ตลอด 5 ปีที่เมฆหมอกแห่งความไม่สงบปกคลุมจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ครูในฐานะ "สัญลักษณ์ของรัฐ แต่ไม่มีอาวุธ" ต้องเผชิญกับแรงกดดันด้านอื่นๆ อีกมากมาย นอกเหนือจากการตกเป็นเป้าประทุษร้ายรายวัน
ยังมีครูอีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่กลุ่มผู้ไม่หวังดี บังคับพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ให้ส่งบุตรหลานไปโรงเรียนของรัฐบาล ทำให้ "ครู" ไม่อาจทำหน้าที่ "ครู" ได้ดังที่ตั้งใจ
ดังเช่นที่ โรงเรียนบ้านปะกาลือสง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่งในช่วงกลางปี 2550-2551 ครูที่นั่นไม่ได้สอนหนังสือเพราะไม่มีนักเรียนมาเรียนเป็นเวลากว่า 1 ปี...
เหตุการณ์ที่ทำให้โรงเรียนบ้านปะกาลือสงเผชิญกับเรื่องร้ายๆ เช่นนั้น เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2550 มีชาวบ้านปะกาลือสงประมาณ 300 คนรวมตัวกันประท้วงขับไล่กองร้อยทหารพรานที่ 4305 ซึ่งมี ร.อ.นิรันดร์ ไชยสาลี เป็นผู้บังคับกองร้อย ให้ถอนกำลังออกจากพื้นที่ไป โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้จับ จ.ส.อ.ปรีชา ปานสิทธิ์ เป็นตัวประกัน และเกิดการแย่งชิงตัวประกันขึ้น กระทั่งกลุ่มชาวบ้านได้ยอมสลายการชุมนุม
จากนั้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2550 มีกลุ่มผู้ไม่หวังดีแต่งกายคล้ายทหารออกข่มขู่และทำร้ายเด็กนักเรียนด้วยการ เขกศีรษะและหยิก ข่มขู่ผู้ปกครองและเด็กนักเรียนโดยวิธีตระเวนเคาะประตูบ้านเพื่อห้ามไม่ให้ ส่งลูกหลานไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน เพื่อเป็นการสร้างเงื่อนไขต่อรองให้หน่วยทหารออกจากพื้นที่
ช่วงนั้น "ครู" ยังคงทำหน้าที่เดินทางมาสอนหนังสือตามปกติ แต่ที่โรงเรียนกลับเหลือนักเรียนไม่ถึง 10% จนในที่สุดก็ไม่สามารถทำการเรียนการสอนต่อไปได้
เมื่อโรงเรียนบ้านปะกาลือสงไม่มีนักเรียนมาเรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีจึงสั่งการไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ปัตตานีเขต 1 ให้ปิดโรงเรียน และให้นักเรียนที่ไม่มีที่เรียนเข้าเรียนยังโรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียงแทน เช่น ใน ต.ตุยง อ.หนองจิก พร้อมๆ กับกระจายครูไปช่วยราชการยังโรงเรียนต่างๆ
ต่อมาเมื่อ นายฮาเล็ง แวสุหลง อดีตครูโรงเรียนตาดีกา มัสยิดบ้านตากอง บ้านย่อยของบ้านปะกาลือสง และอดีตอุสตาซโรงเรียนศาสน์สามัคคี ซึ่งเป็นแกนนำและผู้ปฏิบัติการคนสำคัญที่เคลื่อนไหวในพื้นที่บ้านปะกาลือสง ได้ก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองปัตตานี และถูกเจ้าหน้าที่ยิงเสียชีวิต รวมทั้งแกนนำคนอื่นๆ ถูกจับกุมและพากันหลบหนีออกจากพื้นที่ ทำให้หลายหน่วยงานจับเข่าคุยกันเพื่อคิดและหาทางแก้ไขปัญหา
เริ่มจากการจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปพัฒนาความสัมพันธ์และร่วมกิจกรรมกับผู้นำ ท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครองนักเรียน เด็กนักเรียน กลุ่มสตรี และประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อสร้างความเข้าใจ สร้างศรัทธา การยอมรับ จนนำไปสู่การร่วมกันพัฒนาแบบมีส่วนร่วม จนได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านมากขึ้นในทุกๆ ด้าน มีการพัฒนาหมู่บ้าน ปรับปรุงโรงเรียน ห้องเรียน สนามเด็กเล่น และจัดตั้งกลุ่มสตรี
พล.ต.ธวัชชัย สมุทรสาคร ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจปัตตานีในขณะนั้น ได้หารือกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานีเขต 1 เพื่อเปิดโรงเรียนบ้านปะกาลือสงอีกครั้งเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 โดยหน่วยเฉพาะกิจปัตตานีได้ให้การสนับสนุนกิจกรรมและการพัฒนาในหมู่บ้าน เช่น การจัดชุดหมอเดินเท้าเข้าไปพบปะเพื่อให้การรักษาเบื้องต้นแก่พี่น้องประชาชน การจัดชุดช่างซ่อมแซม และเข้าร่วมงานประเพณีต่างๆ ของหมู่บ้าน
เมื่อได้โรงเรียนกลับคืนมาและพร้อมเปิดห้องหับแห่งวิชาความรู้อีกครั้ง พ่อแม่ผู้ปกครองจึงพากันย้ายลูกหลานกลับมา และ "ครู" ก็หวนคืนมาทำหน้าที่อย่างเต็มใจดังเดิม
อรอนงค์ ไชยนรินทร์ หรือ ครูแอ๋ว ที่กว่าครึ่งชีวิตเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนบ้านปะกาลือสง เล่าให้ฟังถึงห้วงเวลาแห่งวิกฤติว่า จริงๆ แล้วครูทุกคนของโรงเรียนยังทำหน้าที่อย่างเต็มใจ ครูไปโรงเรียนทุกวันเพื่อรอคอยเด็กมาเรียน เมื่อหมอกควันร้ายมลายหายไป โรงเรียนเปิดอีกที ครูก็กลับมาที่โรงเรียนเพื่อสอนเด็กอีกครั้ง
“ตอนนี้เด็กกลับเข้ามาเรียนกว่า 60 คนแล้ว จากทั้งหมด 200 กว่าคน ผู้ปกครองก็เข้าใจ เริ่มย้ายลูกหลานกลับมา เพราะที่นี่เป็นโรงเรียนในชุมชน ไม่ต้องลำบากไปรับส่งโรงเรียนอื่นซึ่งไกลบ้านมากกว่า ที่ผ่านมาพ่อแม่ผู้ปกครองบอกเราว่า เขาถูกบังคับจากผู้ไม่ประสงค์ดีไม่ให้ส่งลูกหลานมาโรงเรียน และต้องย้ายไปเรียนที่อื่น ทำให้ลำบากหลายเรื่อง เพราะพี่น้องที่นี่ส่วนใหญ่ยากจนและมีอาชีพรับจ้าง แต่ถ้าเขาไม่ทำตามกลุ่มผู้ไม่หวังดี ชีวิตของพวกเขาอาจไม่ปลอดภัย"
ครูแอ๋ว บอกว่า ที่ผ่านมาในปะกาลือสงยังมีเหตุการณ์ร้ายอยู่ตลอด แต่ก็คิดเพียงว่าเราก็ทำหน้าที่ของเรา และทำให้ดีที่สุด
“ชาวบ้านมาบอกว่าครูอย่าไปยุ่ง ช่วงนี้ก็มีชาวบ้านมาเตือนเหมือนกันว่าเขาจะทำร้ายครูพุทธ แต่ฉันคิดว่าถ้าเขาจะทำคงทำไปนานแล้ว”
ครูแอ๋วเป็นคนหนองจิกโดยกำเนิด พี่น้องและครอบครัวอยู่ที่นี่ เธอจึงไม่คิดย้ายหนีไปไหน 23 ปีของการทำหน้าที่ "เรือจ้าง" ไม่ได้ทำให้ครูแอ๋วท้อแท้แม้จะเกิดเหตุการณ์ร้ายๆ ขึ้นบ้าง เธอบอกว่าหากอะไรจะเกิด ใครก็คงไปห้ามไม่ได้
“สอนมานานจนรู้จักพื้นที่ รู้จักคน แม้จะไม่ค่อยรู้ใจ ครอบครัวก็อยู่ที่นี่ ถึงย้ายไปสอนที่อื่นเราก็เป็นครูพุทธเหมือนเดิม จะไปเปลี่ยนคงไม่ได้ ถามว่ากลัวไหม ความรู้สึกคือมันข้ามพ้นความกลัวไปแล้ว ที่ผ่านมาครูของโรงเรียนยังไม่มีใครถูกทำร้าย อาจมีครูที่อื่นรอบนอกโดนบ้าง อยู่ที่ดวงใครจะโดนมากกว่า ซึ่งครูที่ถูกทำร้ายมีครูมุสลิมไม่น้อยเหมือนกันที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ จึงไม่รู้ว่าคนที่ก่อเหตุมีจุดประสงค์อะไรกันแน่”
ครูแอ๋วบอกว่าตัวเธอเองก็เคยผ่านประสบการณ์ "เฉียดตาย" มาแล้วเหมือนกัน
“ตอนนั้นขี่รถกับน้องคือครูอ้อย สอนโรงเรียนเดียวกัน กำลังขี่มอเตอร์ไซค์กลับบ้าน สักพักก็มีชายสองคนขี่รถตีคู่มา ฉันเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติ พอรถแล่นผ่านหน้าบ้านชาวบ้านคนหนึ่งซึ่งเขายืนอยู่หน้าบ้านพอดี ชาวบ้านคนนั้นตะโกนถามชายสองคนที่ขี่รถตามมาว่าจะทำอะไร เมื่อหันไปมองคนบนรถจึงจำได้ว่าเป็นลูกศิษย์ ฉันจึงทักทาย แต่เขากลับเลี้ยวรถหลบไป วันนั้นถ้าชาวบ้านไม่ตะโกนเพราะเห็นผิดสังเกต ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าฉันกับน้องสาวจะมีชีวิตรอดหรือไม่”
“ทุกวันนี้ก็ได้แต่ระวังตัวตามปกติ แต่เจ้าหน้าที่ทหารก็เข้ามาดูแลอย่างดี มีป้อมยามหน้าโรงเรียนและในโรงเรียน มีสนามเด็กเล่นให้เด็กได้สนุกสนาน มีโครงการเศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงปลาดุก ปลูกผัก เลี้ยงไก่ เพาะเห็ด มีกิจกรรมร่วมกันทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และเจ้าหน้าที่ เมื่อทหารมาออกหน่วยแพทย์หรือมีกิจกรรมที่มัสยิด ก็จะพานักเรียนไปร่วมกิจกรรม วันเด็กที่จะถึงนี้ก็มีโครงการพาเด็กไปเที่ยวด้วย”
ครูแอ๋ว แย้มถึงคติประจำใจของเธอ เพื่อทำภารกิจให้บรรลุตามเป้าหมายแม้จะต้องเผชิญหน้ากับความรุนแรง
“หน้าที่ของเราคือสอนหนังสือ ถ้าไปเครียดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเราก็อยู่ไม่ได้ โรคเครียดจะถามหาเสียก่อน แน่นอนว่าคงดีกว่าถ้าไม่มีเรื่องร้ายๆ อะไรเกิดขึ้นเลย แต่ในเมื่อมันไม่เป็นอย่างนั้น เราก็ไม่ต้องไปเครียดตาม”
ครูแอ๋ว เผยความตั้งใจด้วยว่า จะเป็นครูไปตลอดชีวิต จนกว่าจะครบเกษียณ
“ฉันคงเป็นครูไปจนกว่าจะเกษียณ เพราะครอบครัวญาติพี่น้องอยู่ที่นี่ ตอนนี้สอนชั้นอนุบาล มีความสุขกับเด็กๆ เด็กเล็กสอนง่ายกว่าเด็กโต เขาไร้เดียงสาและบริสุทธิ์ อยู่ที่ใครจะใส่เรื่องอะไรให้เขาได้จดจำ ฉันคงไม่ไปไหนแล้ว ไม่อยากไปเริ่มต้นใหม่ที่อื่นอีกแล้ว”
เป็นอีกหนึ่งความในใจของครูกับการทำหน้าที่ "เรือจ้าง" กลางคลื่นความรุนแรง
ยังมีครูอีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่กลุ่มผู้ไม่หวังดี บังคับพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ให้ส่งบุตรหลานไปโรงเรียนของรัฐบาล ทำให้ "ครู" ไม่อาจทำหน้าที่ "ครู" ได้ดังที่ตั้งใจ
ดังเช่นที่ โรงเรียนบ้านปะกาลือสง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่งในช่วงกลางปี 2550-2551 ครูที่นั่นไม่ได้สอนหนังสือเพราะไม่มีนักเรียนมาเรียนเป็นเวลากว่า 1 ปี...
เหตุการณ์ที่ทำให้โรงเรียนบ้านปะกาลือสงเผชิญกับเรื่องร้ายๆ เช่นนั้น เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2550 มีชาวบ้านปะกาลือสงประมาณ 300 คนรวมตัวกันประท้วงขับไล่กองร้อยทหารพรานที่ 4305 ซึ่งมี ร.อ.นิรันดร์ ไชยสาลี เป็นผู้บังคับกองร้อย ให้ถอนกำลังออกจากพื้นที่ไป โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้จับ จ.ส.อ.ปรีชา ปานสิทธิ์ เป็นตัวประกัน และเกิดการแย่งชิงตัวประกันขึ้น กระทั่งกลุ่มชาวบ้านได้ยอมสลายการชุมนุม
จากนั้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2550 มีกลุ่มผู้ไม่หวังดีแต่งกายคล้ายทหารออกข่มขู่และทำร้ายเด็กนักเรียนด้วยการ เขกศีรษะและหยิก ข่มขู่ผู้ปกครองและเด็กนักเรียนโดยวิธีตระเวนเคาะประตูบ้านเพื่อห้ามไม่ให้ ส่งลูกหลานไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน เพื่อเป็นการสร้างเงื่อนไขต่อรองให้หน่วยทหารออกจากพื้นที่
ช่วงนั้น "ครู" ยังคงทำหน้าที่เดินทางมาสอนหนังสือตามปกติ แต่ที่โรงเรียนกลับเหลือนักเรียนไม่ถึง 10% จนในที่สุดก็ไม่สามารถทำการเรียนการสอนต่อไปได้
เมื่อโรงเรียนบ้านปะกาลือสงไม่มีนักเรียนมาเรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีจึงสั่งการไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ปัตตานีเขต 1 ให้ปิดโรงเรียน และให้นักเรียนที่ไม่มีที่เรียนเข้าเรียนยังโรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียงแทน เช่น ใน ต.ตุยง อ.หนองจิก พร้อมๆ กับกระจายครูไปช่วยราชการยังโรงเรียนต่างๆ
ต่อมาเมื่อ นายฮาเล็ง แวสุหลง อดีตครูโรงเรียนตาดีกา มัสยิดบ้านตากอง บ้านย่อยของบ้านปะกาลือสง และอดีตอุสตาซโรงเรียนศาสน์สามัคคี ซึ่งเป็นแกนนำและผู้ปฏิบัติการคนสำคัญที่เคลื่อนไหวในพื้นที่บ้านปะกาลือสง ได้ก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองปัตตานี และถูกเจ้าหน้าที่ยิงเสียชีวิต รวมทั้งแกนนำคนอื่นๆ ถูกจับกุมและพากันหลบหนีออกจากพื้นที่ ทำให้หลายหน่วยงานจับเข่าคุยกันเพื่อคิดและหาทางแก้ไขปัญหา
เริ่มจากการจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปพัฒนาความสัมพันธ์และร่วมกิจกรรมกับผู้นำ ท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครองนักเรียน เด็กนักเรียน กลุ่มสตรี และประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อสร้างความเข้าใจ สร้างศรัทธา การยอมรับ จนนำไปสู่การร่วมกันพัฒนาแบบมีส่วนร่วม จนได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านมากขึ้นในทุกๆ ด้าน มีการพัฒนาหมู่บ้าน ปรับปรุงโรงเรียน ห้องเรียน สนามเด็กเล่น และจัดตั้งกลุ่มสตรี
พล.ต.ธวัชชัย สมุทรสาคร ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจปัตตานีในขณะนั้น ได้หารือกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานีเขต 1 เพื่อเปิดโรงเรียนบ้านปะกาลือสงอีกครั้งเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 โดยหน่วยเฉพาะกิจปัตตานีได้ให้การสนับสนุนกิจกรรมและการพัฒนาในหมู่บ้าน เช่น การจัดชุดหมอเดินเท้าเข้าไปพบปะเพื่อให้การรักษาเบื้องต้นแก่พี่น้องประชาชน การจัดชุดช่างซ่อมแซม และเข้าร่วมงานประเพณีต่างๆ ของหมู่บ้าน
เมื่อได้โรงเรียนกลับคืนมาและพร้อมเปิดห้องหับแห่งวิชาความรู้อีกครั้ง พ่อแม่ผู้ปกครองจึงพากันย้ายลูกหลานกลับมา และ "ครู" ก็หวนคืนมาทำหน้าที่อย่างเต็มใจดังเดิม
อรอนงค์ ไชยนรินทร์ หรือ ครูแอ๋ว ที่กว่าครึ่งชีวิตเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนบ้านปะกาลือสง เล่าให้ฟังถึงห้วงเวลาแห่งวิกฤติว่า จริงๆ แล้วครูทุกคนของโรงเรียนยังทำหน้าที่อย่างเต็มใจ ครูไปโรงเรียนทุกวันเพื่อรอคอยเด็กมาเรียน เมื่อหมอกควันร้ายมลายหายไป โรงเรียนเปิดอีกที ครูก็กลับมาที่โรงเรียนเพื่อสอนเด็กอีกครั้ง
“ตอนนี้เด็กกลับเข้ามาเรียนกว่า 60 คนแล้ว จากทั้งหมด 200 กว่าคน ผู้ปกครองก็เข้าใจ เริ่มย้ายลูกหลานกลับมา เพราะที่นี่เป็นโรงเรียนในชุมชน ไม่ต้องลำบากไปรับส่งโรงเรียนอื่นซึ่งไกลบ้านมากกว่า ที่ผ่านมาพ่อแม่ผู้ปกครองบอกเราว่า เขาถูกบังคับจากผู้ไม่ประสงค์ดีไม่ให้ส่งลูกหลานมาโรงเรียน และต้องย้ายไปเรียนที่อื่น ทำให้ลำบากหลายเรื่อง เพราะพี่น้องที่นี่ส่วนใหญ่ยากจนและมีอาชีพรับจ้าง แต่ถ้าเขาไม่ทำตามกลุ่มผู้ไม่หวังดี ชีวิตของพวกเขาอาจไม่ปลอดภัย"
ครูแอ๋ว บอกว่า ที่ผ่านมาในปะกาลือสงยังมีเหตุการณ์ร้ายอยู่ตลอด แต่ก็คิดเพียงว่าเราก็ทำหน้าที่ของเรา และทำให้ดีที่สุด
“ชาวบ้านมาบอกว่าครูอย่าไปยุ่ง ช่วงนี้ก็มีชาวบ้านมาเตือนเหมือนกันว่าเขาจะทำร้ายครูพุทธ แต่ฉันคิดว่าถ้าเขาจะทำคงทำไปนานแล้ว”
ครูแอ๋วเป็นคนหนองจิกโดยกำเนิด พี่น้องและครอบครัวอยู่ที่นี่ เธอจึงไม่คิดย้ายหนีไปไหน 23 ปีของการทำหน้าที่ "เรือจ้าง" ไม่ได้ทำให้ครูแอ๋วท้อแท้แม้จะเกิดเหตุการณ์ร้ายๆ ขึ้นบ้าง เธอบอกว่าหากอะไรจะเกิด ใครก็คงไปห้ามไม่ได้
“สอนมานานจนรู้จักพื้นที่ รู้จักคน แม้จะไม่ค่อยรู้ใจ ครอบครัวก็อยู่ที่นี่ ถึงย้ายไปสอนที่อื่นเราก็เป็นครูพุทธเหมือนเดิม จะไปเปลี่ยนคงไม่ได้ ถามว่ากลัวไหม ความรู้สึกคือมันข้ามพ้นความกลัวไปแล้ว ที่ผ่านมาครูของโรงเรียนยังไม่มีใครถูกทำร้าย อาจมีครูที่อื่นรอบนอกโดนบ้าง อยู่ที่ดวงใครจะโดนมากกว่า ซึ่งครูที่ถูกทำร้ายมีครูมุสลิมไม่น้อยเหมือนกันที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ จึงไม่รู้ว่าคนที่ก่อเหตุมีจุดประสงค์อะไรกันแน่”
ครูแอ๋วบอกว่าตัวเธอเองก็เคยผ่านประสบการณ์ "เฉียดตาย" มาแล้วเหมือนกัน
“ตอนนั้นขี่รถกับน้องคือครูอ้อย สอนโรงเรียนเดียวกัน กำลังขี่มอเตอร์ไซค์กลับบ้าน สักพักก็มีชายสองคนขี่รถตีคู่มา ฉันเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติ พอรถแล่นผ่านหน้าบ้านชาวบ้านคนหนึ่งซึ่งเขายืนอยู่หน้าบ้านพอดี ชาวบ้านคนนั้นตะโกนถามชายสองคนที่ขี่รถตามมาว่าจะทำอะไร เมื่อหันไปมองคนบนรถจึงจำได้ว่าเป็นลูกศิษย์ ฉันจึงทักทาย แต่เขากลับเลี้ยวรถหลบไป วันนั้นถ้าชาวบ้านไม่ตะโกนเพราะเห็นผิดสังเกต ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าฉันกับน้องสาวจะมีชีวิตรอดหรือไม่”
“ทุกวันนี้ก็ได้แต่ระวังตัวตามปกติ แต่เจ้าหน้าที่ทหารก็เข้ามาดูแลอย่างดี มีป้อมยามหน้าโรงเรียนและในโรงเรียน มีสนามเด็กเล่นให้เด็กได้สนุกสนาน มีโครงการเศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงปลาดุก ปลูกผัก เลี้ยงไก่ เพาะเห็ด มีกิจกรรมร่วมกันทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และเจ้าหน้าที่ เมื่อทหารมาออกหน่วยแพทย์หรือมีกิจกรรมที่มัสยิด ก็จะพานักเรียนไปร่วมกิจกรรม วันเด็กที่จะถึงนี้ก็มีโครงการพาเด็กไปเที่ยวด้วย”
ครูแอ๋ว แย้มถึงคติประจำใจของเธอ เพื่อทำภารกิจให้บรรลุตามเป้าหมายแม้จะต้องเผชิญหน้ากับความรุนแรง
“หน้าที่ของเราคือสอนหนังสือ ถ้าไปเครียดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเราก็อยู่ไม่ได้ โรคเครียดจะถามหาเสียก่อน แน่นอนว่าคงดีกว่าถ้าไม่มีเรื่องร้ายๆ อะไรเกิดขึ้นเลย แต่ในเมื่อมันไม่เป็นอย่างนั้น เราก็ไม่ต้องไปเครียดตาม”
ครูแอ๋ว เผยความตั้งใจด้วยว่า จะเป็นครูไปตลอดชีวิต จนกว่าจะครบเกษียณ
“ฉันคงเป็นครูไปจนกว่าจะเกษียณ เพราะครอบครัวญาติพี่น้องอยู่ที่นี่ ตอนนี้สอนชั้นอนุบาล มีความสุขกับเด็กๆ เด็กเล็กสอนง่ายกว่าเด็กโต เขาไร้เดียงสาและบริสุทธิ์ อยู่ที่ใครจะใส่เรื่องอะไรให้เขาได้จดจำ ฉันคงไม่ไปไหนแล้ว ไม่อยากไปเริ่มต้นใหม่ที่อื่นอีกแล้ว”
เป็นอีกหนึ่งความในใจของครูกับการทำหน้าที่ "เรือจ้าง" กลางคลื่นความรุนแรง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น