CBOX เสรีชน

30 มกราคม, 2552

คปส.ย้ำชัดล้างบางวิทยุชุมขัดรธน.ชี้3ทางออกรัฐบาล!

ประชาทรรศน์
30 ม.ค. 2009

คปส.สุดทน!เสนอ 3 ทางออก!ให้รัฐบาลยุติส่งสัญญาณจับกุมวิทยุชุมชน-เปิดโอกาสให้กลไกอิสระทำ หน้าที่ปราศจากฝ่ายการเมืองแทรกแซง-พร้อมสนับสนุนให้กำกับดูแลกันเอง ย้ำชัดขัดรธน.-นโยบายแถลงต่อรัฐสภา

จากกรณีที่นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จ้องปิดสถานีวิทยุชุมชนบางแห่งที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล โดยอ้างว่ามีการร้องเรียนและมีหลักฐานการกระทำความผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญของ วิทยุชุมชนจำนวน 5 แห่ง ที่อยู่ใน 3-4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำพูน และอุดรธานี พร้อมทั้งมอบให้เลขาฯกทช.ประชุมเพื่อพิจารณาร่างระเบียบเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อดำเนินการเอาผิดกับวิทยุชุมชนที่ทำผิดกฎหมายอย่างจริงจังนั้น

วันนี้ (30 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ได้เรียกร้องให้หยุดส่งสัญญาณจับกุมวิทยุชุมชน การคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารของประชาชน ถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบหลักของรัฐในอันที่จะสนับสนุนให้ประชาชนได้รับ สิทธิพื้นฐานตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ดังนั้น การที่รัฐบาลประชาธิปัตย์ โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ กำกับดูแลเรื่องสื่อได้ออกมาส่งสัญญาณให้มีการจับกุมวิทยุชุมชนที่มีความคิด เห็นแตกต่าง หรือคัดค้านการดำเนินงานของรัฐบาล ซึ่งคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ(คปส.) เห็นว่าเป็นท่าทีผิดปกติของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลนี้มีนโยบายสำคัญแถลงต่อรัฐสภาว่าจะสนับสนุน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และจะจัดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองให้สื่อมีเสรีภาพ ปราศจากการแทรกแซง และมีความรับผิดชอบกับสังคมตลอดจนจะดำเนินการตามแนวนโยบายด้านกฎหมายอย่าง ถูกต้องเป็นธรรม

ซึ่งประการสำคัญ คือ ในขณะนี้มีกลไกที่เป็นอิสระจากรัฐบาล ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ คือ อนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) ซึ่งมีอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์และออกใบอนุญาตชั่วคราวให้กับวิทยุ ชุมชนและกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลและหน่วยงานรัฐ เช่น กรมประชาสัมพันธ์ จึงไม่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการสื่อวิทยุและโทรทัศน์โดยตรง แต่เป็นหน้าที่ของกลไกอิสระตามกฎหมาย ซึ่งไม่ควรถูกแทรกแซงการทำหน้าที่จากทุกภาคส่วน

ดังนั้นคปส. จึงมีข้อเสนอต่อรัฐบาล ดังต่อไปนี้ 1.ให้รัฐบาลยุติการส่งสัญญาณจับกุมวิทยุชุมชน และมีความอดทน อดกลั้นต่อคำวิพากษ์วิจารณ์และการแสดงความคิดเห็นของประชาชนที่ออกมาคัดค้าน การทำงานของรัฐบาล โดยให้คำนึงถึงสิทธิพื้นฐานในการสื่อสารของประชาชนภายใต้ระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตย

2.ให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้กลไกอิสระได้ทำหน้าที่ โดยไม่ถูกแทรกแซงทางการเมือง หรือถูกใช้เป็นเครื่องมือยับยั้งฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลให้ไม่สามารถใช้สิทธิที่ จะสื่อสารความเห็นที่แตกต่างได้ และกระบวนการในการกำกับดูแลวิทยุชุมชนที่เกิดขึ้นให้เป็นหน้าที่ของกลไก อิสระตามที่กฎหมายบัญญัติ

3.ให้รัฐบาลสนับสนุนการกำกับดูแลกันเองในกลุ่มวิทยุขนาดเล็ก โดยเปิดเวทีให้วิทยุชุมชน วิทยุธุรกิจท้องถิ่น ทุกกลุ่มได้ร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์ กติกา จรรยาบรรณ ในการกำกับดูแลกันเอง หากรัฐบาลวิตกกังวลว่าจะมีการใช้สิทธิการสื่อสารที่กระทบต่อความมั่นคงของ สังคมหรือเกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญรองรับ

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 29 ม.ค.ที่ผ่านมา น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ รองเลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (คปส.) ในฐานะอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กล่าวถึงกรณีที่นายสาทิตย์ ประกาศกวาดล้างวิทยุชุมชนที่มีปัญหา ว่า เข้าใจว่าไม่ว่าพรรคที่เข้ามาเป็นรัฐบาลย่อมต้องการจัดการกับสื่อ แต่ขณะนี้รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจรัฐบาลในการปิดสถานีวิทยุชุมชนแล้ว เนื่องจากหลังจากที่สนช.ยุครัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ออกพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ทำให้อำนาจที่เคยอยู่กับกรมประชาสัมพันธ์และสำนักนายกรัฐมนตรีถูกโอนย้ายไป อยู่ที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) โดยมีอนุกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ทำหน้าที่วางขอบเขต หลักเกณฑ์กติกา ในการดูแลวิทยุชุมชนระหว่างรอการจัดตั้งคณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติ(กสช.)ที่ จะรับช่วงต่อในอนาคต

“รัฐบาลปิดวิทยุชุมชนเองไม่ได้ เพราะจะขัดรัฐธรรมนูญ ม.47 ดังนั้นรัฐบาลอาจจะทำโดยใช้พ.ร.บ.ความมั่นคง หรือใช้กฎหมายอาญา เข้าไปจัดการซึ่งก็ต้องตีความว่ามาตรการเหล่านี้จะขัดกับรัฐธรรมนูญ ม.45 ที่คุ้มครองเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความเห็นหรือไม่” น.ส.สุภิญญา กล่าว

ส่วนที่นายสาทิตย์จะหารือกับอนุกรรมการฯนั้น น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า อนุกรรมการฯชุดดังกล่าวเป็นองค์กรอิสระ อยู่ภายใต้กทช.ไม่ขึ้นตรงกับรัฐบาล ดังนั้นการที่รัฐมนตรีจะเข้าไปเกี่ยวข้องนั้นแม้ว่าสามารถทำได้แต่ก็ต้อง ระวังว่าจะไม่เป็นการแทรกแซงหรือกดดันการทำงานของอนุกรรมการฯ

ไม่มีความคิดเห็น: