CBOX เสรีชน

14 เมษายน, 2552

แถลงการณ์เครือข่ายสันติประชาธรรม

แถลงการณ์เครือข่ายสันติประชาธรรม

ประณามการใช้ความรุนแรง ยุติการสร้างเงื่อนไขที่จะนำประเทศชาติไปสู่ภาวะไร้กฎหมาย

ใช้แนวทางประชาธิปไตยโดยปราศจากการใช้ความรุนแรง


นายกรัฐมนตรีได้พยายามโน้มน้าวให้ผู้คนเข้าใจว่า รัฐบาล จะนำความสงบเรียบร้อยมาสู่สังคมไทย แต่ทั้งเจตนาและการกระทำที่เกิดขึ้นนั้นตรงกันข้ามกับการโฆษณาโดยสิ้นเชิง การกล่าวอ้างทั้งหลายนั้น มาจากการคิดคำนวณทางการเมืองเพื่อรักษาอำนาจที่ได้มาด้วยชั้นเชิง

บัดนี้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า รัฐบาลกำลังบิดเบือนความเคลื่อนไหวทางการเมืองในขณะนี้ ให้กลายเป็นความขัดแย้งระหว่าง “ศัตรูของประเทศชาติ” กับ “รัฐบาล” ดังคำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐบาลไม่ควรผลักไส ป้ายสีให้ผู้มีความเห็นแตกต่างทางการเมืองกลายเป็นศัตรูของรัฐ จนเป็นเหตุที่จะสร้างเงื่อนไขนำไปสู่การปราบปรามผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง

ใน ส่วนของผู้ชุมนุม ซึ่งอาศัยแนวทางการชุมนุมโดยสงบและสันติมาโดยตลอด ควรยึดมั่นในการดำเนินการทางการเมืองตามแนวทางที่ตนเองยึดมั่นและประกาศเสมอ มา แทนที่จะเผชิญหน้าเพื่อเอาชนะคะคาน ผู้ชุมนุมควรหาหนทางช่วยลดเงื่อนไข เพื่อตัดชนวนความรุนแรง โดยคำนึงถึงความสูญเสียของประชาชนไม่ว่าจะฝ่ายใดเป็นหลัก

พวกเรากลุ่มนักวิชาการตามรายชื่อท้ายจดหมายนี้มีความเห็นดังต่อไปนี้

1. ประณามการใช้ความรุนแรงของรัฐ โดยการออกพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน จนนำไปสู่การปะทะกันของทหารกับมวลชนนปช. เมื่อเช้าวันที่ 13 เมษายน ที่สามแยกดินแดง กรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่รัฐบาลให้ทหารใช้กระสุนจริงในการสลายฝูงชน การสลายการชุมนุมยามวิกาล การไม่แจ้งล่วงหน้า การคุมข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ จนเกิดการสูญเสียของประชาชน และทวีความเจ็บแค้นให้กับผู้ชุมนุ,

ประวัติ ศาสตร์ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยได้พิสูจน์มาหลายต่อหลายครั้งแล้ว ว่า การแก้ปัญหาทางการเมืองไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้อำนาจความรุนแรงทางการท หาร สังคมทั่วโลกและประชาชนในประเทศไทยตระหนักดีว่า ความขัดแย้งในขณะนี้เป็นปัญหาทางการเมือง ไม่ใช่ปัญหาเรื่องความมั่นคงของรัฐ การแสดงออกทางการเมืองของประชาชนไม่ได้เป็นไปเพื่อทำลายความมั่นคงของรัฐ ดังนั้น รัฐบาลต้องยกเลิก พรก.ฉุกเฉินที่มิได้มีไว้เพื่อแก้ปัญหาการเมืองโดยเร็วที่สุด รัฐบาลต้องสั่งการให้ทหารยุติการใช้กระสุนจริงและอาวุธสงครามใดๆโดยเด็ดขาด

2. ประณามการใช้ความรุนแรงโดยกลุ่มคนที่สังคมกำลังสงสัยว่าเป็นกองกำลังหรือกลุ่มคนของรัฐ เช่น “กลุ่มเสื้อน้ำเงิน” เมื่อ วันที่ 11 เมษายนที่เมืองพัทยา และโดยการ์ดของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีบางคน เมื่อวันที่ 12 เมษายนที่กระทรวงมหาดไทย หากรัฐบาลไม่สามารถชี้แจงข้อเท็จจริงและความเกี่ยวข้องของรัฐบาลกับกับกอง กำลังหรือการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐเหล่านั้นได้ รัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อการปล่อยปละละเลย หรืออาจถึงขั้นสนับสนุนให้มีการใช้ความรุนแรง

3. เรียก ร้องให้ผู้ชุมนุมพยายามหาทางหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงโดยฝ่ายประชาชน ไม่ว่าจะเป็นมวลชนกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลหรือต่อต้านรัฐบาล ขอให้ผู้ชุมนุมดำเนินอยู่ในแนวทางการชุมนุมที่เคารพกฎหมาย ในกรอบของรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด ไม่ยั่วยุหรือริเริ่มการกระทำใดๆที่จะเป็นเงื่อนไขนำไปสู่ความรุนแรง

4. ส่วน หนึ่งของปัญหาความรุนแรงในขณะนี้มาจากการที่ สื่อไม่ได้ทำหน้าที่เสนอข่าวอย่างเป็นกลางและรอบด้าน พวกเราเรียกร้องให้สื่อมวลชนเคารพต่อความจริง นำเสนอข่าวสารอย่างรอบด้าน ไม่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเงื่อนไขความรุนแรง และยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย ในภาวการณ์ซึ่งสังคมต้องการทางเลือกที่ปราศจากการใช้ความรุนแรง สื่อต้องเปิดพื้นที่รณรงค์ขอประชามติประชาชนเกี่ยวกับทางออกต่อสถานการณ์ใน ขณะนี้ เช่นให้มีการถกเถียงเรื่องการยุบสภาหรือการลาออกของนายกรัฐมนตรี

พวก เรานักวิชาการจากสถาบันต่างๆ ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยึดหลักสันติธรรม ได้แก่การคลี่คลายสถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองโดยปราศจากความรุนแรง และเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาในระบอบประชาธิปไตย หากรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยวิถีทางทางการเมืองได้ รัฐบาลต้องกล้าหาญตัดสินใจลาออกหรือยุบสภา พร้อมทั้งเรียกร้องให้ผู้ชุมนุมต้องมีสติ และคำนึงถึงความสูญเสียของประชาชนไม่ว่าจะฝ่ายใดเป็นหลัก

เครือข่ายสันติประชาธรรม
13 เมษายน 2552

เกษม เพ็ญภินันท์
ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร
คู่บุญ จารุมณี
จีรพล เกตุจุมพล
ฉลอง สุนทราวาณิชย์
ไชยันต์ รัชชกูล
ดารณี แสงนิล
ทวีศักดิ์ เผือกสม
ธนาพล ลิ่มอภิชาติ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์
พิศาล มุกดารัศมี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วีระศักดิ์ กีรติวรนันท์
สังกมา สารวัตร
ศิวพล ละอองสกุล
ศรีประภา เพชรมีศรี
อภิชาต สถิตนิรามัย
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์

ไม่มีความคิดเห็น: