ตรุษ จีนปีนี้ชมสุริยุปราคาวงแหวน นักดาราศาสตร์ ระบุ ศูนย์กลางการเกิดอยู่ที่ทวีปแอฟริกาตอนใต้ มหาสมุทรอินเดีย และประเทศอินโดนีเซีย ส่วนในไทยเห็นได้บางส่วน โดยเฉพาะภาคใต้ กินพื้นที่เว้าแห่วงมากที่สุด ห้ามมองด้วยตาเปล่า
วันที่ 17 ม.ค. 52 นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต นักดาราศาสตร์ไทย เปิดเผยว่า ในวันตรุษจีนปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 26 มกราคม หรือวันชิวอิด คนไทยทั่วประเทศจะได้เห็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ สุริยุปราคาบางส่วน และพร้อม ๆ กันนี้จะเกิดสุริยุปราคาวงแหวนศูนย์กลางอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย มหาสมุทรอินเดีย และทวีปแอฟริกาตอนใต้
สุริยุปราคา หรือเรียกอีกอย่างว่า สุริยะคราส หมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก แล้วโคจรมาบังดวงอาทิตย์ จึงทำให้โลกไม่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ช่วงขณะหนึ่ง โดยเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบนโลก ทำให้บริเวณพื้นผิวโลกที่อยู่ใต้เงามืดของดวงจันทร์ เห็นดวงอาทิตย์มืดมิด เราเรียกว่า “สุริยุปราคาเต็มดวง” และบริเวณพื้นโลกที่อยู่ใต้เงามัวของดวงจันทร์ ก็จะเห็นดวงอาทิตย์มืดเป็นวงกลม โดยมีขอบสว่างล้อมรอบคล้ายวงแหวน เราเรียกว่า “วงแหวนสุริยุปาคา” ส่วนบางบริเวณก็เห็นดวงอาทิตย์มืดบางส่วนและสว่างบางส่วน เราเรียกว่า “สุริยุปราคาบางส่วน”
สำหรับประชาชนที่สนใจสามารถ ชมปรากฎการณ์ในวันดังกล่าว มีกำหนดระยะช่วงเวลาที่เห็นได้ในแต่ละพื้นที่ดังนี้
กรุงเทพฯ เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 53 นาที 1วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 59 นาที 52วินาที โดยคราสจะสิ้นสุดเวลา 17 นาฬิกา 58นาที 54 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 33.1%
เชียงใหม่ เริ่มเข้าคราส 16 นาฬิกา 5นาที 24 วินาที คราสลึกสุด 17นาฬิกา 2 นาที 18 วินาที คราสสิ้นสุด 17นาฬิกา 53นาที 32 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 18.7 %
หนองคาย เริ่มเข้าคราส 16นาฬิกา 2นาที 1วินาทีคราสลึกสุด 17นาฬิกา 2นาที 24 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 56นาที 28วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 25.3 %
อุตรดิตถ์ เริ่มเข้าคราส 16 นาฬิกา 02นาที 05 วินาที คราสลึกสุด 17นาฬิกา 1 นาที 58 วินาที คราสสิ้นสุด 17นาฬิกา 55นาที 25 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 22.8%
พิษณุโลก เริ่มเข้าคราส 16 นาฬิกา 0 นาที 8วินาที คราสลึกสุด 17นาฬิกา 1 นาที 36วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 56นาที 28 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 24.9%
อุดรธานี เริ่มเข้าคราส 16 นาฬิกา 0นาที 58 วินาที คราสลึกสุด 17 นาฬิกา 2 นาที 12วินาที คราสสิ้นสุด 17นาฬิกา 56นาที 56 วินาทีดวงอาทิตย์ ถูกบัง 26.6 %
นครสวรรค์ เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 57 นาที 30 วินาที คราสลึกสุด 17 นาฬิกา 00นาที 58 วินาท คราสสิ้นสุด 17นาฬิกา 57นาที24 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 2725 %
นครราชสีมา เริ่มเข้าคราส 15นาฬิกา 55 นาที 48 วินาที คราสลึกสุด 17 นาฬิกา 00 นาที 54 วินาที คราสสิ้นสุด 17นาฬิกา 58 นาที 38 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 31.9%
อุบลราชธานี เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 56 นาที 16วินาที คราสลึกสุด 17 นาฬิกา 01นาที 17 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 55นาที 48วินาที ดวงอาทิตย์ถูกบัง 34.7%
ชลบุรี เริ่มเข้าคราส 15นาฬิกา 52นาที 19วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 59 นาที 45 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 59 นาที 13 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 34.6 %
สุราษฎร์ธานี เริ่มเข้าคราส 15นาฬิกา 42นาที 45วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 56 นาที 07 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 59 นาที 59วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 43.6 %
ภูเก็ต เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 42 นาที 45 วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 56นาที 07 วินาที คราสสิ้นสุด 17นาฬิกา 59 นาที 59วินาทีดวงอาทิตย์ ถูกบัง 43.6%
สงขลา เริ่มเข้าคราส 15นาฬิกา 39นาที 12วินาที คราสลึกสุด 16นาฬิกา 54 นาที 44 วินาที คราสสิ้นสุด 18นาฬิกา 00 นาที 11 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง5028 %
ปัตตานี เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 38นาที 54 วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 54นาที 37 วินาที คราสสิ้นสุด 18 นาฬิกา 00 นาที 14 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 52.7 %
ฉะเชิงเทรา เริ่มเข้าคราส 15นาฬิกา 52 นาที 56 วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 59 นาที 51วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 59นาที 05วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบังไป 33.94 %
หอดูดาวบัณฑิตจังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มเข้าคราส 15นาฬิกา 52นาที 46 วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 59นาที 50วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 59 นาที 11 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง34.40 %
นัก ดาราศาสตร์ ยังระบุ ถึงการชมสุริยุปราคา ว่า ห้ามชมด้วยตาเปล่าต้องใช้แผ่นกรองแสงไมร่า หากไม่มี ให้ใช้กระดาษแข็งเจาะรูเล็กๆ แล้วส่องไปที่พื้น ถ้าบ้านเป็นหลังคามุงสังกะสี หรือ มุงกระเบื้องที่มีรูตะปูให้ดูแสงที่ลอดรูตะปูที่ตกทอดอยู่ที่พื้นเป็นดวงกลม เมื่อเกิดสุริยุปราคาแสงวงกลมจะแหว่งตามลักษณะที่สุริยุปราคาเกิดขึ้น หรือควรดูผ่านกระจกรมควันหนาๆ แบบโบราณ ส่องดูและห้ามส่องดูนานๆ เพราะจะมีผลต่อสุขภาพตาได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น