สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจ เสียงสะท้อนของสาธารณชนต่อควันหลงผลการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลและความนิยม 'มาร์ค'กับ'แม้ว' ระบุ ประชาชนเชื่อถือข้อมูล 'สารวัตรเหลิม'มากที่สุด โดยส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่ควรปรับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ถูกซักฟอกออก ขณะที่หลังเสร็จศึกอภิปราย มีประชาชนกว่าร้อยละ 50 ที่นิยมศรัทธานายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน แต่น้อยกว่าที่เคยศรัทธา 'ทักษิณ'
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ "เอแบคเรียลไทม์โพลล์" (Real-Time Survey) เรื่อง เสียงสะท้อนของสาธารณชนต่อควันหลงผลการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลและแนวโน้ม ความนิยมศรัทธาต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ พ.ต.ท.ตร.ทักษิณ ชินวัตร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาที่ติดตามรับชม/รับฟังการถ่ายทอดสดการอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐบาลเพิ่มสูงขึ้น จากร้อยละ 6.3 ในวันแรก มาอยู่ที่ร้อยละ 17.7 ในวันที่สอง
นอกจากนี้ ประชาชนได้ให้คะแนนความน่าเชื่อถือในข้อมูลของนักการเมืองที่นำมาใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ได้คะแนนสูงสุดอยู่ที่ 4.89 คะแนน รอง ลงมา คือ ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ได้คะแนนอันดับรองลงมา คือ 4.80 คะแนน นอกจากนี้ นายสุนัย จุลพงศธร ได้ 4.75 คะแนน นายจตุพร พรหมพันธุ์ ได้ 4.69 คะแนน นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุลได้ 4.65 คะแนน นายไพจิต ศรีวรขาน ได้ 4.52 คะแนน และนายสุชาติ สายน้ำเงิน ได้ 4.34 คะแนน
สำหรับประเด็นที่ประชาชนอยากให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ครั้งต่อไป ได้แก่ ร้อยละ 80.0 ระบุเป็นเรื่องมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ 70.7 ระบุแนวทางแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 70.1 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 67.9 ระบุปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 61.4 ระบุความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และร้อยละ 58.5 ระบุปัญหาชายแดนของประเทศ
ที่น่าพิจารณาคือ ความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจว่าควรถูกปรับออก หรือไม่ควรถูกปรับออกพบว่า อันดับแรก คือ นายกษิต ภิรมย์ ร้อยละ 41.8 เห็นว่าควรปรับออก แต่ร้อยละ 58.4 เห็นว่าไม่ควรปรับออก รองๆลงไป คือ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ร้อยละ 27.6 เห็นควรปรับออก แต่ร้อยละ 72.4 เห็นว่าไม่ควรปรับออก นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ร้อยละ 23.6 เห็นควรปรับออก แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.4 เห็นว่าไม่ควรปรับออก นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ร้อยละ 20.4 เห็นควรปรับออก แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.6 เห็นว่าไม่ควรปรับออก นายกรณ์ จาติกวณิช ร้อยละ 18.2 เห็นว่าควรปรับออก แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.8 เห็นว่าไม่ควรปรับออก นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ร้อยละ 15.6 เห็นควรปรับออก แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.4 เห็นว่าไม่ควรปรับออกและนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 16.5 เห็นว่าควรปรับออก แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.5 เห็นว่าไม่ควรปรับออก
นอกจากนี้ ในการสำรวจครั้งนี้พบแนวโน้มความนิยมศรัทธาของประชาชนต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่น่าพิจารณา คือ หลังเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจมีประชาชนร้อยละ 50.6 ที่นิยมศรัทธานายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ซึ่งหลักการสำรวจความนิยมสาธารณชนถือว่าอยู่ในโซน B-เนื่องจากเกินร้อยละ 50 มาเพียง 0.6 เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าความนิยมศรัทธาของประชาชนที่เคยมีให้กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงของการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนพฤษภาคม 2544 ที่อยู่ในโซน B+ แต่อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจครั้งล่าสุดนี้ พบว่า ความนิยมศรัทธาของประชาชนที่ถูกศึกษาต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ อยู่ที่ร้อยละ 23.6 หรืออยู่ในโซน D+
