คอลัมน์ คิดเหนือข่าว
โดย เรืองยศ จันทรคีรี
“ร้อยลิ้นประชาธิปัตย์” ใน “สถานการณ์เสื้อแดงเป็นแสน” !
แต่ แรกก็ไม่คิดจะเขียนถึงเรื่องนี้ เมื่อได้ฟังการให้สัมภาษณ์ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคมของคุณสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ท่านระบุว่า “คงจะมีกลุ่มเสื้อแดงเข้าร่วมในการชุมนุม 10,000-20,000 คน” นั่นเป็นการประเมินของบุคคลที่ว่ากันว่าเป็นอีกหนึ่งคีย์แมนของพรรคประชา ธิปัตย์ในรัฐบาลชุดนี้ คุณสาทิตย์อาจได้รับข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาด ประเมินสถานการณ์ไว้ต่ำเกินความจริง หรือเป็นการคิดตื้นๆในลักษณะปฏิบัติการทางการข่าวที่จะลดความสำคัญสำหรับการ ชุมนุมของขบวนการเสื้อแดงที่เกิดติดตามมาหลังจากนั้นอีกหนึ่งวัน คือวันที่ 26 มีนาคม...
หลังจากนั้นผมมีโอกาสเปิดดู CC TV ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์จากประเทศจีน เขารายงานข่าวการชุมนุมนี้ว่า “มีผู้ร่วมชุมนุมในกรุงเทพมหานครเป็นจำนวนมากกว่า 100,000 คน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลที่คุณสาทิตย์ร่วมเป็นรัฐมนตรีอยู่ลาออก...”
ผม คิดว่าประเด็นปกปิดจำนวนของผู้ร่วมชุมนุม การบิดเบือนตัวเลขที่แท้จริง ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ควรจะนำมาใช้อีกแล้ว มันเป็นกลยุทธ์ที่ค่อนข้างจะเก่าแก่ ดูไม่แตกต่างไปจากความพยายามปิดบังจำนวนผู้ร่วมชุมนุมเหมือนครั้งรัฐบาลของ จอมพลถนอม กิตติขจร เคยใช้มาก่อนตั้งแต่ครั้ง พ.ศ. 2516...โดยเฉพาะภายใต้สภาวะของโลกแห่งการสื่อสารปัจจุบันมันเป็นเรื่องที่ ปิดบังได้ยาก ฝ่ายม็อบเสื้อแดงก็มี D-Station คอยทำหน้าที่ถ่ายทอดสดออกมาให้เห็นภาพ มันปิดบังกันไม่อยู่หรอกครับ เพราะดูท่าทางว่าสีแดงที่พรึบพรับในคราวนี้รับรองฝ่ายประชาธิปัตย์คงต้อง หนาวสะท้านแน่นอน แม้จะปากแข็งอย่างไรก็ตาม...
ผมหยิบประเด็นนี้ขึ้น มาเขียนเพื่อจะชี้ให้เห็นว่าฝ่ายรัฐบาลจำเป็นจะต้องเลิกแผนปฏิบัติ การจิตวิทยาในลักษณะที่ตื้นเขิน โดยคิดว่าประชาชนยังโง่เขลาเป็นควายที่จะหลงเชื่อกันง่ายๆ?
หรือกรณี ที่คุณบุญยอด สุขถิ่นไทย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังวนเวียนใช้นิยายเก่าๆเอามาแต่งเพื่อเป็นปฏิบัติการจิตวิทยา โดยกล่าวว่า “ที่น่าเป็นห่วงสำหรับการชุมนุมคือ ได้รับข้อมูลถึงการขนย้ายวัตถุระเบิดจากพวกป่าไม้เข้ามา แล้วอาจจะทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้” อดีตผู้สื่อข่าวและอดีตพิธีกร ไม่น่าที่จะย้อนเข้าไปสู่เทคนิคที่เคยกระทำกันตั้งแต่ครั้ง พ.ศ. 2519 ที่มีการปั้นแต่งว่าภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคลังแสงอาวุธซึ่งกระบวนการนักศึกษายุคนั้นเตรียมเอาไว้ทำสงครามถล่ม กรุงเทพฯ จนโยงเข้าไปสู่ความเชื่อของคนไทยอีกกลุ่ม แล้วลงท้ายเป็นการล้อมปราบกระทั่งตายกันเป็นเบือ...
