โพลล์ชี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 71.0 ปลาบปลื้มปิติบทเพลงพระราชนิพนธ์'ใกล้รุ่ง' ส่วนร้อยละ 41.0 เชื่อว่าเพลง'เกิดเป็นไทย ตายเพื่อไทย'สามารถทำให้คนไทยรักชาติบ้านเมือง-ประเทศสงบสุข มีความรักสามัคคีกัน พร้อมแนะ'อภิสิทธิ์'อันเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์มาจัดรายการ'เชื่อมั่นประเทศ ไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์'ที่ออกอากาศทุกวันอาทิตย์
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่าววิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง บทเพลงพระราชนิพนธ์ในความทรงจำและความปลาบปลื้มปิติของคนไทยกับความสามัคคี ของคนในชาติ ซึ่งจากการศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,209 ตัวอย่าง โดยดำเนินการระหว่างวันที่ 10-22 ม.ค. ที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 84.4 เคยฟังบทเพลงพระราชนิพนธ์ ในขณะที่ร้อละ 15.6 ไม่แน่ใจ
นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบอีกด้วยว่า แหล่งหรือสถานที่ที่เคยฟังบทเพลงพระราชนิพนธ์อันดับแรก คือร้อยละ 68.4 ได้ฟังจากรายการโทรทัศน์ รองลงมาร้อยละ 42.1 ได้ฟังจากสถานีวิทยุ คลื่นเอฟเอ็ม และร้อยละ 16.5 ได้ฟังจากเทป ซีดี วีซีดี เอ็มพี3 และรองลงไปได้แก่ จากเวทีวงดนตรีร้องเพลง จากสถานีวิทยุเอเอ็ม จากอินเตอร์เน็ต จากร้านอาหารและอื่นๆ เช่น สถานศึกษา สถานที่ราชการ และเสียงตามสายชุมชนเป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์ในความทรงจำและความปลาบปลื้ม ของประชาชน พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 71.0 ระบุบทเพลงพระราชนิพนธ์'ใกล้รุ่ง' ในขณะที่ร้อยละ ระบุบทเพลง'ความฝันอันสูงสุด' ร้อยละ 42.2 ระบุบทเพลง'เราสู้' ร้อยละ 33.3 ระบุเพลง'ชะตาชีวิต' และร้อยละ 31.7 ระบุเพลง 'แผ่นดินเรา'
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อถามถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ประชาชนสามารถร้องได้จนจบ พบว่า ร้อยละ 24.8 ระบุร้องเพลงพระราชนิพนธ์'ใกล้รุ่ง'ได้จนจบ ร้อยละ21.8 ระบุบทเพลง'พรปีใหม่' ร้อยละ 20.7 ระบุบทเพลง'แสงเทียน' ร้อยละ 17.9 ระบุบทเพลง'เกิดเป็นไทย ตายเพื่อไทย' ร้อยละ 17.1 ระบุบทเพลง'สายฝน' ร้อยละ 16.5 ระบุบทเพลง'ความฝันอันสูงสุด ร้อยละ 16.0 ระบุบทเพลง'ชะตาชีวิต' ร้อยละ 14.8 ระบุบทเพลง'เราสู้' ร้อยละ 13.2 ระบุบทเพลง'ยามเย็น' และร้อยละ 21.3 ระบุบทเพลงอื่นๆ เช่นบทเพลงแผ่นดินของเรา ลมหนาส อาทิตย์อับแสง ยิ้มสู้ ราชนาวิกโยธิน เป็นต้น
และที่น่าพิจารณา คือ ประชาชนเชื่อว่ามีบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่น่าจะนำมาเพื่อสร้างบรรยากาศให้คน ไทยรักชาติบ้านเมือง ทำให้ประเทศสงบสุข มีความรักสามัคคีกันในหมู่ประชาชน โดยผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 41.0 ระบุบทเพลง 'เกิดเป็นไทย ตายเพื่อไทย' ในขณะที่ร้อยละ 31.0 ระบุบทเพลง'แผ่นดินของเรา' ร้อยละ 22.1 ระบุบทเพลง'เราสู้' ร้อยละ 16.2 ระบุบทเพลง'ความฝันอันสูงสุด' ร้อยละ 11.4 ระบุบทเพลง'ใกล้รุ่ง' ร้อยละ 10.9 ระบุบทเพลง'แสงเทียน' ร้อยละ 7.4 ระบุบทเ�พลง'แผ่นดินของเรา' ร้อยละ 22.1 ระบุบทเพลง'เราสู้' ร้อยละ 16.2 ระบุบทเพลง'ความฝันอันสูงสุด' ร้อยละ 11.4 ระบุบทเพลง'ใกล้รุ่ง' ร้อยละ 10.9 ระบุบทเพลง'แสงเทียน' ร้อยละ 7.4 ระบุบทเพลง'ยิ้มสู้' ร้อยละ 1.7 ระบุบทเพลง'ชะตาชีวิต' ร้อยละ 5.6 ระบุบทเพลง'ยามเย็น' และที่เหลือระบุอื่นๆ เช่น บทเพลงสายฝน พรปีใหม่ เตือนใจ รักไกลกังวล และดวงใจกับความรัก เป็นต้น
