CBOX เสรีชน

15 เมษายน, 2552

ผู้ประท้วงไทยได้รับบาดเจ็บจากการยิงของทหาร

กิจกรรม นี้เกิดขึ้นจากทีมนักแปลอาสาสมัครที่อยากให้สาธารณชนได้บริโภคข่าวสารอย่าง รอบด้าน เนื่องเพราะเห็นว่าสื่อสารมวลชนของไทยมีปัญหาเรื่องการทำงานในสถานการณ์ วิกฤตินี้ เราจึงเลือกแปลข่าวของสื่อต่างชาติที่ยังสามารถทำงานตามหลักการวิชาชีพได้ โดยไม่มีอคติต่อฝ่ายใด และไม่มีอำนาจรัฐมาครอบงำ

ทหารใช้ก๊าซน้ำตาและการยิงปืนเพื่อเตือน ในขณะที่การประท้วงต่อต้านรัฐบาลในกรุงเทพฯ ลุกลาม

Mark Tran และแหล่งข่าว

13 เมษายน 2552 guardian.co.uk




ภาพ: ทหารไทยเผชิญหน้ากับกลุ่มเสื้อแดงที่ประท้วงรัฐบาลใจกลางกรุงเทพฯ

ทหาร ไทยยิงปืนขึ้นฟ้าที่กรุงเทพฯ และยิงก๊าซน้ำตาเพื่อขับไล่ผู้ประท้วงออกจากท้องถนน ในขณะที่รัฐบาลแสดงท่าทีแข็งกร้าวมากขึ้นในท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมือง ที่แผ่ขยายวงกว้าง

มี การจุดไฟเผากลางถนน ควันไฟจากการเผายางปกคลุมไปทั่วในช่วงเช้าระหว่างการเผชิญหน้าของทหารกับผู้ ประท้วง ในขณะที่รถพยาบาลและรถดับเพลิงรอคำสั่งอยู่ใกล้ ๆ พระภิกษุถือโทรโข่งที่สี่แยกเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความสันติ และบอกกับทหารว่า “อย่ายิง ให้คิดถึงประเทศชาติของเราบ้าง” ตำรวจใช้มอเตอร์ไซค์เพื่อขับขี่ในการเจรจาระหว่างฝ่ายทหารกับผู้ประท้วง

การ ปะทะอย่างรุนแรงสุดครั้งแรกเกิดขึ้นราวตีสี่ถึงตีห้า ทหารที่มีอาวุธครบมือเดินหน้าเข้าขับไล่ผู้ประท้วง มีรายงานข่าวว่าทหารใช้ปืนเอ็ม 16 ยิงไปในทิศทางเหนือศีรษะของผู้ประท้วงหลายร้อยรอบ

ผู้ ประท้วงได้โยนระเบิดเพลิงใส่อย่างน้อยหนึ่งครั้ง ซึ่งไประเบิดที่ด้านหลังแนวทหารในขณะที่มีการขว้างก๊าซน้ำตาข้ามกลับมา ที่โรงแรมเซ็นจูรีพาร์คใกล้ ๆ นักท่องเที่ยวต่างชาติพากันวิ่งหนีขึ้นแท็กซี่มุ่งหน้าไปยังสนามบินนานาชาติ ที่กรุงเทพฯ

การ ปะทะกันแสดงถึงความตึงเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นมาก เนื่องจากการประท้วงรัฐบาล ทำให้ภาพลักษณ์ประเทศเสียหายใหญ่หลวง ฝูงชนได้ทุบตีรถในขบวนของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและผู้ช่วยเมื่อวาน และมีการลากนายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีออกจากรถและทุบตี เป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและกระดูกซี่โครงหัก

ความ ปั่นป่วนมีแนวโน้มทำให้ความเสียหายทางเศรษฐกิจย่ำแย่ลง ภายหลังความพยายามที่จะฝ่าวิกฤตการเมืองที่เรื้อรังและวิกฤตการเงินโลก มีความกลัวว่าการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศจะได้รับผลกระทบ รุนแรง

พลเอกทรงกิตติ จักรบาตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กล่าวว่าทหารจะใช้ “ทุกวิถีทางเพื่อยุติความวุ่นวาย” แต่จะใช้อาวุธกรณีที่เป็นการป้องกันตัวเท่านั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้กำลังเกินขอบเขต”

ตรง ข้ามกับสภาพที่เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงแสดงความอ่อนแอในช่วงสุดสัปดาห์ที่ ผ่านมา จนเป็นเหตุให้ผู้ประท้วงสามารถบุกเข้าไปยังโรงแรมที่ประชุมและทำให้ต้องมี การเลื่อนประชุมระดับภูมิภาคออกไป ในขณะนี้ทหารใช้กำลังอย่างเต็มที่

โฆษก กองทัพบกกล่าวว่าจนถึงช่วงบ่าย จากการยิงปืนใส่ฝูงชนทำให้กองทัพสามารถขับไล่ผู้ประท้วงออกจากพื้นที่สำคัญ หลายแห่งรวมทั้งที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและสี่แยกสำคัญอีกสองแห่ง

“กระสุนปืนที่ยิงใส่ฝูงชนเป็นกระสุนเปล่า” โฆษกกองทัพบกกล่าว “หัว กระสุนทำจากกระดาษ มีแต่เสียงดัง เราจะยิงก็ต่อเมื่อผู้ประท้วงเดินหน้าเข้าหาทหาร เป็นการขู่ให้ถอยร่น ส่วนกระสุนจริงจะยิงใส่อากาศ” มีรายงานข่าวว่าผู้ประท้วงอย่างน้อย 74 คนได้รับบาดเจ็บ

ในสภาพความโกลาหลก่อนหน้า ผู้ประท้วงได้ยึดรถเมล์ประมาณ 30 คัน และมีการบุกยึดรถทหารจนทำให้ต้องหยุดวิ่ง

นายกฯ อภิสิทธิ์ เรียกร้องให้ผู้ประท้วงกลับบ้าน บอกว่ารัฐบาลกำลังใช้ “มาตรการนุ่มนวลที่สุดเท่าที่จะทำได้”

“สิ่ง ที่ผมกำลังทำไม่ใช่ทำให้เกิดความกลัวหรือกดดันใคร หรือเป็นการทำร้ายคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นมาตรการเป็นขั้นตอนเพื่อช่วยให้ความเป็นระเบียบเรียบร้อยกลับคืนมา และเพื่อยุติความรุนแรง” เขากล่าวในการแถลงทางโทรทัศน์ซึ่งถ่ายทอดไปทั่วประเทศ

“ผมเชื่อว่า เรายังไม่ถึงวันที่มืดมิดสุดในประวัติศาสตร์ไทย แม้ว่าเรายังไม่เห็นทางออกต่อความแบ่งแยกที่เกิดขึ้นอย่างยาวนาน” ปริญญ์ พานิชภักดิ์ นักวิเคราะห์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกกล่าว

นายกฯ อภิสิทธิ์ประกาศสภาวะฉุกเฉินในเขตกรุงเทพฯ เมื่อวานนี้หลังจากผู้สนับสนุนอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกโค่นล้มจากการทำรัฐประหารเมื่อปี 2549 กดดันจนเป็นเหตุให้มีการยกเลิกการประชุมสุดยอดอาเซียนที่โรงแรมริมหาดแห่ง หนึ่งในพัทยา

ผู้ สนับสนุนทักษิณบอกว่า อภิสิทธิ์ขึ้นเป็นนายกฯ เมื่อเดือนธันวาคมที่แล้ว เพราะว่ามีส.ส.ที่แปรพักตร์ตามการจัดการของทหาร ผู้สนับสนุนทักษิณต้องการให้มีการเลือกตั้งใหม่ และเชื่อว่าตัวเองจะชนะ อดีตนายกรัฐมนตรีที่มุ่งเน้นนโยบายประชานิยมหลบหนีออกจากประเทศเมื่อปีที่ แล้ว ก่อนที่ศาลจะตัดสินลงโทษในคดีเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อน และมีการอ่านคำตัดสินลับหลัง เขากล่าวว่า “ถึงเวลาที่ประชาชนต้องออกมาปฏิวัติ” แม้จะเป็นผู้สร้างให้เกิดความแตกแยกอย่างรุนแรง แต่ทักษิณเป็นที่นิยมในบรรดาคนยากจนในชนบท ซึ่งเป็นที่ชิงชังรังเกียจของคนเมืองในไทย

ใน ช่วง 15 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีสี่คน ไม่มีคนใดที่สามารถแก้ไขความแตกแยกทางการเมืองของประเทศได้เลย ความรุนแรงจากการแตกแยกล่าสุด เตือนให้ผู้สังเกตการณ์ทราบว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ “อธิปไตยของม็อบ”

วิกฤต การเมืองในไทยรุนแรงขึ้นตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ในขณะที่มีความขัดแย้งมากขึ้นเกี่ยวกับระบบการเมืองที่ควรจะเป็นภายหลังการ ปฏิวัติในปี 2549 ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติหนึ่งใน 18 ครั้งที่เกิดขึ้นในประเทศนี้

เมื่อ ปีที่ผ่านมา ฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นฝ่ายเสื้อเหลืองยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นเวลาสองเดือน และยังปิดสนามบินสองแห่ง

http://www.guardian.co.uk/world/2009/apr/13/thailand-bangkok-protests

ไม่มีความคิดเห็น: