ประชาทรรศน์
30 ม.ค. 2009
คลังก้มหน้ายอมรับ กระเป๋าใกล้แบน เผยยอดเม็ดเงินรายได้รัฐไม่เข้าเป้าตกฮวบร้อยละ16 ขาดทุนยับ 3 แสนล้าน กรรมาธิการประชาธิปัตย์ ไล่บี้กรณ์แจงตัวเลขให้ชัด ปลัดคลังแนะทางออกเร่งรบ.ใช้มาตรการกระตุ้นเศราฐกิจ
ในการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2552 โดยมีนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ประธานการประชุม ในวันนี้(30 ม.ค.) นั้นโดยที่ประชุมได้พิจารณางบประมาณในส่วนของกระทรวงการคลัง ซึ่งนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง และคณะเข้าชี้แจง โดยกล่าวถึงความจำเป็นที่ต้องอัดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจให้ทันในเดือนก.พ. และมี.ค.นี้ เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ มิเช่นนั้นเศรษฐกิจไทยอาจติดลบถึงร้อยละ 3
โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 พบว่ารัฐจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายประมาณร้อยละ 16 ซึ่งกระทรวงการคลังคาดการณ์รายได้ตลอดปี 2552 อยู่ที่ประมาณ 132,000 ล้านบาท แต่มีการเบิกจ่ายงบลงทุนเพียงร้อยละ7.9 โดยมีการตั้งรายจ่ายเพื่อชดเชยเงินคงคลังสำหรับงบกลางปีไว้จำนวน12,900 ล้านบาท จากรายได้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และรายได้จากผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรรมาธิการฯทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน ต่างซักถามถึงสาเหตุของการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแน่นอน เช่น งบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และงบประมาณของกรมทางหลวงชนบท ที่ผู้รับเหมาต่างยังไม่ได้รับเงิน ขณะที่นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ ในฐานะกรรมาธิการจากพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า อยากให้กระทรวงการคลังชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทุกคนทราบ เชื่อว่าเหตุที่ยังไม่มีการเบิกจ่ายงบลงทุนต่างๆ เป็นเพราะประเทศไทยไม่มีเงินคงคลัง มีแต่เพียงตัวเลขลอยๆ เท่านั้น จึงอยากทราบว่าความจริงขณะนี้เงินคงคลังเหลืออยู่จำนวนเท่าใด
อย่างไรก็ตามนายศุภรัตน์ กล่าวยอมรับว่า ขณะนี้เม็ดเงินไหลออกมากกว่าไหลเข้า ดังนั้นการบริหารเงินคงคลังต้องทำด้วยความรอบคอบ ซึ่งสิ้นเดือนธ.ค. 2551 มีเงินคงคลังเหลืออยู่ 52,000 ล้านบาท โดยสาเหตุที่เงินคงคลังเหลืออยู่ไม่มากเนื่องจากที่ผ่านมาลดการกู้ยืมเงิน จากต่างประเทศ เพื่อเป็นการลดภาระการจ่ายดอกเบี้ย
ท้ายสุดนี้หากตัวเลขต่างๆ ไม่เพียงพอ ก็ยังสามารถกู้เงินจากต่างประเทศได้อีก ทั้งนี้กรอบการกู้ยืมเงินมีกฎเกณฑ์ไว้ชัดเจนอยู่แล้ว แต่อาจต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมาใช้ให้เร็วขึ้น เพราะขณะนี้การขาดดุลงบประมาณทั้งประจำปี และกลางปีมีจำนวนกว่า 340,000 ล้านบาท
30 ม.ค. 2009
คลังก้มหน้ายอมรับ กระเป๋าใกล้แบน เผยยอดเม็ดเงินรายได้รัฐไม่เข้าเป้าตกฮวบร้อยละ16 ขาดทุนยับ 3 แสนล้าน กรรมาธิการประชาธิปัตย์ ไล่บี้กรณ์แจงตัวเลขให้ชัด ปลัดคลังแนะทางออกเร่งรบ.ใช้มาตรการกระตุ้นเศราฐกิจ
ในการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2552 โดยมีนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ประธานการประชุม ในวันนี้(30 ม.ค.) นั้นโดยที่ประชุมได้พิจารณางบประมาณในส่วนของกระทรวงการคลัง ซึ่งนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง และคณะเข้าชี้แจง โดยกล่าวถึงความจำเป็นที่ต้องอัดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจให้ทันในเดือนก.พ. และมี.ค.นี้ เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ มิเช่นนั้นเศรษฐกิจไทยอาจติดลบถึงร้อยละ 3
โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 พบว่ารัฐจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายประมาณร้อยละ 16 ซึ่งกระทรวงการคลังคาดการณ์รายได้ตลอดปี 2552 อยู่ที่ประมาณ 132,000 ล้านบาท แต่มีการเบิกจ่ายงบลงทุนเพียงร้อยละ7.9 โดยมีการตั้งรายจ่ายเพื่อชดเชยเงินคงคลังสำหรับงบกลางปีไว้จำนวน12,900 ล้านบาท จากรายได้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และรายได้จากผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรรมาธิการฯทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน ต่างซักถามถึงสาเหตุของการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแน่นอน เช่น งบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และงบประมาณของกรมทางหลวงชนบท ที่ผู้รับเหมาต่างยังไม่ได้รับเงิน ขณะที่นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ ในฐานะกรรมาธิการจากพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า อยากให้กระทรวงการคลังชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทุกคนทราบ เชื่อว่าเหตุที่ยังไม่มีการเบิกจ่ายงบลงทุนต่างๆ เป็นเพราะประเทศไทยไม่มีเงินคงคลัง มีแต่เพียงตัวเลขลอยๆ เท่านั้น จึงอยากทราบว่าความจริงขณะนี้เงินคงคลังเหลืออยู่จำนวนเท่าใด
อย่างไรก็ตามนายศุภรัตน์ กล่าวยอมรับว่า ขณะนี้เม็ดเงินไหลออกมากกว่าไหลเข้า ดังนั้นการบริหารเงินคงคลังต้องทำด้วยความรอบคอบ ซึ่งสิ้นเดือนธ.ค. 2551 มีเงินคงคลังเหลืออยู่ 52,000 ล้านบาท โดยสาเหตุที่เงินคงคลังเหลืออยู่ไม่มากเนื่องจากที่ผ่านมาลดการกู้ยืมเงิน จากต่างประเทศ เพื่อเป็นการลดภาระการจ่ายดอกเบี้ย
ท้ายสุดนี้หากตัวเลขต่างๆ ไม่เพียงพอ ก็ยังสามารถกู้เงินจากต่างประเทศได้อีก ทั้งนี้กรอบการกู้ยืมเงินมีกฎเกณฑ์ไว้ชัดเจนอยู่แล้ว แต่อาจต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมาใช้ให้เร็วขึ้น เพราะขณะนี้การขาดดุลงบประมาณทั้งประจำปี และกลางปีมีจำนวนกว่า 340,000 ล้านบาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น