ก.ท่องเที่ยว ค้านไม่เห็นด้วย มาตรการห้ามขายเหล้าวันสงกรานต์ หวั่นกระทบการท่องเที่ยว ทำนักท่องเที่ยวหดหายยิ่งซ้ำเติมประเทศ ในสภาวะที่ประเทศต้องการรายได้จากการท่องเที่ยวเพื่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ด้านสาธารณสุขอ้างผลสำรวจนักท่องเที่ยวมาเยือนไทยเพราะต้องการดูวัฒนธรรม ไม่ใช่มาดื่ม ยันไม่ใช่นโยบายสกัดท่องเที่ยว อาจเปิดช่องให้ร้านอาหารโรงแรมขายได้ช่วง 6 โมงเย็นถึงเที่ยงคืน ขณะที่เอกชนค่ายไทยเบฟ ติงแก้ปัญหาไม่ตรงจุด เหตุคนไทยยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ นักดื่มซื้อมากักตุนก่อนล่วงหน้า
นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวถึงแนวคิดของกระทรวงสาธารณสุขที่จะออกกฎกระทรวงห้ามจำหน่ายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยระบุว่า อาจส่งผลให้ยอดนักท่องเที่ยวลดลงในสภาวะที่ประเทศต้องการรายได้จากการท่อง เที่ยวเพื่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ พร้อมแสดงความเห็นคัดค้านการออกเป็นกฎหมายบังคับ
“ขณะนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระตุ้นการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ ไม่สมควรที่จะไปห้าม ขอยกเว้นไว้ก่อนในหนึ่งปีนี้ อย่าไปห้ามไม่ให้นักท่องเที่ยวดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันเทศกาลสำคัญ เวลานี้เรามีวิกฤติการท่องเที่ยวมากอยู่แล้ว ถ้าไปห้ามจะทำให้คนไม่มาท่องเที่ยว พอรู้ว่าประเทศไทยจะห้ามจำหน่ายเหล้าเบียร์ก็หนีไปประเทศอื่นดีกว่า เราจะเสียลูกค้าไป”
ส่วนกรณีที่ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเห็นคัดค้านแนวคิดดังกล่าวในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมา ถือว่าถูกต้องแล้ว ในแง่ผู้ที่ดูแลนโยบายเรื่องการท่องเที่ยวที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการ แก้ไขฟื้นฟูวิกฤติเศรษฐกิจ
สำหรับเหตุผลที่กระทรวงสาธารณสุขหยิบยกขึ้นมาสนับสนุนการออกกฎกระทรวงเรื่อง ดังกล่าว เนื่องจากสาเหตุการเสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 80% มาจากการดื่มสุราแล้วขับขี่รถจักรยานยนต์นั้น มองว่า หากกระทบเรื่องการท่องเที่ยวจะมีผลเสียหายมากกว่า เพราะการท่องเที่ยวคือรายได้ของประเทศชาติที่หาได้รวดเร็ว และสามารถช่วยแก้ภาพลักษณ์ของประเทศได้รวดเร็วด้วยเช่นกัน ดีกว่าจะไปแก้ปัญหาด้านการลงทุนหรือการส่งออก ซึ่งได้ผลช้ากว่า ควรหยิบฉวยอันนี้ก่อนในภาวะประเทศกำลังวิกฤติ
ขณะที่ นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยืนยันว่า จากความกังวลของหลายฝ่ายในการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะกระทบต่อการ ท่องเที่ยวนั้นจะไม่ส่งผลกระทบ เนื่องจากในการเสนอการห้ามจำหน่าย ได้เสนอไว้ 2 แนวทาง คือ 1.ห้ามจำหน่าย 3 วัน คือวันที่ 12-14 เมษายน 2.ห้ามจำหน่าย 3 วัน เหมือนกัน แต่ผ่อนปรนให้ร้านอาหารสถานบริการและมินิบาร์ให้ห้องพักตามโรงแรมสามารถ จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ระหว่างเวลา 18.00 -24.00 น.
จากการสำรวจความคิดเห็นนักท่องเที่ยวต่างระบุชัดว่า การมาเที่ยวเมืองไทยช่วงเทศกาลสงกรานต์ไม่ได้ตั้งใจมาเมืองไทยเพื่อดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ต้องการมาดูวัฒนธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวมากกว่า ดังนั้น การห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเทศกาลสงกรานต์ จึงเป็นการมุ่งหวังสกัดนักดื่มหน้าใหม่ที่ดื่มแล้วขับ ไม่ใช่สกัดการท่องเที่ยวอย่างที่เป็นกังวลกัน
ต่อกรณีที่ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ออกมาคัดค้านมาตรการดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ถือเป็นเรื่องของความเห็นต่างที่เกิดขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม ตนเองจะรีบรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเสนอต่อ พล.ต.สนั่น ซึ่งเชื่อว่าหากได้รับข้อมูลครบทุกด้านอาจจะทำให้เปลี่ยนใจได้ เพราะในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการดื่มแอลกอฮอล์แล้วขับขี่ยานพาหนะเป็น จำนวนมาก ปีละไม่ต่ำกว่า 500 ราย และในทุกๆ 20 นาที มีการเสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บ 1 คน ทุกๆ 2 นาที
ฝั่งภาคเอกชน นายชาลี จิตจรุงพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ทำตลาดเบียร์ยี่ห้ออาชา เบียร์ช้าง และเฟดเดอร์บรอย กล่าวว่า นโยบายห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เพื่อลดการเกิด อุบัติเหตุนั้น บริษัทในฐานะผู้ประกอบการยินดีปฏิบัติตามอยู่แล้ว แม้จะมีผลกระทบต่อการทำธุรกิจบ้างก็ตาม
“การห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วงสงกรานต์ส่งผลกระทบแน่นอน แต่ถ้าผู้บริโภคอยากจะดื่มก็จะมีการซื้อตุนไว้เอง ในส่วนของบริษัทไม่ต้องปรับตัวอะไร และยินดีปฏิบัติตามข้อกำหนดของภาครัฐทุกอย่าง แต่โดยส่วนตัวนั้นผมมองว่ามาตรการนี้เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด คนไทยยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ควรสอนเรื่องการบริโภคอย่างถูกต้องมากกว่า”
นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวถึงแนวคิดของกระทรวงสาธารณสุขที่จะออกกฎกระทรวงห้ามจำหน่ายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยระบุว่า อาจส่งผลให้ยอดนักท่องเที่ยวลดลงในสภาวะที่ประเทศต้องการรายได้จากการท่อง เที่ยวเพื่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ พร้อมแสดงความเห็นคัดค้านการออกเป็นกฎหมายบังคับ
“ขณะนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระตุ้นการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ ไม่สมควรที่จะไปห้าม ขอยกเว้นไว้ก่อนในหนึ่งปีนี้ อย่าไปห้ามไม่ให้นักท่องเที่ยวดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันเทศกาลสำคัญ เวลานี้เรามีวิกฤติการท่องเที่ยวมากอยู่แล้ว ถ้าไปห้ามจะทำให้คนไม่มาท่องเที่ยว พอรู้ว่าประเทศไทยจะห้ามจำหน่ายเหล้าเบียร์ก็หนีไปประเทศอื่นดีกว่า เราจะเสียลูกค้าไป”
ส่วนกรณีที่ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเห็นคัดค้านแนวคิดดังกล่าวในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมา ถือว่าถูกต้องแล้ว ในแง่ผู้ที่ดูแลนโยบายเรื่องการท่องเที่ยวที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการ แก้ไขฟื้นฟูวิกฤติเศรษฐกิจ
สำหรับเหตุผลที่กระทรวงสาธารณสุขหยิบยกขึ้นมาสนับสนุนการออกกฎกระทรวงเรื่อง ดังกล่าว เนื่องจากสาเหตุการเสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 80% มาจากการดื่มสุราแล้วขับขี่รถจักรยานยนต์นั้น มองว่า หากกระทบเรื่องการท่องเที่ยวจะมีผลเสียหายมากกว่า เพราะการท่องเที่ยวคือรายได้ของประเทศชาติที่หาได้รวดเร็ว และสามารถช่วยแก้ภาพลักษณ์ของประเทศได้รวดเร็วด้วยเช่นกัน ดีกว่าจะไปแก้ปัญหาด้านการลงทุนหรือการส่งออก ซึ่งได้ผลช้ากว่า ควรหยิบฉวยอันนี้ก่อนในภาวะประเทศกำลังวิกฤติ
ขณะที่ นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยืนยันว่า จากความกังวลของหลายฝ่ายในการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะกระทบต่อการ ท่องเที่ยวนั้นจะไม่ส่งผลกระทบ เนื่องจากในการเสนอการห้ามจำหน่าย ได้เสนอไว้ 2 แนวทาง คือ 1.ห้ามจำหน่าย 3 วัน คือวันที่ 12-14 เมษายน 2.ห้ามจำหน่าย 3 วัน เหมือนกัน แต่ผ่อนปรนให้ร้านอาหารสถานบริการและมินิบาร์ให้ห้องพักตามโรงแรมสามารถ จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ระหว่างเวลา 18.00 -24.00 น.
จากการสำรวจความคิดเห็นนักท่องเที่ยวต่างระบุชัดว่า การมาเที่ยวเมืองไทยช่วงเทศกาลสงกรานต์ไม่ได้ตั้งใจมาเมืองไทยเพื่อดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ต้องการมาดูวัฒนธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวมากกว่า ดังนั้น การห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเทศกาลสงกรานต์ จึงเป็นการมุ่งหวังสกัดนักดื่มหน้าใหม่ที่ดื่มแล้วขับ ไม่ใช่สกัดการท่องเที่ยวอย่างที่เป็นกังวลกัน
ต่อกรณีที่ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ออกมาคัดค้านมาตรการดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ถือเป็นเรื่องของความเห็นต่างที่เกิดขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม ตนเองจะรีบรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเสนอต่อ พล.ต.สนั่น ซึ่งเชื่อว่าหากได้รับข้อมูลครบทุกด้านอาจจะทำให้เปลี่ยนใจได้ เพราะในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการดื่มแอลกอฮอล์แล้วขับขี่ยานพาหนะเป็น จำนวนมาก ปีละไม่ต่ำกว่า 500 ราย และในทุกๆ 20 นาที มีการเสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บ 1 คน ทุกๆ 2 นาที
ฝั่งภาคเอกชน นายชาลี จิตจรุงพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ทำตลาดเบียร์ยี่ห้ออาชา เบียร์ช้าง และเฟดเดอร์บรอย กล่าวว่า นโยบายห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เพื่อลดการเกิด อุบัติเหตุนั้น บริษัทในฐานะผู้ประกอบการยินดีปฏิบัติตามอยู่แล้ว แม้จะมีผลกระทบต่อการทำธุรกิจบ้างก็ตาม
“การห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วงสงกรานต์ส่งผลกระทบแน่นอน แต่ถ้าผู้บริโภคอยากจะดื่มก็จะมีการซื้อตุนไว้เอง ในส่วนของบริษัทไม่ต้องปรับตัวอะไร และยินดีปฏิบัติตามข้อกำหนดของภาครัฐทุกอย่าง แต่โดยส่วนตัวนั้นผมมองว่ามาตรการนี้เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด คนไทยยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ควรสอนเรื่องการบริโภคอย่างถูกต้องมากกว่า”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น