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวอีกว่า สิ่งที่ค้นพบในการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า บทเพลงพระราชนิพนธ์อยู่ในความทรงจำและความปลื้มปิติของประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยประชาชนทั่วไปได้เล็งเห็นว่าบทเพลงพระราชนิพนธ์มีบทบาทสำคัญที่จะสร้าง บรรยากาศให้คนไทยรักชาติ บ้านเมือง ทำให้ประเทศสงบสุข ประชาชนคนไทยมีความรักสามัคคีกันและกัน ดังนั้นรัฐบาล หน่วยงานและสถาบันสื่อสารมวลชนที่เกี่ยวข้องอาจจะนำผลการศึกษาครั้งนี้ไป ประกอบการพิจารณาตัดสินใจใช้บทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวเชื่อมประสานความรักและไมตรีจิต ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
อย่างไรก็ตาม การช่วยเหลือเกื้อกูลกันนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของกฎกติกาของสังคมและเป็นไป ตามเวรกรรมของแต่ละคนที่ทำกันไว้เหมือนกับเนื้อสาระบางตอนในบทเพลงพระราช นิพนธ์'แสงเทียน' และสิ่งที่เป็นข้อเสนอแนะอีกประการหนึ่งคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี น่าจะอันเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์มาในโอกาสจัดรายการ'เชื่อมั่นประเทศไทยกับ นายกฯอภิสิทธิ์'ที่ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เพราะความจงรักภักดีต่อสถาบันและความรักความสามัคคีของคนในชาติ สามารถถูกแสดงออกได้ตลอดเวลา ไม่ใช่เฉพาะโอกาสใดโอกาสหนึ่งของแต่ละปีเท่านั้น' ดร.นพดลกล่าว
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่าววิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง บทเพลงพระราชนิพนธ์ในความทรงจำและความปลาบปลื้มปิติของคนไทยกับความสามัคคี ของคนในชาติ ซึ่งจากการศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,209 ตัวอย่าง โดยดำเนินการระหว่างวันที่ 10-22 ม.ค. ที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 84.4 เคยฟังบทเพลงพระราชนิพนธ์ ในขณะที่ร้อละ 15.6 ไม่แน่ใจ
นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบอีกด้วยว่า แหล่งหรือสถานที่ที่เคยฟังบทเพลงพระราชนิพนธ์อันดับแรก คือร้อยละ 68.4 ได้ฟังจากรายการโทรทัศน์ รองลงมาร้อยละ 42.1 ได้ฟังจากสถานีวิทยุ คลื่นเอฟเอ็ม และร้อยละ 16.5 ได้ฟังจากเทป ซีดี วีซีดี เอ็มพี3 และรองลงไปได้แก่ จากเวทีวงดนตรีร้องเพลง จากสถานีวิทยุเอเอ็ม จากอินเตอร์เน็ต จากร้านอาหารและอื่นๆ เช่น สถานศึกษา สถานที่ราชการ และเสียงตามสายชุมชนเป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์ในความทรงจำและความปลาบปลื้ม ของประชาชน พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 71.0 ระบุบทเพลงพระราชนิพนธ์'ใกล้รุ่ง' ในขณะที่ร้อยละ ระบุบทเพลง'ความฝันอันสูงสุด' ร้อยละ 42.2 ระบุบทเพลง'เราสู้' ร้อยละ 33.3 ระบุเพลง'ชะตาชีวิต' และร้อยละ 31.7 ระบุเพลง 'แผ่นดินเรา'
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อถามถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ประชาชนสามารถร้องได้จนจบ พบว่า ร้อยละ 24.8 ระบุร้องเพลงพระราชนิพนธ์'ใกล้รุ่ง'ได้จนจบ ร้อยละ21.8 ระบุบทเพลง'พรปีใหม่' ร้อยละ 20.7 ระบุบทเพลง'แสงเทียน' ร้อยละ 17.9 ระบุบทเพลง'เกิดเป็นไทย ตายเพื่อไทย' ร้อยละ 17.1 ระบุบทเพลง'สายฝน' ร้อยละ 16.5 ระบุบทเพลง'ความฝันอันสูงสุด ร้อยละ 16.0 ระบุบทเพลง'ชะตาชีวิต' ร้อยละ 14.8 ระบุบทเพลง'เราสู้' ร้อยละ 13.2 ระบุบทเพลง'ยามเย็น' และร้อยละ 21.3 ระบุบทเพลงอื่นๆ เช่นบทเพลงแผ่นดินของเรา ลมหนาส อาทิตย์อับแสง ยิ้มสู้ ราชนาวิกโยธิน เป็นต้น
และที่น่าพิจารณา คือ ประชาชนเชื่อว่ามีบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่น่าจะนำมาเพื่อสร้างบรรยากาศให้คน ไทยรักชาติบ้านเมือง ทำให้ประเทศสงบสุข มีความรักสามัคคีกันในหมู่ประชาชน โดยผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 41.0 ระบุบทเพลง 'เกิดเป็นไทย ตายเพื่อไทย' ในขณะที่ร้อยละ 31.0 ระบุบทเพลง'แผ่นดินของเรา' ร้อยละ 22.1 ระบุบทเพลง'เราสู้' ร้อยละ 16.2 ระบุบทเพลง'ความฝันอันสูงสุด' ร้อยละ 11.4 ระบุบทเพลง'ใกล้รุ่ง' ร้อยละ 10.9 ระบุบทเพลง'แสงเทียน' ร้อยละ 7.4 ระบุบทเ�พลง'แผ่นดินของเรา' ร้อยละ 22.1 ระบุบทเพลง'เราสู้' ร้อยละ 16.2 ระบุบทเพลง'ความฝันอันสูงสุด' ร้อยละ 11.4 ระบุบทเพลง'ใกล้รุ่ง' ร้อยละ 10.9 ระบุบทเพลง'แสงเทียน' ร้อยละ 7.4 ระบุบทเพลง'ยิ้มสู้' ร้อยละ 1.7 ระบุบทเพลง'ชะตาชีวิต' ร้อยละ 5.6 ระบุบทเพลง'ยามเย็น' และที่เหลือระบุอื่นๆ เช่น บทเพลงสายฝน พรปีใหม่ เตือนใจ รักไกลกังวล และดวงใจกับความรัก เป็นต้น
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวอีกว่า สิ่งที่ค้นพบในการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า บทเพลงพระราชนิพนธ์อยู่ในความทรงจำและความปลื้มปิติของประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยประชาชนทั่วไปได้เล็งเห็นว่าบทเพลงพระราชนิพนธ์มีบทบาทสำคัญที่จะสร้าง บรรยากาศให้คนไทยรักชาติ บ้านเมือง ทำให้ประเทศสงบสุข ประชาชนคนไทยมีความรักสามัคคีกันและกัน ดังนั้นรัฐบาล หน่วยงานและสถาบันสื่อสารมวลชนที่เกี่ยวข้องอาจจะนำผลการศึกษาครั้งนี้ไป ประกอบการพิจารณาตัดสินใจใช้บทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวเชื่อมประสานความรักและไมตรีจิต ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
อย่างไรก็ตาม การช่วยเหลือเกื้อกูลกันนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของกฎกติกาของสังคมและเป็นไป ตามเวรกรรมของแต่ละคนที่ทำกันไว้เหมือนกับเนื้อสาระบางตอนในบทเพลงพระราช นิพนธ์'แสงเทียน' และสิ่งที่เป็นข้อเสนอแนะอีกประการหนึ่งคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี น่าจะอันเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์มาในโอกาสจัดรายการ'เชื่อมั่นประเทศไทยกับ นายกฯอภิสิทธิ์'ที่ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เพราะความจงรักภักดีต่อสถาบันและความรักความสามัคคีของคนในชาติ สามารถถูกแสดงออกได้ตลอดเวลา ไม่ใช่เฉพาะโอกาสใดโอกาสหนึ่งของแต่ละปีเท่านั้น' ดร.นพดลกล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น