รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ ถูกกล่าวหาหมิ่นพระมหากษัตริย์ฯ
วัน ที่ 25 ธันวาคม 2551 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ออกหมายเรียกผู้ต้องหามายัง รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย โดยผู้กล่าวหาคือ พันตำรวจโทพันศักดิ์ ศาสนอนนต์ (ซึ่งเข้าใจว่าสังกัดตำรวจสันติบาล)
รศ. ใจ อึ๊งภากรณ์ ได้ถูกสั่งให้ไปพบพันตำรวจโท อุดม เปี่ยมศักดิ์ ที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวันในวันอังคารที่ 13 มกราคม 2552 เวลา 13.00 น. ในขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกล่าวหาแต่อย่างใด
รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ จะแถลงข่าวที่หน้าสถานีตำรวจปทุมวันเวลา 12.30 น. และพร้อมที่จะตอบคำถามของนักข่าวภายหลังที่ได้เข้าไปพบตำรวจ โดยที่มีการประชาสัมพันธ์ข่าวเรื่องนี้ไปสู่สำนักข่าวต่างประเทศ สถานทูตต่างๆ และนักวิชาการที่สนใจประเทศไทยในต่างประเทศอีกด้วย
สถาบัน กษัตริย์ได้ถูกนำมาอ้างในการต่อสู้ของกลุ่มการเมืองต่างๆ เช่น กรณี รัฐประหาร 19 กันยา และกรณีการปิดสนามบินโดยพันธมิตรฯเป็นต้น และข้อกล่าวหาเรื่องหมิ่นเดชานุภาพถูกใช้ในการโจมตีฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง มาอย่างต่
อเนื่อง จนมีนักวิชากรและนักสิทธิมนุษยชนหลายคนมองว่ากฎหมายหมิ่นเดชานุภาพมีผลในด้านลบต่อสถ
าบันกษัตริย์
มัน เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่นักรัฐศาสตร์ในประเทศไทย จะต้องพยายามวิเคราะห์ลักษณะของสถาบันกษัตรย์ในบรรยากาศที่ต้องมีการปกป้อง สิทธิเสรี
ภาพทางวิชาการ และสิทธิเสรีภาพทั่วไปในระบบประชาธิปไตย การใช้กฎหมายหมิ่นเดชานุภาพเพื่อพยายามปิดปากนักวิชาการ เป็นการพยายามสร้างบรรยากาศที่ประชาชนจะไม่สามารถรับรู้แลกเปลี่ยนและถก เถียงเกี่ยวก
ับสถาบันที่มีความสำคัญกับสังคมไทย รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ มีบทความวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่พยายามวิเคราะห์ลักษณะของสถาบัน กษัตริย์ ซึ่งประชาชนสามารถเข้าไปอ่านอย่างเสรีได้ ในงานประชุมรัฐศาสตร์แห่งชาติที่พึ่งจัดขึ้นที่คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ ได้นำเสนอบทความเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์อีกด้วย
รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ พร้อมที่จะสู้ข้อกล่าวหาคดีหมิ่นเดชานุภาพในทุกรูปแบบเพื่อปกป้องเสรีภาพทางวิชาการแ
ละสิทธิเสรีภาพในระบบประชาธิปไตย
เนื่องจากข้อกล่าวหาในครั้งนี้มาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของ
รัฐ คำถามสำคัญคือ รัฐบาลใหม่ของพรรคประชาธิปัตน์มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้และคดีอื่นๆอีกหลายคดีอย่าง
ไร เพราะนายกรัฐมนตรีได้ประกาศว่าจะเข้มงวดมากขึ้นในคดีหมิ่นเดชานุภาพ และในวันที่ 23 ธันวาคม 2551 ก็มีการกล่าวหานักข่าว BBC ประจำกรุงเทพในข้อหาเดียวกัน
11 มกราคม 2552
Associate Prof. Giles Ji Ungpakorn summonsed by police over les majesty case
Associate Professor Giles Ji Ungpakorn, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University, has been summonsed to Pathumwan police station for questioning at 13.00 hrs on Tuesday 23th January 2009. The summons was issued as a result of a complaint filed by Special Branch Police Lt Col. Pansak Sasana-anund. Professor Ungpakorn has been accused by the above individual of les majesty. No details have been given of the allegations. Such details should be revealed after the initial police interview. Professor Ungpakorn has not yet been officially charged.
Professor Ungpakorn will give a press conference outside the Pathumwan police station at 12.30 and will also be available to answer questions after the police interview.
As a political science lecturer, Professor Ungpakorn has written a number of academic articles concerning the monarchy. These can be read on his web blog: http://wdpress.blog.co.uk/ and in his book “A Coup for the Rich”. The book was withdrawn from sale by Chulalongkorn University and Thammasart University bookshops. It can be down-loaded from his weblog for free.
The Monarchy has been quoted and used by various political factions in Thailand to legitimise their actions. The most notable cases are the 19th September 2006 military coup and the illegal protests by the yellow-shirted P.A.D., which included shutting down the international airports. Les Majesty charges in Thailand are notorious for being used by different political factions to attack their opponents. Many believe that this law is actually counter-productive to defending the Monarchy. This is why it is very important that political scientists attempt to analyse the real role and nature of the Thai Monarchy in an atmosphere of freedom and democracy.
Professor Ungpakorn is prepared to fight any les majesty charges in order to defend academic freedom, the freedom of expression and democracy in Thailand.
Since this accusation was filed by a Special Branch officer, the present Democrat Party Government should be questioned about its role in this and many other cases. The new Prime Minister has stated that he wants to see a firm crackdown on les majesty. In late December, the police filed allegations of les majesty against the BBC correspondent in Bangkok, Jonathan Head. Many other cases are also pending.
Bangkok 11 January 2009
What you can do
1. Write a letter of protest/concern to Prime Minister Abhisit Vejjajiva, Government House, Bangkok, Thailand
2. Write a letter of protest/concern to the Ambassador, The Royal Thai Embassy, in your country.
3. Demand that Amnesty International take up all Les Majesty cases in Thailand.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น