ตายกันเป็นเรือน ร้อยในกรุงเทพมหานคร ผ่านมา 30 กว่าปี จนป่านนี้ยังไม่รู้ว่าใครเป็นผู้บงการเลยครับ วาทกรรมที่คุณบุญยอดนำเสนอจึงเป็นเรื่องเก่าแก่มาก ซ้ำยังมีโอกาสกลายเป็นเรื่องของบาปกรรมด้วยซ้ำไป? ถ้าเป็นเมื่อ 30 ปีก่อนผมคิดว่าคนจะเชื่อง่ายๆ แต่มาปัจจุบันไม่มีใครเขาเชื่ออย่างนั้นหรอก รังแต่จะเห็นคุณบุญยอดกลายเป็นส่วนเกินที่ดูรกรุงรังในทางการเมืองจนอาจไม่ อยากชายตามองด้วยซ้ำไป...
พอมากล่าวถึงคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เปิดฉากถล่มเต็มอัตรากำลังในเรื่องของ “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ” และ “ผู้บงการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549” ในที่นี้ผมไม่ได้เขียนถึงหรอกนะครับว่าตัวเองเชื่อหรือไม่เชื่ออย่างไรตาม การพาดพิงของอดีตนายกรัฐมนตรี...แต่มีมุมมองที่น่าสนใจอยู่ประการหนึ่งคือ คำถามถึงการกล่าวพาดพิงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ถือว่าเป็นเรื่องกระทบกระเทือนต่อสถาบันเบื้องสูงหรือไม่? พูดตรงๆก็คือ มีช่องทางจะเล่นงาน พ.ต.ท.ทักษิณในข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือเปล่า?”
ประเด็น นี้มาเฉลยชัดเจนเมื่อฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แถลงว่า “การโฟนอิน-วิดีโอลิ้งค์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่เข้าข่ายในการหมิ่นเบื้องสูง แต่อาจเป็นการพาดพิงหมิ่นตัวบุคคลได้ ซึ่งตัวบุคคลจะต้องดำเนินการฟ้องร้องกันเอง” ประเด็นนี้น่าสนใจในทรรศนะของผม เพราะหลังจากนั้นไม่นานก็เห็นคุณอภิสิทธิ์ให้ความเห็นสั้นๆ แต่เป็นสั้นๆที่ถือว่าแสบลึกและคมคายทีเดียว
นายกรัฐมนตรีให้ คอมเมนต์ผ่านหนังสือพิมพ์บางฉบับว่า “ถึงไม่ผิดกฎหมายแต่ควรคำนึงถึงความเหมาะสม” ความเห็นห้วนๆสั้นๆนี้ ถ้าไม่คิดก็ไม่มีอะไร? ถ้าคิดไปแล้วย่อมสะท้อนทัศนคติของผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ได้ดี นี่เป็นรากเหง้าที่แสดงถึงการขาดความเข้าใจในความสำคัญของนิติธรรม...
เมื่อ ได้เปรียบประชาธิปัตย์จะเรียกร้องให้เคารพกฎหมาย แต่บางครั้งก็บอกว่าศีลธรรมเป็นเรื่องเหนือกฎหมาย มาตอนนี้โผล่ให้เห็นกรณีของความเหมาะสมเป็นเรื่องเหนือกฎหมาย ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าอะไรนับเป็นความเหมาะสมกันแน่? สถานการณ์ชุมนุมของคนเสื้อแดง ถ้าแกนนำประชาธิปัตย์จะตั้งสติ มันบานมาเป็นแสนๆก็เพราะวิธีคิดเช่นนี้เอง เอากฎหมายบ้าง ศีลธรรมบ้าง จนตอนนี้จะขยับเข้าไปเอาความเหมาะสม...คนเขาเริ่มรับร้อยลิ้นกะลาวนไม่ไหว เสียแล้ว?
( ที่มา หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ , 3 เมษายน 2552)
โดย เรืองยศ จันทรคีรี
“ร้อยลิ้นประชาธิปัตย์” ใน “สถานการณ์เสื้อแดงเป็นแสน” !
แต่ แรกก็ไม่คิดจะเขียนถึงเรื่องนี้ เมื่อได้ฟังการให้สัมภาษณ์ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคมของคุณสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ท่านระบุว่า “คงจะมีกลุ่มเสื้อแดงเข้าร่วมในการชุมนุม 10,000-20,000 คน” นั่นเป็นการประเมินของบุคคลที่ว่ากันว่าเป็นอีกหนึ่งคีย์แมนของพรรคประชา ธิปัตย์ในรัฐบาลชุดนี้ คุณสาทิตย์อาจได้รับข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาด ประเมินสถานการณ์ไว้ต่ำเกินความจริง หรือเป็นการคิดตื้นๆในลักษณะปฏิบัติการทางการข่าวที่จะลดความสำคัญสำหรับการ ชุมนุมของขบวนการเสื้อแดงที่เกิดติดตามมาหลังจากนั้นอีกหนึ่งวัน คือวันที่ 26 มีนาคม...
หลังจากนั้นผมมีโอกาสเปิดดู CC TV ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์จากประเทศจีน เขารายงานข่าวการชุมนุมนี้ว่า “มีผู้ร่วมชุมนุมในกรุงเทพมหานครเป็นจำนวนมากกว่า 100,000 คน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลที่คุณสาทิตย์ร่วมเป็นรัฐมนตรีอยู่ลาออก...”
ผม คิดว่าประเด็นปกปิดจำนวนของผู้ร่วมชุมนุม การบิดเบือนตัวเลขที่แท้จริง ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ควรจะนำมาใช้อีกแล้ว มันเป็นกลยุทธ์ที่ค่อนข้างจะเก่าแก่ ดูไม่แตกต่างไปจากความพยายามปิดบังจำนวนผู้ร่วมชุมนุมเหมือนครั้งรัฐบาลของ จอมพลถนอม กิตติขจร เคยใช้มาก่อนตั้งแต่ครั้ง พ.ศ. 2516...โดยเฉพาะภายใต้สภาวะของโลกแห่งการสื่อสารปัจจุบันมันเป็นเรื่องที่ ปิดบังได้ยาก ฝ่ายม็อบเสื้อแดงก็มี D-Station คอยทำหน้าที่ถ่ายทอดสดออกมาให้เห็นภาพ มันปิดบังกันไม่อยู่หรอกครับ เพราะดูท่าทางว่าสีแดงที่พรึบพรับในคราวนี้รับรองฝ่ายประชาธิปัตย์คงต้อง หนาวสะท้านแน่นอน แม้จะปากแข็งอย่างไรก็ตาม...
ผมหยิบประเด็นนี้ขึ้น มาเขียนเพื่อจะชี้ให้เห็นว่าฝ่ายรัฐบาลจำเป็นจะต้องเลิกแผนปฏิบัติ การจิตวิทยาในลักษณะที่ตื้นเขิน โดยคิดว่าประชาชนยังโง่เขลาเป็นควายที่จะหลงเชื่อกันง่ายๆ?
หรือกรณี ที่คุณบุญยอด สุขถิ่นไทย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังวนเวียนใช้นิยายเก่าๆเอามาแต่งเพื่อเป็นปฏิบัติการจิตวิทยา โดยกล่าวว่า “ที่น่าเป็นห่วงสำหรับการชุมนุมคือ ได้รับข้อมูลถึงการขนย้ายวัตถุระเบิดจากพวกป่าไม้เข้ามา แล้วอาจจะทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้” อดีตผู้สื่อข่าวและอดีตพิธีกร ไม่น่าที่จะย้อนเข้าไปสู่เทคนิคที่เคยกระทำกันตั้งแต่ครั้ง พ.ศ. 2519 ที่มีการปั้นแต่งว่าภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคลังแสงอาวุธซึ่งกระบวนการนักศึกษายุคนั้นเตรียมเอาไว้ทำสงครามถล่ม กรุงเทพฯ จนโยงเข้าไปสู่ความเชื่อของคนไทยอีกกลุ่ม แล้วลงท้ายเป็นการล้อมปราบกระทั่งตายกันเป็นเบือ...
ตายกันเป็นเรือน ร้อยในกรุงเทพมหานคร ผ่านมา 30 กว่าปี จนป่านนี้ยังไม่รู้ว่าใครเป็นผู้บงการเลยครับ วาทกรรมที่คุณบุญยอดนำเสนอจึงเป็นเรื่องเก่าแก่มาก ซ้ำยังมีโอกาสกลายเป็นเรื่องของบาปกรรมด้วยซ้ำไป? ถ้าเป็นเมื่อ 30 ปีก่อนผมคิดว่าคนจะเชื่อง่ายๆ แต่มาปัจจุบันไม่มีใครเขาเชื่ออย่างนั้นหรอก รังแต่จะเห็นคุณบุญยอดกลายเป็นส่วนเกินที่ดูรกรุงรังในทางการเมืองจนอาจไม่ อยากชายตามองด้วยซ้ำไป...
พอมากล่าวถึงคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เปิดฉากถล่มเต็มอัตรากำลังในเรื่องของ “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ” และ “ผู้บงการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549” ในที่นี้ผมไม่ได้เขียนถึงหรอกนะครับว่าตัวเองเชื่อหรือไม่เชื่ออย่างไรตาม การพาดพิงของอดีตนายกรัฐมนตรี...แต่มีมุมมองที่น่าสนใจอยู่ประการหนึ่งคือ คำถามถึงการกล่าวพาดพิงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ถือว่าเป็นเรื่องกระทบกระเทือนต่อสถาบันเบื้องสูงหรือไม่? พูดตรงๆก็คือ มีช่องทางจะเล่นงาน พ.ต.ท.ทักษิณในข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือเปล่า?”
ประเด็น นี้มาเฉลยชัดเจนเมื่อฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แถลงว่า “การโฟนอิน-วิดีโอลิ้งค์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่เข้าข่ายในการหมิ่นเบื้องสูง แต่อาจเป็นการพาดพิงหมิ่นตัวบุคคลได้ ซึ่งตัวบุคคลจะต้องดำเนินการฟ้องร้องกันเอง” ประเด็นนี้น่าสนใจในทรรศนะของผม เพราะหลังจากนั้นไม่นานก็เห็นคุณอภิสิทธิ์ให้ความเห็นสั้นๆ แต่เป็นสั้นๆที่ถือว่าแสบลึกและคมคายทีเดียว
นายกรัฐมนตรีให้ คอมเมนต์ผ่านหนังสือพิมพ์บางฉบับว่า “ถึงไม่ผิดกฎหมายแต่ควรคำนึงถึงความเหมาะสม” ความเห็นห้วนๆสั้นๆนี้ ถ้าไม่คิดก็ไม่มีอะไร? ถ้าคิดไปแล้วย่อมสะท้อนทัศนคติของผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ได้ดี นี่เป็นรากเหง้าที่แสดงถึงการขาดความเข้าใจในความสำคัญของนิติธรรม...
เมื่อ ได้เปรียบประชาธิปัตย์จะเรียกร้องให้เคารพกฎหมาย แต่บางครั้งก็บอกว่าศีลธรรมเป็นเรื่องเหนือกฎหมาย มาตอนนี้โผล่ให้เห็นกรณีของความเหมาะสมเป็นเรื่องเหนือกฎหมาย ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าอะไรนับเป็นความเหมาะสมกันแน่? สถานการณ์ชุมนุมของคนเสื้อแดง ถ้าแกนนำประชาธิปัตย์จะตั้งสติ มันบานมาเป็นแสนๆก็เพราะวิธีคิดเช่นนี้เอง เอากฎหมายบ้าง ศีลธรรมบ้าง จนตอนนี้จะขยับเข้าไปเอาความเหมาะสม...คนเขาเริ่มรับร้อยลิ้นกะลาวนไม่ไหว เสียแล้ว?
( ที่มา หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ , 3 เมษายน 2552)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น