายน 2552 จะส่งผลให้เกิดการบริโภคและผู้ประกอบการทั้งขนาดใหญ่และเอสเอ็มอีสามารถ จำหน่ายสินค้าได้ รวมทั้งทำให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานตามมา
การจะฟันฝ่าสถานการณ์ที่ย่ำแย่ในวันนี้ไปได้ คนไทยทุกคนต้องช่วยกันครับ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ
กลางปีนี้ ประเทศไทยซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางพระพุทธศาสนา จะมีงานใหญ่เฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสากลสำคัญของโลก จะมี 70 ประเทศมาร่วม ระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2552 จะพิสูจน์ถึงความสมานฉันท์ ถ้าคนไทยยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธองค์ บ้านเมืองมีสันติสุข ก็จะเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาประเทศได้เป็นอย่างดี เป็นการช่วยชาติบ้านเมืองอีกทางหนึ่ง
แต่ที่ยังป็นห่วงกันมาก นอกจากผลกระทบจากต่างประเทศแล้ว ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในปี 2552 คือ “การเมือง” จากการแตกแยก แบ่งสี แบ่งขั้ว ทั้งๆ ที่ทุกคนร้อง “เพลงชาติ” เพลงเดียวกัน ที่มีเนื้อร้องระบุไว้ชัดว่า “รักสามัคคี”
ถ้าความขัดแย้งยังมีอยู่ ย่อมส่งผลให้รัฐบาลไม่สามารทำอะไรได้อย่างเต็มที่ ไม่สามารถทำได้อย่างที่คิดไว้ โอกาสที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวมีสิทธิ์ติดลบก็มีมากขึ้นเช่นเดียวกัน เรื่องนี้ยังน่าเป็นห่วงครับ
ที่น่าห่วงพอๆ กัน คือ “ม็อบพันธมาร” ตัวการทำลายเศรษฐกิจ จนวันนี้ยังโงหัวไม่ขึ้นทำลายความน่าเชื่อถือและเกียรติภูมิของประเทศเสีย หายย่อยยับ กับรัฐบาล “ประชาธิปัตย์” ที่เข้ามาฟื้นฟูกอบกู้ ดูแล้วมันแยกกันไม่ออกครับ
การที่พรรคประชาธิปัตย์ ดึงเอา ส.ส. สอบตก ที่เป็นหัวหอกสำคัญของ “ม็อบพันธมาร” มานั่งเป็นที่ปรึกษา มามีตำแหน่งแห่งที่ในรัฐบาล ถือเป็นการตบหน้าคนไทยทั้งชาติฉาดใหญ่ เรื่องนี้ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น