ที่มา เวบไซต์ มติชน
9 ตุลาคม 2552
ป.ป.ช. กลับลำยกคำร้องข้อกล่าวหา"วิจิตร ศรีสอ้าน" นั่งควบเก้าอี้ รมว.ศึกษา-นายกสภามหาวิทยาลัย 4 แห่ง ไม่ผิด อ้างไม่ใช่ธุรกิจเอกชน สวนทางมติเดิมที่เคยยืนยันผลประโยชน์ส่วนตัว ขัดแย้งกับผลประโยชน์ส่วนรวม
แหล่ง ข่าวจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผย "มติชนออนไลน์" ถึงความคืบหน้ากรณีการไต่สวนเรื่องที่มีกล่าวหา นายวิจิตร ศรีสอ้าน ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีพฤติการณ์ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา100 (4) เนื่องจากดำรงตำแหน่งนายกและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนถึง 4 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสยาม, มหาวิทยาลัยรังสิต , มหาวิทยาลัยศรีโสภณ และวิทยาลัยเฉลิมกาญจนาภิเษกว่า
ในการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว ปรากฏว่า เสียงส่วนใหญ่มีมติให้ยกข้อกล่าวหาดังกล่าว
โดยอ้างว่า สถาบันอุดมศึกษาเอกชนมิใช่ธุรกิจเอกชน ตามพ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 และประมวลรัษฎากรซึ่งมหาวิทยาลัยเอกชนไม่ต้องเสียภาษี
อย่าง ไรก็ตาม ป.ป.ช.เสียงข้างน้อยเห็นว่า ถ้า ป.ป.ช.วินิจฉัยออกมาในแนวทางดังกล่าว ต่อไปรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีอำนาจกำกับดูแลมหาวิทยาลัยเอกชน เมื่อพ้นจากตำแหน่ง ก็สามารถไปเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเอกชนได้
ผู้สื่อรายงานว่า มติของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ดังกล่าว ขัดแย้งกับมติคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในการประชุมครั้งที่ 65/2551 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 ซึ่งมีความเห็นว่า
สถาบันอุดมศึกษาเอกชนเป็นธุรกิจเอกชนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลควบคุมหรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐ การดำรงตำแหน่งเป็นนายกสภาสถาบัน หรือกรรมการสภาสถาบันของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น ถือว่า เป็นกรรมการในธุรกิจของเอกชน ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลควบคุมหรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ
นอกจากนั้น การดำเนินการบางอย่างของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เช่น การอนุมัติแผนการเงิน งบดุล งบการเงินประจำปีของกองทุนประเภทต่างๆ การอนุมัติ การรับนักศึกษา การให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิต หรือปริญญากิตติมศักดิ์แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยสภาพของผลประโยชน์ อาจขัดหรือแย้งต่อประโยชน์ส่วนรวม หรือประโยชน์ของทางราชการ หรือกระทบต่อความมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ
ดังนั้น หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบัน หรือกรรมการสภาสถาบันในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จึงเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวมตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 100 และต้องห้ามมิให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบัน และกรรมการสภาสถาบันในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ภายหลังพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้วไม่ถึงสองปีด้วย ........
ความเห็นจากชาวเวบบอร์ด พันทิปราชดำเนิน
คุณตระกองขวัญ
อ่าน รายละเอียดดูแล้วจะรู้สึกได้ว่า งานนี้มันเป็นการพยายามตีความ เพื่อช่วยเหลือเอื้ออวยกันชัด ๆ แล้วมาตรฐานความเที่ยงธรรมอยู่ไหน ? จะให้ประชาชนเชื่อถือได้อย่างไร ? หรือถือว่าไม่อาย ไม่ด้าน ทำงานให้เข้าเป้าเป็นหลัก แล้วบ้านเมืองจะอยู่กันอย่างไร ?
ผม คิดว่า ที่กลับลำแบบนี้ เพราะถ้าชี้มูลออกมาว่า ผิดกฎหมาย ปปช. มาตรา 100 มันก็จะไปอีหรอบเดียวกันกับทักษิณ ทักษิณโดนไป 2 ปี คนนี้ก็ต้องโดนด้วย จะรอลงอาญาก็ไม่สนิท มันก็เลยต้องกลับลำ ตีความออกมาแบบนี้ อีกอย่าง หากตีความว่าผิด มันจะโยงและพัวพันไปอีกหลายเรื่อง เช่น ศาลรัฐธรรมนูญบางคนที่สอนในมหาวิทยาลัยเอกชน แล้วตัดสินให้สมัครหลุดเก้าอี้
ว่าแต่ว่า ป.ป.ช. ครับเรื่องจารุวรรณ เมณฑกา ไปถึงไหนแล้ว คงไม่ดองจนแก่ตายหรอกนะ
คุณ Jampoon
ก็เขาไม่ได้วินิจฉัยโดยใช้พจนานุกรมแบบศาลนี่ แต่วินิจฉัยแบบศรีธนญชัย เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ ป.ป.ช.
คุณ Namtoa08
ทำ ใจครับ ประเทศไทยยามนี้ จะทำให้คนเล่นตามกติกาที่วางไว้ หายากครับ ต่างคนต่างใช้มาตรฐานโดยเอาตัวเอาพวกเป็นที่ตั้ง อำนาจอยู่ในมือแล้วนี่ จะทำอะไรก็ได้ เศร้าใจจริง ๆ กับองค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบ ถ้ายังเป็นอย่างนี้มีแต่พัง
คุณกิจ กังวาน
เรื่อง นี้เปรียบเทียบได้หมดล่ะครับ กับสิ่งที่เกิดขึ้น มันชี้ให้เห็นถึงมาตรฐานกฎหมาย สำหรับพวกเอ็งกับพวกข้า.!!!!! แล้วจะทนกันไปอีกสักกี่น้ำเล่าหนอ ..พี่น้องเอย ?????
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น