CBOX เสรีชน

22 มีนาคม, 2552

ประชาธิปัตย์ไม่ยอมทำความเข้าใจในเรื่องพวกก่อการร้าย

Liberal Thai



Thai Democrats can’t see insurgency for what it is
Zachary Abuza - ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒
New Straits Times

ตั้งแต่ รัฐประหารเดือนกันยายน ๒๕๔๙ จนถึงเดือนธันวาคมปีที่แล้ว นักการเมืองศักดินาทางกรุงเทพแทบจะไม่สนใจกับการลุกฮือของสามจังหวัดทางใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส และบางส่วนของสงขลาซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม

การรณรงค์เรื่องความรุนแรงในภาคใต้ว่ามีคนถูกฆ่าตายมากกว่า ๓,๖๐๐ คน และสองเท่าของจำนวนนี้ซึ่งได้รับบาดเจ็บตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๔๗

รัฐบาล และหน่วยงานความมั่นคงได้ดำเนินการผิดพลาด เบื้องหลังของความล้มเหลว การเร่งประกาศกฎอัยการศึก การเอาแต่ใช้กำลัง หน่วยงานข่าวกรองที่อ่อน การไม่ทำความเข้าใจในกลุ่มใหม่ๆและองค์กรต่างๆของกลุ่มที่ติดอาวุธ การแข่งขันกันเองของหน่วยงานรักษาความมั่นคง และความล้มเหลวที่จะสร้างความปลอดภัยอย่างเพียงพอ

ผล ที่ได้คือความล้มเหลวในด้านสวัสดิการทางสังคม ด้านกฏหมายและการปราบปราม การทำลายล้างกลุ่มชนชาวพุทธสยามจากชายแดน และการขาดความมั่นใจจากหน่วยงานรัฐบาล

กลุ่ม ที่มีขนาดใหญ่ของประเทศไทยทางใต้ คือกลุ่มที่จะแยกดินแดนเป็นอิสระ แต่รัฐบาลได้ปฎิเสธถึงการดำเนินงานที่ผิดพลาด ที่มีต่อกลุ่มติดอาวุธชาวอิสลามและกลุ่มแบ่งแยกดินแดน

ตั้งแต่ วันที่ ๑๕ ธันวาคม จนวันนี้ครบ ๓ เดือน นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้เคยประกาศว่าการแก้ปัญหาในเรื่องกลุ่มติดอาวุธซึ่งตั้งขี้นเป็น ปีที่หกแล้ว เป็นงานสำคัญอันดับต้นๆของรัฐบาล

อภิสิทธิ์ ให้คำมั่นสัญญาว่า จะทบทวนต่อระเบียบปฎิบัติของหน่วยงานราชการ และปรับปรุงสายการบังคับบัญชาในทางใต้ให้มีประสิทธิภาพขี้น อภิสิทธิ์เมื่อไม่ต้องห่วงเรื่องการทำรัฐประหาร เพราะมีทั้งกองทัพและราชวงศ์หนุนหลังอยู่ เขาได้สัญญาว่า จะจัดตั้งฝ่ายพลเรือนให้มากขี้นเพื่อมาดูแลและสั่งการ

อภิสิทธิ์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้มีความผูกพันล้ำลึกกับภาคใต้ ซึ่งเป็นฐานเสียงดั้งเดิม เขาได้พูดซ้ำเหมือนคำสัญญาที่ล้มเหลวของอดีตนายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่จะสนับสนุนให้มีการประนีประนอมกัน

นี่ ไม่ใช่ลางดีสำหรับทางภาคใต้ และคาดว่าแทบจะไม่มีความก้าวหน้าภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ พวกเขายังคงไม่ยอมเข้าใจว่าการก่อความไม่สงบเพื่ออะไร และยังไม่ยอมรับรู้ว่า มีเป้าหมายเพื่อจัดตั้งรัฐอิสลามอิสระ

เป็น เวลาถึงห้าปีมาแล้ว ผู้ซึ่งรับผิดชอบในการก่อความรุนแรงไม่ได้มีการพูดคุยกับรัฐบาล สำหรับพวกเขาแล้วไม่มีอะไรที่จะต้องมาสมานฉันท์

แม้ ว่าพวกเขาไม่ชนะ แต่ก็ไม่แพ้เช่นกัน แม้ว่าผู้นำของกลุ่มก่อการร้ายได้ถูกจับไปบ้างก็ตาม แต่ความสามารถในการสั่งการทั้งสี่จังหวัดภาคใต้ ยังคงอยู่เป็นปกติทุกวัน

ใน ๘๕ วันแรกของรัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่สามารถหยุดความรุนแรงลงได้ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ธันวาคม มีผู้ถูกฆ่าตาย ๘๘ คน ซึ่งเป็นตำรวจ ๕ นาย ทหาร ๙ นาย และพลลาดตระเวณ ๑๔ นาย และอาสาสมัครดูแลหมู่บ้านและพลเรือนอีก ๖๐ คน

ในช่วงเวลานี้ มี่คนได้รับบาดเจ็บ ๑๓๙ คน เป็นตำรวจ ๓๑ นาย ทหาร ๕๓ นาย พลลาดตระเวณ ๙ นาย และอาสาสมัครดูแลหมู่บ้านและพลเรือน ๔๖ คน

ยังมีการระเบิด ๓๔ ครั้ง พยายามที่จะทำการระเบิด ๗ ครั้ง และถูกตัดหัว ๗ คน ซึ่งศพ ๖ ศพได้ถูกเผาไฟ

ตัวเลขที่อ้างนี้ได้มาจากสื่อ และความรุนแรงทางใต้นี้ ยังคงเกิดขี้นเป็นประจำแต่ไม่มีการรายงานข่าว

อภิสิทธิ์ สัญญาเมื่อคราวที่เดินทางไปภาคใต้ว่า “ใช้กำลังทหารน้อยลง มุ่งเน้นเรื่องมาตราการ” และให้คำมั่นว่าจะยกเลิกกฎอัยการศึก แต่จนถึงวันนี้ ยังไม่มีอะไรเกิดขี้น

ถ้า อภิสิทธิ์ต้องการที่จะแก้ไขเรื่องความขัดแย้ง สำหรับเขาแล้วไม่มีที่ไหนที่จะเริ่มต้นได้ดีไปกว่า การเอานโยบายการกักตัวผู้ต้องสงสัย และขั้นตอนการพิจารณาคดีมาปรับปรุงใหม่

ขั้นตอนไม่เพียงแต่ล้มเหลว แต่ได้นำไปสู่ความล้มเหลวในการร่วมมือกันระหว่างกองทัพ ตำรวจ และศาล

ภาย ใต้กฎอัยการศึก ผู้ต้องสงสัยถูกจองจำไว้ ๓๐ วันโดยไม่ต้องมีการพิจารณาคดี หลังจากนั้นจึงจะมีการตั้งข้อหาหรือต้องปล่อยตัวผู้ต้องสงสัยไป

การ กักกันตัวได้มีจำนวนพุ่งสูงขี้นในปี ๒๕๕๐ แต่คดีส่วนใหญ่ตำรวจไม่สามารถทำคดีส่งฟ้องพวกเขาได้ กองทัพบกพยายามจะขยายขอบเขตของกฎอัยการศึก ด้วยการเปิดรับสมัครบุคคลใน “โครงการณ์ฝึกอบรมวิชาชีพ” ซึ่งต่อมาศาลได้มีคำสั่งห้าม

ผู้ ต้องสงสัยประมาณ ๑,๕๔๔ คนที่ถูกจับระหว่างเดือนมกราคม ๒๕๔๗ จนถึงเดือนธันวาคมที่แล้ว ศาลได้ตัดสินไปเพียง ๑๕๓ คดี(ร้อยละ ๑๐) ข้อกล่าวหาต่อผู้ที่ถูกกักกันมากกว่าร้อยละ ๗๐ ได้ถูกยกฟ้อง ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจอย่างมากให้กับกองทัพ

ส่วน หนึ่งของปัญหาคือ การที่ตำรวจขาดความสามารถในการรวบรวมหลักฐานตามกระบวนการทางกฎหมาย ความจริงที่ว่าความรุนแรงส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจน หรือพยานไม่ให้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่

เป็นเรื่องน่าเศร้าเมื่อเรื่องนี้ได้เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ ๒ เรื่อง

* เรื่อง แรก เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม องค์การนิรโทษกรรมสากลได้ตีพิมพ์รายงานที่เลวร้าย ของการใช้วิธีการทารุณกรรมอย่างเป็นระบบของทหารบกของไทย โดยอ้างถึงคดีของผู้ถูกกักขัง ๓๔ คน

รายงานก่อนหน้านี้ได้เน้นคำว่า “หายตัวไป”

ในขณะที่อภิสิทธิ์ปฎิเสธการถูกกล่าวหาเรื่องการทรมานอย่าง “เป็นระบบ” ชาวมุสลิมทางใต้ก็ได้ประณามการปกป้องเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ที่ได้นำไปสู่การล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน

การ ปกป้องเจ้าหน้าที่ผู้ที่ละเมิดกฎหมาย ได้ถูกยกเลิกในหลายๆคดี เช่นเมื่อเดือนธันวามคมที่แล้ว เมื่อศาลได้มีการตัดสินว่าทหารกระทำผิดในการทารุณกรรมและฆ่าอิหม่ามที่อยู่ ในการคุมขังถึงตาย

แต่เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ได้มีการยกฟ้องคดีของเจ้าหน้าที่ ๖ คน ที่ถูกกล่าวหาว่าทำการทารุณกรรมที่กรือแซะเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๔๗

* เรื่อง ที่สอง ฝ่ายความมั่นคงไม่พอใจต่อการที่ศาลไม่สามารถ หรือไม่ต้องการที่จะตัดสินผู้ถูกคุมขังว่าได้กระทำผิด ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะมาจากกระแสเรื่องการกล่าวหาในการทำวิสามัญฆาตกรรม

ตัวอย่าง เช่นเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ครูสอนศาสนาที่ได้ถูกคุมขังจากฝ่ายความมั่นคง และศาลได้ตัดสินว่าไม่ผิดเนื่องจากขาดหลักฐาน ได้ถูกยิงตายหน้าสุเหร่าที่ปัตตานี ก่อให้เกิดการลุกฮือขึ้นในกลุ่มชาวมุสลิม

เจ้า หน้าที่หลายฝ่ายมีความไม่พอใจต่อระบบศาลในปัจจุบัน มีการเรียกร้องให้มีการจัดตั้งศาลเกี่ยวกับความมั่นคง เพื่อเร่งการตัดสินตามขั้นตอนของศาลให้เร็วขี้น ศาลดังกล่าวอาจจะใช้ไปถึง การควบคุมต่อการกล่าวหาที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของฝ่ายกองกำลัง ความมั่นคง

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจะต้องยุติการให้ความคุ้มครองแบบครอบคลุมต่อกองกำลังความมั่นคง

- นักเขียนเป็นอาจารย์สอนคณะรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ไซมอนคอ ลเลจที่บอสตัน สหรัฐอเมริกา หนังสือที่เขียนเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายในไทย “การสมคบคิดของความเงียบ” ที่จะตีพิมพ์ในปีนี้

แปลและเรียบเรียง - chapter 11
ที่มา: http://www.nst.com.my/Current_News/NST/Sunday/Columns/2504958/Article/index_html


ไม่มีความคิดเห็น: