4. เด็กติดเกม
ประเทศไทยเป็นแชมป์อันดับ 2 ของเอเชียในการเสพเกมออนไลน์ เหตุการณ์ที่เป็นที่ฮือฮาที่สุดคือ เด็ก ม.6 ฆ่าแท็กซี่โดยอ้างว่าเลียนแบบเกม GTA ถือว่าเป็นการก่ออาชญากรรมที่ร้ายแรงโดยผู้ก่อเหตุนั้นเป็นเด็กชายวัย 18 ปี ทำให้นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็มีการพยายามแก้ไขปัญหาของหน่วยงานต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ความคิดเห็นสะท้อนเรื่องเกม GTA ของเด็กชายวัย 8 ขวบให้ความเห็นว่าอยากทำให้ได้เหมือนในเกมเพราะอยากได้อะไรก็จะได้ตามนั้น ส่วนข่าวอื่นๆ ที่มีมาเป็นระยะก็คือการลักทรัพย์เพื่อนำเงินมาเล่นเกมออนไลน์ โดยเหตุการณ์ที่มีผู้ก่อเหตุอายุน้อยที่สุด คือ เด็ก ป.6 โดนจับคดีลักทรัพย์เพื่อนำเงินที่ได้มาเล่นเกม
ข้อมูลจากโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนา สังคมไทยพบว่าร้านเกมคาเฟ่ที่จดทะเบียนในไทยมี 23,000 ร้าน หากประมาณว่าในแต่ละร้านมี 15 เครื่อง นั่นหมายความว่าในแต่ละชั่วโมงมีโอกาสที่เด็กใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่าง น้อย 345,000 เครื่อง เท่ากับว่าโอกาสที่เด็กๆ จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ชั่วโมงละ 345,000 คน แต่ในความเป็นจริงพบว่า เวลาที่เด็กเข้าไปใช้บริการในร้านเกมคาเฟ่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เข้าไปเพื่อเล่นเกม และในบรรดาเกมคอมพิวเตอร์ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ใน 10 อันดับแรก ส่วนใหญ่เป็นเกมที่เน้นการใช้ความรุนแรง เช่น การยิง การต่อสู้ น้อยมากที่จะพบเกมที่ฝึกทักษะในการวางแผนหรือฝึกด้านทักษะชีวิต รวมไปถึงเกมที่ฝึกความชำนาญในอาชีพต่างๆ
10 อันดับแรกที่ได้รับความนิยมในกลุ่มเกมออนไลน์ คือ
1. Audition
2. Special Force
3. DOT-A
4. Luna Online
5. Pucca Racing
6. Freestyle Casual
7. Cabal Online
8. Ragnarok Online
9. Perfect World
10. Hip Street
5 อันดับแรกที่ได้รับความนิยมในกลุ่มเกมแบบออฟไลน์ คือ
1. Pro Evolution Soccer
2. Need for Speed
3. Prostreet
4. Grand theft auto 2
5. Red alert
(ข้อมูลจาก โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ)
สถิติคนหายเนื่องจากติดเกมจากศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา พบว่าในปีที่ผ่านมามีเด็กหายไปจำนวน 9 ราย สามารถติดตามกลับมาได้ 5 ราย และกำลังดำเนินการอยู่ 4 ราย
แนวโน้มของสถานการณ์ภัยเทคโนโลยีในปี 2552
เรื่องที่น่าจับตามองก็คือ คลิปหลุดและคลิปแอบถ่าย Hi5 แชต แชตไลน์ เนื่องจากมีสถิติการใช้งานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงหลังพบว่ามีการเปิดให้บริการทางโทรศัพท์หลากหลายรูปแบบ ซึ่งอาจจะเป็นการนำไปสู่การล่อลวงได้เช่นเดียวกับกรณีแชตไลน์ 1900 อีกด้วย
และศูนย์เฝ้าระวังภัยเทคโนโลยี (IT WATCH) มีสิ่งที่อยากจะย้ำเตือนเด็กๆ ในปี 2552 คือ การรู้จักระวังภัยเทคโนโลยีที่จะเข้าถึงตัว แต่ก่อนนั้นภัยอาจจะเข้าถึงตัวเราได้เพราะการเจตนาปองร้ายจากผู้อื่น แต่ปัจจุบันการใช้อินเตอร์เน็ตบางครั้งก็ต้องระบุข้อมูลส่วนตัวลงไปด้วยอีก ทั้งยังมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้คนอีกมากมาย ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ภัยเข้าถึงตัวเราได้ง่ายขึ้น ดังนั้นควรรู้จักระมัดระวังการให้ข้อมูลส่วนตัวและอย่าไว้วางใจใครง่ายๆ สำหรับผู้ใหญ่หรือองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อย่าให้เป็นเพียงการแก้ไขสถานการณ์เมื่อเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กตกเป็นเหยื่ออีก ควรร่วมกันหาแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาและเฝ้าระวังภัยทางเทคโนโลยีตั้งแต่ เนิ่นๆ และอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากผู้ใหญ่และหน่วยงานแล้ว เว็บไซต์ต่างๆ ที่มีการให้บริการเกี่ยวกับคลิปหลุดและคลิปแอบถ่ายควรระงับพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งมีเด็กตกเป็นเหยื่ออยู่รายหลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น