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ "เอแบคเรียลไทม์โพลล์" (Real-Time Survey) เรื่อง เสียงสะท้อนของสาธารณชนต่อควันหลงผลการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลและแนวโน้ม ความนิยมศรัทธาต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ พ.ต.ท.ตร.ทักษิณ ชินวัตร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาที่ติดตามรับชม/รับฟังการถ่ายทอดสดการอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐบาลเพิ่มสูงขึ้น จากร้อยละ 6.3 ในวันแรก มาอยู่ที่ร้อยละ 17.7 ในวันที่สอง
นอกจากนี้ ประชาชนได้ให้คะแนนความน่าเชื่อถือในข้อมูลของนักการเมืองที่นำมาใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ได้คะแนนสูงสุดอยู่ที่ 4.89 คะแนน รอง ลงมา คือ ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ได้คะแนนอันดับรองลงมา คือ 4.80 คะแนน นอกจากนี้ นายสุนัย จุลพงศธร ได้ 4.75 คะแนน นายจตุพร พรหมพันธุ์ ได้ 4.69 คะแนน นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุลได้ 4.65 คะแนน นายไพจิต ศรีวรขาน ได้ 4.52 คะแนน และนายสุชาติ สายน้ำเงิน ได้ 4.34 คะแนน
สำหรับประเด็นที่ประชาชนอยากให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ครั้งต่อไป ได้แก่ ร้อยละ 80.0 ระบุเป็นเรื่องมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ 70.7 ระบุแนวทางแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 70.1 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 67.9 ระบุปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 61.4 ระบุความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และร้อยละ 58.5 ระบุปัญหาชายแดนของประเทศ
ที่น่าพิจารณาคือ ความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจว่าควรถูกปรับออก หรือไม่ควรถูกปรับออกพบว่า อันดับแรก คือ นายกษิต ภิรมย์ ร้อยละ 41.8 เห็นว่าควรปรับออก แต่ร้อยละ 58.4 เห็นว่าไม่ควรปรับออก รองๆลงไป คือ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ร้อยละ 27.6 เห็นควรปรับออก แต่ร้อยละ 72.4 เห็นว่าไม่ควรปรับออก นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ร้อยละ 23.6 เห็นควรปรับออก แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.4 เห็นว่าไม่ควรปรับออก นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ร้อยละ 20.4 เห็นควรปรับออก แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.6 เห็นว่าไม่ควรปรับออก นายกรณ์ จาติกวณิช ร้อยละ 18.2 เห็นว่าควรปรับออก แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.8 เห็นว่าไม่ควรปรับออก นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ร้อยละ 15.6 เห็นควรปรับออก แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.4 เห็นว่าไม่ควรปรับออกและนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 16.5 เห็นว่าควรปรับออก แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.5 เห็นว่าไม่ควรปรับออก
นอกจากนี้ ในการสำรวจครั้งนี้พบแนวโน้มความนิยมศรัทธาของประชาชนต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่น่าพิจารณา คือ หลังเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจมีประชาชนร้อยละ 50.6 ที่นิยมศรัทธานายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ซึ่งหลักการสำรวจความนิยมสาธารณชนถือว่าอยู่ในโซน B-เนื่องจากเกินร้อยละ 50 มาเพียง 0.6 เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าความนิยมศรัทธาของประชาชนที่เคยมีให้กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงของการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนพฤษภาคม 2544 ที่อยู่ในโซน B+ แต่อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจครั้งล่าสุดนี้ พบว่า ความนิยมศรัทธาของประชาชนที่ถูกศึกษาต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ อยู่ที่ร้อยละ 23.6 หรืออยู่ในโซน D+
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น