CBOX เสรีชน

15 เมษายน, 2552

ประกาศเครือข่ายพิทักษ์เจตนาพฤษภา ขอให้นายกรัฐมนตรีลาออก

คำประกาศเครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภาคม 2535

เรื่อง ขอให้นายกรัฐมนตรีลาออก,

ยกเลิกการใช้ พรก.ฉุกเฉิน

และหยุดใช้กำลังทหารปราบปรามประชาชน


ตามที่รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน จนนำไปสู่การใช้กำลังทหารต่อประชาชนในวันที่ 13 เมษายน และมีแนวโน้มจะใช้กำลังในพื้นที่อื่นอย่างต่อเนื่อง เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535 และ บุคคลผู้มีรายชื่อท้ายแถลงการณ์ ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีสั่งยุติการใช้กำลังทหารติดอาวุธสงครามปราบปราม ประชาชน ยกเลิกการใช้พระราชกำหนด และยุติการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. แม้ รัฐบาลจะมีหน้าที่รักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อย แต่รัฐบาลต้องเข้าใจว่าการเผชิญหน้าระหว่างผู้ชุมนุมกับรัฐบาลครั้งนี้ เป็นผลของความขัดแย้งทางการเมืองที่สะสมเป็นเวลานาน มีประชาชนจำนวนมากเกี่ยวข้อง มีการชุมนุมในพื้นที่ต่างๆ อย่างกว้างขวาง การประกาศ พรก.ฉุกเฉินและการใช้กำลังทหาร จึงไม่มีทางยุติความไม่พอใจที่ผู้ชุมนุมมีต่อรัฐบาลได้ ซ้ำยังสุ่มเสี่ยงต่อการยกระดับสถานการณ์ให้เดินไปสู่จุดที่ควบคุมไม่ได้สูง ยิ่งขึ้นไป

2. พร ก.สถานการณ์ฉุกเฉินให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเต็มที่ในการใช้กำลังทหาร ควบคุมข่าวสาร ตลอดจนสั่งสลายการชุมนุมของประชาชน ฯลฯ แต่ไม่ให้นายกมีอำนาจโดยปราศจากขอบเขต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายกเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงของกลุ่มผู้ชุมนุมในขณะนี้ จึงยากที่จะเชื่อได้ว่านายกจะไม่ใช้อำนาจเพื่อรักษาตำแหน่งทางการเมืองของตน โดยทุกวิถีทาง รวมทั้งใช้กำลังทหารเข้าจัดการกับประชาชน

3. การใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมในช่วงเช้าวันที่ 13 เมษายน และหลังจากนั้น เป็นตัวอย่างของการใช้อำนาจโดยพลการที่ทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรง ขึ้น เนื่องจากมีการใช้กองกำลังติดอาวุธเข้าสลายผู้ชุมนุม มีปฏิบัติการทางทหารยามวิกาล มีการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐ มีการใช้กำลังประทุษร้ายโดยไม่แจ้งให้ผู้ชุมนุมทราบล่วงหน้า มีประชาชนบาดเจ็บจากการปะทะของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง มีการปิดกั้นโอกาสในการรับรู้ข้อมูลจากปากคำของผู้ชุมนุม จึงเป็น การสลายการชุมนุมที่มุ่งกำจัดฝ่ายตรงข้ามของรัฐบาล ไม่ใช่การกระทำเพื่อความสงบของบ้านเมือง

อนึ่ง ตลอดวันที่ 13 เมษายน ก็เกิดการสลายการชุมนุมอีกหลายครั้งโดยกระสุนจริง ไม่มีรัฐบาลประชาธิปไตยที่ไหนในโลกใช้วิธีนี้สลายการชุมนุมของประชาชน

4. ไม่ มีผู้นำประชาธิปไตยรายใดบริหารบ้านเมืองบนความร้าวฉานของคนในชาติลักษณะ นี้ ไม่มีสังคมอารยะใดยอมรับการปราบประชาชนเพื่ออำนาจของนักการเมือง จึงเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีที่ต้องรับผิดชอบโดยขจัดเงื่อนไขของการเผชิญ หน้าระหว่างประชาชนกับรัฐบาลทั้งหมด 4 ข้อ กล่าวคือหยุดการใช้กำลังทหารและอาวุธสงครามจริงปราบปรามประชาชนทันที , ยกเลิกการใช้พรก.สถานการณ์ฉุกเฉิน , ยุติการปฏิบัติหน้าที่นายกฯ จนกว่าสถานการณ์จะยุติ และคืนอำนาจให้ประชาชนด้วยการเลือกตั้ง

สุด ท้ายเครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภาคม 2535 และบุคคลผู้มีรายชื่อดังต่อไปนี้ เห็นว่าหนทางที่จะยุติความรุนแรงคือการนำหลักนิติรัฐ กลับคืนมาสู่สังคมไทยโดยเร็ว นั่นคือรัฐบาลจะต้องไม่ใช้สองมาตรฐานในการดำเนินคดีกับกลุ่มที่ต่อต้าน รัฐบาลในขณะนี้ แต่เพิกเฉยกลับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพราะการบังคับใช้กฎหมายและกำลังในสถานการณ์แบบนี้รังแต่จะทำให้ประชาชนอีก ฝ่ายรู้สึกถึงความอยุติธรรมมากขึ้น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการสร้างสังคมประชาธิปไตยที่ยั่งยืนในระยะยาว

ประกาศ ณ วันที่ 13 เมษายน 2552

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
สุชาติ เศรษฐมาลินี
ชลิตา บัณฑุวงศ์
ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์
เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว
พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์
พฤกษ์ เถาถวิล
เนตรดาว เถาถวิล
บารมี ชัยรัตน์
ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล
ภาวิณี ไชยภาค
จุฑิมาศ สุกใส
วิทยากร บุญเรือง
ธนาพล อิ๋วสกุล
ชัยธวัช ตุลาฑล
วราภรณ์ แช่มสนิท
จิระวัฒน์ แสงทอง
ทวีลักษณ์ พลราชม
ธิกานต์ ศรีนารา
เฉลิมชัย ทองสุข
วรดุลย์ ตุลารักษ์
เจษฎา โชติกิจภิวาทย์
พิชิต พิทักษ์
ศรายุทธ ตั้งประเสริฐ
อนุสรณ์ อุณโณ
ภูมิอินทร์ สิงห์ชวาลา
ศรัณย์ วงศ์ขจิตร
ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์
ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข
อุเชนทร์ เชียงแสน
สมาวิษฐ์ เอี่ยมโอภาส
ศิริโชค นำสงฆ์
อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา
นวลจันทร์ สิงห์กราญ
กิตติพล สรัคคานนท์


ไม่มีความคิดเห็น: