CBOX เสรีชน

26 มกราคม, 2552

พท.ขู่ยื่นศาลรธน.หากรบ.ปัดตั้งกมธ.ศึกษากรอบอาเซียนจี้"กษิต"แจงตั้งลูกเขย"ปีศาจคาบไปป์"เจรจาเขมร

ประชาทรรศน์
26 ม.ค. 2009

ฝ่ายค้านเตะถ่วงกรอบความร่วมมืออาเซียน หลังรัฐบาลชงเป็นวาระเร่งด่วนรับลูกประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ชักแม่น้ำทั้ง 5 อ้างเอกสารกองโตหวั่นส.ส.ดูไม่ละเอียด ทุบโต๊ะขู่ยื่นศาลรธน.หากรบ.ไม่ตั้งกมธ.ศึกษากรอบอาเซียน "อภิสิทธิ์"ย้อนเกล้ด ระบุเป็นพิมพ์เขียวเดิมสมัย"รัฐบาลสมชาย" ที่เคยส่งให้ ส.ส.ดูตั้งแต่ปีที่แล้ว "เด็กเพื่อไทย"ทิ้งบอมบ์"กษิต" จี้เคลียร์ตั้งลูกเขย"ประสงค์" นั่งอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ

วันนี้ (26 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า มีการประชุมร่วม 2 สภาเพื่อพิจารณากรอบความร่วมมืออาเซียน ที่รัฐบาลจะนำไปลงนามในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ระหว่างวันที่ 27 ก.พ.-1 มี.ค.นี้ ทั้งนี้ เมื่อเข้าสู่ระเบียบวาระรับรองรายงานการประชุม ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย แสดงความไม่พอใจกับทึกรายงานการประชุม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ที่รัฐบาลแถลงนโยบาย และระบุว่า สมาชิกพรรคเพื่อไทยขาดประชุม โดย ส.ส.พรรคเพื่อไทยหลายคน เห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เพราะวันดังกล่าวมีการย้ายสถานที่ประชุมไปกระทรวงการต่างประเทศ โดยไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าเลื่อนวาระถกรัฐธรรมนูญฉบับเสื้อแดงหลังโต้ เถียงเรื่องดังกล่าว ที่ประชุมยังมีการโต้เถียงเรื่องวาระการประชุม เนื่องจากตามวาระต้องมีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ คปพร. ของนายแพทย์เหวง โตจิราการ เป็นวาระแรก ก่อนที่จะมีการพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับอาเซียนจำนวน 20 เรื่อง ที่ประชุมจึงมีมติให้เลื่อนกรอบความร่วมมืออาเซียนขึ้นมาพิจารณาก่อน ขณะที่ฝ่ายค้าน เห็นว่าการบรรจุวาระเรื่องเกี่ยวกับอาเซียน ที่มีเนื้อหาจำนวนมาก สมาชิกควรมีเวลาพิจารณาเพื่อให้เกิดความรอบคอบ แต่สมาชิกพึ่งได้รับเอกสารเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

โดย ร.ท.เชาวริน ลุกขึ้นอภิปรายว่า รัฐบาลรวบรัดที่จะพิจารณากรอบความร่วมมืออาเซียนมากเกินไป ซึ่งมีรายละเอียดมากทั้งที่สมาชิกพึ่งได้รับเอกสารเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ดังนั้น จึงเห็นว่ารัฐบาลควรจะเลื่อนการพิจารณากรอบความร่วมมืออาเซียนออกไปเพื่อให้ สมาชิกมีเวลาพิจารณา หรือตั้งการคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา เพื่อให้เกิดความรอบคอบ

พท.เตะถ่วงถกกรอบอาเซียนอ้างเอกสารกองโต

ด้าน นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชศรีมา พรรคเพื่อไทย ได้อภิปรายติงว่าไม่เห็นด้วยที่จะมีการให้ความเห็นชอบเอกสารสำคัญที่เกี่ยว กับความร่วมมือในกรอบอาเซียนทีเดียว 23 ฉบับ ควรพิจารณาเป็นรายฉบับไป เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งรัฐสภาไม่ใช่สภาตรายาง ที่จะให้พิจารณารวบไปเลย และไม่ทราบว่าคณะรัฐมนตรีได้เคยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นอะไร หรือไม่

ขณะที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ขณะนี้มีร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชการอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติมที่ประชาชนเสนอ มาแต่กลับไม่มีการหยิบยกพิจารณา ซึ่งการหยิบร่างขึ้นนี้ขึ้นมาถือว่าเป็นกำลังใจกับประชาชน ความรู้สึกอันนี้อยากให้รัฐสภาคำนึ่งถึง จึงอยากให้ประธานรัฐสภาหยิบยกเรื่องนี้มาพิจารณาก่อน เพราะกรอบความร่วมมืออาเซียนนั้น มีเอกสารจำนวนมากที่ต้องกลับไปอ่านไปพิจารณา ดังนั้นเราอย่าเพิ่งสู่รู้ หรืออวดอ้างว่ารู้แต่ต้อง

"มาร์ค"ย้อนเกล็ดชี้เอกสารเดียวกันกับรบ.สมชาย

จากนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงความสำคัญของการพิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบข้อตกลงอาเซียนว่า หากผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา จะทำให้กระบวนการต่างๆ ในกรอบอาเซียนเดินหน้าต่อไปได้ ภายใต้การยึดการรวมกลุ่ม โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ส่วนที่สมาชิกท้วงติงว่ามีการแจกเอกสารในระยะเวลาอันสั้นนั้น นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า กรอบความร่วมมืออาเซียน เป็นร่างกฎหมายที่มีขึ้นรัฐบาลที่แล้ว และก่อนหน้านี้ในเดือนพฤศจิกายนก็เคยแจกจ่ายให้สมาชิกไปแล้ว เพียงแต่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาล ต้องเสนอเรื่องเข้ามาใหม่ แต่เป็นเอกสารเดิม มีเรื่องใหม่ 3 เรื่อง คือ กรอบความตกลงเขตการค้าเสรี กับ อินเดีย จีน และนิวซีแลนด์ในส่วนการกรอบอาเซียนนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ประเทศไทยได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนตั้งแต่เดือน ก.ค. 51เป็นต้นมา ซึ่งเหตุการณ์ในช่วงนี้ถือว่า มีความเป็นพิเศษจากการดำเนินงานของอาเซียนที่มาเกี่ยวข้องกับประเทศไทย 3ประการ คือ 1.กฎบัตรของอาเซียนเปรียบเสมือนธรรมนูญที่วางกฎกติกาเกี่ยวกับการทำงานร่วม กันของประชาคมอาเซียนได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ธ.ค.เป็นต้นมา และจากนี้ไปจะเป็นช่วงที่สมาชิกจะได้เดินหน้าในการนำแผนงาน กฎกติกาต่าง ๆภายในกรอบที่กำหนดไว้ในกฎบัตร มาผลักดันต่อเพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ใน 2558 ต่อไป

ตอกลิ่มรัฐบาลชุดก่อนไฟเขียวแล้ว

ประการที่ 2.ในช่วงพิเศษนี้ประเทศไทยจึงดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนเป็นเวลายาวนานกว่า วาระปกติ เพราะปกติแล้วประเทศอาเซียนจะดำรงตำแหน่ง 1 ปี แต่เฉพาะในวาระของประเทศไทยจะดำรงตำแหน่ง 1 ปีครึ่ง ซึ่งจะถึงในเดือนธ.ค.2552 และ 3.การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนอยู่ในช่วงเดียวกันกับที่นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้หมายถึงความรับผิดชอบที่ประเทศไทยต้องดำเนินการของอา เซียนให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า สำหรับการดำเนินงานในปีนี้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีเพื่อนสมาชิกได้สอบถามถึงการตรากฎหมายเพื่อทำความชัดเจนของมาตรา 190 กฎหมายฉบับดังกล่าว รัฐบาลชุดก่อนได้ให้ความเห็นชอบในคณะรัฐมนตรี (ครม.)ไปแล้ว และได้ส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งในการประชุมครม.ที่ผ่านมาหลายครั้ง ตนได้เร่งรัดที่จะให้มีการตรวจสอบพิจารณาในเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จเพื่อส่ง ต่อที่ประชุมสภาโดยเร็ว ซึ่งจะเป็นกฎหมายที่จะช่วยให้เป็นบรรทัดฐานของการนำเสนอเรื่องต่อรัฐสภาตาม มาตรา 190 จะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นลั่นให้เจ้ากระทรวงแจงกฎหมายทุกฉบับส่วนในเรื่อง ข้อตกลงและการลงนามข้อตกลงต่างๆในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ เราหวังว่าจะเป็นส่วนสำคัญที่จะมีการผลักดันในกรอบความร่วมมือของอาเซียน เดินหน้าและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของทุกคนที่เป็นตัวแทนของประชาชนในการที่ จะนำเอกสารนั้นไปให้ความเห็นชอบต่อการประชุมสุดยอดผู้นำ ซึ่งมีเป้าหมายด้วยว่าการรวมกลุ่มของอาเซียนจะต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยง และยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง

นายกฯ กล่าวต่อว่า การประชุมที่จะมีขึ้นเพื่อรับรองเอกสารเหล่านี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ จะมีการประชุมที่ลงนามระหว่างผู้นำอาเซียน 10 ประเทศ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างที่วัน 27 ก.พ. - 1 มี.ค.นี้ โดยอาจมีข้อตกลงบางฉบับที่ทำกับคู่เจรจาที่จะได้รับการลงนามในช่วงนั้นด้วย แต่เอกสารอีกจำนวนหนึ่งก็จะไปลงนามรับรองกันในช่วงเดือนเม.ย.2552 ซึ่งเอกสารทั้งหมดที่ได้เสนอมานั้นประกอบไปด้วยเอกสารสำคัญ 41 ฉบับ ลงนามโดยผู้นำของอาเซียน 8 ฉบับ ลงนามโดย รมว.ต่างประเทศ 5 ฉบับ และลงนามโดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจ หรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง 28 ฉบับ เอกสารเหล่านี้จะอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงต่างประเทศ พาณิชย์ คมนาคม เกษตรและสหกรณ์ สาธารณสุข และกระทรวงพลังงาน ซึ่งตนจะขอให้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบในแต่ละเรื่องได้ชี้แจงสาระสำคัญแต่ละ ฉบับให้รัฐสภารับทราบด้วย

เผยส.ส.เคยอ่านเอกสารตั้งแต่ปีก่อนแล้ว

"สิ่งที่สมาชิกมีความกังวลเกี่ยวกับการพิจารณาเรื่องต่างๆใน วันนี้ อันที่จริงเอกสารทุกฉบับเป็นเอกสารที่รัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้นำเสนอต่อสภา และมีความตั้งใจจะประชุมร่วมรัฐสภาเมื่อวันที่ 24 พ.ย.2551 ดังนั้น ที่สมาชิกที่บอกว่ามีเอกสารเป็นกอง ส่วนใหญ่ได้ส่งมาแล้วรอบหนึ่งตั้งแต่เดือน พ.ย. ตนจำได้เพราะว่าเป็นผู้นำฝ่ายค้านในขณะนั้นได้มีการปรึกษากับประธานวิป รัฐบาลและประธานสภาทั้งสองคนด้วยว่าจะดำเนินการกันอย่างไร เพื่อที่จะให้การพิจารณาด้วยความเรียบร้อยราบรื่นมากที่สุด และได้ให้โอกาสกับฝ่ายค้านมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งขณะนั้น ก็ได้ข้อยุติด้วยดี เพียงแต่ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเกิดขึ้นก็จะจำเป็นที่จะนำเรื่อง เสนอกลับเข้ามาใหม่ แต่เอกสารก็เป็นชุดเดิมทั้งสิ้น ยกเว้น 3 เรื่อง คือ ข้อตกลงเรื่องการค้าเสรีที่อาเซียนจะไปทำกับจีนฉบับ 1 และทำกับอินเดียอีก 1 อีกฉบับหนึ่งและทำกับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ 1 ฉบับ ดังนั้น ตนเชื่อว่าสมาชิกส่วนใหญ่มีเอกสารทั้งหมดตั้งแต่เดือนพ.ย.แล้ว" นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนั้น ข้อตกลงในลักษณะนี้เป็นข้อตกลงของหลายประเทศในลักษณะพหุภาคี ซึ่งปัจจุบันนี้ประเทศสมาชิกอื่นได้ให้ความเห็นชอบพร้อมที่จะลงนามอยู่แล้ว เหลือเพียงประเทศไทยเท่านั้น ฉะนั้นการนำเสนอของรัฐบาลในวันนี้ก็เพื่อที่จะยืนยันในความพร้อมของประเทศ ไทยในการที่จะเป็นเจ้าภาพ และร่วมลงนามในข้อตกลงสำคัญๆเหล่านี้ หากบรรลุผลสำเร็จก็จะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และจะมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายเรื่อง เช่น พลังงาน อาหาร ความร่วมมือจากภัยพิบัติ การป้องกันผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ทั่วโลกประสบอยู่ในขณะนี้ นอกจากนี้ยังมีหนังสือสัญญา 2 ฉบับ คือ กรณีร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่าว่าด้วยความร่วมมือ ต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก และร่างบันทึกความเข้าใจกระทรวงแรงงานแห่งสาธารณรัฐเกาหลี และกระทรวงแรงงงานแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยการจัดส่งแรงงานไทยไปเกาหลี ซึ่งเป็นบันทึกความเข้าใจในกรอบทวีภาคี แต่เป็นสัญญาที่มีความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน

ยาหอม"กษิต"อยู่เบื้องหลังดันถกอาเซียน

สำหรับกรณีรมว.ต่างประเทศนั้นเดิมรัฐบาลได้เร่งรัดการเห็นชอบ หนังสือสัญญาต่าง ๆโดยได้มีการประชุมครม.นัดพิเศษเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2551 และได้อนุมัติร่างหนังสือสัญญาเหล่านี้เพื่อเสนอต่อรัฐสภา ตนได้ลงนามเสนอต่อประธานสภาฯตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค.2551 ส่วนหนึ่ง และลงนามเมื่อวันที่ 5 ม.ค.อีกส่วนหนึ่ง โดยมีความตั้งใจว่าจะพิจารณากันในช่วงประชุมสมัยวิสามัญ แต่เมื่อพบว่าทางรัฐสภาไม่สะดวกที่จะพิจารณาในขณะนั้นจึงเลื่อนมาเป็นสมัย สามัญ ซึ่งทั้งตน รมว.ต่างประเทศ และรัฐมนตรีอีกหลาย ๆคนเข้าใจมาตลอดว่าจะประชุมในวันที่ 21 - 22 ม.ค.2552 แต่เนื่องจากรัฐสภามีการนัดประชุมช่วงวันที่ 26 - 27 ม.ค.นี้ และช่วงที่รมว.ต่างประเทศตอบรับที่จะไปเยือนประเทศกัมพูชาเป็นช่วงก่อนที่จะ มีการนัดประชุมช่วงนี้ขึ้นมา จึงทำให้ไม่ทำให้มาร่วมประชุมได้ แต่ได้มอบหมายให้นายวีระชัย วีระเมธีกุล รมต.ประจำสำนักนายกฯ มาชี้แจงแทน ซึ่งตนเข้าใจว่าคืนนี้(26 ม.ค.)รมว.ต่างประเทศจะเดินทางกลับมา ตนได้กำชับว่าเมื่อได้เดินทางกลับมาก็จะมาที่รัฐสภา เพราะหากมีประเด็นอะไรที่ค้างคาอยู่จำเป็นที่จะต้องชี้แจงก็ต้องมาทำหน้าที่ ตรงนี้ในการรับผิดชอบต่อสภานายกฯ กล่าวในช่วงท้ายว่า เนื่องจากสมาชิกกังวลต่อร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วตนได้หารือกับประธานวิปฝ่ายค้าน และกำลังจะดูลู่ทางในการที่จะผลักดันการปฎิรูปการเมืองต่อไป ซึ่งตนถือว่าเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกัน เชื่อสมาชิกอาเซียนให้ความร่วมมือทั้งหมด

"นายกฯมาร์ค"ปัดข่าวไขก็อก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างพักการประชุม นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมร่วม 2 สภา เพื่อพิจารณากรอบข้อตกลงอาเซียนว่า บรรยากาศการประชุมวันนี้ถือว่าเรียบร้อยดี ส่วนการแสดงความคิดเห็นเป็นเรื่องที่ ส.ส.สามารถทำได้ ซึ่งฝ่ายค้านอาจมุ่งที่ตัวรัฐมนตรีมากกว่าสาระในการอภิปราย หากประธานวินิจฉัยว่าสามารถอภิปรายได้ก็ไม่มีปัญหาอะไร

เมื่อถามว่า มีการเสนอให้นายกฯลาออกภายหลังการประชุมอาเซียนซัมมิท และอยากให้ตั้งครม.ใหม่ นายอภิสิทธิ กล่าวว่าขอย้ำว่าประเทศได้เดินหน้าทำงานแล้ว จะมีการประเมินผลงานต่างๆเป็นระยะๆ คิดว่าการไปกำหนดอะไรเช่นนี้ไม่เป็นประโยชน์

"สุนัย"เล่นมุกเดิมอัด"กษิต"ไม่สง่างาม

จากนั้นในช่วงบ่าย ส.ส.ฝ่ายค้านส่วนใหญ่ยังคงผู้ยังคงอภิปรายถึงความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่ง รมว.ต่างประเทศของนายกษิต ภิรมย์ หนึ่งในมีส่วนร่วมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.นครสวรรค์ พรรคเพื่อไทย ได้อภิปรายในช่วงกรอบข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ออสเตรเลียนิวซีแลนด์ โดยกล่าวถึงกรณีที่มีการแต่งตั้งนายกษิต ถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากมีส่วนร่วมในการชุมนุมของพันธมิตรฯ ที่บุกยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และดอนเมือง จึงทำให้เป็นที่จับตามองของประเทศสมาชิก

ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงว่า ประเด็นข้อถกเถียงดังกล่าวว่า ตนเป็นผู้เชิญนายกษิต เข้าร่วมในการจัดตั้งรัฐบาลเอง เนื่องจากเห็นว่า นายกษิตมีความรู้ความสามารถที่จะดำรงตำแหน่ง รมว.ต่างประเทศ ที่สำคัญนายกษิต ยังผลักดันให้ไทยสามารถจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนได้ ส่วนรัฐมนตรีคนอื่นๆ ที่ฝ่ายค้านอภิปรายถึงนั้นนายกฯรับปากที่จะเข้าไปดูแลและตรวจสอบการทำงานว่า สัมฤทธิ์ผลหรือไม่

"เขยซีพี"อ้อนฝ่ายค้านร่วมลงนาม

จากนั้น นายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า เจตนารมณ์ของนายกฯต่อการลงนามในเอกสารความร่วมมือ นอกจากจะเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาค ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนชาวไทยและยังเป็นการส่งสัญญาณต่อความเชื่อมั่น ต่อประเทศไทย จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสมาชิกจะให้ความเห็นชอบในการพิจารณาร่างเอกสารทั้ง หมด เพื่อให้ประเทศไทยได้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีในอาเซียน

นายวีระชัย ได้ชี้แจงถึงเอกสารกรอบความร่วมมือที่เข้าสู่การพิจารณาทั้งหมดว่า ประกอบด้วย ร่างข้อตกลงกรอบความร่วมมือประกอบด้วยร่างข้อตกลงสำคัญ ประกอบด้วย ร่างปฏิญาณว่าด้วยแผนงานประชาคมอาเซียน 2009 - 2019 เป็นเอกสารฉบับเดียวที่จะลงนามโดยผู้นำ โดยเป็นเอกสารที่จะวางแนวทางและเป้าหมายการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายใน ปี2558 โดยได้ผนวกแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียนด้วย 3 เสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงแผนงานริเริ่มเพื่อให้เกิดการรวมตัวของเอเซียนฉบับที่ 2 เข้าไว้ด้วยกัน

แจงกรอบอาเซียนบวกสาม

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ กล่าวอีกว่า ส่วนกรอบความร่วมมือกับคู่เจรจา อาเซียนบวกสาม คือ จีน , ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้รวมถึงกรอบการเจรจาสุดยอดผู้นำเอเชีย รวม ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ทั้งหมดมี 4 ฉบับ คือ แถลงการณ์ว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานชีวภาพและความมั่นคงด้านอาหาร ในกรอบอาเซียนบวกสาม ซึ่งมีสาระสำคัญในการจัดตั้งคลังสำรองเข้าฉุกเฉินในประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตรวจสอบและติดตามความเคลื่อนไหวของปริมาณข้าวในภูมิภาคได้ นอกจากนี้ยังได้เน้นการสร้างความสมดุลด้านอาหารและพลังงาน อีกทั้ง ร่างแถลงการณ์ยังมีการว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติของการประชุมสุดยอดเอเชีย ตะวันออก ที่แสดงเจตนารมณ์ในความร่วมมือทางการเมืองในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง กันเพื่อจัดการภัยพิบัติในภูมิภาค ครอบคลุมการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติ การให้ความช่วยเหลือ และการฟื้นฟูบูรณะภายหลังภัยพิบัติ

"สำหรับร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์อาเซียนจีน ที่กรุงปักกิ่ง เพื่อเป็นศูนย์บริการครบวงจนเพื่อให้ข้อมูลและส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวการศึกษาและวัฒนธรรม ระหว่างอาเซียนและจีน โดยจีนและอาเซียนจะร่วมกันพิจารณาค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในสัดส่วน 9 ต่อ 1 โดยจีนจะออก 9 ส่วน อาเซียนออก 1 ส่วน , บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลออสเตรเลียกับรัฐบาลของประเทศอาเซียน ว่าด้วยโครงการความร่วมมืออาเซียนและออสเตรเลียฉบับที่สองโครงการความร่วม มือระหว่างปี 2551-2558 ที่จะให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าระหว่างออสเตรเลียกับอาเซียนมูลค่า 57 ล้านเหรียญออสเตรเลียโดยจะมุ่งพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร การสนับสนุนการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเผยกรอบกระทรวงพาณิชย์มี 10 เรื่อง" นายวีระชัย กล่าว

มั่นใจกรอบเจรจาสร้างความเป็นปึกแผ่นให้อาเซียน

ด้าน นางพรทิวา นาคาสัย รมว.พาณิชย์ ชี้แจงถึงข้อตกลงในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ว่า กรอบความร่วมมือที่อยู่ในการดูแลของกระทรวงพาณิชย์มีจำนวน 10 เรื่อง รวม 23 ฉบับ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ หนังสือสัญญาภายในอาเซียน และหนังสือสัญญาของอาเซียนกับคู่เจรจา ดังนั้น หนังสือสัญญาภายในอาเซียนประกอบด้วย ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน มีสาระสำคัญในการรวบรวมกฎเกณฑ์ทางการค้าเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) ครอบคลุมมาตรการภาษีและมาตรการที่ไมใช่ภาษีให้มีความทันสมัยและรวมอยู่ใน ฉบับเดียวกัน โดยไม่มีพันธกรณีเพิ่มจากที่มีอยู่เดิม , พิธีศาลอนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 7 ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการบริการของอเซียน เป็นนิติศาลที่กำหนดให้มีการเปิดเสรีการบริการตามข้อผูกพันในสัญญาแนบท้าย ความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียน เป็นการรวมข้อตกลงในการลงทุนและความตกลงส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนของอา เซียนที่มีอยู่เข้าด้วยกัน

นางพรทิวา กล่าวว่า หนังสือแจ้งเข้าร่วมข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมซึ่งได้ลง นามข้อตกลงไปแล้วตั้งแต่ปี 2548 และ 2550 ตามลำดับแต่ยังไม่มีผลบังคับใช้ , ข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพแพทย์ , ทันตแพทย์และบัญชี โดยเป็นข้อตกลงที่จะยอมรับร่วมกันในการกำหนดคุณสมบัติ การศึกษา และประสบการณ์ทำงาน ให้สามารถยื่นขอคำอนุญาตโดยไม่ต้องขอการอนุมัติคุณสมบัติซ้ำ , บันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย เรื่องน้ำตาล ข้อตกลงที่อินโดนีเซียจะรักษาระดับการนำเข้าน้ำตาลไม่ต่ำกว่าปริมาณเฉลี่ยนำ เข้าน้ำตาล 3 ปีย้อนหลัง เพื่อชดเชยกรณีที่อินโดนีเซียขอชะลอการลดภาษีสิ้นค้าน้ำตาลโดยข้อตกลงทั้ง หมดนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นของอาเซียนอย่างมีกฎเกณฑ์และ ชัดเจนมากขึ้น

"สำหรับข้อตกลงระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจา ประกอบด้วย ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกดานลงทุนระหว่างอาเซียน โดยให้ความคุ้มครอบการลงทุนกับนักลงทุนอาเซียนและจีนซึ่งจะส่งผลให้มีความ ร่วมมือระหว่างกันมากขึ้น ความตกลงภายใต้กรอบอาเซียน - สาธารณรัฐเกาหลี ประกออบด้วยเอกสารสัญญา 6 ฉบับ ครอบคลุมการเปิดตลาดการค้าสินค้าและบริการ" นางพรทิวา กล่าว

"โกโบริน"ป่วนสถาบันปกเกล้าฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการอภิปรายในช่วงนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เดินออกไปนอกห้องประชุม ส่งผลให้ ร.ต.ท.เชาวริน อภิปรายว่า ขณะนี้นายกฯ อยู่ไหน อยากให้เข้ามาฟังในห้องประชุมสภาฯ ด้วย เพราะมีการส่งเอสเอ็มเอส (SMS) ถึงสมาชิกรัฐสภาทุกคน เพื่อให้มาประชุมสภา ซึ่งสมาชิกบางส่วนไปเรียนอยู่ที่สถาบันพระปกเกล้า ก็ต้องมาประชุม ซึ่งตนเรียนที่สถาบันพระปกเกล้าผ่านมา 7 ปีแล้ว เป็นคนเดียวที่ติดเข็มวิทยฐานะของสถาบันมาโดยตลอด วันนี้ขอถอดออก เพราะสถาบันดังกล่าวเชิญนักวิชาการไปด่าพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนให้นักศึกษาฟัง และยังมีการมาบอกว่านักศึกษาที่เรียนแล้วมาร่วมประชุมสภาถือว่าไม่ขาดเรียน ทั้งนี้ ตนเห็นว่านายอภิสิทธิ์ เป็นคนที่พูดภาษาอังกฤษได้ดี หากมีเวลาว่างก็ควรจะไปเรียนภาษาจีนเพิ่ม เพราะภาษาจีนจะมีบทบาทสำคัญในเวทีโลก เนื่องจากกรอบเจรจาหลายฉบับเกี่ยวพันกับจีน ซึ่งเชื่อว่าไม่เกินความสามารถของนายอภิสิทธิ์แน่นอน

ขณะที่ นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้ชี้แจงว่าเรื่องนี้เป็นผู้ประสานงานไปที่สถาบันพระปกเกล้าเอง ขอหยุดการเรียนการสอนเอง แต่ไม่ใช่หยุดเรียนทั้งหมด เพราะผู้ที่ไม่ได้เป็นส.ส.ก็ยังต้องเรียนต่อไป ทั้งนี้เห็นว่าสถาบันพระปกเกล้าเป็นสถาบันประชาธิปไตย ก็ควรที่จะเปิดโอกาสให้ส.ส.มาประชุมขอให้ร.ตท.เชาวริน ติดเข็มวิทยฐานะไว้ที่เดิมหรือเก็บใส่กระเป๋าไว้ ทางด้านร.ต.ท.เชาวรินบอกว่านักวิชาการทำไม่ถูก แบบนี้ไม่ติดเข็มหรอก

ขู่ยืนศาลรธน.หากรบ.ไม่ตั้งกมธ.ศึกษากรอบอาเซียน

จากนั้น ร.ต.ท.เชาวรินได้อภิปรายต่อว่า ขอให้เริ่มต้นการเมืองใหม่โดยให้ ส.ส.ให้เกียรตินายกฯ เริ่มจากนายกฯอภิสิทธิ์และสื่อมวลชนจะมาเรียกคุณอภิสิทธิ์ไม่ได้ เห็นแล้วมันขัดตา ขอให้เรียกว่าท่านนายกฯ นอกจากนี้ ขอฝากให้นายกฯตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมด้วย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนจากต่างประเทศ

จากนั้น นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย กล่าวเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เพราะส่งผลกระทบให้รัฐบาลทำงานไม่ได้ เช่น กองทัพอากาศ มีปัญหาการก่อหนี้ งบผูกพันในการจัดซื้อเครื่องบินกริฟเฟน ซึ่งไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา นอกจากนี้ ตนอยากเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาเรื่องกรอบอาเซียนให้ ชัดเจน ถ้าไม่มีการตั้งคณะกรรมาธิการฯ ตนจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามมาตรา 154 เพราะขณะนี้ สมาชิกมีความเห็นขัดแย้ง ตนเชื่อว่าจะมีสมาชิก 60 คนร่วมลงชื่อด้วยแน่ และถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมีความขัดแย้งจริง ก็จะทำให้เรื่องกรอบอาเซียนตกไป

"ตนยังได้รับข้อมูลเป็นภาษายาวีจากนักศึกษาคนหนึ่ง ว่า มี ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงลึกว่าสมัยรัฐบาลทหาร มีการแจกปืนเป็นจำนวนมากใน จ.นราธิวาส โดยมีการระบุว่า ถ้าเป็นชาวพุทธครอบครองถือว่าถูกกฎหมายแต่ถ้าเป็นอิสลามถือว่า ผิดกฎหมาย ตนจะยื่นเรื่องให้นายกฯตรวจสอบ ซึ่งจะมอบเอกสารให้ภายหลัง" นายสงวน กล่าว

ติงรัฐบาลไม่พูดถึงผลกระทบหลังลงนาม

ขณะที่ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา กลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า นายกฯอภิปรายไม่ได้ให้ข้อมูล สาระอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง เพียงแต่เป็นการพูดตามวาระ ขณะที่การชี้แจงก็ไม่เคยบอกว่าการไปลงนามต่างๆ จะได้รับผลกระทบอะไรบ้างทั้งที่รัฐธรรมนูญบอกว่ามีมาตราเยียวยาผู้ได้รับผล กระทบด้วย แต่วันนี้เป็นเพียงให้รัฐสภาเร่งรีบให้ความเห็นชอบให้เร็วที่สุด ซึ่งหากยังไม่เปลี่ยนความคิดต่อ ม. 190 ในยุคฝ่ายค้าน ท่านคิดอย่างหนึ่ง เป็นรัฐบาลคิดอย่างหนึ่ง ทุกฝ่ายจะมองว่า ม.190 เป็นอุปสรรค

ทั้งนี้ ตนตั้งข้อสังเกตก่อนรัฐบาลไปทำการตกลงกับกลุ่มประเทศอาเซียนในทุกฉบับมีการ กำหนดถึงการไกลเกี่ยข้อพิพาทไว้ให้ตั้งอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศขึ้นโดย ให้จัดทำเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ แต่ตอนนี้อาจขัดต่อระบบศาลของไทยที่ให้การจัดทำเอกสารทุกอย่างเป็นภาษาไทย เท่านั้น ตรงนี้รัฐบาลได้เตรียมความพร้อมให้แก่นักกฎหมายไทยในเรื่องภาษาอังกฤษที่จะ ออกไปทำตลาดต่างประเทศแบบนี้แค่ไหน

จี้"กษิต"แจงตั้งลูกเขย"ประสงค์"นั่งอธิบดีสนธิสัญญา

ทางด้าน นายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ตนอยากจะคัดค้านในการประชุมอาเซียนในกรอบเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะก่อนหน้านี้ รมว.การต่างประเทศ ละมิดสิทธิมนุษยชนในการปิดสนามบินสุวรรณภูมิในเรื่องการเดินทางของประชาชน ซึ่งเข้าข่ายการก่อการร้ายสากลหรือไม่ ซึ่งไม่ทราบว่าประเทศอาเซียนจะกล้าลงนามกับไทยหรือไม่ เพราะรมว.กาต่างประเทศเป็นผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน เสียเอง

ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมี พ.ร.บ.จัดระเบียบการชุมนุมในที่สาธารณะ ซึ่งขณะนี้ร่างดังกล่าวที่ ตนเสนออยู่ในวาระการประชุมสภาควรนำมาพิจาณราก่อนร่างพ.ร.บ.ผู้สูงอายุ เพื่อให้รับทราบขอบเขตของการชุมนุมที่แต่ก่อนมีการพกระเบิดปิงปอง ไม้กอล์ฟ และปิดหน้าปิดตา ซึ่งสามารถกระทำได้ และการมีกำหมายการชุมนุมจะทำให้ ประเทศกลุ่มอาเซียนจะได้มั่นใจในประเทศไทยว่าจะไม่มีการปิดสนามบินอีก

นายจุมพฏ ยังกล่าวเรียกร้องให้นายกษิตชี้แจงการแต่งตั้งให้นายพฤทธิพงศ์ กุลทนันทน์ ลูกเขย น.ต.ประสงค์ ซึ่งเป็นแกนนำพันธมิตรฯ ไปอยู่ในตำแหน่งอธิบดี สนธิสัญญาและกฎหมายกระทรวงการต่างประเทศ ที่จะต้องไปเจรจากับอาเซียนอยากถามว่า บุคคลดังกล่าวมีความเหมาะสมอย่างไรเป็นการตอบแทนกลุ่มพันธมิตรฯหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น: