มีนาคมรัฐบาลขาดดุลกระแสเงินสด 8.9 หมื่นล้านบาท ส่งผล 6 เดือนแรกปีงบประมาณขาดดุล 3.9 แสนล้านบาท เน้นบริหารเงินสดหวังลดภาระดอกเบี้ย
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังได้แถลงฐานะการ คลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือนมีนาคม 2552 ซึ่งขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน 89,882 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณรวม 411,895 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 18,148 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวมทั้งสิ้น 393,747 ล้านบาท
ทั้งนี้ฐานะการคลังในเดือนมีนาคม รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 105,463 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 9,641 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 10.1) โดยมีสาเหตุสำคัญจากการจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และภาษีสรรพสามิตจากน้ำมัน ได้เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่ผ่านมา
โดยรัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 195,345 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 70,198 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 56.1) ทั้งนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2552 และได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าวที่สำคัญ ได้แก่ โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐ (เช็คช่วยชาติ 2,000 บาท) และโครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี สำหรับการเบิกจ่ายในเดือนมีนาคมประกอบด้วยรายจ่ายประจำจำนวน 164,251 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว และรายจ่ายลงทุนจำนวน 14,222 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่ผ่านมา
จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้นส่งผลให้ ดุลเงินงบประมาณในเดือนมีนาคม 2552 ขาดดุล 89,882 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 4,380 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 94,262 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้เงินโดยออกพันธบัตร และตั๋วเงินคลัง จำนวน 87,000 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลจำนวน 7,262 ล้านบาท
สำหรับฐานะการคลังในช่วง 6 เดือนแรกปีงบประมาณ 2552 ตั้งแต่ตุลาคม 2551 – มีนาคม 2552 นั้นในส่วนของ รายได้นำส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 559,886 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 70,786 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 11.2) โดยมีสาเหตุหลักมาจากการจัดเก็บภาษีที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีภาษีสรรพสามิตน้ำมัน อากรขาเข้า ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลง รวมทั้งการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ลดลงมาก ในขณะที่การคืนภาษีของกรมสรรพากรเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง
ขณะที่รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 971,781ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 176,300 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 22.2) โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน 885,362 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 45.4 ของวงเงินงบประมาณ (1,951,700 ล้านบาท) โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายประจำ 757,228 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 27.2 และรายจ่ายลงทุน 128,134 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 2.6 และรายจ่ายปีก่อน 86,419 ล้านบาท
สำหรับดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาล ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 411,895 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 18,148 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการได้รับชดใช้เงินคงคลังจำนวน 27,540 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลัง (ดุลเงินสด) ของรัฐบาลขาดดุล 393,747 ล้านบาท
ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงิน รวมทั้งเพื่อเป็นการประหยัดภาระดอกเบี้ย จึงได้ชดเชยการขาดดุลดังกล่าวด้วยการออกพันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลังจำนวน 215,530 ล้านบาท และใช้เงินคงคลัง 178,217 ล้านบาท
BangkokBizNews
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังได้แถลงฐานะการ คลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือนมีนาคม 2552 ซึ่งขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน 89,882 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณรวม 411,895 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 18,148 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวมทั้งสิ้น 393,747 ล้านบาท
ทั้งนี้ฐานะการคลังในเดือนมีนาคม รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 105,463 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 9,641 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 10.1) โดยมีสาเหตุสำคัญจากการจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และภาษีสรรพสามิตจากน้ำมัน ได้เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่ผ่านมา
โดยรัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 195,345 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 70,198 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 56.1) ทั้งนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2552 และได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าวที่สำคัญ ได้แก่ โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐ (เช็คช่วยชาติ 2,000 บาท) และโครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี สำหรับการเบิกจ่ายในเดือนมีนาคมประกอบด้วยรายจ่ายประจำจำนวน 164,251 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว และรายจ่ายลงทุนจำนวน 14,222 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่ผ่านมา
จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้นส่งผลให้ ดุลเงินงบประมาณในเดือนมีนาคม 2552 ขาดดุล 89,882 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 4,380 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 94,262 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้เงินโดยออกพันธบัตร และตั๋วเงินคลัง จำนวน 87,000 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลจำนวน 7,262 ล้านบาท
สำหรับฐานะการคลังในช่วง 6 เดือนแรกปีงบประมาณ 2552 ตั้งแต่ตุลาคม 2551 – มีนาคม 2552 นั้นในส่วนของ รายได้นำส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 559,886 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 70,786 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 11.2) โดยมีสาเหตุหลักมาจากการจัดเก็บภาษีที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีภาษีสรรพสามิตน้ำมัน อากรขาเข้า ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลง รวมทั้งการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ลดลงมาก ในขณะที่การคืนภาษีของกรมสรรพากรเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง
ขณะที่รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 971,781ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 176,300 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 22.2) โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน 885,362 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 45.4 ของวงเงินงบประมาณ (1,951,700 ล้านบาท) โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายประจำ 757,228 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 27.2 และรายจ่ายลงทุน 128,134 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 2.6 และรายจ่ายปีก่อน 86,419 ล้านบาท
สำหรับดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาล ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 411,895 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 18,148 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการได้รับชดใช้เงินคงคลังจำนวน 27,540 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลัง (ดุลเงินสด) ของรัฐบาลขาดดุล 393,747 ล้านบาท
ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงิน รวมทั้งเพื่อเป็นการประหยัดภาระดอกเบี้ย จึงได้ชดเชยการขาดดุลดังกล่าวด้วยการออกพันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลังจำนวน 215,530 ล้านบาท และใช้เงินคงคลัง 178,217 ล้านบาท
BangkokBizNews
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น