CBOX เสรีชน

14 มกราคม, 2552

เตือน‘สาทิตย์’ปิดวิทยุชุมชนส่อขัดรธน.

“อภิสิทธิ์-สาทิตย์” แบะท่าเดินหน้าแทรกแซงสื่อของรัฐ ยอมรับมีแนวคิดจะรื้อเอ็นบีทีใหม่ให้ตอบสนองการแจงผลงานของรัฐบาลมากขึ้น ขณะเดียวกันเร่งหาช่องกฎหมายใช้จัดการวิทยุชุมชน แสลง “สีแดง” จ่อเปลี่ยนโลโก NBT อ้างมั่วแบบเก่าเหมือนฝักใฝ่ขั้วการเมือง ด้านนักวิชาการติงระวังขัด รธน. ที่ปิดกั้นสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือการแสดงออก ขณะที่ คปส. ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ค้านใช้กฎหมายมั่นคงเล่นงานสื่อ พร้อมขอให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมหากมีการร่างกฎหมายเกี่ยวกับวิทยุชุมชน

จากกรณีที่รัฐบาลมีแนวคิดในการปิดเว็บไซต์และวิทยุชุมชน ด้วยข้ออ้างเรื่องความมั่นคงและจะมีการนำเอากฎหมายฮิตเลอร์ เข้ามาเป็นเครื่องมือนั้น ส่งผลให้นักวิชาการต่างลงความเห็นว่ารัฐพยายามใช้อำนาจที่จะเข้ามาแทรกแซง สื่อ และสถานการณ์ดังกล่าวเริ่มมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ดูแลสื่อออกมาแสดงท่าทีอย่างชัดเจน

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสื่อมวลชน ตอบโต้ข้อกล่าวหาปิดวิทยุชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ว่าตนทราบดีว่าอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลวิทยุชุมชนของรัฐบาลมีมากน้อยแค่ ไหน และที่ผ่านก็ยังไม่เคยมีคำสั่งให้ปิดเลย

“สภาพของสังคมขณะนี้เป็นสภาพอนาธิปไตยที่มีปัญหากันอยู่ ทั้งนี้กฎหมายประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์เป็นอำนาจของ กทช.ดูแลร่วมกับอนุกรรมการ เท่าที่ทราบขณะนี้อนุกรรมการเองก็มีปัญหามากเพราะมีการทำผิดกฎหมายหลายส่วน ซึ่งได้ประสานไปยัง กทช. เพื่อดูว่ามีหลักเกณฑ์ดำเนินการอย่างไร และกำลังให้กฤษฎีกาดูข้อกฎหมายว่า หน่วยงานที่สามารถดำเนินการตามกฎหมายต่างๆ ได้นั้นสามารถดำเนินการได้เช่นไร”

ทั้งนี้ เพราะในปัจจุบันมีวิทยุชุมชนทั้งหมดกว่า 5,000 แห่ง ซึ่งมีไม่กี่แห่งเท่านั้นที่เป็นปัญหา ได้มีการตักเตือนไปบ้างแล้วแต่ยังไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไข คงต้องรอดูว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะไปดำเนินการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นผล อย่างไร เพราะหากปล่อยไปสภาพเช่นจะกระทบต่อสังคมโดยรวมและคนที่ทำดีอยู่แล้วด้วย

เมื่อถามว่า กฎหมายที่ระบุสามารถนำไปใช้ดำเนินการปิดวิทยุชุมชนนั้นๆ ได้หรือไม่ นายสาทิตย์ กล่าวว่า พรบ.วิทยุ คมนาคมซึ่งคนทำวิทยุชุมชนต้องของอนุญาต กทช.นั้นสามารถดำเนินการตรวจยึดเครื่องได้เลย

นอกจากนี้ยังเปิดเผยด้วยว่า รัฐบาลชุดนี้มีนโยบายปรับปรุงกลไกสื่อของรัฐให้ตอบสนองการสร้างสมดุลของข่าว สาร โดยในส่วนของกรมประชาสัมพันธ์ได้ให้นโยบายไปแล้ว ทางผู้บริหารจะเสนอแผนกลับมาและมีความชัดเจนในเดือนกุมภาพันธ์นี้

ขณะที่สถานีโทรทัศน์วิทยุแห่งประเทศไทย หรือเอ็นบีที ได้ปรับในแง่ของการเสนอข่าวสารในสัดส่วน 40% ต้องมีความสมดุล ไม่เป็นเครื่องมือทางการเมือง สำหรับโลโก้ของเอ็นบีที ต้องเปลี่ยนใหม่ เพราะที่ผ่านมาโลโก้สะท้อนความเป็น ฝักฝ่ายทางการเมือง แต่จะปรับอย่างไร ขอใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง แต่ต้องทำให้ช่อง 11 สะท้อนความเป็นสื่อสาธารณะของประชาชนอีกช่องหนึ่ง โดยระยะยาวจะปรับสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ให้ดำเนินการในรูปแบบขององค์การ มหาชน เพื่อให้เป็นสื่อสาธารณะที่ปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง

นายสาทิตย์ กล่าวว่า สำหรับ อสมท. อำนาจ รมต. มีหน้าที่เพียงกำกับดูแลและให้นโยบายผ่านคณะกรรมการ ซึ่งจะเน้น 3 เรื่องหลัก คือ ความโปร่งใสในการบริหารงาน ประสิทธิภาพในการทำงาน กำกับดูแลการทำงานของบอร์ด โดยเฉพาะกระบวนการสรรหากรรมการผู้อำนวยการใหญ่คนใหม่

ทั้งนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อทั้งหมด ทั้งแก้กฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และออกกฎหมายที่มาดูแลสื่อใหม่ เช่น โทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิลทีวี และวิทยุชุมชน

ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนนหึ่งในการบรรยายเรื่องนโยบายและการผลักดันปฏิรูปสื่อของรัฐบาล อภิสิทธิ์1 ว่า ปัจจุบันสื่อมีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชน และเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งซึ่งต้องทำงานบนหลักประชาธิปไตย มีสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งสะท้อนข้อมูลความเห็นและมุมมองต่างๆ อย่างเป็นกลาง

ทั้งนี้ ตนมีแนวคิดปฏิรูปรูปแบบสถานีโทรทัศน์ NBT ให้กลับมาเป็นสถานีสาธารณะ เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้รัฐบาลชี้แจงการทำงาน โดยยืนยันจะไม่มีการหาผลประโยชน์ทางการเมือง อีกทั้งจะมีการจัดสรรเวลาให้กับฝ่ายค้านด้วย

พร้อมกันนี้ยังตอบคำถามถึงแนวทางจัดสรรสื่อของส่วนราชการ ว่า ต้องพิจารณาอย่างตรงไปตรงมา และดูกันตามความเป็นจริงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยต้องดูว่ารัฐมีคลื่นที่ใช้เพื่อความมั่นคงอยู่ในมือมากน้อยเพียงใด สอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่ ซึ่งตนแน่ใจว่าไม่สอดคล้อง ดังนั้น ควรดึงกลับมาพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยหน่วยงานเดิมจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ขณะที่การดูแลวิทยุชุมชนนั้น ต้องทำให้เป็นไปตามเจตนารมย์เดิม คือเป็นสื่อของชุมชน อีกทางเลือกหนึ่ง หากประชาชนไม่สามารถเข้าถึงสื่อกระแสหลักได้

ทางด้าน รศ.อรุณีประภา หอมเศรษฐี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการสรรหา กสช. ได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องดังกล่าวว่าการที่จะใช้กฎหมายเข้ามากำกับดูแลใน ส่วนของวิทยุชุมชนที่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องขององค์กรที่จะดูแล หรือกฎหมายนั้น ตนมองว่าการจะมาอ้างเรื่องการเกิดปัญหาของการดำเนินของทั้งวิทยุชุมชนหรือ เว็บไซต์โดยใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง

ตนมองว่าประเด็นดังกล่าว จะเลือกใช้กฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งคงจะทำได้ยาก เนื่องจากว่า พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวก็จะดูแลในส่วนของความมั่นคงเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมในเรื่องอื่นๆ ด้วย เพราะจะต้องคำนึงว่าเมื่อไม่มีกฎหมายรองรับ หรือไม่มีหน่วยงานที่ชัดเจนเข้ามาดูแล การประกอบการก็อาจะไปคาบเกี่ยวในส่วนของคลื่นเอกชนที่เคยมีปัญหากันมาก่อน หน้านี้ ในส่วนของการแทรกคลื่น

ในส่วนนี้เราก็อาจจะพิจารณาในเรื่องของ พ.ร.บ.คลื่นความถี่เข้ามาจัดสรรคลื่น เพื่อไม่ได้คลื่นของวิทยุชุมชนไปทับซ่อนคลื่นของเอกชนที่ได้มีการเปิดทำการ มาก่อนหน้านี้ เพื่อไม่ให้สร้างความเสียหายกับคลื่นของเอกชน
นอกจากนี้รศ.อรุณีประภา กล่าวต่อไปอีกว่า นอกจากนี้เราต้องดูในส่วนของรัฐธรรมนูญด้วย ที่ได้ร่างไว้ในเรื่องของสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือการแสดงออกใน สิทธิของตนเองเพื่อนำมาประกอบในการพิจารณาต่างๆ

“การจะมาอ้างกฎหมาย พ.ร.บ.ฉบับใดฉบับหนึ่งนั้นคงทำไม่ได้ เพราะว่ามีหลายส่วนที่เราต้องพิจารณา พ.ร.บ.ฉบับอื่น หรือกฎหมายข้ออื่นๆด้วย เพราะไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะไม่มีความเป็นกลางในการพิจารณาสั่งปิดวิทยุชุมชน ก็เป็นได้”
ทั้งนี้ รศ.อรุณีประภาได้ให้ความชัดเจน ในเรื่องของกฎหมายลูกเกี่ยวกับวิทยุชุมชน ว่าในปัจจุบันมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพียงแต่ว่าตอนนี้เรายังไม่มีหน่วยงานหรือองคืกรที่จะเข้ามาดูมาดูแลกฎหมาย ลูกตรงนั้นเพื่อพัฒนาให้ทุกภาคส่วนมีกลไกในการทำงานหรือระเบียบในการดำเนิน งานกิจการอย่างเท่าเทียมกัน

“ทุกวันนี้ที่ยังไม่มีองค์กร กสช.เข้ามาดูแลกำกับในส่วนของวิทยุชุมชนทำให้เป็นปัยหาอย่างมากในปัจจุบัน เมื่อเป็นอย่างนี้ก็เป็นความพยายามที่ทางภาครัฐจะเข้ามาแทรแซง หรือต้องการกำกับดูแล มันเป็นเรื่องปกติมากสำหรับเรื่องดังกล่าว หากเรามีหน่วยงาน มีกฎหมายให้ปฏิบัติและยึดหลักตามกฎหมาย รัฐก็ไม่สามารถที่จะเข้ามาแทรกแซงในองค์กรดังกล่าวได้”

รศ.อรุณีประภาได้กล่าวไว้ในตอนท้ายว่า ตอนนี้ถ้ามีการเร่งพิจารณการสรรหาคณะกรรมการ กสช.ปัญหาดังกล่าวก็น่าจะมีความขัดแย้งน้อยลง แต่ว่าก็อาจจะยังมีปัญหาอยู่บ้าง แต่ตนเชื่อว่าตอนนี้หากใครก็ตามที่ได้รับการสรรหาเข้ามา ขอให้มีความชัดเจน และมีความเป็นกลาง เรื่องปัญหาความพยายามในการแทรกแซงน่าจะหมดไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 13 มกราคม ที่ผ่านมา ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) พร้อมด้วยเครือข่ายพลเมืองเน็ต และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT) เดินทางมายื่นหนังสือต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอความชัดเจนกรณีที่รัฐบาลเตรียมจะใช้ข้ออ้างเรื่องหมื่นสถาบันและความ มั่นคงเข้ามาจัดการอินเตอร์เน็ตและวิทยุชุมชน ถึงขนาดจะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง 2551 ว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร รวมถึงคัดค้านการประกาศสงครามกับวิทยุชุมชนและอินเตอร์เน็ต หรือวอร์รูม โดยจะใช้งบ 80 ล้านบาท เพื่อจัดการ เพราะเป็นการละเมิดนโยบายด้านสื่อของรัฐบาลและสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของ ประชาชน

นายอภิสิทธิ์ ได้ออกมารับหนังสือพร้อมชี้แจงว่า รัฐบาลจะพยายามสร้างความสมดุลระหว่างเรื่องของสิทธิเสรีภาพและความมั่นคงใน การเข้าไปจัดการเรื่องดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม น.ส.สุภิญญา กล่าวว่าหากจะมีการผลักดันร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิทยุชุมชน ก็ขอให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม และอยากให้นายกฯ เดินทางไปรับฟังข้อเสนอแนะจากภาคประชาชนเช่นเดียวกับที่ไปรับฟังข้อเสนอแนะ จากภาคธุรกิจด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: